เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 375 เมื่อ 24 ก.พ. 16, 22:20
|
|
ไกรทอง ที่เป็นพระราชนิพนธ์ละครนอก ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ระบุไว้ในเรื่องว่า เหตุเกิดที่เมืองพิจิตร เห็นได้จากตอนที่ไกรทองตัดสินใจจะพานางจระเข้วิมาลาขึ้นไปอยู่ด้วยกันที่บ้านของไกรทอง ในเมืองพิจิตร
ลื่องลืออื้ออึงพี่จึงมา หวังจะพาไปชมคารมใหญ่ ให้ฟุ้งเฟื่องทั้งเมืองพิจิตรไว้ เขาจะได้ชมรสวาจา จะชมทั้งกิริยามารยาท เชื้อชาติโฉมนางต่างภาษา เจ้าจะได้เห็นหัวผัวกุมภา อยู่ที่ศาลเทวาอารักษ์บน รำลึกถึงเมื่อไรจะไปเยือน ก็พอเคลื่อนคลายได้ไม่ขัดสน ล้วนหนุ่มหนุ่มประชุมชอบกล เขาเคยไปบวงบนบูชา
ก็แสดงว่าเมืองพิจิตรเป็นฉากหลังมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ ไม่ใช่มาเป็นในสมัยนายพานดุรี อีกอย่างหนึ่ง ไม่เคยเห็นหลักฐานว่านายพานดุรีเป็นนักเล่านิทาน มีแต่ว่าเป็นหมอสักยันต์ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แมวเซา
อสุรผัด

ตอบ: 44
|
ความคิดเห็นที่ 376 เมื่อ 24 ก.พ. 16, 23:06
|
|
ขอบพระคุณครับอาจารย์ เป็นอันว่าชาละวันเขมรคงไม่ได้ย้อนกลับมาแพร่พันธุ์ในไทย แต่นายนุดนี่แกตัวแสบไม่เบาและแกต้องขึ้นมาถึงวัดท่าทอง เมืองอุตตรดิตถ์(บางโพธิ์) เพราะแม่ชีฉวีวาดนั้นท่านถูกลูกชายแกมาขโมยเอาโฉนดที่ท่านสามารถเอาไปแลกเป็นเงินทองเพื่อใช้สอยและทำบุญของท่านได้(ชาวบ้านเล่าว่าเป็นกระดาษแบบโฉนด) เล่ากันว่าท่านเสียใจมากหลังจากนั้นจึงมีหลานท่านมารับกลับมาอยู่กรุงเทพฯ ส่วนนายนุดนั้นยังพอมีได้ยินเรื่องหมอสักยันต์จอมขมังเวทย์เขมรอยู่บ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 377 เมื่อ 25 ก.พ. 16, 09:40
|
|
ถ้าเรื่องนี้เป็นจริง ขอปะติดปะต่อดังนี้ค่ะ ๑ ยังนึกทางอื่นไม่ออกว่านายพานดุรีนุด เอาโฉนด(ที่ดิน?) ของท่านแม่ไปแปรสภาพเป็นเงินทองได้ยังไง นอกจากปลอมลายเซ็น เอาไปจำนอง โดยไม่ต้องพาแม่ไปหาเจ้าหนี้ ๒ ท่านหญิงคงจะเขียนจดหมายไปบอกถึงความคับแค้นใจ ให้หลานทางกรุงเทพทราบ คุณชายคุณหญิงคนใดคนหนึ่งจึงมารับกลับไปอยู่ด้วยกัน ๓ ในช่วงเวลานั้นไม่แน่ใจว่าม.ร.ว.คึกฤทธิ์อยู่ที่ไหน น่าจะอยู่คนละบ้าน จึงไม่ได้พบท่านป้า ในช่วงคุณชายหลานเป็นหนุ่มแล้ว ๔ ขอเดาว่า ท่านป้าฉวีวาดคงปกปิดเรื่องลูกชายตัวแสบไม่ให้หลานอื่นๆรู้ เพราะมีแต่ผลเสียกับท่าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ก็เลยไม่รู้เรื่องเจ้าเก๊รายนี้ว่าตามมารังควานแม่ถึงพิจิตร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 378 เมื่อ 25 ก.พ. 16, 14:38
|
|
ขอบพระคุณครับอาจารย์ เป็นอันว่าชาละวันเขมรคงไม่ได้ย้อนกลับมาแพร่พันธุ์ในไทย แต่นายนุดนี่แกตัวแสบไม่เบาและแกต้องขึ้นมาถึงวัดท่าทอง เมืองอุตตรดิตถ์(บางโพธิ์) เพราะแม่ชีฉวีวาดนั้นท่านถูกลูกชายแกมาขโมยเอาโฉนดที่ท่านสามารถเอาไปแลกเป็นเงินทองเพื่อใช้สอยและทำบุญของท่านได้(ชาวบ้านเล่าว่าเป็นกระดาษแบบโฉนด) เล่ากันว่าท่านเสียใจมากหลังจากนั้นจึงมีหลานท่านมารับกลับมาอยู่กรุงเทพฯ ส่วนนายนุดนั้นยังพอมีได้ยินเรื่องหมอสักยันต์จอมขมังเวทย์เขมรอยู่บ้าง
ข้างบนนี้ คุณแมวเซาไปเอามาจากไหนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แมวเซา
อสุรผัด

ตอบ: 44
|
ความคิดเห็นที่ 379 เมื่อ 25 ก.พ. 16, 22:57
|
|
เรื่องแม่ชีฉวีวาด แม่เล่าให้ฟังและญาติๆหลายคนยืนยันได้(แม่ผมอายุ 91ปีทันได้เจอและเข้ากราบไหว้แม่ชี) ส่วนเรื่องหมอเขมรได้ฟังจากพ่อซึ่งเป็นเด็กวัดท่าทองตั้งแต่เล็กๆครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 380 เมื่อ 26 ก.พ. 16, 07:13
|
|
ขอบคุณที่นำมาเล่าต่อครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 381 เมื่อ 26 ก.พ. 16, 09:24
|
|
สวัสดีครับ คุณแมวเซา เรื่องเกร็ดประวัติศาสตร์ สงครามระหว่างไทย ญวน เขมร น่าจะนำมาเล่าต่อในเรือนไทยได้นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แมวเซา
อสุรผัด

ตอบ: 44
|
ความคิดเห็นที่ 382 เมื่อ 26 ก.พ. 16, 09:27
|
|
ถ้าเรื่องนี้เป็นจริง ขอปะติดปะต่อดังนี้ค่ะ ๑ ยังนึกทางอื่นไม่ออกว่านายพานดุรีนุด เอาโฉนด(ที่ดิน?) ของท่านแม่ไปแปรสภาพเป็นเงินทองได้ยังไง นอกจากปลอมลายเซ็น เอาไปจำนอง โดยไม่ต้องพาแม่ไปหาเจ้าหนี้ ๒ ท่านหญิงคงจะเขียนจดหมายไปบอกถึงความคับแค้นใจ ให้หลานทางกรุงเทพทราบ คุณชายคุณหญิงคนใดคนหนึ่งจึงมารับกลับไปอยู่ด้วยกัน ๓ ในช่วงเวลานั้นไม่แน่ใจว่าม.ร.ว.คึกฤทธิ์อยู่ที่ไหน น่าจะอยู่คนละบ้าน จึงไม่ได้พบท่านป้า ในช่วงคุณชายหลานเป็นหนุ่มแล้ว ๔ ขอเดาว่า ท่านป้าฉวีวาดคงปกปิดเรื่องลูกชายตัวแสบไม่ให้หลานอื่นๆรู้ เพราะมีแต่ผลเสียกับท่าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ก็เลยไม่รู้เรื่องเจ้าเก๊รายนี้ว่าตามมารังควานแม่ถึงพิจิตร
เรื่องแม่ชีฉวีวาด เป็นเรื่องที่รู้กันดีในกลุ่มญาติพี่น้องใกล้ชิดของหลวงตาทองดำอดีตเจ้าอาวาสวัดท่าทอง(คือบ้านป่ายาง) เพียงแต่ไม่เคยทราบที่มาที่ไปของแม่ชีนักเพราะท่านก็ปกปิดตัวเองเหมือนกัน แต่เป็นที่ยืนยันกันว่าท่านเป็นเจ้าจริงๆ วัดท่าทองนั้นเป็นวัดใหม่ในสมัยนั้นเจ้าอาวาสแต่ละองค์ก็เป็นพระหนุ่มๆและเป็นทหารม้าประจำเมืองอุตรดิตถ์(อยู่ข้างๆสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตั้งขึ้นมาเมื่อเกิดกบฏเงี้ยวเมืองแพร่)การที่แม่ชีมาอยู่ที่วัดนี้ในสมัยนั้นน่าจะเกี่ยวข้องกับพระองค์เจ้าคำรบที่เป็นผบ.ทหารทางเหนืออยู่ด้วย ส่วนมรว.คึกฤทธิ์ท่านยังเด็กมาก ตอนนั้นการเดินทางมีรถไฟสายเหนือถึงอุตรดิตถ์แล้วครับ การที่มีข่าวว่าแม่ชีท่านไปถึงเมืองอุดรฯและบางโพ(อุตรดิตถ์)ก็คงเดินทางด้วยรถไฟความสัมพันธ์ของอุตรดิตถ์กับอุดรธานีผมคิดว่าอยู่ตรงที่กลุ่มของผู้คนครับ เรื่องโฉนดที่แม่ผมพูดถึงนั้นอาจจะเป็นตั๋วแลกเงินก็ได้นะครับ และน่าจะเกี่ยวข้องกับการขายที่ดินบริเวณตลาดคลองถมครับ(เรื่องในกรุงต้องขอความกรุณาจากท่านผู้รู้ละครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ninpaat
|
ความคิดเห็นที่ 383 เมื่อ 26 ก.พ. 16, 09:48
|
|
ขอขอบคุณ คุณแมวเซา ที่กรุณาเล่า ที่มาที่ไปในเรื่องต่างๆ ทำให้เกิดความเชื่อมโยงต่อเนื่องของเหตุการณ์ ได้ดีจริงๆครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แมวเซา
อสุรผัด

ตอบ: 44
|
ความคิดเห็นที่ 384 เมื่อ 26 ก.พ. 16, 09:57
|
|
สวัสดีครับคุณKoratian ผมมีปัญหากับคอมพิวเตอร์ติดไวรัสเลยไปหลงไหลกับเฟสบุ็คน่ะครับ แต่ยังไม่ลืมจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสงครามสมัยร.3นะครับโดยเฉพาะเส้นทางการเดินทางเดินทัพของสมัยนั้นเวลาไปถึงสถานที่แต่ละแห่งเพียงแค่เห็นว่าชื่อเดิมยังคงอยู่นี่ผมก็รู้สึกถึงประวัติศาสตร์รู้สึกถึงผู้คนที่เคยเกี่ยวข้องในสมัยนั้น(ด้วยความเคารพนะครับ พวกเขาล้วนเป็นบรรพชนของคนไทยสมัยนี้) ช่วงนี้ผมก็จะตระเวณไปทางอีสานบ่อยๆถ้าได้เก็บรูปภาพไว้พอควรแล้วจะเอามาเขียนและคุยเป็นเพื่อนครับ 
ขอบคุณ คุณninpaatครับ ผมได้เห็นเรื่องราวที่ทำให้งนงงสงสัยมาตั้งแต่เด็กๆแต่สังคมไทยเดิมๆบ้านนอกไปถามอะไรผู้ใหญ่มากก็ไม่ได้(จะโดนเพ่นกะบานเอา) พอมีโอกาสมาเรียนกรุงเทพจนได้มีโอกาสเลือกสถานที่ทำงานผมเลือกมาทำงานที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติซะเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 385 เมื่อ 26 ก.พ. 16, 10:12
|
|
ไม่เคยรู้ว่าไทยมีตั๋วแลกเงินด้วย นึกว่ามีแต่เช็คกับดราฟต์ อยากเห็นหน้าตาว่าเป็นยังไง เหมือนในหนังจีนไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 386 เมื่อ 26 ก.พ. 16, 18:35
|
|
ตั๋วเงิน หรือหนังสือสัญญาใช้เงินไม่ใช่เรื่องยากครับ บริษัทหรือธนาคารถ้าออกบ่อยๆก็สามารถพิมพ์ตามรูปแบบของตนดังต้องการได้เลย ดังตัวอย่างซ้ายมือ ซึ่งทุกวันนี้มีขายสำเร็จรูป แต่ถ้าเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดานานๆจะออกทีก็สามารถเขียนหรือพิมพ์ตามตัวอย่างด้านขวามือได้ แต่ต้องระบุถ้อยความสำคัญที่กฏหมายต้องการให้ครบถ้วน
ผมคิดว่าสมัยที่หม่อมเจ้าฉวีวาดยังทรงมีชีวิตอยู่ หัวเมืองไทยคงยังไม่มีโฉนดที่ทางราชการออกให้ น่าจะครอบครองมือเปล่าโดยมีกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านเป็นพยาน รับรู้ว่าที่ดินของใครอยู่ที่ไหน มีอาณาเขตอย่างไร การซื้อขายที่ดินก็แค่ทำหนังสือข้อตกลงซื้อขายกัน แล้วนำไปให้ผู้ใหญ่บ้านลงนามเป็นพยาน
หากนายพานคุลีโขมยหนังสือนี้ไปจริง ก็คงตกลงกับผู้ซื้อไว้ก่อนหน้าแล้ว พอโขมยหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ของแม่มาได้ก็เอาไปผู้ซื้อ พากันไปหาผู้ใหญ่บ้าน เสียเงินเสียทองจิ้มก้องเสียหน่อย ก็คงให้ผู้ใหญ่บ้านลงนามเป็นพยานซื้อขายที่ดินได้ครับ
หม่อมแม่คงไม่มีปํญญาไปฟ้องร้องเอาคืนกับใคร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แมวเซา
อสุรผัด

ตอบ: 44
|
ความคิดเห็นที่ 387 เมื่อ 26 ก.พ. 16, 20:38
|
|
ตั๋วสัญญาใช้เงินยุคก่อนออกโดยธนาคารเอาไว้แลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้ครับที่ภาษาไทยเรียกว่า"หมาย"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นางมารน้อย
พาลี
   
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
|
ความคิดเห็นที่ 388 เมื่อ 29 ก.พ. 16, 14:36
|
|
มาลงชื่อเข้าเรียน ไล่อ่านใหม่ตั้งแต่ต้นจบจบค่ะ
ได้รับความรู้มากมายอีกแล้วสำหรับกระทู้นี้ รวมถึงวิธีการวิเคราะห์งานเขียนของท่านอ.เทาชมพูด้วย ล้ำลึกมากจริงๆ แสดงว่าคนเป็นบรรณาธิการนี่ไม่ใช่งานง่ายๆเลยนะคะคะนี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 389 เมื่อ 29 ก.พ. 16, 15:41
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|