เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 154208 โครงกระดูกในตู้ โดยคึกฤทธิ์ : ข้อเท็จจริงจากการชันสูตร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 19 ม.ค. 14, 20:14

4   
อ้างถึง
ภาณุวงศ์เอาตัวบรฮิมมาถามความแจ้งอยู่กับพระยาภาณุวงศ์แล้ว การมา
เป็นดังนี้เป็นที่อัปยศนัก
มีชื่อแปลกโผล่ออกมาอีกชื่อคือ บรฮิม  ฟังเสียงเหมือนภาษาอาหรับ     นายบรฮิมมีตำแหน่งการงานอะไรไม่ทราบ  แต่ข้อความนี้แสดงว่าเป็นคนที่รู้เรื่องม.จ.ฉวีวาดหนีไป   และน่าจะเป็นคนที่ปูดความลับแต่แรก    จึงถูกเรียกตัวไปไต่สวน   นายคนนี้ก็เลยแฉหมด

อ้างถึง
ได้ปรึกษากับคุณสุรวงศ์ และท่านกรมท่าคิดว่าจะให้เรือไฟไปตาม แต่กลัวไม่ทัน
  ข้อความนี้แสดงว่า เรื่องที่หม่อมเจ้าฉวีวาดเห็นเรือไฟของสยามไล่ตามเรือของท่าน  แล้วท่านอธิษฐานขอให้ไปรอด   เรือที่ไล่ตามก็ใบพัดเครื่องจักรหักทันตาเห็น    เป็นเรื่องยกเมฆทั้งเพ
  ไม่มีเรือลำไหนตามท่านหญิง   เพราะในพระราชหัตถเลขาฯนี้แสดงว่าเรื่องมาอื้อฉาว เมื่อหม่อมเจ้าฉวีวาดหนีไปไกลลิบแล้ว  เจ้ากรมท่าไม่ได้สั่งให้เรือราชการไล่ตามไปเพราะคงไม่ทัน   ดังนั้น   ต่อให้ทรงมีพระบรมราชโองการหลังจากนี้ให้ไล่ตาม   ก็ยิ่งไม่ทันหนักขึ้น  สรุปว่าไม่มีเรือตาม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 19 ม.ค. 14, 20:17

  ที่เขียนมานี้  อ่านตามที่คุณหนุ่มสยามส่งเอกสารมาให้ 1 ตอนเท่านั้น    ยังไม่ฟันธงว่าจะถูกต้องเพราะคุณหนุ่มอาจจะเปิดหีบสมบัติ โชว์เพลงดาบเด็ดๆยิ่งกว่านี้ มาให้อีก
  ตอนนี้ขอให้ถือว่าเพิ่มเรตติ้งกระทู้ไปพลางๆก่อนค่ะ     
  หวังว่าถ้าเจ้าของกระทู้ค่อยเบาจากภาระงานภายนอกแล้ว อาจจะเข้ามาร่วมวงกระแอมกระไอด้วย


บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 20 ม.ค. 14, 13:02

อาจารย์ขา อัฐศกศักราชคืออะไรคะ นับตั้งแต่ปีไหน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 20 ม.ค. 14, 13:14

คือการนับปีโดยใช้จุลศักราชเป็นหลักค่ะ
จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน  ใช้กันที่ล้านนามาก่อน แล้วมาถึงสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา   การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ. (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่)

ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกด้วยศัพท์บาลี ดังนี้

    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก"
    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"
บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 20 ม.ค. 14, 13:22

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 21 ม.ค. 14, 14:03

คุณหนุ่มสยามเปิดกรุขุมทรัพย์ แง้มฝาหีบสมบัติให้เห็นอีก ๑ ใบใหญ่    ยิ้มเท่ห์

ก่อนอื่นขอถอดรหัสพ.ศ.ก่อนนะคะ    
1  ปีชวด อัฐศกศักราช 1238 ตรงกับปีพ.ศ.2419 ค่ะ
2  วิกฤตวังหน้า เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2417  สองปีก่อนหน้านี้
3  พระองค์เจ้าคำรบ ประสูติเมื่อ วันที่  3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2414

ถอดรหัสออกมาได้ดังนี้
1  หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดหนีออกนอกพระราชอาณาจักรสยาม 2 ปี หลังจากเกิดวิกฤตวังหน้า    เป็นอันตัดปัญหาได้เด็ดขาด ว่า เป็นคนละเรื่องคนละเหตุการณ์   ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
2 เมื่อหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดหนีออกไปนั้น  พระองค์เจ้าคำรบเพิ่งมีพระชันษาได้ 5 ขวบ    ไม่ใช่ 8 ขวบอย่างที่กล่าวไว้ในโครงกระดูกในตู้

นำไปสู่คำถามดังนี้

1   เรื่องของม.จ.ฉวีวาดหนีตามผู้ชาย เป็นเรื่องอื้อฉาว รู้ถึงพระเจ้าอยู่หัว รู้ถึงสมเด็จเจ้าพระยาฯ  ก็ไม่ต้องสงสัยว่าพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายก็ย่อมจะรู้  พวกปราโมชก็ต้องรู้กันทั่วทุกคน
เหตุไฉน  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์จึงไม่เคยได้ระแคะระคายเลย ไม่ว่าจากท่านพ่อ หม่อมแม่ ท่านลุง ท่านป้า ทั้งหลาย    แต่รู้จากปากท่านป้าฉวีวาดเพียงองค์เดียว

อยากดูเรื่องที่ริบราชบาตรน่ะครับ ตกลงว่ามีเหตุการณ์เช่นนั้นหรือไม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 22 ม.ค. 14, 14:15

ปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้ก็คือ    เมื่อหม่อมเจ้าฉวีวาดหนีไปในพ.ศ. 2419   หม่อมเจ้าคำรบน้องชายคนเล็กอายุแค่ 5 ขวบ    ถ้าอย่างนั้นเหตุบ้านแตกที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เรียกว่า "ริบราชบาตร" เกิดขึ้นเมื่อท่านคำรบน้อยอายุ 8 ขวบคือเหตุการณ์อะไร     
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าเอาไว้ละเอียดมาก   ท่านเล่าว่าได้รับถ่ายทอดจากท่านพ่อของท่านโดยตรง โดยเฉพาะเรื่องท่านคำรบตกยากต้องไปเดินขายพุทราอยู่หน้าโรงบ่อนโรงหวย     เพราะฉะนั้นก็ตัดประเด็นไปได้ว่าเป็นเรื่องที่ท่านฟังจากคำเล่าลือของคนอื่นมาอีกที

แต่เหตุผลก็ขัดแย้งกันอยู่ในตัว
1  ถ้าท่านคำรบตกยากในปีที่หม่อมเจ้าฉวีวาดหนี   ท่่านก็ยังเล็กเกินไปที่จะถูกหม่อมแม่ทิ้งเอาไว้คนเดียวในบ้าน  และเล็กเกินกว่าจะถูกหม่อมยายใช้งานขนาดนั้น   
และอาจจะเล็กเกินกว่าจำความเรื่องนี้โดยละเอียดอย่างที่เล่าในหนังสือได้ด้วย
2  ถ้าโตพอ อายุ 8 ขวบ พอจะถูกผู้ใหญ่ใช้งานขนาดนั้นได้  ก็ต้องเกิดจากเหตุการณ์อื่น

สมมุติอีกทีว่าหม่อมเจ้าฉวีวาดหนีไปในพ.ศ. 2419  แต่กว่าหม่อมแม่จะถูกริบราชบาตร ก็ปาเข้าไปอีก 3 ปี หลังจากนั้น    ฟังแล้วก็นับว่านานเกินไป ไม่น่าจะเป็นไปได้

ดังนั้น ก็เหลืออีกประเด็นหนึ่งว่า เกิดอะไรบางอย่างขึ้นกับหม่อมแม่และลูกๆ ทำให้ตกระกำลำบากอยู่ชั่วระยะหนึ่งเมื่อพระองค์เจ้าคำรบมีพระชันษาแค่ 8 ขวบ     เหตุการณ์นั้นอาจไม่เกี่ยวกับหม่อมเจ้าฉวีวาดก็เป็นได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 22 ม.ค. 14, 14:16

อยากดูเรื่องที่ริบราชบาตรน่ะครับ ตกลงว่ามีเหตุการณ์เช่นนั้นหรือไม่
คุณพีรศรียังหาหลักฐานในหอจดหมายเหตุไม่เจอ  ถ้าเจอคงเข้ามาเล่าให้ฟังแล้วค่ะ
ก็เหลือคุณ siamese อีกคนเดียวว่ามีเอกสารเรื่องนี้หรือไม่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 22 ม.ค. 14, 18:21

อยากดูเรื่องที่ริบราชบาตรน่ะครับ ตกลงว่ามีเหตุการณ์เช่นนั้นหรือไม่
คุณพีรศรียังหาหลักฐานในหอจดหมายเหตุไม่เจอ  ถ้าเจอคงเข้ามาเล่าให้ฟังแล้วค่ะ
ก็เหลือคุณ siamese อีกคนเดียวว่ามีเอกสารเรื่องนี้หรือไม่

ยังเช่นกันครับ  อายจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 28 ม.ค. 14, 08:26

ความคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากอ่านกระทู้มาจนถึงตรงนี้ ก็คือเป็นข้อเตือนใจว่า การเขียนชีวประวัติโดยอ้างอิงจากคำบอกเล่าของเจ้าตัวชีวประวัติเองนั้น  แม้ว่าทางวิชาการถือว่าเป็นหลักฐานขั้นปฐมภูมิ (primary source) อันเป็นหลักฐานที่มีน้ำหนักมากกว่าหลักฐานชั้นทุติยภูมิหรือหลักฐานชั้นรอง เช่นฟังจากคำบอกเล่าของคนอื่นๆ   หรือจากหลักฐานในยุคหลัง    แต่ปฐมภูมิแบบนี้มีจุดอ่อนที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ท่านเจอเข้าอย่างจัง  คือ ถ้าหากว่าเจ้าตัวผู้เล่าไม่ได้เล่าความจริง     หลักฐานนั้นก็ล้มเหลวใช้ไม่ได้

ดูจากพยานหลักฐานแวดล้อมอื่นๆ    เช่นการรู้จักเจ้านายกัมพูชาหลายพระองค์ที่ทรงรู้เรื่องหม่อมเจ้าฉวีวาดดี    และเรื่องราวแท้จริงของหม่อมเจ้าฉวีวาดที่อื้อฉาวจนไม่มีพระญาติพระวงศ์องค์ไหนไม่ทรงทราบ  ทำให้คิดว่าม.ร.ว.คึกฤทธิ์เองก็ระแคะระคายอยู่เหมือนกัน     แต่ท่านเลือกที่จะเชื่อคำบอกเล่าจากปากของผู้เป็นต้นเหตุเองมากกว่า     อาจเป็นเพราะถือว่าเรื่องนี้ไม่มีใครรู้ดีเท่าตัวท่านป้าเอง  ไหนๆจะบันทึกไว้เป็นหนังสือ  ก็ควรบันทึกจากปากคำเจ้าตัวโดยตรง มากไปกว่าไปเลียบๆเคียงๆถามจากท่านลุงท่านป้าอื่นๆ

แต่ท่านหญิงฉวีวาดท่านเก่งกว่า คือแทนที่ท่านจะเล่าเรื่องจริงแบบเข้าข้างตัวเองให้หลานเห็นใจ  หรือเล่าเรื่องจริงในทำนองเป็นอุทาหรณ์สอนใจหลาน ว่าอย่าทำผิดพลาดอย่างท่าน       ท่านกลับแต่งเรื่องขึ้นมาล้อมรอบแกนจริงอย่างเดียวคือแกนที่ว่าท่านหนีไปเขมร     ในเรื่องแต่งนั้นท่านก็กลายเป็นสตรีนักผจญภัย ต้องลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ   เช่นเดียวกับผู้ต้องหาทางการเมืองไทยหลายๆท่านหลังพ.ศ. 2475    วิกฤตการณ์วังหน้าซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุไฟไหม้และความเข้าใจผิดระหว่างสองวัง   ก็กลายเป็นเรื่องกบฏคล้ายๆกบฏบวรเดชที่ทำการไม่สำเร็จ

ผลจากความเชื่อถือของคนรุ่นหลังที่มีต่อหนังสือเล่มนี้ ก็เลยส่งผลให้เกิดกระทู้ยาวเรื่องนี้   น่าเสียดายว่ายังไม่มีผลในทางลบล้างความเชื่อดั้งเดิมได้มากนัก เพราะความเชื่อเดิมหยั่งรากลงลึกเสียแล้ว     คงจะต้องให้เวลาเป็นเครื่องชำระสะสางความจริงต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 02 ก.พ. 14, 18:37

สงสัยว่าจะไม่มีใครเข้ามาให้ข้อมูล/หรือออกความเห็นเพิ่มอีก   
กระทู้ได้ติดหมุดมานานพอสมควรแล้ว  ขอปลดลงนะคะ ให้เลื่อนลงไปตามลำดับวัน
จนกว่าจะมีท่านใดมาโพส ก็จะขึ้นมาอยู่ข้างบน แบบเดียวกับกระทู้อื่นๆค่ะ
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 03 ก.พ. 14, 11:14

 ทั้งนี้ทรงมีพี่เลี้ยงเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ซึ่งเป็นนายทหารคนสนิทของพระบิดา โดยพระองค์ทรงเรียกพระองค์เจ้าคำรบว่า "แม่"[2] ลอกจากพระประวัติ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ซึ่งประสูติปี2435
บันทึกการเข้า
Aksara
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 17 ก.พ. 14, 20:00

สมัครสมาชิกเรือนไทยซะเลย  อิอิอิ  เจ๋ง 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 23 ก.พ. 14, 09:30

ขอตั้งสมมุติฐานอีกครั้งหนึ่งเรื่องริบราชบาตร และพระองค์เจ้าคำรบตกยาก
ประมวลจากหลักฐานที่คุณ siamese นำมาแสดงครั้งหลังสุดนี้    บวกกับหลักฐานของคุณ natadol  พอเห็นภาพตามนี้

1  หม่อมเจ้าฉวีวาดหนีไปเขมร เมื่อพ.ศ. 2419
2  ทางการไปจับตัวม.ร.ว.ดวงใจผู้เป็นแม่มาสอบปากคำ แต่ไม่ได้ความอะไร  ก็เลยจำขังไว้ 1 ปี  แต่ไม่มีการริบราชบาตร
3  ลูกสาวเล็กๆ 2 คน ถูกส่งเข้าวังไปพึ่งบารมีกรมพระยาสุดารัตนฯ ในช่วงเวลานั้น
4  ลูกชายคนเล็กสุดอายุ 5 ขวบ ไปอยู่กับพี่ชายที่วังบูรพา  พึ่งพระบารมีสมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุฯ ด้วยกันทั้งคู่
5  หม่อมเจ้าจรูญไปมาหาสู่หม่อมยายเป็นประจำ   เพราะอยู่ไม่ห่างกันนัก   หม่อมเจ้าคำรบก็มีโอกาสพบยายในช่วงนี้
6  สมเด็จวังบูรพาทรงส่งหม่อมเจ้าคำรบเข้าร.ร.นายร้อยทหารบก ซึ่งสมัยนั้นเรียนกันตั้งแต่เล็ก   มีวันหยุดก็กลับเข้าวัง
7  หม่อมแม่ดวงใจเมื่อพ้นจากที่คุมขังแล้วก็กลับไปบ้านเดิมใกล้วังวรจักร
8  หม่อมเจ้าคำรบใช้ชีวิตอยู่ในวังบูรพาจนเป็นหนุ่ม    เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จวังบูรพา จนได้เป็นพระพี่เลี้ยงของพระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตร


บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 01 มี.ค. 14, 21:28

วิถีพีเดีย ลงบิดาของ ม.ร.ว.ดวงใจ ปราโมช แล้ว นะครับ ชื่อ หม่อมเจ้า สุทัศน์ ในกรมพระราชวังหลัง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง