เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 154863 โครงกระดูกในตู้ โดยคึกฤทธิ์ : ข้อเท็จจริงจากการชันสูตร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 27 ธ.ค. 13, 10:39

ในหนังสือว่าอย่างนี้ค่ะ

ตั้งแต่พ.ศ. 2496   กรมหมื่นวรจักรเลิกสนพระทัยการเมืองและกรมท่า  สนพระทัยแต่การหุงกระจกซึ่งต้องทำเอาไว้มากมายเพื่อประดับพระอาราม 
เมื่อมีเรื่องขัดแย้งกับสมเด็จเจ้าพระยา ท่านก็ขังพระองค์อยู่ในวัง   ทรงสนพระทัยการช่างทุกชนิด  และทรงทดลองวิธีการใหม่ๆในทางการช่าง  ทรงทดลองหุงกระจกแบบใหม่ จนสามารถทำแก้วใสสีต่างๆได้    ทรงพยายามสอนหม่อมเจ้าในกรม ในวิชาการต่างๆที่ทรงถนัด
หม่อมเจ้าปรีดาได้รับวิชาการก่อสร้าง  ออกแบบสถาปัตยกรรม และการช่างทองเอาไว้
หม่อมเจ้าดำรง ทรงเป็นโปลิโอเลยเดินไม่ได้   จึงได้วิชาการช่างที่ใช้มือมากที่สุด  เพราะต้องนั่งข้างเสด็จพ่ออยู่ตลอดเวลาที่ทรงการช่างต่างๆ

คำบอกเล่านี้แสดงให้เห็นว่ากรมขุนวรจักรทรงขังพระองค์เองในวัง  ค้นคว้าเรื่องหุงกระจกไปเรื่อย    เหมือนข้าราชการเกษียณลุกขึ้นทำงานอดิเรกที่ตัวเองถนัด  เพื่อจะได้ไม่อยู่เปล่าๆ       มีแต่หม่อมเจ้าพระโอรสองค์ต่างๆอยู่ใกล้ชิดๆรับถ่ายทอดวิชาเอาไป  ไม่ได้แสดงตรงไหนเลยว่าท่านยังว่างานราชการ     
ถึงจะเรียกขุนนางมาสั่งการในวัง เพราะสมัยนั้นยังไม่มีกระทรวงกรมให้ออกไปนั่งในออฟฟิศ   แต่ถ้ากรมขุนวรจักรยังว่าการกรมต่างๆอยู่ก็ต้องเสด็จออกไปบ้าง จะเก็บพระองค์เหมือนพ้นจากหน้าที่การงานโดยสิ้นเชิงไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 27 ธ.ค. 13, 14:44

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 27 ธ.ค. 13, 15:05

อาจารย์ครับ ในหนังสือหม่อมท่านไม่ได้ว่าลาออกนะครับ แต่ออกมาทำงานว่าราชการที่บ้าน ซึ่งเป็นธรรมเนียมไทยอย่างหนึ่ง ที่เสนาบดี เจ้ากรม สั่งการอยู่ที่บ้าน เพิ่งมาเลิดเมื่อมีกระทรวง ทบวง กรมอย่างใหม่ในรัชกาลที่ 5

อีกอันคือในที่สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงไว้ ท่านกล่าวถึงความขัดแย้งกับสมเด็จเจ้าพระยาด้วย เป้นการยืนยันว่ามีเรื่องเกิดขึ้น แน่ๆ ครับ
เรื่องนี้สามารถแยกได้เป็น 2 ประเด็น  คุณ hobo ไปรวมเข้าเป็นประเด็นเดียวกันนี่คะ     คือ
1   กรมขุนวรจักรฯ ทรงขัดแย้งกับสมเด็จเจ้าพระยาเรื่องการแต่งตั้งวังหน้า
2   กรมขุนวรจักรฯ ทรงเก็บพระองค์ในวังหลังจากนั้น  ไม่เสด็จออกไปไหนเลย

หนังสือโครงกระดูกในตู้เล่าถึงสองเหตุการณ์นี้เหมือนเป็นเหตุและผลต่อเนื่องกัน      คือมี 1  จึงตามมาด้วย 2     แต่ความจริงมันเป็นคนละเหตุการณ์    มี 1 ไม่ต้องมี 2 ก็ได้    หรือข้อ 1 จริงก็ไม่เป็นหลักประกันว่าข้อ 2 จะต้องจริงไปด้วย

อย่างน้อยเราก็รู้จากปี พ.ศ. แล้วว่ากรมขุนวรจักรฯสิ้นพระชนม์ไปตั้ง 1 ปีก่อนสมเด็จเจ้าพระยาพ้นจากตำแหน่งรีเยนต์    แสดงว่าเรื่องทรงนั่งเสลี่ยงออกมาตัดต้นตะขบเพื่อไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว หลังสมเด็จเจ้าพระยาพ้นอำนาจไปแล้ว  เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้

อีกข้อก็คือ พระประวัติของพระองค์เจ้าปรีดา แสดงให้เห็นว่าทรงเรียนงานช่างหุงกระจกและงานช่างอื่นๆที่เจ้ากรมหุงกระจกจะต้องรับผิดชอบ กับเสด็จพ่อของท่าน   การเรียนของท่านไม่ใช่ไปนั่งหมอบเฝ้าดูเสด็จพ่อทรงงานทำแก้วสีอยู่ในวังวรจักร     แต่ว่าจะต้องลงมือทำและลงมือคุมงาน  เป็นงานขั้นปฏิบัติกันทั้งพ่อทั้งลูก   เรียกว่าลงภาคสนามกันมาตลอด     เมื่อกรมขุนวรจักรฯสิ้นพระชนม์ พระองค์เจ้าปรีดาจึงได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยให้ว่าการกรมหุงกระจกได้ต่อเนื่องทันที     และต้องรับผิดชอบเรื่องอื่นๆเช่นงานพระเมรุซึ่งเป็นงานช่างระดับบิ๊กของบ้านเมือง
ดังนั้นดิฉันจึงเชื่อว่ากรมขุนวรจักรฯท่านไม่ได้ขังพระองค์อยู่ในวังหรอก   ท่านต้องเสด็จออกมาว่าการภายนอก   พระโอรสก็ตามติดมาเป็นมือขวา ทำงานด้านงานช่างกันเป็นประจำทั้งพ่อทั้งลูก   ลูกจึงสืบต่องานพ่อได้ไม่สะดุดเลยไงคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 27 ธ.ค. 13, 15:17

ในประวัติพระองค์เจ้าปรีดา   ดิฉันตั้งข้อสังเกตไว้อีกข้อหนึ่งว่าเจ้านายองค์นี้น่าจะรวยอยู่มาก   ดูจากงานอดิเรกข้างล่างนี้
คนไม่รวย ทำคอลเลคชั่นของพวกนี้ไม่ได้นะเนี่ย   
ตั้งแต่เลี้ยงช้าง(มีโรงช้างอยู่ในวัง) นี่ก็แสดงพระบารมีและการเงินได้ไม่เบาเลย   อย่างอื่นเช่นเครื่องถ้วย และไม้ประดับก็ของเศรษฐีทั้งนั้น   ไม้ประดับอย่างโครตอน หรือโกรต๋น หรือบางคนเรียกโกสน    เดี๋ยวนี้อาจจะราคาไม่กี่สตางค์ แต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นของแพงแน่นอน
ท่านอาจจะรวยจากแบ่งเนื้อที่วังปลูกเรือนให้คนเช่า  ปลูกโรงหนัง ฯลฯ  ข้อนี้ไม่ได้ติดใจสงสัย    แต่กลับไปสงสัยว่าหม่อมย่าของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ที่ว่าเป็นหม่อมเอกนั้น  ดูจะไม่ได้ร่ำรวยอะไร แม้แต่แม่แก่ๆ ท่านยังรับเข้ามาอยู่ด้วยไม่ได้   ลูกสาวลูกชายก็ต้องไปพึ่งพระบารมีเจ้านายตั้งแต่อายุน้อยๆ   
จึงทำให้สงสัยว่าท่านเป็นหม่อมเอกของกรมขุนวรจักรฯจริงหรือเปล่า   หรือว่าอยู่ในฐานะเดียวกับแม่ของแม่พลอย คือมิใช่หม่อมน้อยๆ แต่ก็มิใช่หม่อมใหญ่อย่างหม่อมแม่ของพระองค์เจ้าปรีดา?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 29 ธ.ค. 13, 08:37

 จากพระประวัติของพระองค์เจ้าปรีดา   เห็นได้ว่าทรงเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ที่น่าจะเป็นที่โปรดปรานของพระบิดามาก    แม้แต่พระนามก็สอดคล้องกัน    กรมขุนวรจักรฯทรงมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าปราโมช  คำนี้สันสกฤตใช้ว่า  ปฺรโมทฺย  บาลีใช่ว่า ปาโมชฺช   แปลว่าความยินดีปรีดา     พระนามพระโอรสองค์ใหญ่มีความหมายตรงกับพระบิดา

พระองค์เจ้าปรีดาเป็นพระโอรสองค์ใหญ่อยู่องค์เดียวถึง 8 ปี พระบิดาจึงมีพระโอรสองค์ที่สองคือม.จ.พยับ     พอจะวาดภาพออกได้ว่าถึงมีม.จ.รองๆลงมาแล้ว ก็ยังเล็กๆกันทั้งนั้น   พระบิดาคงจะโปรดให้พระโอรสองค์แรกที่โตกว่าเพื่อนตามเสด็จติดหน้าตามหลังไปไหนมาไหน  รวมทั้งไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎที่กรมขุนวรจักรฯเสด็จไปคอยดูแลรับใช้อยู่เสมอ ณ วัดบวรนิเวศ      พระองค์เจ้าปรีดาจึงได้รับพระเมตตาจากเจ้าฟ้ามงกุฎไปด้วย     ความเมตตานี้ก็ส่งผลมาถึงพระมหากรุณาธิคุณทั้งในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5

เมื่อพระองค์เจ้าปรีดามีโอกาสตามติดพระบิดาไปไหนมาไหนตั้งแต่เล็ก    โตขึ้นก็ได้รับความไว้วางพระทัยใช้สอยเรื่องงานการต่างๆ  จึงเป็นที่โปรดปรานและไว้พระทัยของกรมขุนวรจักรฯ  จนถึงขั้นยกวังวรจักรให้ครองแต่ผู้เดียว    ส่วนหม่อมเจ้าน้องๆที่อยู่ในวังก็คงจะอยู่ในฐานะพึ่งพาอาศัยใบบุญของพี่คนใหญ่ เหมือนอย่างเคยพึ่งพระบิดามาแล้ว

พระองค์เจ้าปรีดาทรงรับมรดกมาแล้วก็ทะนุบำรุงให้ทรัพย์สินงอกเงยขึ้น    จนท่านอยู่ในฐานะเศรษฐี     ด้านหน้าที่การงานก็ทรงทำได้ดีจนได้เลื่อนขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า   
ในบรรดาพระโอรสของกรมขุนวรจักรฯ  พระโอรสที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและฐานะก็มี 2 องค์เท่านั้นคือพระองค์เจ้าปรีดา กับพระองค์เจ้าคำรบ
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 00:30

เข้ามาเรือนไทยครั้งใดก็ได้ความรู้มากมายไปประดับสมอง ... ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านค่ะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 11 ม.ค. 14, 22:14

นั่งอ่าน นิทานชาวไร่ของ
นอ. สวัสดิ์ ท่านเขียนถึง พระองค์เจ้าคำรพ อยู่ด้วย
เอามาเสนอเพื่อให้ผู้สนใจอ่านกัน
มีสามหน้า



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 11 ม.ค. 14, 22:15

ต่อ..........





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 11 ม.ค. 14, 22:16

สุดท้าย ...........



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 12 ม.ค. 14, 08:21

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ คุณ visitna
คำบอกเล่าของคุณหลวงวรภักดิ์ภูบาลที่น.อ.สวัสดิ์ จันทนีถ่ายทอดลงเป็นหนังสือ   สอดคล้องกับคำบอกเล่าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในเรื่องโครงกระดูกในตู้ ตอนที่ว่า
เรื่องพระนิสัยของพระองค์เจ้าคำรบก็แปลก  ท่านเป็นคนขี้โมโห ท่านได้มีเรื่องวิวาทกับพี่สาวของท่าน ท่านลุแก่โทสะ คว้าปืนไปยิงขึ้นฟ้าที่หน้าตำหนัก แต่มิได้หมายจะทำร้ายใคร คงแค่ระบายพระโทสะ แต่พี่สาวท่านไปแจ้งต่อกลาโหม ผลคือท่านถูกปลดจากพลโทแม่ทัพ เป็นทหารกองหนุนเสียเดี๋ยวนั้น 

แต่ในหนังสือนิทานชาวไร่บอกว่ามีเรื่องกับหลานชาย   ถ้าเอาสองเรื่องมาบวกกัน หลานชายที่ว่านี้อาจจะเป็นลูกของพี่สาวท่านกระมัง
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าไว้ด้วยว่า หม่อมแดงแม่ของท่านไม่เป็นที่ชอบใจของพี่ๆของพระองค์เจ้าคำรบ  ซึ่งสนับสนุนฝ่ายหม่อมคนเดิมของพระองค์เจ้าคำรบอยู่   จึงเป็นเหตุให้เกิดเรื่องกระทบกระทั่งกันได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 12 ม.ค. 14, 08:25

ส่วนคำถามที่เกิดขึ้นอีกข้อหนึ่ง คือข้อความที่คุณ  visitna ยกมา มีตอนหนึ่งบอกว่า
"สมเด็จวังบูรพาทรงสงสารพระองค์เจ้าคำรบ เพราะเคยเป็นเด็กในวังของพระองค์มาก่อน"

พระองค์เจ้าคำรบทรง "เคยเป็นเด็กในวัง" บูรพามาแต่ครั้งไหน?
โอกาสที่พระองค์เจ้าคำรบได้เข้าวังบูรพาเมื่อครั้งเป็น "เด็ก"  คือช่วงที่หม่อมเจ้าจำรูญพี่ชายของท่านไปพึ่งบารมีสมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุฯ หลังจากกรมขุนวรจักรฯสิ้นพระชนม์   วังวรจักรตกอยู่กับพระองค์เจ้าปรีดาเพียงองค์เดียว
เป็นไปได้ไหมว่าในช่วงหม่อมแม่ต้องโทษ   หม่อมเจ้าจำรูญพาน้องชายไปอยู่วังบูรพา ซึ่งฟังขึ้นกว่าไปอยู่อดๆอยากๆกับหม่อมยาย   
รูปการณ์เป็นได้ว่า พอเกิดเรื่องบ้านแตกสาแหรกขาด  ลูกโตๆแล้วแบ่งหน้าที่กัน   พี่สาวพาน้องสาวเล็กๆอายุสิบขวบต้นๆสองคน ซึ่งยังอยู่กับแม่ไปอยู่ในวังฝ่ายในกับตัวเอง    ส่วนพี่ชายก็พาน้องชายคนเล็กไปอยู่วังบูรพา
พระองค์เจ้าคำรบจะต้องอยู่ในวังบูรพานานพอสมควร    จนสมเด็จวังบูรพาคุ้นเคย  โตจนเป็นนายทหารผู้ใหญ่แล้วก็ยังทรงพระเมตตาว่าเป็น "เด็กในวัง" ของท่าน     ถ้าอยู่ในวังบูรพาแค่แป๊บๆเดือนสองเดือน ไม่น่าจะทรงพระเมตตาขนาดนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 15 ม.ค. 14, 09:10

ข้อมูลจากภายนอกที่ขัดแย้งกับรายละเอียดในเรื่องนี้ทำให้งงไปหมด  ยากจะสรุปลงไปว่าอะไรเป็นอะไร    
ได้แต่ " ถ้า" และ "ถ้า"

ถ้าหากว่าพระองค์เจ้าคำรบทรงเป็น "เด็กในวังบูรพา" ก็ตีความได้อีกอย่างว่า ท่านไม่ได้พลัดพรากจากหม่อมแม่ของท่านไปอยู่ในพระราชฐานฝ่ายใน กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร อย่างที่เล่าไว้ในเรื่อง   แต่ว่าไปอยู่ในวังบูรพากับพี่ชาย -คือหม่อมเจ้าจำรูญ    และคงอยู่หลายปี ได้เป็นนักเรียนทหารซึ่งเข้าเรียนกันตั้งแต่เด็กๆ ในสมัยนั้นจนเป็นหนุ่มเรียนจบเป็นนายทหาร ออกมารับราชการในกองทัพ      
สมเด็จวังบูรพาจึงทรงคุ้นเคยถึงกับทรงพระเมตตาช่วยเหลือให้พ้นจากเป็นทหารกองหนุน ข้ามฟากจากนายพลทหารมาเป็นอธิบดีตำรวจ ใหญ่ยิ่งกว่าเดิมอีก

ถ้าคิดว่าพระองค์เจ้าคำรบพลัดพรากจากหม่อมแม่ไปอยู่กับหม่อมยายก่อน แล้วค่อยเข้าไปอยู่ในวังกับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนฯ   จากนั้นหม่อมแม่พ้นโทษกลับมาอยู่บ้าน  พระองค์เจ้าคำรบจึงค่อยไปอยู่กับหม่อมเจ้าจำรูญ พึ่งพระบารมีสมเด็จวังบูรพา   ก็ทำให้คิดว่าทำไมเส้นทางถึงยอกย้อนขนาดนั้น   ไปอยู่กับพี่ชายเสียแต่แรกไม่ง่ายกว่าหรือ
เพราะจากคำให้การของพระองค์เจ้าปรีดา  เมื่อมีคดีขัดแย้งกับหม่อมเจ้าจำรูญเรื่องที่ดิน     พระองค์เจ้าปรีดาแถลงว่าหม่อมเจ้าจำรูญมีบ้านอยู่แล้วที่วัดราชนัดดา    ก็แสดงว่าหม่อมเจ้าจำรูญผู้ออกไปพึ่งพระบารมีสมเด็จวังบูรพาอยู่ตั้งแต่เสด็จพ่อกรมขุนวรจักรฯสิ้นพระชนม์  มีบ้านของหม่อมยายให้อาศัยอยู่ใกล้ๆวังบูรพา    
เมื่อหม่อมแม่ถูกจับไปลงโทษ   พี่ชายก็รับน้องชายไปอยู่รวมกันที่บ้านหม่อมยาย    และพาน้องไปพึ่งบารมีสมเด็จวังบูรพาอีกองค์หนึ่ง จนท่านคำรบน้อยได้เข้าเรียนร.ร.ทหาร
ถ้าเป็นเช่นนี้ก็เป็นเหตุผลรับกันว่าทำไมหม่อมยายจึงอยู่บ้านตัวเอง ไม่มาอยู่กับหม่อมแม่ผู้เป็นลูกสาว     เพราะท่านมีหลานชายองค์โตอยู่ด้วยนี่เอง  จึงอยู่บ้านตัวเองสะดวกกว่า ไม่ต้องทิ้งบ้านมาอยู่แออัดกับลูกสาวและหลานเล็กๆอีก 3 องค์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 19 ม.ค. 14, 19:15

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับหม่อมฉวีวาด ในเรื่องการหนีออกไปยังกัมพูชา คัดจากพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ดังนี้

ถึงผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

ด้วยหม่อมฉวีวาดในกรมขุนวรจักรหนีไปครั้งนี้ ฉันมีความวิตกคงจะเป็น
ที่เสียเกียรติยศมาก ได้ให้ชำระความมารดาก็ไม่ได้ความตลอด เจ้าพระยา
ภาณุวงศ์เอาตัวบรฮิมมาถามความแจ้งอยู่กับพระยาภาณุวงศ์แล้ว การมา
เป็นดังนี้เป็นที่อัปยศนัก ได้ปรึกษากับคุณสุรวงศ์ และท่านกรมท่าคิดว่า
จะให้เรือไฟไปตาม แต่กลัวไม่ทัน
การเรื่องนี้จะควรทำอย่างไรได้ ขอให้เจ้าคุณช่วยด้วย เป็นที่อับอายทั่วกันทั้งราชตระกูล
(พระปรมาภิไธย)
วันอาทิตย์ แรม ๑๒ ค่ำเดือน ๑๑ ปีชวด อัฐศก ๑๒๓๘


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 19 ม.ค. 14, 19:56

คุณหนุ่มสยามเปิดกรุขุมทรัพย์ แง้มฝาหีบสมบัติให้เห็นอีก ๑ ใบใหญ่    ยิ้มเท่ห์

ก่อนอื่นขอถอดรหัสพ.ศ.ก่อนนะคะ    
1  ปีชวด อัฐศกศักราช 1238 ตรงกับปีพ.ศ.2419 ค่ะ
2  วิกฤตวังหน้า เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2417  สองปีก่อนหน้านี้
3  พระองค์เจ้าคำรบ ประสูติเมื่อ วันที่  3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2414

ถอดรหัสออกมาได้ดังนี้
1  หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดหนีออกนอกพระราชอาณาจักรสยาม 2 ปี หลังจากเกิดวิกฤตวังหน้า    เป็นอันตัดปัญหาได้เด็ดขาด ว่า เป็นคนละเรื่องคนละเหตุการณ์   ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
2 เมื่อหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดหนีออกไปนั้น  พระองค์เจ้าคำรบเพิ่งมีพระชันษาได้ 5 ขวบ    ไม่ใช่ 8 ขวบอย่างที่กล่าวไว้ในโครงกระดูกในตู้

นำไปสู่คำถามดังนี้



1   เรื่องของม.จ.ฉวีวาดหนีตามผู้ชาย เป็นเรื่องอื้อฉาว รู้ถึงพระเจ้าอยู่หัว รู้ถึงสมเด็จเจ้าพระยาฯ  ก็ไม่ต้องสงสัยว่าพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายก็ย่อมจะรู้  พวกปราโมชก็ต้องรู้กันทั่วทุกคน
เหตุไฉน  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์จึงไม่เคยได้ระแคะระคายเลย ไม่ว่าจากท่านพ่อ หม่อมแม่ ท่านลุง ท่านป้า ทั้งหลาย    แต่รู้จากปากท่านป้าฉวีวาดเพียงองค์เดียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 19 ม.ค. 14, 20:07

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับหม่อมฉวีวาด ในเรื่องการหนีออกไปยังกัมพูชา คัดจากพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ดังนี้

ถึงผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

ด้วยหม่อมฉวีวาดในกรมขุนวรจักรหนีไปครั้งนี้ ฉันมีความวิตกคงจะเป็น
ที่เสียเกียรติยศมาก ได้ให้ชำระความมารดาก็ไม่ได้ความตลอด เจ้าพระยา
ภาณุวงศ์เอาตัวบรฮิมมาถามความแจ้งอยู่กับพระยาภาณุวงศ์แล้ว การมา
เป็นดังนี้เป็นที่อัปยศนัก ได้ปรึกษากับคุณสุรวงศ์ และท่านกรมท่าคิดว่า
จะให้เรือไฟไปตาม แต่กลัวไม่ทัน
การเรื่องนี้จะควรทำอย่างไรได้ ขอให้เจ้าคุณช่วยด้วย เป็นที่อับอายทั่วกันทั้งราชตระกูล
(พระปรมาภิไธย)
วันอาทิตย์ แรม ๑๒ ค่ำเดือน ๑๑ ปีชวด อัฐศก ๑๒๓๘ 

2  สิ่งที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เรียกว่า "ริบราชบาตร" คือการที่พนักงานมาเกาะกุมตัวหม่อมย่าของท่านไปชำระความ  และ/หรือ เอาไปลงโทษแทนลูกสาวซึ่งจับกุมตัวไม่ได้     หม่อมย่าก็ส่งลูกสาวเล็กๆเข้าวังไป  ลูกชายคนเล็กก็แยกไปอีกทาง    แต่ญาติอื่นๆในวังวรจักรไม่ได้รับโทษ เพราะไม่เกี่ยวข้อง
    เรื่องนี้คงเป็นเรื่องน่าอับอายขายหน้าสำหรับหม่อมเจ้าอื่นๆในวังวรจักรมาก จึงไม่มีใครยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้อง

3  ท่านคำรบน้อยอายุแค่ 5 ขวบเท่านั้น ไม่ใช่ 8 ขวบ  สมัยนี้เท่ากับอยู่อนุบาลสอง    หม่อมย่าของท่านจะใช้ให้เดินขายพุทราได้ลงคอเชียวหรือ 
    อย่าว่าแต่เป็นหม่อมเจ้าพระนัดดาในรัชกาลที่ 2 เลย  ต่อให้เป็นบ่าวในบ้าน ก็ไม่น่ามีนายคนไหนใช้บ่าวอายุ 5 ขวบไปเดินขายของ    ไหนจะยังไม่ประสีประสา   ไหนจะนับเงินยังไม่ถูก  ไหนจะหลงทางเอาง่ายๆ อีกด้วย   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง