เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 154776 โครงกระดูกในตู้ โดยคึกฤทธิ์ : ข้อเท็จจริงจากการชันสูตร
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:55

หม่อมเจ้าหญิงที่มาเสกสมรสกับพระองค์เจ้าปราโมช  แสดงว่าเป็นชั้นนัดดาของรัชกาลที่ ๑ หรือคะ?

พระองค์เจ้าปรีดาประสูติ ๒๓๗๘  แสดงว่าหม่อมแม่ท่านน่าจะประสูติอย่างน้อยประมาณ ๒๓๕๘ - ๒๓๖๓  ท่านใดหนอ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 21:07

ถ้าอ่านพระนามท่านออกละก็ รับรองหาเจอแน่นอนค่ะ  เอาคำแรกคำเดียวก็ได้
คุณ tita ช่วยอ่านคำหน้า สะกดว่า รทวย หรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 21:08

แผนที่จริงๆ ชัดกว่านี้ครับ แผ่นขนาดใหญ่กว่า A3 พอดีผมย่อไม่ให้ไฟล์ใหญ่เกินกำหนด
ที่คุณ tita ถาม เรื่องเรือนหม่อมเจ้าหญิงรทวย 
จริงๆ แล้วแผนที่เขียนว่า หม่อมเจ้าหญิงรทวย ร่วมมารดาพระองค์เจ้าปรีดา ครับ
บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 21:09

แผนที่ที่ผมแปะให้ดูกัน มาจากเอกสารจดหมายเหตุครับ พอดีเมื่อเช้ารีบ ไม่ทันอธิบาย
เอกสารเรื่อง ที่วังกรมขุนวรจักรธรานุภาพ ที่หม่อมเจ้าจรูญและพระองค์เจ้าปรีดาวิวาทกัน
มีความพิสดารอยู่ จะสรุปสาระสังเขปให้นะครับ

๕ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒ หม่อมเจ้าจำรูญ (ปราโมช) กราบบังคมทูล ว่า
ตนไปอาศัยสมเด็จฯ วังบูรพาอยู่มาช้านาน ใคร่จะมีที่อยู่ของตัวเอง
เลยไปทูลขอจากพระองค์เจ้าปรีดาๆ ก็ไม่ให้ ว่าจะใช้ที่นั้นจัดหาผลประโยชน์
๓๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๓ รัชกาลที่ ๕ มีพระราชกระแส ว่าพี่น้องมีด้วยกันมาก ถ้าจะแบ่งให้ก็คงยุ่งไม่สิ้นสุด
ถ้าม.จ. จำรูญจะอ้างสิทธิ ก็เลยกำหนดมาช้านานแล้ว
มีพระราชดำริว่าให้พี่น้องตกลงกัน ทำนองว่าให้พระองค์เจ้าปรีดาอนุญาตให้หม่อมเจ้าจำรูญอาศัย ไม่ถึงแก่ต้องให้กรรมสิทธิเลย
๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๓ พระองค์เจ้าปรีดากราบบังคมทูล ว่าหม่อมเจ้าจำรูญมีบ้านอยู่แล้วที่ริมวัดราชนัดดา
แต่ถ้าจะมาปลูกบ้านอยู่ด้วยกันก็ยินดี เพียงแต่ที่หม่อมเจ้าจำรูญอยากได้นั้นอยู่ด้านถนนเจริญกรุง ซึ่งพระองค์เจ้าปรีดาใคร่จะปลูกโรงแถวให้คนเช่าหารายได้

ความในช่วงแรกจบไปแค่นี้
บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 21:10

ต่อมาในปีร.ศ. ๑๑๖ มีการตัดถนนวรจักรผ่านที่วังกรมขุนวรจักรเดิม เกิดเรื่องขึ้นอีก

๒๕ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖ หม่อมเจ้าดำรง (ปราโมช) กราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ว่าถนนใหม่ตัดผ่านวัง (ดูในแผนที่ที่ผมแปะไว้อะครับ แนวถนนคือเส้นคู่ด้านล่าง)
เหลือที่เป็นแถบแคบๆ อยู่ เป็นฟากตะวันตกของถนน เหลือที่ไม่พอปลูกเรือน สำหรับองค์ท่านเอง กับหม่อมเจ้าเอนก (ปราโมชเหมือนกัน)
ทั้งสององค์เลยไปทูลพระองค์เจ้าปรีดา ขอประทานที่ว่างๆ ทางฝั่งตะวันออกเพื่อปลูกเรือนใหม่
ไปขอถึงสามครั้งก็ไม่ได้ ไล่ให้ไปหาที่สวนอยู่ที่อื่นบ้าง ให้ไปปลูกในที่วังตอนลึกๆ ไม่ติดถนนบ้าง
ซึ่งหม่อมเจ้าดำรงก็ไม่เอา ว่าองค์ท่านเองเป็นผู้พิการอยู่กับเรือน หากินในทาง “รับจ้างทำการแลค้าขายอยู่กับเรือน” 

เมื่อเรื่องถึงที่ประชุมเสนาบดี มีมติให้สมเด็จฯ วังบูรพาไปเจรจาดูก่อน

ต่อมา วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๖ หม่อมเจ้าเอนก มีหนังสือกราบบังคมทูลเรื่องที่บ้านอีก

๒๑ สิงหาคม ทั้งหม่อมเจ้าเอนกและหม่อมเจ้าดำรงมีหนังสือกราบบังคมทูล
ว่าสมเด็จฯ วังบูรพาพยายามเจรจาแล้ว แต่ไม่เป็นผล พระองค์เจ้าปรีดาทรงยืนยันกรรมสิทธิของท่าน

๒๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๖ เรื่องเข้าที่ประชุมสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
สมเด็จฯ วังบูรพาทรงรายงาน ว่าหม่อมเจ้าเอนกเป็นคนเสพสุรา ส่วนหม่อมเจ้าดำรงก็คบเพื่อนมาก ราวกับซ่องผู้ร้าย
เป็นความกับพระองค์เจ้าปรีดาอยู่เสมอ ฯลฯ 
ที่ประชุมก็อภิปรายกันยืดยาว ท้าวความไปถึงคราวกรมขุนวรจักรฯ สิ้น ว่าได้มีการทำบัญชี แบ่งทรัพย์มรดกในหมู่บุตรไปแล้ว
ส่วนที่วังไม่ได้แบ่ง ตกเป็นของพระองค์เจ้าปรีดาเพียงองค์เดียว โดยเข้าใจว่าจะให้พี่น้องอาศัยอยู่ด้วยกัน มีรายได้บำรุงราชสกุลสืบไป

ยังไม่จบนะครับ ว่างๆ จะมาสรุปต่อ
บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 21:28

อีกนิดเดียวครับ

๙ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๖ พระองค์เจ้าปรีดามีหนังสือกราบบังคมทูล
ทรงท้าวความว่าในปีจ.ศ. ๑๒๓๒ กรมขุนวรจักรฯ ทรงจัดซื้อที่ดินราษฎรเพื่อทำวัง รวมราคา ๕๑ ชั่งเศษ
สร้างวังแล้วได้สักสามเดือน ก็ทรงทำหนังสือทำนองพินัยกรรม ซึ่งไม่พูดถึงที่วัง
คงมีเพียงรับสั่ง ว่าประทานวังให้พระองค์เจ้าปรีดาปกครองต่อไป
เมื่อกรมขุนวรจักรฯ สิ้นแล้ว พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ก็ช่วยกันจัดการมรดก มีสมเด็จฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์เป็นประธาน
ก็ไม่มีผู้คัดค้านอันใด ตนก็ปกครองวังสืบมา
จนร.ศ. ๑๑๓ หม่อมเจ้าจำรูญจึงก่อความขึ้น 
ถึงร.ศ. ๑๑๖ มีเรื่องตัดถนนวรจักรซ้อนเข้ามาอีก ทางหม่อมเจ้าเอนกต้องการปลูกเรือนใหม่
ในที่ซึ่งกรมขุนวรจักรฯ เคยประทานให้ตน (พระองค์เจ้าปรีดา) ปลูกเรือน แต่ตนไม่ยอม
เพราะจะใช้ที่นี้หาผลประโยชน์ และเจ้านายน้องๆ พวกนี้ก็หยาบคายมาก ฯลฯ

เมษายน ร.ศ. ๑๑๗ หม่อมเจ้าเอนก หม่อมเจ้าดำรง กราบบังคมทูลฟ้องอีก ความก็เดิมๆ

๗ เมษายน ร.ศ. ๑๑๘ รัชกาลที่ ๕ มีพระราชกระแส ว่าความทำนองนี้แต่เดิมต้องมีศาลพิเศษ (คือศาลรับสั่ง ?)
เพราะเป็นความในพระราชวงศ์ แต่บัดนี้การศาลก็ก้าวหน้าไปแล้ว ควรไปฟ้องร้องกันในศาลก่อน พอถึงที่สุด คือฎีกา แล้วค่อยมาให้ในหลวงตัดสิน

เอกสารจบแค่นี้แหละครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 21:31

หมัดเด็ดอยู่ที่คุณพีรศรีนี่เอง
เห็นจะต้องลงจากเวทีไปนั่งบนเก้าอี้คนดู  จนกว่าคุณพีรศรีจะเอาอะไรจากหอจดหมายเหตุมาให้ดูกันอีก

หม่อมเจ้าหญิงรทวยที่ว่าร่วมมารดากับพระองค์เจ้าปรีดา   ในหนังสือพระอนุวงศ์เขียนผิดเป็นหม่อมเจ้าชายรทวย   ไม่มีปีประสูติ
มีแต่ปีสิ้นชีพิตักษัย ในพ.ศ. 2442  

อ้างถึง
๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๓ พระองค์เจ้าปรีดากราบบังคมทูล ว่าหม่อมเจ้าจำรูญมีบ้านอยู่แล้วที่ริมวัดราชนัดดา
แต่ถ้าจะมาปลูกบ้านอยู่ด้วยกันก็ยินดี เพียงแต่ที่หม่อมเจ้าจำรูญอยากได้นั้นอยู่ด้านถนนเจริญกรุง ซึ่งพระองค์เจ้าปรีดาใคร่จะปลูกโรงแถวให้คนเช่าหารายได้
บ้านริมวัดราชนัดดา  ที่เดียวกับบ้านหม่อมยายที่ท่านคำรบน้อยไปปีนต้นพุทราหารายได้อยู่รึเปล่าหนอ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 21:45

    พี่น้องทะเลาะเป็นความกันถึงขนาดนี้  น่าจะตัดเป็นตัดตายกัน     เป็นไปได้ยังไงว่าพระองค์เจ้าปรีดายกวังของท่านให้พี่ๆน้องๆแบ่งกันไป เมื่อท่านสิ้นชีพิตักษัย  อย่างที่เล่าในหนังสือ

   
อ้างถึง
ซึ่งหม่อมเจ้าดำรงก็ไม่เอา ว่าองค์ท่านเองเป็นผู้พิการอยู่กับเรือน หากินในทาง “รับจ้างทำการแลค้าขายอยู่กับเรือน”

    หม่อมเจ้าดำรง ปราโมช   เจ้าของคดีฟ้องร้อง  เป็นองค์เดียวกับ "ท่านปั๋ง"  หรือ "ท่านลุงปั๋ง" ที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  เล่าไว้ในหนังสือว่าท่านเป็นโปลิโอตั้งแต่ยังเด็ก  เลยเป็นง่อยเดินไม่ได้   ทำให้ต้องนั่งอยู่ใกล้ๆเสด็จพ่อ ไปไหนไม่ได้ เลยได้วิชาการช่างมาจากกรมขุนวรจักร  โดยเฉพาะวิชากลึงตลับงาเป็นทรงต่างๆ  ซึ่งเป็นของสะสมของชาววังสมัยรัชกาลที่  5  สามารถประกอบอาชีพมีรายได้จากตลับงาพวกนี้

   ตลับงาที่ว่า ตกทอดมาถึงม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปัจจุบันยังอยู่ในห้องนอนของท่านที่บ้านซอยสวนพลู  อยู่ในตู้เก็บตลับงา  มีเป็นชุด ชุดละ 10-15 ใบ ทุกใบมีฝาเกลียวเปิดได้และสามารถซ้อนจากใหญ่ไปจนเล็กที่สุด

    ตัวอย่างตลับงา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 21:48

คุณพีรศรีเจอเรื่องคดีความของหม่อมเจ้าฉวีวาด ที่หม่อมแม่ต้องรับโทษรับเคราะห์แทนไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 21:55

ทั้งหม่อมเจ้าอเนก และหม่อมเจ้าดำรงเป็นโอรสรุ่นใหญ่ของกรมขุนวรจักรฯ    หม่อมเจ้าอเนกประสูติปี 2397   ม.จ.ดำรงประสูติปี 2399  น่าจะพระชันษาไล่เลี่ยกับม.จ.ฉวีวาด ทั้งสององค์
ม.จ.ดำรงมีพระชันษายืนยาวมาจนพ.ศ. 2465  ในรัชกาลที่ 6   ถึงสิ้นชีพิตักษัย     
บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 22:44

คดีหม่อมเจ้าฉวีวาด หาแล้วไม่พบครับ
ดูในหนังสือกราบบังคมทูล ช่วงปีนั้น โดยมากเป็นความเรื่องพระปรีชากลการ
ถ้าอยากตามเรื่องจริงๆ อาจต้องไปดูที่ห้องเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาตินะครับ

เรื่องวังกรมขุนวรจักรฯ มีเอกสารอีกชุดหนึ่ง ผมว่าน่าสนใจ แม้ว่าอาจจะไม่เกี่ยวโดยตรงนัก
ร.๕ ย.๑๓.๑๐/๓๔ พระองค์เจ้าปรีดา ขอพระราชทานสืบประเดนเรื่องที่วัง
เหตุเกิดในปีร.ศ. ๑๒๒ ครับ เริ่มจากมีคนชื่อนายสนอม เป็นโจทย์ฟ้องพระโลหเดชพิจิตร์ หลวงนวกิจโกศล เรื่องการจำนำที่ดินใกล้ๆ ถนนวรจักร
สืบความไปมา ปรากฏว่าพระโลหเดชพิจิตร์และหลวงนวกิจโกศล ไม่ใช่เจ้าของที่
แต่พระองค์เจ้าปรีดาทรงอ้าง ว่าเป็นที่ของท่านต่างหาก ว่าเป็นที่หลวงพระราชทาน
ที่สุดก็ทรงกล่าวว่าในหลวงทรงทราบเรื่องที่นี้ดี ขอให้ศาลถวายสืบพยานพระองค์ท่าน (รัชกาลที่ ๕)
ในหลวงก็ทรงพระกรุณา พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ศาลสืบพยาน ไต่ถามพระองค์ท่านเป็นข้อๆ
ข้อ ๑ มีใจความว่าทรงจำไม่ได้เลยว่าได้พระราชทานที่ดินนี้ให้จำเลย (พระโลหเดชพิจิตร์ และหลวงนวกิจโกศล)
ข้อ ๒ ไม่ทรงยืนยันว่าที่ดินนี้เป็นส่วนหนึ่งของวังกรมขุนวรจักร เพราะเคยทอดพระเนตรแต่เมื่อสมัยยังเป็นสวนอยู่ เดี๋ยวนี้เปลี่ยนแปลงไปจนจำไม่ได้
ข้อ ๓ “เหตุซึ่ง (กรมขุนวรจักร) ให้เจ้าพนักงานซื้อถวายนั้น เมื่อแรกเปนเจ้าแผ่นดิน กรมขุนวรจักรยังว่าการกรมท่าอยู่
ไม่สู้ถูกกับผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  ท่านจะลาออกท่านจึงยื่น [เรื่องราว] ว่าทรงพระชราแล้ว
ที่วังซึ่งเสด็จอยู่ที่สวนสราญรมย์นี้ เปนวังของหลวงอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังนัก 
ถ้าสิ้นพระชนมลง ลูกหลานจะอยู่ไม่ได้ จึงขอให้ช่วยสั่งเจ้าพนักงานให้ช่วยจัดซื้อที่ให้ริมถนนเจริญกรุง
ซึ่งเวลานั้นเปนสวนเปลี่ยว แลถือกันว่าไกลมาก  ลูกหลานจะอยู่ต่อไปจะได้ไม่กีดขวาง 
จึงได้สั่งพระยาจิรายุมนตรี (เนียม) เมื่อเปนพระฤๅพระยาราชรองเมือง ให้ไปจัดซื้อถวาย”
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 23:24

ขอบคุณครับ
อ้างถึง
ข้อ ๓ “เหตุซึ่ง (กรมขุนวรจักร) ให้เจ้าพนักงานซื้อถวายนั้น เมื่อแรกเปนเจ้าแผ่นดิน กรมขุนวรจักรยังว่าการกรมท่าอยู่ ไม่สู้ถูกกับผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  ท่านจะลาออกท่านจึงยื่น [เรื่องราว] ว่าทรงพระชราแล้ว ที่วังซึ่งเสด็จอยู่ที่สวนสราญรมย์นี้ เปนวังของหลวงอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังนัก  ถ้าสิ้นพระชนมลง ลูกหลานจะอยู่ไม่ได้ จึงขอให้ช่วยสั่งเจ้าพนักงานให้ช่วยจัดซื้อที่ให้ริมถนนเจริญกรุง ซึ่งเวลานั้นเปนสวนเปลี่ยว แลถือกันว่าไกลมาก  ลูกหลานจะอยู่ต่อไปจะได้ไม่กีดขวาง 
จึงได้สั่งพระยาจิรายุมนตรี (เนียม) เมื่อเปนพระฤๅพระยาราชรองเมือง ให้ไปจัดซื้อถวาย”

อย่างนี้ก็แปลว่า เมื่อทรงลาออกจากราชการนั้น ที่วังวรจักรยังเป็นสวนเปลี่ยวอยู่เลย ส่วนตัวตำหนักที่จะขังพระองค์ไม่ให้ออกมาสู่ภายนอก จนต้นตะขบโตขวางประตูนั้น ก็ยังไม่ได้สร้าง

จะว่าขังพระองค์ที่วังเดิมแถวสวนสราญรมย์ก็คงไม่ใช่อีก เพราะถ้าไม่ออกมาดูโลกบ้าง ก็คงสร้างวังวรจักรไม่ได้
ตกลงเรื่องขังพระองค์อยู่แต่ในวังก็เป็นเรื่องกุทั้งดุ้นแน่นอน สมดังที่ท่านอาจารย์เทาชมพูเอาพ.ศ. ปีที่สิ้นพระชนม์มายืนยันนั้นแล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 13 พ.ย. 13, 09:54

งั้นข้อเขียนตรงนี้ก็คลาดเคลื่อนเช่นกัน

" วังกรมขุนวรจักรนั้นเดิมอยู่บริเวณสวนเจ้าเชต  ใกล้พระบรมมหาราชวัง   ต่อมาท่านโปรดทำเรือกสวนและอยากประทับอยู่อย่างสงบ  จึงถวายวังเดิมซึ่งเป็นวังพระเจ้าลูกยาเธอคืนหลวง    และขอเงินคุณแม่ของท่าน (เจ้าจอมมารดาอำภา) ออกไปซื้อที่ใหญ่โตอยู่นอกกำแพงพระนคร  คือที่ถนนวรจักรเดี๋ยวนี้"

ตกลงจะเหลืออะไรมั้ยเนี่ย?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 13 พ.ย. 13, 10:00

คดีหม่อมเจ้าฉวีวาด หาแล้วไม่พบครับ
ดูในหนังสือกราบบังคมทูล ช่วงปีนั้น โดยมากเป็นความเรื่องพระปรีชากลการ
ถ้าอยากตามเรื่องจริงๆ อาจต้องไปดูที่ห้องเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาตินะครับ

คดีหม่อมเจ้าหญิงหนีออกนอกพระราชอาณาจักร น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่เล่น  แปลกใจว่าทำไมเอกสารหายากหาเย็นจังค่ะ
หวังว่าคงไม่ใช่ว่าค้นไปค้นมา  เจอว่าเป็นเรื่องกลับตาลปัตรไปเป็นอีกเรื่องนะคะ
ดูแผนที่วังพระองค์เจ้าปรีดา  หม่อมราชวงศ์ดวงใจท่านย่าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ และลูกๆได้รับที่ดินประทานจากกรมขุนวรจักรอีกแปลงหนึ่ง แยกไปจากวังวรจักรแน่นอน
เมื่อเกิดเหตุริบราชบาตรขึ้น ทางวังวรจักรจึงไม่มาเกี่ยวข้องด้วย
แต่ก็นั่นแหละ  อาจจะกลายเป็นเรื่องอะไรก็ไม่รู้   เหมือนเรื่องต้นตะขบหน้าวังก็ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 13 พ.ย. 13, 17:12

เมื่อได้หลักฐานเพิ่มเติมจากคุณพีรศรี ทำให้ดิฉันได้ภาพใหม่เกี่ยวกับกรมขุนวรจักรฯ ในช่วงพ.ศ. 2411-2415  สี่ปีสุดท้ายในพระชนม์ชีพ
หลังจากมีเรื่องขัดแย้งกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในเรื่องตั้งวังหน้า     กรมขุนวรจักรฯ ก็ทรงลาออกจากราชการ โดยอ้างว่าทรงชราภาพแล้ว   ทั้งนี้ท่านคงมีพระประสงค์จะหลีกเลี่ยงสมเด็จเจ้าพระยา ไม่ให้มีเหตุต้องพบพานกันอีก
นอกจากนั้น ก็ทรงคืนวังเดิมที่เป็นของหลวง เพราะทรงเล็งเห็นว่าหากสิ้นพระชนม์ลงไปวันใดวันหนึ่ง  บ้านหลวงก็ต้องเปลี่ยนมือไปสู่เจ้าของใหม่   จึงทรงขอพระราชทานที่ดินเพื่อเป็นกรรมสิทธิ์ของท่านและโอรสธิดา  ในที่ดินห่างไกลจากใจกลางเมือง   พระเจ้าอยู่หัวก็โปรดเกล้าฯพระราชทานให้
เมื่อทรงย้ายมาอยู่ที่ใหม่ คือวังวรจักร  เมื่อทรงออกจากราชการแล้ว ก็ไม่มีหน้าที่จะต้องเข้าเฝ้าอย่างเมื่อก่อน    ท่านก็มีเวลาพอจะทำอะไรต่อมิอะไรอย่างที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าไว้ในหนังสือ  เช่นค้นคิดการผลิตกระจกใสสีต่างๆสวยงาม   มีเวลาฝึกวิชาต่างๆให้โอรสเพื่อไว้เลี้ยงองค์ต่อไปภายหน้า
ส่วนเรื่องขังองค์ไม่ออกไปไหนเป็นปีๆ  คงจะเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว   ด้วยเหตุผลทางสังคม คือยังไงก็ต้องเสด็จออกไปในเรื่องที่จำเป็น ซึ่งมีมาเป็นครั้งคราว
ส่วนเรื่องต้นตะขบ  ถ้าไม่ใช่นิทานอีกเรื่องหนึ่ง  ความจริงก็อาจเหลือเพียงว่าวังใหม่นั้นล้อมด้วยสวนรกเหมือนป่า   เผลอนิดเดียวต้นไม้งอกงามเต็มไปหมด      ขนาดต้องลิดกิ่งกันเวลาเสด็จบนเสลี่ยงออกไปไหน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง