เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 102015 พม้า พม่า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 12:47

ข้างหน้าเจดีย์และถ้ำ มีตัวเหราเฝ้าอยู่

เจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้ ตามวัดในเมืองไทยไม่ใคร่เห็น

หอบจากย่างกุ้ง เมืองพม่า เอามาฝากคุณเทาชมพู   ยิงฟันยิ้ม

บริเวณหน้าเจดีย์กาบาเอ



สี่ตัวนี้เฝ้าระฆังอยู่หน้าถ้ำมหาปาสณคูหา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 12:49

ปากทางเข้าถ้ำ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 15:50

ภายในถ้ำมีลักษณะเป็นห้องประชุม มีอัฒจันทร์อยู่สองด้าน ตรงกลางโล่ง ใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ ๑๔ เดือน ด้วยความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนจำนวนมากที่อาสาช่วยก่อสร้างโดยไม่คิดค่าแรง งานใหญ่ชิ้นนี้จึงสำเร็จก่อนเริ่มการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ เพียงแค่ ๓ วัน  

รูปนี้ถ่ายเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 16:03

ด้วยความใหญ่โตของห้องประชุมนี้ จึงใช้เป็นสนามสอบของคณะสงฆ์พม่ามาจนทุกวันนี้  

รูปนี้ถ่ายเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 16:11

ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๖ นั้น นายกรัฐมนตรีอูนุได้อาราธนาท่านพุทธทาสภิกขุ หรือท่านพุทธทาส อินทปัญโญ มาแสดงปาฐกถาธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ท่ามกลางที่ประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์โลกในหัวข้อ “ลักษณะที่น่าอัศจรรย์บางประการของพุทธศาสนาอย่างเถรวาท” เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

ในหนังสือ “จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหภาพพม่า” บันทึกว่าในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ ๒-๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้น ได้เสด็จทรงถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และเทียนแพเป็นพุทธบูชา ทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อบูรณะพระเจดีย์จำนวน ๒,๕๐๓ จ๊าตเท่าอายุพระพุทธศาสนา และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์พม่าจำนวน ๑,๐๐๐ รูป ภายในมหาปาสาณคูหานี้ด้วย

ข้อมูลจากบทความเรื่อง เล่าเรื่องเมืองพม่า (๖) หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 21:48

ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๖ นั้น นายกรัฐมนตรีอูนุได้อาราธนาท่านพุทธทาสภิกขุ หรือท่านพุทธทาส อินทปัญโญ มาแสดงปาฐกถาธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ท่ามกลางที่ประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์โลกในหัวข้อ “ลักษณะที่น่าอัศจรรย์บางประการของพุทธศาสนาอย่างเถรวาท” เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

ท่านพุทธทาสเล่าถึงการไปแสดงปาฐกถาที่ประเทศพม่าครั้งนั้น

อาจารย์ครับ การไปแสดงปาฐกถาในงานฉัฏฐสังคายนาที่ประเทศพม่านั้น มีความเป็นมาอย่างไรครับ

เจ้าคุณพิมลธรรม (อาจ) ผู้เป็นหัวหน้าทีมเสนอแก่พระผู้ใหญ่ว่า ผมมีความเหมาะสมที่จะไปเป็นผู้กล่าวคำปราศรัยในที่ประชุมนั้น จึงถูกส่งให้ไป โดยไม่ได้บอกให้รู้ตัวก่อนล่วงหน้าในระยะยาว ต้องเตรียมคำปราศรัยในเวลาอันฉุกละหุก ผมพูดเรื่องลักษณะที่น่าอัศจรรย์บางประการของพุทธศาสนาแบบเถรวาท และต้องปราศรัยเป็นภาษาอังกฤษด้วย อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ได้ช่วยผมมากในเรื่องแปลคำปราศรัยเป็นภาษาอังกฤษ ผมกับคุณปิ๋ว (เปรมะติฏฐะ) ช่วยกันยกร่างแปลทีหนึ่งก่อน แล้วคุณสัญญาเป็นคนแก้เกลา แก้มากเหมือนกัน แดงไปหมดแหละ คำไม่เหมาะ คำยืดยาด คุณสัญญาช่วยแก้ให้ จนถึงกับสามารถพิมพ์ต้นฉบับคำปราศรัย ไปพร้อมเสร็จจากเมืองไทย พอไปถึงเจ้าหน้าที่ทางโน้นเขาขอทราบเรื่องนี้ ผมก็เลยให้ต้นฉบับที่จะปราศรัยนั้นไปชั่ววันเดียว เขาก็พิมพ์คำปราศรัยเป็นสมุดเล็ก ๆ ขึ้นมากมาย กองสูงท่วมหัว ถึงเวลาปราศรัยจริงไม่ได้พูดทั้งหมด พูดเฉพาะที่เวลาอำนวย สบายมาก (หัวเราะเหอะ ๆ)

ไปพม่าคราวนั้น (๒๔๙๗) มีเรื่องเกร็ด ๆ น่าสังเกตหลายอย่าง คราวนั้นเจ้าสีหนุเสด็จด้วย ทางพม่าเขาจัดพิธีรับเสด็จอย่างมีเกียรติสูงสุด อย่างชนิดที่เราไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเป็นถึงขนาดนั้น และเวลามีพิธีกรรมทางศาสนา คนที่มีเกียรติสูงสุดของประเทศอย่างอูนุและคนอื่น ๆ เขาจะมานั่งพับเพียบต่อหน้าพระสงฆ์ เหมือนอุบาสกอุบาสิกาอื่น ๆ ไม่มีลักษณะของผู้มีอำนาจบาตรใหญ่อะไรเลย และตอนนั้นมีประชุม พ.ส.ล. (พุทธศาสศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก) ด้วย ผมก็ได้เข้าร่วมประชุม มีสิ่งแปลกประหลาดอย่างหนึ่ง (หัวเราะ) คือผู้มีเกียรติสูงสุดของประเทศอีกคนหนึ่ง เป็นที่เคารพนับถือทั้งทางฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายศาสนา คือ อูตวิน ท่านไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษเลย จึงพูดภาษาพม่าในที่ประชุมชาวต่างประเทศหลายชาติหลายภาษา ว่ากันว่าท่านผู้นี้ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ประเทศพม่าหลุดจากอำนาจการปกครองของอังกฤษเป็นต้นมา


จาก อัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส เล่าไว้ในวัยสนธยา   พระประชา ปสนฺนธมฺโม  สัมภาษณ์

ท่านพุทธทาสถ่ายรูปหน้าเจดีย์กาบาเอ พ.ศ. ๒๔๙๗


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 22:53

สมัยหนึ่ง เมื่อประเทศพม่าตกลงจะประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนาพระไตรปิฎกที่มหาปาสาณคูหา กรุงย่างกุ้งนั้น ทางราชการประเทศพม่าได้อาราธนามายังคณะสงฆ์ไทย ขอให้ส่งพระคณะสังคีติการกะไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนาครั้งนี้ด้วย ได้นำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะสังฆมนตรีพิจารณา ที่ประชุมส่วนมากเห็นว่าไม่ควรส่งพระคณะสังคีติการกะไปร่วมประชุม เพราะประเทศพม่าเพิ่งจะได้เอกราชใหม่ ๆ การคิดจะกระทำฉัฏฐสังคายนาครั้งนี้ เป็นการคิดใหญ่เกินตัว บางท่านก็เห็นว่าควรส่งไปร่วม แต่เป็นเพียงไปสังเกตการณ์ ไม่ไปร่วมประชุมลงมติ ครั้งนั้นมีข้าพเจ้ารูปเดียว ที่เห็นว่าควรส่งพระคณะสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมด้วย เพราะเป็นเรื่องของการพระพุทธศาสนาและมีความหมายสำคัญมาก ด้วยเป็นการตรวจชำระพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎก อันเป็นพระพุทธศาสนา

เรื่องนี้ ทางประเทศพม่าได้เสนอเรื่องผ่านไปทางคณะรัฐบาลอีกทางหนึ่ง คณะรัฐบาลมีมติให้คณะสงฆ์ไทยจัดส่งคณะพระสังคีติการกะไปร่วมตามที่ประเทศพม่าได้อาราธนามา จึงเป็นอันคณะสงฆ์ไทยต้องจัดส่งพระคณะสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมกระทำสังคายนาพระไตรปืฎกจนกว่าจะสังคายนาเสร็จ

โดยที่ข้าพเจ้ามีมติเห็นชอบเพียงรูปเดียวว่า การจัดส่งพระคณะสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนานั้น พระเถระที่เป็นสังฆมนตรีในเวลานั้นไม่ยอมรับเป็นประธานนำพระสังคีติการกะไปร่วมประชุมเลย ยกให้เป็นภาระหน้าที่ของข้าพเจ้าแต่ผู้เดียว ดังนั้นข้าพเจ้าจึงต้องเป็นประธานนำพระคณะสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนาที่ประเทศพม่าถึง ๑๒ ครั้ง จนกระทั่งกระทำฉัฏฐสังคายนาแล้วเสร็จ และทำการฉลองเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ พอดี

เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าเป็นตัวการในการไปร่วมกระทำฉัฏฐสังคายนาที่ประเทศพม่าครั้งนั้น รัฐบาลพม่าซึ่งมี ฯพณฯ อูนุ เป็นนายกรัฐมนตรี มี ฯพณฯ เซอร์ส่วยใต้ เป็นประธานาธิบดี ในเวลานั้น จึงได้แต่งตั้งข้าพเจ้าให้เป็น "อัคคมหาบัณฑิต" เป็นองค์แรกพร้อมกับท่านเจ้าคุณสังฆนายกแห่งประเทศกัมพูชา นับเป็นครั้งแรกที่พระภิกษุไทยได้รับเกียรติในต่างประเทศ หรือได้รับสมณศักดิ์พิเศษ


จาก บันทึกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)

บรรยากาศการประชุมฉัฏฐสังคายนาในถ้ำมหาปาสณคูหา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 03 พ.ย. 13, 11:01

พิธีเปิดการประชุมฉัฏฐสังคายนา



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 03 พ.ย. 13, 16:34

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเข้าร่วมประชุมฉัฏฐสังคายนา ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๙๗ ด้วย ทรงบันทึกไว้เมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็นพระโศภณคณาภรณ์

๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
 
วันนี้กำหนดเปิดประชุมฉัฏฐสังคีติครั้งที่ ๒ ที่มหาปาสาณคูหา เวลา ๑๓.๒๙ น. ได้รับกำหนดการตั้งแต่ค่ำวันที่ ๑๔ พ.ย.

เช้า เวลาประมาณ ๙.๐๐ น. ได้ยินเสียงปืนสลุต ได้ยินว่ายิงรับพระเจ้านโรดม สีหนุซึ่งเสด็จเยี่ยมประเทศพม่า เพื่อเสด็จเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย

เวลาจวน ๑๓.๐๐ น. คณะพระสงฆ์ไทยไปสู่มหาปาสาณคูหา

เวลา ๑๓.๐๐ น. เศษ ท่านภัททันตเรวตมหาเถระ อภิธชมหารัฏฐคุรุ ได้ขึ้นนั่งที่ พระทั้งสิ้น….. รูป ในฝ่ายคฤหัสถ์มีอุบาสก อุบาสิกา ร่วมประชุมเป็นอันมาก คณะผู้ติดตามไทยก็ไปร่วมประชุมด้วย ท่านอูนุนายก ร.ม.ต. และภริยา ได้ไปถึงที่ประชุมเวลา ๑๓.๒๔ น. อูบาอู ประธานาธิบดีสหภาพพม่าและพระเจ้านโรดม ได้ไป และเสด็จไปถึง เวลา ๑๓.๒๙ น. เริ่มการประชุมตามกำหนดการ และเวลา ๑๔.๐๐ น.เศษ หยุดพักตามกำหนดการ อูบาอูประธานาธิบดี พระเจ้านโรดม นายก ร.ม.ต. กลับเวลาหยุดพักประชุมแล้ว

๑๕.๐๐ น. เริ่มประชุมตามกำหนดการ
 
Chattha Sangayana (the sixth Great Buddhist-Council) The opening proceedings programme of the Second Session to be held on the 5 th waning of taqaunmon 2498 Buddhist Era {1511-54} at 1.29 p.m.

1.

1.The proceedings to open at 1.29 p.m (Ven, Ble Bagaya Sayadow, Honorary Secretary of the Bharanitharaka Committee will be amouse in Pali and Burmmese)
 (Signal by ten strokes fo dreems)
2.Ven’Ble Aniskhan Sayadaw will read the Welcome Address of the Second Session of
 the Chattha Sangayana
3.Adhidhaja Maharatthaguru Bhaddanta Revata will give the five Preepts to the lay
 audienec
4.The Sangiti Bhikhus will recite Matta Sutta
5.Ven’Ble Abhidhaja Maha ratthaguru Nyaunggan Sayadaw ,the Sanghanayaka of the Sangayana proceedings will give a Pressidentail Address

ผู้แทนคณะสงฆ์ประเทศต่าง ๆ ผู้อ่านสารโดยลำดับ

๑.ลังกานิกายสยามวงศ์
๒.ลังกานิกายรามัญวงศ์
๓.ลังกานิกายอมรปุรวงศ์
๔.ไทย
๕.เขมร
๖.ลาว
๗.เวียดนาม

เวลา ๑๕.๐๐ น. เริ่มการประชุมต่อไปจนจบกำหนดการสุดท้าย จึงเลิกประชุมเวลา ๑๗.๓๐ น. เลิกประชุมแล้ว ไปนมัสการพระธาตุชเวดากอง พระธาตุชเวสุเล แล้วกลับที่พัก


ภาพจาก The Chaṭṭha Saṅgāyana Album


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
tukatuta
อสุรผัด
*
ตอบ: 138


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 04 พ.ย. 13, 11:53

ไปพม่ามาเหมือนกันค่ะเมื่อช่วงวันเกิดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้แวะเที่ยวย่างกุ้งขากลับ เพราะจุดมุ่งหมายทริปที่ไปนั่นคือรัฐยะไข่ เมืองมะรัคอู โน่นแนะค่ะ  จดๆจ่อๆจะลงรูปในการเดินทางหลายรอบแล้ว  อายจัง  วันนี้เข้ามาปูเสื่อนั่งรอดูภาพสวยๆของท่านเจ้าของกระทู้ก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 04 พ.ย. 13, 12:20

คุณตูข้าลงเรื่องนำเที่ยวเมืองมรัคอู รัฐยะไข่สลับกันไปกับเรื่องราวในย่างกุ้งบ้างก็ได้ เหมือนกับที่คุณเทาชมพูนำเที่ยวทะเลสาบอินเล รัฐฉาน  สลับไปมาดีออก ไม่น่าเบื่อ 

อยากทราบเหมือนกันว่าจากทะเลสาบอินเล เจ้าของรูปของคุณเทาชมพูไปเที่ยวที่ไหนต่อ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 05 พ.ย. 13, 11:24

ใกล้ ๆ กับเจดีย์กาบาเอและถ้ำมหาปาสณคูหา คือเจดีย์วัดชเวดอเมียต Swe daw Myat หรือวัดพระเขี้ยวแก้ว พระเขี้ยวแก้วที่วัดนี้ไม่ใช่พระเขี้ยวแก้วองค์ที่บุเรงนองถูกลังกาต้มตุ๋นมา

อายพวกฝรั่งมันหัวเราะเยาะเจ้าแผ่นดินมอญ (พระองค์หมายถึง พระเจ้าบุเรงนอง) ถูกลังกามันเมกเสียยับ ยังเป็นที่หัวเราะกันอยู่ทุกวันนี้

บุเรงนองถูกต้มตุ๋นอย่างไร หาอ่านได้ตามลิ้งก์ที่ให้ไว้ข้างล่าง

เรื่องพระเขี้ยวแก้ว พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสลังกาทวีป พ.ศ. ๒๔๔๐

ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐบาลจีนส่งพระเขี้ยวแก้วมาให้ชาวพม่าบูชา โดยประดิษฐานที่ถ้ำมหาปาสณคูหาเป็นเวลา ๔๕ วัน ในกาลนั้นได้ทำพระเขี้ยวแก้วจำลองจากงาช้างขึ้น ๒ องค์ ตั้งไว้ใกล้ ๆ กับองค์จริง เมื่อพระเขี้ยวแก้วองค์จริงกลับประเทศจีน จึงได้สร้างเจดีย์ชเวดอเมียตนี้เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วองค์จำลององค์หนึ่งไว้ที่ย่างกุ้ง ส่วนอีกองค์หนึ่งประดิษฐานที่มัณฑะเลย์

ภาพจากเน็ต


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 05 พ.ย. 13, 11:28

มีสิงห์และมกรเป็นยามคอยเฝ้าประตู  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 05 พ.ย. 13, 11:30

ทางเข้ายังมีเครื่องตรวจระเบิดอีก  ตกใจ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 05 พ.ย. 13, 11:39

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ เคยมีข่าวว่าพระเขึ้ยวแก้วที่วัดนี้ถูกโจรกรรม  ลังเล


Buddha replica relic is stolen

August 19, 2005

YANGON, Myanmar — A replica of Buddha's tooth, a holy relic of the Buddhist religion, has been stolen from a temple in a northern suburb of Yangon.

The glass casing at the Swedaw Myat--"Tooth Relic"--Pagoda in which the tooth replica had been enshrined was discovered broken Sunday, and the tooth, along with several precious gems, were missing, said an official at the Religious Affairs Ministry.

The replica relic had been kept on a bejeweled pedestal with a jewel-encrusted holder inside the glass case. Soldiers have sealed the pagoda premises, and pilgrims have not been not allowed to visit while the theft is being investigated.

There are acknowledged to be only two genuine Buddha's teeth in existence, one in China and the other in Sri Lanka. Buddhists believe the teeth, reportedly found after Buddha was cremated 2,400 years ago, bring peace and good fortune.

Beijing lent its genuine tooth to Myanmar for display in 1994 and again from December 1996 to March 1997.

When China lent the real tooth, two ivory replicas were carved to be displayed with it, and after the real one was returned to China, one replica was kept at Swedaw Myat and the other in Myanmar's second city of Mandalay.

จาก Chicago Tribune

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง