เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 102027 พม้า พม่า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 16:01

ที่นี่หรือเปล่าคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 19:05

ที่เห็นไกล ๆ ในวงกลมสีแดงน่าจะเป็นเจดีย์วัดพองดออู (Phaung Daw Oo)



พองดออู แปลว่า ท่าเทียบเรือของกษัตริย์

ภาพวัดพองดออูโดย คุณ CitizenFresh


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 19:53

เจ้าของภาพแวะไปไหว้พระบัวเข็มที่วัดนี้บ้างหรือเปล่าหนอ

ที่นี่มีพระบัวเข็ม ๕ องค์ แกะสลักจากไม้จันทน์ ขนาดองค์จริงเพียง ๕ เซนติเมตร แต่มีผู้ศรัทธาปิดทององค์พระจนมีลักษณะกลมขนาดใหญ่  ยิงฟันยิ้ม

ภาพจากเน็ต


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 20:04

ที่นี่หรือเปล่าคะ



วัดนี้ชื่อ งาเพจอง Nga Phe Kyaung  หรืออีกชื่อหนึ่งคือวัดแมวกระโดด เพราะจะมีการโชว์แมวกระโดดลอดห่วงให้ชมด้วย  ยิงฟันยิ้ม



ภาพจากเน็ต


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 20:12

ตำแหน่งวัดทั้งสอง  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 21:15

ถามเจ้าตัวแล้วว่าไปดูพระบัวเข็มหรือเปล่า    เขาบอกว่าไปดู 
รูปนี้เองค่ะ


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 21:15

ไม่ทราบว่า มีท่านใด ได้เคยมีโอกาสไปกราบสังขาร หรือกราบหลวงปู่วัดเขาตามะยะ เมืองผะอาง รัฐกะเหรี่ยง บ้างไหมครับ



u0grjgkePb8

ไม่แน่ใจว่า รัฐบาลพม่าหาศพท่านเจอหรือยัง หลังจากมือที่มองไม่เห็นในรัฐบาลชุดก่อน ๆ เอาศพของหลวงปู่ท่านไปจากวัด

มัวแต่กลัวว่าคนจะไปทำความดี ก็เลยขโมยศพท่านไปเสีย แหมน่าตีจริง ๆ หลวงปู่ท่านก็ใจดี มีเมตตาเหลือประมาณ หุงข้าวเลี้ยงคนไปถือศีลที่วัดท่านวัดละหลาย ๆ กระทะใบบัวเลยครับ ที่สำคัญวัดนี้ฉันแต่มังสะวิรัติเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 21:19

กำลังปิดทองพระบัวเข็มค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 21:30

ประเพณีแห่พระบัวเข็มรอบทะเลสาบอินเล



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 13:21

ก่อนจะไปเที่ยววัด วัง และบ้านเมืองของพม่าต่อ มาทำความรู้จักกับชื่อเรียกชนชาติ ภาษา และประเทศก่อนดีกว่า

คนไทยรู้จักเพื่อนบ้านทางทิศตะวันตกของเรามานานแล้วในนาม "พม่า" แต่ชื่อที่เจ้าตัวใช้เรียกตนเอง มีหลักฐานตั้งแต่สมัยอาณาจักรพุกามคือ "เมียนมา" หรือ "มยันมา"

ส่วนฝรั่งเรียกชื่อ "เมียนมา" เพี้ยนเป็น "Burma" เหตุที่ฝรั่งเรียกไปอย่างนั้น มีข้อสันนิษฐาน ๓ ประการคือ

๑. มาจากชื่อที่แขกอินเดียที่เรียกพม่าว่า บระมา

๒. มาจากสำเนียงยะไข่ที่อยู่ในรัฐอาระกัน (รัฐยะไข่) เพราะเมื่อชาวโปรตุเกสเข้ามาติดต่อกับพม่าในปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๗ ได้จ้างชาวยะไข่เป็นล่ามภาษาพม่า ฝรั่งจึงเรียกพม่าตามสำเนียงท้องถิ่นยะไข่ และเมื่ออังกฤษเข้ามาสัมพันธ์กับพม่าในต้นศตวรรษที่ ๑๙ จึงอาจจะเรียกพม่าตามฝรั่งโปรตุเกสอีกทอดหนึ่ง

๓. มาจากภาษาพม่าสำเนียงปักษ์ใต้ ที่เมืองทะวายในจังหวัดตะนาวศรี ชาวพม่าที่นั่นมักจะพูดแบบแปรเสียงและกร่อนเสียง พยัญชนะควบกล้ำ มร/มย มักจะออกเสียงเป็น บย/บ เมื่อฝรั่งมาติดต่อค้าขายกับชาวพม่าทางแถบตะนาวศรีจึงเรียกเมียนมาเพี้ยนไปเป็น Burma

และทำไมไทยเราจึงเรียก "เมียนมา" เป็น "พม่า"สันนิษฐานได้อีก ๒ ประการคือ

๑. มาจากภาษาพม่าสำเนียงปักษ์ใต้ ซึ่งมีการแปรเสียงกร่อนเสียง ทำให้คำว่า เมียนมา กลายมาเป็น บะมา แต่เหตุที่ไทยเลือกใช้ พ แทนที่จะเลือกใช้ บ ตามสำเนียงของพม่าปักษ์ใต้นั้น อาจเพราะเรารับชื่อพม่าผ่านทางภาษาเขียนของฝ่ายมอญ เพราะมอญปัจจุบันเขียนพม่าเป็นอักษรมอญเทียบอักษรไทยได้ว่า พมา (ไม่มีไม้เอก) แต่ทางมอญจะอ่านคำนี้ว่า เปียะเมี่ย

๒. มาจากภาษาเขียนของพม่าโดยตรงในสมัยที่พม่าได้ติดต่อกับชาวยุโรปบ้างแล้ว คือหลังจากที่เมียนมาเพี้ยนเป็น Burma แล้ว

นอกจากชื่อพม่าที่เรารู้จักกันดีแล้ว ไทยทางฝ่ายเหนือมักคุ้นเคยกับชื่อพม่าในนาม "ม่าน" ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกตามชาวไทใหญ่ คำว่า "ม่าน" จึงอาจเพี้ยนมาจากพยางค์แรกของคำว่า "เมียนมา"

เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า เมียนมา หรือ มยันมา นักปราชญ์ของพม่าก็ได้พยายามตีความหารากเดิมของศัพท์ไปต่าง ๆ กัน บ้างก็ว่าคำว่าเมียนมาน่าจะมาจากคำว่า พรหมา บ้างก็ตีความว่าเมียนมาน่าจะเป็นคำประสมระหว่างคำว่า "มรน์ หรือ เมียน" กับ คำว่า "มา" คำว่า มรน์ อ่านว่า มยัน แปลว่า "รวดเร็ว" หรืออาจเพี้ยนมาจากคำว่า มรง์ อ่านว่า มยีง์ แปลว่า "ม้า" ความหมายนี้สอดคล้องกับคำว่า กอล์ ที่พวกฉิ่นใช้เรียกพม่า ซึ่งพบความหมายเฉพาะในภาษานาคาแปลว่า "ม้า" เช่นกัน ส่วนคำหลังคือ มา แปลว่า "แข็งแรง" หรือ "เก่ง" หรือ "ชำนาญ" ความหมายของเมียนมาจึงเป็น "ชำนาญปราดเปรียว" หรือ "เข้มแข็งฉับไว" หรือไม่ก็อาจมีความหมายว่า "ม้าที่องอาจ" จึงนับเป็นความหมายที่สอดคล้องกับความเก่งกล้าของพม่าในการสงคราม และชื่อเสียงของกองทัพม้าอันเกรียงไกรในอดีต ถือเป็นความสำเร็จของนักปราชญ์พม่าที่หาความหมายในด้านดี ตรงกับความภาคภูมิใจของชนร่วมชาติที่มีต่อนักรบผู้เก่งกล้าของตน ผู้เริ่มจำแนกคำเมียนมาเพื่อหารากศัพท์เดิมเป็นสงฆ์พม่า นามว่า ทุติยจ่ออ่องซังทาซยาด่อ (พ.ศ. ๒๓๑๒) ส่วนผู้กล่าวถึงความหมายของคำดังกล่าวในเชิงชาตินิยมคือ อูโพลัต (พ.ศ. ๒๕๐๖) เหตุผลในการเปลี่ยนนามประเทศของพม่านั้น จึงดูคล้ายกับการวิจารณ์ถึงชื่อสยามว่าเป็นคำที่ต่างชาติใช้เรียกแผ่นดินไทย ขณะเดียวกันก็ตีความหมายของคำว่า "ไทย" ให้เป็นนามมงคล ว่าหมายถึง "อิสระเสรี" หรือ "ไม่เป็นทาส" นับเป็นการสะท้อนการรับใช้อุดมการณ์ชาตินิยม ที่สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในชาติตนเช่นเดียวกับพม่า

ในปัจจุบันคำว่า Myanmar หรือ เมียนมาร์ หรือ เมียนมา (ไม่มี ร์) หมายถึง ประเทศและประชาชนทั้งปวงทุกเผ่าพันธุ์ อันได้แก่ พม่า ฉาน กะฉิ่น ฉิ่น ยะไข่ คะยา กะเหรี่ยง มอญและชนส่วนน้อยอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้ และกำหนดคำว่า Bamar หรือ บะมา จะใช้บ่งชี้เฉพาะชนเชื้อชาติพม่าแท้ ๆ เท่านั้น ซึ่งเดิมทีนั้นเคยใช้คำว่า Burman ส่วนภาษาพม่าให้เขียนว่า Bamar Language, Myanmar Language หรือ Myanmese Language โดยเปลี่ยนจากเดิมที่ใช้ว่า Burmese Language ดังนั้นคำที่พม่าขอให้เลิกใช้ คือ Burma Burman และ Burmese ให้ใช้เฉพาะ Myanmar และ Bamar แทน

ข้อมูลจากบทความเรื่อง เมียนมา : นามใหม่ของพม่าในทัศนะเชิงชาตินิยม ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัช นิยมธรรม ผู้อำนวยการศูนย์พม่าศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สรุปว่าชื่อประเทศ Myanmar หรือ เมียนมาที่ "พม่า" ใช้อยู่เป็นทางการในขณะนี้เทียบได้กับชื่อประเทศสยามที่เราเคยใช้เรียกชื่อประเทศเราในอดีต คือหมายถึงประชาชนทุกเผ่าพันธุ์ในประเทศ  ในขณะที่ชื่อ Bamar หรือ บะมา เทียบได้กับ "ไทย" ซึ่งเราใช้เรียกชื่อประเทศในขณะนี้ซึ่งเป็นชื่อเผ่าพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศนั่นเอง



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 12:02

งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษในประเทศไทย ได้มีการเตรียมการล่วงหน้ากว่า ๕ ปี นับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามได้การสร้างอนุสรณ์สถานพุทธมณฑล

ส่วนในพม่ารัฐบาลอูนุ ก็ได้สร้างพุทธสถานเพื่อฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ เช่นกันคือเจดีย์กาบาเอ (KaBa Aye) แปลว่าสันติภาพโลก และถ้ำมหาปาสาณคูหาเพื่อเป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกซึ่งพม่านับเป็นครั้งที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๔๙๙)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 12:13

โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา จารึกบนแผ่นหินอ่อน ในบริเวณเจดีย์กาบาเอ

คาถาต้นฉบับ และ คำแปล

๑. ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
    นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
    สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
 
    ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
    ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
    ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
 
๒. สพฺพปาปสฺส อกรณํ
    กุสลสฺสูปสมฺปทา
    สจิตฺตปริโยทปนํ
    เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
 
    การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑
    การบำเพ็ญแต่ความดี ๑
    การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑
    นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
 

๓. อนูปวาโท อนูปฆาโต
    ปาติโมกฺเข จ สํวโร
    มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
    ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
    อธิจิตฺเต จ อาโยโค
    เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
 
    การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑
   ความสำรวมในปาติโมกข์ ๑
   ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑
   ที่นั่งนอนอันสงัด ๑
   ความเพียรในอธิจิต ๑
   นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 12:30

พระประธาน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 12:33

ที่พม่ายังคงมีความเชื่อเหมือนคนไทยว่า ต้นสาละลังกาเป็นต้นไม้สำคัญในพุทธประวัติ หลาย ๆ วัดมีต้นสาละลังกาขึ้นอยู่

ดอกสาละลังกานำมาใส่ถาดสำรับบูชาพระพุทธรูปที่ เจดีย์กาบาเอ ย่างกุ้ง





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 12:40

มีของที่ระลึกพื้นเมืองเช่นงานแกะสลักไม้ขาย ตลาดลักษณะนี้มีอยู่คล้าย ๆ กันในหลาย ๆ วัด  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง