เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4164 คำกริยาวิเศษณ์ที่เป็นรูปแบบมีทั้งด้านหน้าและหลัง เช่น เพียง.....เท่านั้น
gaoth
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


 เมื่อ 22 ต.ค. 13, 22:14

ในรูปประโยคภาษาไทย เพียง.......เท่านั้น  แสดงความหมายบอกการจำกัดนั้น  การตัดคำออกนั้นมีผลต่อความหมายคำหรือการเน้นความหมายหรือไหมค่ะ
พอดีว่าต้องการเปรียบเทียบตำแหน่งคำระหว่างภาษาจีนและไทย โดยที่วไปภาษาจีนคำกริยาวิเศษณ์จะอยู่หน้าคำกริยา เป็นคำคำเดียว แต่ภาษาไทยแปลแล้วได้เป็นรูปแบบมีด้านหน้าและหลัง   

1) เขาทำได้เพียงแต่เดินต่อไปอย่างไม่หยุดเท่านั้น

2)เขาทำได้เดินต่อไปอย่างไม่หยุดเท่านั้น                ตัดคำว่า    เพียง  ออก

3)เขาทำได้เพียงแต่เดินต่อไปอย่างไม่หยุด             ตัดคำว่า    เท่านั้น  ออก

คำว่า เพียง    เพียงแต่   และ  เพียงแค่  มีวิธีการใช้อย่างไรค่ะ
ไม่ทราบว่า เพียง+V  กับ  V +เพียง  จะมีวิธีการเลือกใช้อย่างไรค่ะ
ต.ย. เพียงพริบตาภาพนั้นก็จางหายไป       
       เขาพะวงเพียงแต่รถของเขาเท่านั้น

ค่อนข้างจะ....ไปหน่อย
1)ค่อนข้างจะแพงไปหน่อย
2)แพงไปหน่อย
3)ค่อนข้างจะแพง

ขอบคุณค่ะ
 
ขอโทษด้วยนะค่ะ มีปัญหาถามเยอะไปหน่อยค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 22:39

1) เขาทำได้เพียงแต่เดินต่อไปอย่างไม่หยุดเท่านั้น
ประโยคนี้ผิดค่ะ  ต้องเป็น
เขาทำได้แต่เพียงเดินต่อไปอย่างไม่หยุดเท่านั้น
ถ้าจะเอาคำ "เพียงแต่" ไว้ ต้องเป็นว่า

"เขาเพียงแต่เดินต่อไปอย่างไม่หยุดเท่านั้น"
คุณต้องถามแน่ๆว่า มันต่างกันยังไง   คือมันใช้ในบริบทที่ต่างกันน่ะค่ะ
ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษจะเห็นชัดว่ามันคนละคำกันค่ะ

เขาทำได้แต่เพียงเดินต่อไปอย่างไม่หยุดเท่านั้น
All he could do was walking on without stopping.
เขาเพียงแต่เดินต่อไปอย่างไม่หยุดเท่านั้น
He only walked on without stopping.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 06:06

 ฮืม


บันทึกการเข้า
gaoth
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 14:07

ไม่ทราบว่าใช้ประโยคเหล่านี้มีความหมายแตกต่างกันไหม และมีเงื่อนไขในการใช้อย่างไรคะ
1 เขามีลูกเพียง 2 คน
2 เขามีลูก 2 คนเท่านั้น
3  เขามีลูกเพียง 2 คนเท่านั้น

ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 14:15

^


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 14:29

เห็นจะต้องแนะนำให้คุณ goath ไปเปิดความหมายของคำในเว็บพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานเสียแล้วละค่ะ
http://rirs3.royin.go.th/

พิมพ์คำว่า เพียง ในช่อง ได้คำตอบมาว่า
   ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา
   สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ,
   ในคําโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.

พิมพ์คำว่า เท่านั้น  ก็ได้คำตอบมาดังนี้
เท่านั้น   ว. แค่นั้น, เพียงนั้น, ขนาดนั้น, เป็นคําเน้นความแสดงจํานวนจํากัด
   จําเพาะ.
กลับมาถึงคำถาม   
1 เขามีลูกเพียง 2 คน
2 เขามีลูก 2 คนเท่านั้น
สองข้อนี้ได้ความหมายเหมือนกัน

3  เขามีลูกเพียง 2 คนเท่านั้น
ใช้คำซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็นค่ะ
บันทึกการเข้า
gaoth
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 15:20

ยืมตัวอย่างมาจากหนังสือไวยากรณ์ไทยของอาจารย์นววรรณ พันธุเมธา หน้า 147 ค่ะ
สงสัยว่าทำไมเขียนได้หลายรูปแบบ เป็นเพราะมีข้อจำกัดในการใช้ว่าเป็นภาษาเขียน ใช้กับประโยคที่มีคำว่า "เพียง"
 ส่วนคำว่า"เท่านั้น" ใช้กับภาษาพูดหรือเปล่าคะ
ส่วนมีทั้ง "เพียง......เท่านั้น ใช้ในกรณีไหนคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 15:23

ไม่ใช่ค่ะ   เพียง กับ เท่านั้น ใช้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนค่ะ

ส่วนคำว่า "เพียง..เท่านั้น.." ก็ใช้กันแบบผิดๆน่ะค่ะ  แต่ผิดมานานจนกลายเป็นถูกไปแล้ว

อ่านมาหลายกระทู้ ชักสงสัยว่าคุณgaoth เป็นคนไทยหรือเป็นคนจีนที่เรียนภาษาไทยคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง