เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 87781 ..... สามย่าน ในความทรงจำ .....
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 15:18

คำว่า "ในเมือง" กับ "นอกเมือง" มันน่าจะมีเส้นแบ่งกันอยู่ค่ะ  คุณ scarlet พูดถึงถนนคั่นระหว่างหลังคณะวิดวะกับคณะรัดสาด   ดิฉันกลับไปจำว่ามีกำแพงกั้นอยู่      สมัยดิฉันเรียน   สีเลือดหมูกับสีดำเป็นสีขมิ้นกับสีปูนกัน    เหยียบเขตแดนกันไม่ได้  เดี๋ยวนี้คงไม่มีแล้ว
นิติศาสตร์เป็นแผนกหนึ่งของรัฐศาสตร์ในตอนนั้น    ก่อนจะย้ายข้ามถนนไปอยู่ใกล้สามย่าน     นิติศาสตร์รุ่นเก่าๆยังนับตัวเองกับนับรุ่นเป็นสิงห์ดำ  ไม่ใช่ตาชั่งขาว
ส่วนครุศาสตร์เป็นคณะที่ดิฉันมีโอกาสแวะไปน้อยมาก  อย่างแรกเพราะมันไกล     อย่างที่สองคือวิชาที่เรียนร่วมกัน ครุเป็นฝ่ายมาเรียนกับอักษร แต่ไม่มีวิชาที่อักษรเป็นฝ่ายไปเรียนกับครุ   แต่ก็จำหน้าตึกที่คุณลุงไก่นำมาลงได้แม่น 


บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 15:50

ออกไปธุระก่อนครับ เดี๋ยวค่ำ ถ้ามีเวลาจะมาตอบข้อมูลอะไรบางอย่าง มีที่ระลึกได้ครับ (ด้านหลังตึกอธิการ) และที่ไม่ต้องระลึก (ตึกจักร โรงอาหารวิดยา)
บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 18:03

ขอตอบ # 105 ก่อนนะครับ
ไม่แน่ใจว่าหลังคณะวิศวที่ติดกับรัดสาดมีกำแพงหรือไม่ ที่พอนึกออกคือ บริเวณนั้นรกๆ ไม่น่าเดินผ่าน แล้ว 2 คณะนี้ การข้ามไปมาหาสู่กัน เรียกได้ว่าน้อยมากหรือไม่มีเลยก็ว่าได้ วิชาต่างๆไม่มีที่ต้องไปเรียนอีกคณะ คณะวิดยาสิที่ต้องไปประจำ ปี1นี่สีเหลืองไปครึ่งตัว แถมเพื่อนที่เคยเรียนชั้นม.กันมา ก็อยู่ที่นั่นหลายคน
ภาษาอ. ก็อาจารย์คณะใกล้ๆกันมาสอนให้ เพราะเรียนทีละ100 คนมั้ง ที่จำได้คือ อจ. เชวง อจ. อุบล หลายท่านคงรู้จัก ยังรำลึกถึงพระคุณของท่านทุกวันนี้ครับ

ขอบคุณท่านเจ้าสำนักที่กรุณาวางเพลง ผมเข้ามาคุยแยะไปหน่อย เลยโป๊ะแตก เศร้า ลังเล

ย้อนไปที่ถนนในเมืองคั่นระหว่างคณะรัดสาดกับวิศวะ ประมาณ 10 กว่าปีก่อน เคยขับรถเข้าทางประตูรัฐศาสตร์ จำได้ว่าจากประตูซึ่งอยู่อังรีดูนองต์ออกมาถึงหน้าตึกเคมเทคออกไปพญาไทเลย เวลานั้นอาจรื้อกำแพงแล้วก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 19:43

ต้องวานคุณหนุ่มสยามช่วยมองรูปในค.ห. 83 ค่ะ  ตึกแถวที่เห็นตรงนี้คือที่เดียวกับมาบุญครองใช่ไหมคะ
ส่วนข้างล่างนี้เคยลงในกระทู้เก่ามาแล้ว บอกว่าเป็นสี่แยกปทุมวัน แต่อะไรอยู่ตรงไหน ลืมไปแล้ว

ตึกแถวฝั่งขวาของภาพ ก็เป็นสยามสแควร์ครับ ตรงป้ายโฆษณาโซนี่ก็ตรงโรงหนังสกาล่าครับ มองตามภาพไปทางสี่แยกราชประสงค์
สมัยนั้นพ่อหนุ่มสยาม คงยังไม่ได้ไปนั่งเฝ้านางสิบสองเป็นแน่

เสียดายขั้นบันไดสยามเซ็นเตอร์ที่เคยสุมหัวนั่งชมสาวๆ  ปัจจุบันปรับปรุงซะเละเทะจนนั่งไม่ได้อรรถรส



คุณลุงไก่ได้อธิบายไว้เรียบร้อยแล้วว่า เป็นสยามเซนเตอร์ ทั้งนี้จะขออธิบายเพิ่มเติมว่า ในสมัยก่อนนั้นนิยมทำวงเวียนขนาดใหญ่ บางครั้งก็เป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ บางครั้งก็ตั้งน้ำพุให้เพื่อให้การจราจรหมุนเวียน

ถนนพญาไท จากเหนือ สู่ใต้มีวงเวียน ๔ วงเวียน

๑. วงเวียนถนนพญาไท ตัดกับ ถนนราชวิถี คือ วงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

๒. วงเวียนถนนพญาไท ตัดกับ ถนนศรีอยุธยา คือ วงเวียนมักกะสัน (ไม่มีแล้ว)

๓. วงเวียนถนนพญาไท ตัดกับ เพชรุบรี คือ วงเวียนราชเทวี (ไม่มีแล้ว)

๔. วงเวียนถนนพญาไท ตัดกับ ถนนพระรามที่ ๑ คือ วงเวียนแยกพญาไท (ไม่มีแล้ว)

ถนนพระรามที่ ๖ ตัดกับถนนศรีอยุธยา มีวงเวียน (ไม่มีแล้ว)

ถนนราชดำเนินกลาง คือ วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ถนนบางเขน คือ วงเวียนอนุสาวรีย์ปราบกบฎ

วงเวียน ๒๒ กรกฎาคม

วงเวียนใหญ่

วงเวียนเล็ก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 19:47

ขอบคุณค่ะคุณหนุ่มสยาม  เอารูปน้ำพุที่วงเวียนราชเทวีมาให้ดูค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 19:54

จุฬาในความทรงจำ
ตรงที่เป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์  ในรูปเป็นตึกอะไรคะ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 20:59

ความเห็นที่ ๑๐๘ - พ่อหนุ่มคงจะลืมวงเวียนที่

สี่กั๊กพระยาศรี - ถนนเจริญกรุงตัดกับถนนเฟื่องนคร
สี่กั๊กเสาชิงช้า - ถนนบำรุงเมืองตัดกับถนนตะนาว และ
วงเวียนน้ำพุไอราพต - หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง

อ้อ - วงเวียนน้ำพุที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนินนอกตัดกับถนนเลียบคลองผดุงกรุงเกษมทั้งสองฝั่งด้วย
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 21:49

ต้องวานคุณหนุ่มสยามช่วยมองรูปในค.ห. 83 ค่ะ  ตึกแถวที่เห็นตรงนี้คือที่เดียวกับมาบุญครองใช่ไหมคะ
ส่วนข้างล่างนี้เคยลงในกระทู้เก่ามาแล้ว บอกว่าเป็นสี่แยกปทุมวัน แต่อะไรอยู่ตรงไหน ลืมไปแล้ว

ตึกแถวฝั่งขวาของภาพ ก็เป็นสยามสแควร์ครับ ตรงป้ายโฆษณาโซนี่ก็ตรงโรงหนังสกาล่าครับ มองตามภาพไปทางสี่แยกราชประสงค์
สมัยนั้นพ่อหนุ่มสยาม คงยังไม่ได้ไปนั่งเฝ้านางสิบสองเป็นแน่

เสียดายขั้นบันไดสยามเซ็นเตอร์ที่เคยสุมหัวนั่งชมสาวๆ  ปัจจุบันปรับปรุงซะเละเทะจนนั่งไม่ได้อรรถรส



คุณลุงไก่ได้อธิบายไว้เรียบร้อยแล้วว่า เป็นสยามเซนเตอร์ ทั้งนี้จะขออธิบายเพิ่มเติมว่า ในสมัยก่อนนั้นนิยมทำวงเวียนขนาดใหญ่ บางครั้งก็เป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ บางครั้งก็ตั้งน้ำพุให้เพื่อให้การจราจรหมุนเวียน

ถนนพญาไท จากเหนือ สู่ใต้มีวงเวียน ๔ วงเวียน

๑. วงเวียนถนนพญาไท ตัดกับ ถนนราชวิถี คือ วงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

๒. วงเวียนถนนพญาไท ตัดกับ ถนนศรีอยุธยา คือ วงเวียนมักกะสัน (ไม่มีแล้ว)

๓. วงเวียนถนนพญาไท ตัดกับ เพชรุบรี คือ วงเวียนราชเทวี (ไม่มีแล้ว)

๔. วงเวียนถนนพญาไท ตัดกับ ถนนพระรามที่ ๑ คือ วงเวียนแยกพญาไท (ไม่มีแล้ว)

ถนนพระรามที่ ๖ ตัดกับถนนศรีอยุธยา มีวงเวียน (ไม่มีแล้ว)

ถนนราชดำเนินกลาง คือ วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ถนนบางเขน คือ วงเวียนอนุสาวรีย์ปราบกบฎ

วงเวียน ๒๒ กรกฎาคม

วงเวียนใหญ่

วงเวียนเล็ก
ชื่อจุดตัดบนถนนพญาไทตอนที่ยังเป็นวงเวียนตามที่จำได้นะครับ อาจจะต่างกับของคุณsiamese บ้าง
เร่ิมที่วงเวียนอนุสาวรีย์ชัยฯ นอกจากตัวอนุเสาวรีย์แล้วก็มีโรงพยาบาลหญิงตรงหัวมุม
ถัดมาตัดกับถนนศรีอยุธยา เรียกว่าวงเวียนพญาไท ที่ตอนนี้นุงนังไปด้วยทางรถไฟลอยฟ้า ไม่เห็นฟ้าสวยแล้ว
จุดตัดถนนเพชรบุรี เรียกว่าวงเวียนราชเทวี ที่มีน้ำพุ แรกมีใหม่ๆเทศบาลนครกรุงเทพฯโดนวิพากษ์อ่วม ว่าเป็นทัศนะอุจาด แยกนี้สินค้าเด่นๆที่ขายกันคือที่นอน และวัดสายตาประกอบแว่น
ข้ามสะพานหัวช้างมา ตัดถนนพระราม 1 ที่รอบๆตอนนี้เป็นมาบุญครอง สยามดิสคอฟเวอรี่ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เรียกว่าวงเวียนปทุมวัน
สุดท้ายตัดถนนพระราม 4 เรียกว่า วงเวียนสามย่าน ย่านของกระทู้นี้
สมัยโน้นเรียกๆกันอย่างนี้ แต่ยืนยันไม่ได้ว่าเป็นทางการหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 22:09

คุณ Jalito ที่แยกสามย่านเคยมีวงเวียนจริงๆ เหรอ แล้วเขารื้อออกไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

สมัยโน้นที่ยังต้องไปสมัครสอบเอ็นทรานซ์ที่ศาลาพระเกี้ยว รถเมล์ก็แล่นผ่านสามย่าน ผมก็ไม่เคยเห็นวงเวียนเลย

ขอเพิ่มเติม (อดีต) วงเวียนอีกสัก ๒ ที่ครับ

วงเวียนหน้ากรมการรักษาดินแดน (รด เก่า) สวนเจ้าเชตุ และวงเวียนเล็กๆ หน้าสถานีรถไฟบางกอกน้อย ธนบุรี

เอ่ยถึงกรม รด แล้ว .. คงจะมีบางท่านระลึกถึงห้องน้ำสาธารณะใต้ต้นไทร ริมรั้ววังสราญรมย์กันบ้าง ...
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 22:48

คุณลุงไก่ทำเอาใจแป้วเกือบเป๋

เอางี้ละกันครับ ลองซูมภาพของคุณsiamese ค.ห.48 ดูนะครับ (คือผมเองไม่ค่อยถนัดถนี่กับการจัดการเกี่ยวกับภาพน่ะครับ) จะมองเห็นว่าว่าตรงแยกเป็นวงกลมสีเข้มๆอยู่

จะเปลี่ยนเป็นสี่แยกไปเมื่อไหร่ก็ยังตอบไม่ได้ ยังไม่มีเวลาไปหาหลักฐาน น่าจะเวลาใกล้ๆกับวงเวียนทั้งหลายในกรุงแหละครับ

วงเวียนอีกแห่งบนถนนพระราม 4 คือ วงเวียนวิทยุ ตรงจุดตัดที่หัวถนนสาทรเหนือ/ใต้ และถนนวิทยุ (คือแยกที่มีสะพานไทย-เบลเยี่ยมตอนนี้)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 28 ต.ค. 13, 22:58

วงเวียนคือตรงที่วงสีแดงไว้ใช่ไหมคะ 


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 29 ต.ค. 13, 06:46

ความเห็นที่ ๑๐๘ - พ่อหนุ่มคงจะลืมวงเวียนที่


วงเวียนน้ำพุไอราพต - หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง




ลืมจริง ๆ ตรงนี้หน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ มีวงเวียนอุทกทานไอราพต ๑ และ วงเวียนหน้าสถานีรถไฟปากน้ำ ๑ เชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ รวมตรงนี้มี ๒ วงเวียนครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 29 ต.ค. 13, 09:22

ออกไปธุระก่อนครับ เดี๋ยวค่ำ ถ้ามีเวลาจะมาตอบข้อมูลอะไรบางอย่าง มีที่ระลึกได้ครับ (ด้านหลังตึกอธิการ) และที่ไม่ต้องระลึก (ตึกจักร โรงอาหารวิดยา)
คุณ scarlet ยังไม่เข้ามาตอบเลยว่าโรงอาหารวิดยาอยู่ตรงไหน
ดูจากรูปนี้ ไม่เห็นค่ะ

บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 29 ต.ค. 13, 09:58

ออกไปธุระก่อนครับ เดี๋ยวค่ำ ถ้ามีเวลาจะมาตอบข้อมูลอะไรบางอย่าง มีที่ระลึกได้ครับ (ด้านหลังตึกอธิการ) และที่ไม่ต้องระลึก (ตึกจักร โรงอาหารวิดยา)
คุณ scarlet ยังไม่เข้ามาตอบเลยว่าโรงอาหารวิดยาอยู่ตรงไหน
ดูจากรูปนี้ ไม่เห็นค่ะ



เมื่อคืนเข้ามาตอบครับ แต่ระบบขัดข้อง (ของเรือนไทย เขียนค่อนข้างยาว แต่พอกดเว็บล่ม service not allowed ซะงั้น)

โรงอาหารวิดยาอยู่ปลายถนนคั่นระหว่างคณะวิศวะกับรัดสาดในรีพลาย 101 ครับ คุณเทาชมพูคงนึกออกว่าคือถนนจากคณะสิงห์ดำที่อังรีดูนองต์ ผ่านหน้ายูเนียน (ยุคผมเรียกกันอย่างนั้น เป็นสโมสร เดี๋ยวนี้เป็นอะไรไปก็ไม่ทราบ แต่จากรีพลายคุณ Crazyhorse เหมือนว่ากลายเป็นของคณะวิดยาไปแล้ว) จากยูเนียน ฝั่งตรงข้ามคือวิดยาด้านหลัง ถนนมาจนถึงพญาไท ปลายถนนฝั่งคณะวิดยา ตรงข้ามตึกเคมเทค (ตอนนี้มีหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) คือที่ตั้งของโรงอาหารวิดยาครับ
เป็นอาคาร2ชั้น (มั้ง) อาจมีชั้น 3 หรือ 4 ก็ไม่เคยขึ้นไป เพราะไม่มีธุระอะไร ไปกินข้าวที่นี่บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี1 ที่ต้องไปเรียนที่นี่เรียกได้ว่าประจำ เพราะเป็นวิชาพื้นฐาน ไม่ผ่านวิชาที่คณะวิดยา เรียนคณะผมต่อไม่ได้ครับ เพราะต้องเอาไปประยุกต์

มีโอกาสจะไปดูครับว่า ตอนนี้โรงอาหารวิดยาเป็นอะไรไปแล้ว

ผมคิดว่า ถ้าพบอาจารย์ท่านใดที่คณะวิดยา อายุมากๆหน่อย คงจำได้ว่าสภาพเดิมเป็นอย่างไร เผลอๆ อาจยังมีรูปภาพให้ดูกัน

จากในภาพ จะอยู่ทางขวามือครับ แต่ภาพไปไม่ถึง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 29 ต.ค. 13, 10:08

นานๆทีได้เดินทางย้อนอดีตก็สนุกดีค่ะ
น่าจะต้องถือไอแพด เปิดหน้ากระทู้นี้ไปเดินสำรวจเส้นทางเสียแล้ว    ตอนนี้อ่านแล้วยังนึกไม่ออกจริงๆ
ที่เรียกว่ายูเนียนคือศาลาพระเกี้ยวหรือเปล่าคะ

ถ้าท่านสมาชิกเรือนไทยพิมพ์ยาวๆ กดโพสต์แล้วเจอเว็บขัดข้อง    ให้กดลูกศรมุมซ้ายบนของจอเพื่อย้อนกลับไปหน้าเดิม   ข้อความทั้งหมดจะกลับมาค่ะ สามารถเซฟไว้ได้    จะได้ไม่สูญหายไป ให้ต้องพิมพ์ใหม่เสียอารมณ์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง