เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 87783 ..... สามย่าน ในความทรงจำ .....
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 05 พ.ย. 13, 11:42

ถ้าทราบปีที่ถ่ายภาพของแผนที่ทางอากาศนี้ด้วยก็น่าจะสันนิษฐานอะไรได้มากขึ้น

โครงการวางท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ของการประปานครหลวงเมื่อเกือบสี่สิบปีก่อน ตามแผนที่จะมีเส้นทางท่อส่งน้ำใต้ดินขนาดใหญ่จากโรงสูบน้ำลุมพินีมาตามถนนพระรามสี่และเลี้ยวเข้าถนนสี่พระยา ไปลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ลอดไปตามถนนลาดหญ้าผ่านวงเวียนใหญ่เข้าถนนอินทรพิทักษ์ ลอดใต้คลองบางกอกใหญ่ เข้าสถานีสูบน้ำท่าพระที่ใกล้ๆ สามแยกท่าพระ (สมัยโน้น) ที่กลายเป็นสี่แยกท่าพระทุกวันนี้

ตรงกลางแยกสามย่านจะเป็นบ่อพักขนาดใหญ่ติดตั้งประตูน้ำ และท่อจะหักเลี้ยวตรงนี้ และจะมีบ่อพักอีกบ่อหนึ่งที่กลางแยกสี่พระยาติดตั้งประตูน้ำเช่นเดียวกัน
แต่จะเป็นประตูน้ำแบบ Gate Value หรือ Butterfly Value นี้ผมไม่ทราบ คงต้องสอบถามทาง กปน

โยงมาที่ภาพถ่ายทางอากาศ ที่สันนิษฐานว่าคงกำลังเตรียมพื้นที่ก่อสร้างบ่อพักขนาดใหญ่กลางสี่แยก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 06 พ.ย. 13, 10:00

ดังนั้นสามย่าน ถ้าเป็นชื่อของตำบลที่ตั้ง น่าจะย่านสี่พระยา ย่านศาลาแดง ย่านสะพานเหลือง
คุณหนุ่มสยามหาชื่อย่านมาได้ครบ 3  นับถือ นับถือ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 09 พ.ย. 13, 08:11

แยกสามย่าน 2 เวอร์ชั่น

ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๐๙ เนื่องจากเห็นอาคารตลาดสามย่านสร้างเสร็จแล้ว (สร้างเสร็จ พ.ศ. ๒๕๐๘) บริเวณแยกสามย่าน ทำเป็นแยกจราจร มีเกาะกลางรูปสามเหลี่ยม (ภาพบน)

ส่วน พ.ศ. ๒๕๑๐ บริเวณแยกสามย่านมีการปรับปรุงให้เป็นวงเวียน

ที่มาภาพกรมแผนที่ทหารบกและจุฬาลงกรณ์ฯ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 09 พ.ย. 13, 08:15

อือมม .. เพิ่งนึกได้ว่า พ่อหนุ่มมีหนังสือแผนที่กรุงเทพฯ เล่มใหญ่อยู่นี่นา .. ขยันเปิดดูหน่อย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 09 พ.ย. 13, 09:35

อือมม .. เพิ่งนึกได้ว่า พ่อหนุ่มมีหนังสือแผนที่กรุงเทพฯ เล่มใหญ่อยู่นี่นา .. ขยันเปิดดูหน่อย


เล่มนั้น สามย่านเป็นทุ่งนา ครับลุงไก่
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 09 พ.ย. 13, 12:50

เชื่อได้ว่าคำว่า สามย่าน ต้องมีมาก่อนการก่อสร้าง ตลาดสามย่าน ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๘ แน่ๆ แต่จะเมื่อใด .. ก็ต้องหากันต่อไป
ลองตรวจสอบรายชื่อสถานีในเส้นทางรถไฟสายปากน้ำว่าจะมีสถานีสามย่านไหม .. ไม่มี

รายชื่อสถานี

บางกอก Bangkok ระยะทาง 0.0 กิโลเมตร
ศาลาแดง Sala Deng ระยะทาง 2.3 กิโลเมตร
คลองเตย Klong Toi ระยะทาง 5.2 กิโลเมตร
บ้านกล้วย Ban Kluei ระยะทาง 7.1 กิโลเมตร
ที่หยุดรถพระโขนง Prakonong ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร
บางจาก Bangdjak ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร
บางนา Bang Na ระยะทาง 12.0 กิโลเมตร
สำโรง Samrong ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร
จอรเข้ (จระเข้) Chorakhe ระยะทาง 17.3 กิโลเมตร
บางนางเกรง (บางนางเกร็ง) Bang Nang Greng ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร
ที่หยุดรถมหาวง (มหาวงศ์)Mahawong ระยะทาง 20.0 กิโลเมตร
ที่หยุดรถปากน้ำ Paknam ระยะทาง 21.3 กิโลเมตร

ที่มา - ข้อมูลจากเวป บ้านมหา ดอทคอม

ครูใหญ่ นภายน เขียนเล่าไว้ในหนังสือ "คุยเฟื่องเรื่องวัยเด็ก" ดังนี้

๑. สถานีหัวลำโพง (สถานีต้นทาง)
๒. สถานีสะพานสว่าง (สถานีย่อย)
๓. สถานีสะพานเหลือง (สถานีย่อย)
๔. สถานีสามย่าน (สถานีใหญ่)
๕. สถานีหน้าสถานเสาวภา (สถานีย่อย)
๖. สถานีศาลาแดง (สถานีใหญ่)
๗. สถานีสาทร-วิทยุ (สถานีใหญ่)
๘. สถานีคลองเตย (สถานีใหญ่)
๙. สถานีกล้วยน้ำไท (สถานีย่อย)
๑๐. สถานีพระโขนง (สถานีใหญ่)
๑๑. สถานีบางนา (สถานีใหญ่)
๑๒. สถานีบางนางเกร้งหรือบางจะเกร็ง (สถานีย่อย)
๑๓. สถานีโรงเรียนชุมพลทหารเรือ (สถานีใหญ่)
๑๔. สถานีมหาวงศ์ (สถานีย่อย)
๑๕. สถานีปากน้ำสมุทรปราการ (สถานีปลายทาง)

ครูใหญ่ ยังให้ข้อมูลอีกว่า รถไฟสายปากน้ำเป็นเส้นทางสำคัญลำเลียงอาหารทะเลจากปากน้ำ สมุทรปราการ เข้ามายังกรุงเทพ
ผมเลยสันนิษฐานเล่นๆ นะว่า สามย่านอาจจะถือกำเนิดขึ้นในประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๕ คราวที่กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดจุฬาฯ เพื่อทำเป็นค่ายพักทหาร จึงมีความต้องการอาหารทะเลเป็นจำนวนมาก คนไทยเลยสนองบริการตั้งตลาดสดในบริเวณใกล้สถานีรถไฟ และอยู่ยงคงกระพัน พัฒนาการเป็นตลาดสามย่านจนถึงปัจจุบันนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 09 พ.ย. 13, 14:24

เอ ลุงไก่ มีสถานีสามย่าน ด้วยหรอ  ฮืม


สถานีรถไฟสายปากน้ำ มีสะพานเหลือง แล้วไป ศาลาแดง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 09 พ.ย. 13, 15:03

หย่อนแผนที่สำรวจ ๒๔๖๘ พิมพ์กรมแผนที่ทหารบก ๒๕๗๕ จะเห็นแนวตึกแถวสามย่านมีการก่อสร้างแล้ว ฝั่งจามจุรีสแควร์เป็นแนวท้องร่องปลูกผัก


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 09 พ.ย. 13, 21:39

ขอภาพแผนที่ต่อไปทางด้านขวาจนถึงสภากาชาดสยามและถนนสนามหน้า และภาพต่อขึ้นข้างบนแสดงภายในพื้นที่ของจุฬาฯ ด้วย

สนใจคลองอรชร คลองอุเทน และยังติดใจกับศาลเทพารักษ์
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 09 พ.ย. 13, 22:54

ขอภาพแผนที่ต่อไปทางด้านขวาจนถึงสภากาชาดสยามและถนนสนามหน้า และภาพต่อขึ้นข้างบนแสดงภายในพื้นที่ของจุฬาฯ ด้วย

สนใจคลองอรชร คลองอุเทน และยังติดใจกับศาลเทพารักษ์


ขอระวางแผนที่เพิ่มเติมหน่อยนะ


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 09 พ.ย. 13, 23:36

ผมว่าคุณอาจินต์เคยเอ่ยถึงตลาดสามย่านไว้ใน "บอมบ์กรุงเทพ" นะครับ ตอนนี้ผมไม่มีหนังสืออยู่ในมือ สัปดาห์หน้าถ้าไม่ลืม จะเปิดดูให้ครับ

ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ตึกแถวตรงตลาดสามย่านจะสร้างหลังปี 2500 นะครับ ก่อนหน้านั้นจะเป็นเรือนแถวไม้
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 10 พ.ย. 13, 03:43


 ยิ้ม ขอบคุณสำหรับข้อมูลต่างๆมากมาย อยากเห็นรูปภาพบ้านไม้ก่อนเป็นตึกแถวมากๆค่ะ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 10 พ.ย. 13, 06:03

ผมว่าคุณอาจินต์เคยเอ่ยถึงตลาดสามย่านไว้ใน "บอมบ์กรุงเทพ" นะครับ ตอนนี้ผมไม่มีหนังสืออยู่ในมือ สัปดาห์หน้าถ้าไม่ลืม จะเปิดดูให้ครับ

ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ตึกแถวตรงตลาดสามย่านจะสร้างหลังปี 2500 นะครับ ก่อนหน้านั้นจะเป็นเรือนแถวไม้

ครับ เป็นห้องแถวไม้ ครูใหญ่ นภายน ท่านเล่าไว้อย่างนั้น กำลังจะลอกลงมาให้อ่านเช่นกัน
เท่าที่อ่านพบ ในสมัยก่อนตึกแถวและเรือนแถวที่ไม่ใช่ในย่านธุรกิจไม่ได้สร้างไว้ให้ประกอบกิจการร้านค้า แต่ปลูกไว้ให้เช่าเป็นที่พักอาศัย ดังเช่นที่ตลาดเสาชิงช้า ที่ตัวตลาดอยู่ข้างในสำหรับค้าขาย แต่ตึกแถวดดยรอบให้เช่าสำหรับพักอาศัย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 10 พ.ย. 13, 10:11

ในนิยายเรื่อง "รสลิน" ของศุภร บุนนาคที่ใช้ฉากสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  นางเอกเป็นนิสิตจุฬาฯ   เล่าถึงสามย่านว่าเป็นเรือนไม้เล็กๆซอมซ่อ  ชาวบ้านแถวนั้นบางคนก็เปิดห้องให้เช่าราคาย่อมเยา      ห้องข้างล่างเปิดเป็นร้านอาหารราคาถูก 
อาหารอย่างหนึ่งที่นิสิตรายได้น้อยนิยมกัน คือเนื้อวัวต้มเปื่อยกินกับข้าวเปล่า    เนื้อวัวราคาชามละ 5 สตางค์  ข้าวเปล่าจานละ 2 สตางค์   นิสิตชายตัวโตกินจุ ข้าวสองจานไม่พอต้องเพิ่มเป็น 3 จาน(น่าจะจานเล็กๆ)  เจ้าของร้านก็อะลุ้มอล่วยคิด 3 จาน 5 สตางค์
เป็นอันว่าใช้เงินแค่ 10 สตางต์ สำหรับข้าว 1 มื้อ
ยุคนี้ถ้ากินแบบนั้นคงจะต้องควักแบ๊งค์ร้อยออกมาจ่าย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 10 พ.ย. 13, 10:19


 ยิ้ม ขอบคุณสำหรับข้อมูลต่างๆมากมาย อยากเห็นรูปภาพบ้านไม้ก่อนเป็นตึกแถวมากๆค่ะ
สามย่านคงไม่เหลือบ้านไม้แล้วค่ะ  แต่ถ้าคุณ mutita อยากเห็นบรรยากาศตลาดเก่าที่มีบ้านไม้ปลูกเป็นร้านค้าเรียงรายกันเป็นชุมชน
หาตัวแทนชมได้ที่ต่างจังหวัด ในภาคกลางใกล้ๆกรุงเทพนี่ละค่ะ
มีอยู่แห่งหนึ่งเขาอนุรักษ์ไว้ดีมากคือตลาดบางหลวง ๑๐๐ ปี ที่บางเลน  นครปฐม   ดิฉันเคยไปเที่ยว เหมือนเดินกลับไปในอดีต  สามย่านก็คงไม่ห่างไกลจากภาพนี้เท่าไหร่

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=634316


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.709 วินาที กับ 19 คำสั่ง