เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22
  พิมพ์  
อ่าน: 90334 หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 17:30

ตกลงคุณวีหมีเห็นที่ผมฝากคำถามไว้ไหมครับว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๖ พระราชทานวังพระอาทิตย์ให้พระองค์เจ้าคำรบเมื่อไหร่ ด้วยเหตุอันใด เหมือนเป็นการแลกวังเก่าของท่านเพื่อตัดถนนวรจักรหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 03 พ.ย. 13, 11:50

ผมยังติดใจอีกนิดนะครับท่านนวรัตน  เรื่องหนังสือของนายนุด ตรงที่ว่าการสะกดคำเขียนหลายคำแปลกๆ  เช่น ปกเกร้า..กราบถะวายบังคมทูล ..กรมพระดังรงราชานุภาพ..ข้าพระพุฒิเจ้า..มอมแม่ฉวีวาฎฯลฯ
 ความจริงก็เกือบทั้งหมดที่ดูไม่เหมือนกับอาลักษณ์ชาวไทยที่มีความสามารถมีฝีมือพอจะเขียนหนังสือขายได้

 ครั้นจะคิดว่าเป็นภาษาไทยรุ่นเก่าที่สะกดอย่างนั้นก็ยังดูแปลกอยู่ดี เพราะจดหมายนี้เขียนราว พ.ศ.2469  เมืองสยามเรามีการพิมพิ์หนังสือแพร่หลายมานานหลายปีแล้ว การสะกดคำน่าจะเข้าที่เข้าทาง    ทั้งสำนวนการแต่งหนังสือของหลายๆท่านก็เป็นสำนวนใหม่กันแล้ว  (ผมเลยยังอดคิดไม่ได้ว่าเป็นลายมือของนายนุดเอง เพียงแต่ผมมีประสพการณ์ที่ได้อ่านหนังสือสมัย ร.5 เล็กน้อยอยู่ครับ)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 03 พ.ย. 13, 14:38

คุณแมวเซาครับ ผมมิได้ชำนาญเรื่องภาษาในสมัยรัชกาลที่๕เหมือนกัน เพียงแต่เคยอ่านผ่านๆเพราะเวียนหัวเต็มที แต่ผมคิดว่าผู้มีความรู้ภาษาไทยในหัวเมืองเช่นอุตรดิตถ์ในขณะนั้น เขียนได้ขนาดนี้ก็หรูเลิศแล้ว เพราะระบบการศึกษาที่วางรากฐานไปจากส่วนกลางยังไม่มี สำบัดสำนวนตัวสะกดจึงว่ากันไปตามแบบท้องถิ่น

ผมไม่คิดว่านายนุดจะเขียนเอง ตัวอักษรและลายเซ็นต์ที่ต่างภาษา ต่างเชิงชั้น ปากกาที่ใช้เขียนก็คนละแบบคนละขนาด ก็พอจะอ่านออกว่าเป็นลายมือของคนละคนกันครับ

อาลักษณ์ที่รับจ้างเขียนหนังสือ ก็พยายามจะเขียนตามสำบัดสำนวนเดิมของผู้บอกบท เช่น ปกเกร้า..กราบถะวายบังคมทูล ..กรมพระดังรงราชานุภาพ..ข้าพระพุฒิเจ้า..มอมแม่ฉวีวาฎฯลฯ ที่คุณยกมานั่นแหลัครับ เพียงแต่แต่งเดิมขัดเกลาให้บ้างเท่านั้น เพราะแกคิดเองทั้งเรื่องไม่ได้ ไม่ใช่จดหมายที่อีหนูจ้างเขียนไปอ้อนวอนขอเงินผัวฝรั่ง ไอ้นั่นแกถนัด น้องนั่งเฉยๆรอจ่ายเงินละกัน ที่เหลือพี่จัดการเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 03 พ.ย. 13, 15:31

ในสมัยรัชกาลที่ ๕  อาลักษณ์ถูกสอนให้เขียนลายเส้นตัวอักษรให้งาม มากกว่าเขียนสะกดตัวให้ถูกต้อง     เพราะตอนนั้นกรรมการราชบัณฑิตยังอยู่ในชาติก่อน เกิดไม่ทัน     เราจึงเห็นสมุดข่อย และเอกสารเก่าๆสะกดกันตามใจชอบ  สักแต่ว่าออกมาเป็นเสียงคล้ายของจริงเท่านั้น    ไม่มีแบบแผนแน่นอน
ก็ที่ยกตัวอย่างเป็นเรื่องฮากันมาก่อน ก็คือยาไทยที่ "กินกะได  ทากะได"   แปลว่า ยานี้  กินก็ได้ ทาก็ได้
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 03 พ.ย. 13, 15:56

เรื่องวังถนนพระอาทิตย์ไม่มีความรู้เลยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 03 พ.ย. 13, 17:37

^ ไม่เป็นไร ขอบคุณครับ ^
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 04 พ.ย. 13, 10:56

ก่อนจบกระทู้มีเกร็ดอีกนิดหน่อย ที่ไม่เกี่ยวกับม.จ.ฉวีวาด   แต่เกี่ยวกับพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ พระสวามี
ทีแรกดิฉันนึกว่าพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร  ท่านไม่มีพระโอรสธิดา เพราะเลิกร้างกับม.จ.ฉวีวาดไปตั้งแต่ยังหนุ่มยังสาวกัน     ท่านประสูติพ.ศ. 2396  ส่วนม.จ.ฉวีวาดประสูติราวๆพ.ศ. 2397-99
แต่ไปค้นเจอว่า ท่านมีหม่อมเจ้าชายองค์หนึ่ง มีพระนามว่าม.จ.วงศ์สวัสดิ์  เสียดายไม่มีบันทึกปีประสูติไว้ จึงไม่รู้ว่าเป็นโอรสเกิดจากม.จ.ฉวีวาดหรือหม่อมอื่น      ม.จ.วงศ์สวัสดิ์สิ้นชีพิตักษัยเมื่อใดไม่ทราบ แต่พระราชทานเพลิงเมื่อพ.ศ. 2456  ในรัชกาลที่ 6   ส่วนกรมหมื่นวรวัฒน์ฯสิ้นพระชนม์พ.ศ. 2456  พระราชทานเพลิงพ.ศ. 2457  จึงสันนิษฐานว่าพระโอรสสิ้นชีพิตักษัยก่อนพระบิดาประมาณ 1 ปี 
ม.จ.วงศ์สวัสดิ์อาจไม่มีโอรสธิดา  จึงพบว่าเจ้านายสายนี้ไม่มีนามสกุลพระราชทาน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 05 พ.ย. 13, 09:36

เพิ่งนึกได้อีกข้อ คือเรื่องละครผู้หญิงของเจ้าจอมอำภา ที่หนังสือ โครงกระดูกในตู้ บอกว่าตกทอดมาถึงม.จ.ฉวีวาดทั้งโรง ทำให้ท่านขนนักแสดงละคร(และนักดนตรี)จำนวนหลายสิบชีวิตหนีลงเรือไปเขมรได้
เราได้พูดกันแล้วเรื่องท่านหนีตามนายเวรผึ้งไปว่าย่อมทำเป็นเรื่องเอิกเกริกขนผู้คนมากมายไปไม่ได้แน่นอน  ต้องไปกันอย่างหลบเร้นแค่สองคน      แต่ที่จะแสดงความเห็นในกระทู้นี้ก็คือ นอกจากม.จ.ฉวีวาดไม่ได้ขนละครผู้หญิงของเจ้าจอมอำภาผู้เป็นคุณย่าไปเขมรแล้ว   ท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าของคณะละครอย่างที่คุยให้หลานชายฟังอีกด้วย   

ดิฉันยังค้นหนังสือประวัติพระมเหสีเทวีและเจ้าจอมในรัชกาลต่างๆไม่พบ เพราะเก็บดีเกินไป     จึงไม่ทราบปีเกิดของเจ้าจอมอำภา แต่พอจะแกะรอยได้จากประวัติว่า ท่านเป็นนางละครรุ่นเล็กในรัชกาลที่ ๑  เล่นบทนางกัญจะหนาในละครในเรื่องอิเหนา  ซึ่งเป็นบทเด็กเล็กๆอายุไม่เกิน 10 ขวบ   จนเป็นสาวได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 2

เจ้าจอมอำภามีพระองค์เจ้าถึง 6 องค์ คือ
1  พระองค์เจ้ากปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์
2  พระองค์เจ้าปราโมช   กรมขุนวรจักรธรานุภาพ
3 พระองค์เจ้าเกยูร
4 พระองค์เจ้ากัณฐา
5 พระองค์เจ้ากัลยาณี
6 พระองค์เจ้ากนิษฐน้อยนารี

กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์มีโอรสธิดาคือ
    หม่อมเจ้าหญิงนารีรัตน์  (พ.ศ. 2392 - 16 มกราคม พ.ศ. 2454)
    หม่อมเจ้าหญิงอุทุมพร
    หม่อมเจ้าชายวัฒนา หรือ พัฒนา (พ.ศ. 2396 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2454)
    หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
    หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (16 กันยายน พ.ศ. 2401 - ไม่มีข้อมูล)
    หม่อมเจ้าหญิงเพ็ญจันทร์ (พ.ศ. 2405 - 29 เมษายน พ.ศ. 2473)
    หม่อมเจ้าหญิงลาวรรณ์
    หม่อมเจ้าชายทัศนา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 05 พ.ย. 13, 10:02

     ถ้าหากว่าเจ้าจอมอำภายกมรดกคือโรงละครผู้หญิงทั้งโรงให้พระโอรส   องค์ที่จะได้ก็ควรเป็นกรมหมื่นภูบาลฯ  และตกทอดไปยังพระโอรสธิดาของท่าน ซึ่งมีหลายองค์ด้วยกัน       แต่สมมุติอีกทีว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามที   เจ้าจอมมารดาอำภาเกิดยกให้กรมขุนวรจักรฯ   ก็น่าประหลาดว่าทำไมละครทั้งโรงจึงตกมาถึงม.จ.ฉวีวาดแต่เพียงผู้เดียว   ทั้งๆเป็นพระธิดาลำดับที่ 7 ในกรมขุนวรจักร  เจ้าพี่อีก 6 องค์ทั้งชายและหญิงถูกข้ามไปได้อย่างไร
     โดยนิสัยของม.จ.ฉวีวาดที่เป็นคนเอาแต่ใจ  ไม่ถูกใจคู่หมั้นก็โยนเครื่องเพชรเครื่องทองของหมั้นลงทางหน้าต่าง    ก็เป็นไปไม่ได้ที่ท่านจะอ่อนหวานนอบน้อม คอยรับใช้ดูแลคนแก่อย่างคุณย่า จนกระทั่งเป็นที่ถูกใจได้โรงละครมาทั้งโรง    คนที่เป็นเจ้าของโรงละครจะต้องรู้วิธีบริหารคน ตลอดจนติดต่อประสานงานกับลูกค้าที่มาว่าจ้าง   เจ้านายสตรีอย่างม.จ.ฉวีวาดยังอยู่ในวัยสาว  แล้วก็เสกสมรสตั้งแต่ยังสาว  ทำงานด้านนี้ได้ยาก   เจ้าพี่ของท่านอย่างพระองค์ปรีดาที่เป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนแล้ว น่าจะรับมรดกส่วนนี้ไปมากกว่า   หรือถ้าคุณย่ายกให้หลานสาวคนโตทางสายกรมขุนวรจักรฯ ม.จ.เมาฬีซึ่งแก่กว่าม.จ.ฉวีวาดหลายปี ก็น่าจะได้ไป  ไม่ต้องไปทำงานรับเงินเดือนอยู่กับกรมพระยาสุดารัตนฯ 
    ดิฉันจึงคิดว่าเรื่องที่โรงละครผู้หญิงทั้งโรงตกเป็นสิทธิ์ขาดของม.จ.ฉวีวาด (ไม่ว่าท่านจะขนไปเขมรหรือไม่ได้ขน)  เป็นนิทานอีกเรื่องที่ท่านเล่าให้หลานฟังเท่านั้นเอง   แต่ท่านคงเคยเห็นละครผู้หญิงของคุณย่าตอนท่านเด็กๆ  หรือไม่ก็เห็นละครผู้หญิงโรงนี้ตกเป็นสมบัติของพระญาติผู้ใหญ่องค์ใดองค์หนึ่ง พอจะนำมาเล่าต่อเติมเสริมแต่งให้หลานฟังได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 20 ม.ค. 14, 17:07

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับหม่อมฉวีวาด ในเรื่องการหนีออกไปยังกัมพูชา คัดจากพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ดังนี้

ถึงผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

ด้วยหม่อมฉวีวาดในกรมขุนวรจักรหนีไปครั้งนี้ ฉันมีความวิตกคงจะเป็น
ที่เสียเกียรติยศมาก ได้ให้ชำระความมารดาก็ไม่ได้ความตลอด เจ้าพระยา
ภาณุวงศ์เอาตัวบรฮิมมาถามความแจ้งอยู่กับพระยาภาณุวงศ์แล้ว การมา
เป็นดังนี้เป็นที่อัปยศนัก ได้ปรึกษากับคุณสุรวงศ์ และท่านกรมท่าคิดว่า
จะให้เรือไฟไปตาม แต่กลัวไม่ทัน
การเรื่องนี้จะควรทำอย่างไรได้ ขอให้เจ้าคุณช่วยด้วย เป็นที่อับอายทั่วกันทั้งราชตระกูล
(พระปรมาภิไธย)
วันอาทิตย์ แรม ๑๒ ค่ำเดือน ๑๑ ปีชวด อัฐศก ๑๒๓๘



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 20 ม.ค. 14, 17:16

ยกหลักฐานจากอีกกระทู้หนึ่งมาลงที่นี่ เพื่อให้ท่านที่ได้อ่านกระทู้นี้กระทู้เดียว ได้รู้เพิ่มเติมว่า   เรื่องหม่อมเจ้าฉวีวาดทำงามหน้านั้นไม่ใช่เรื่องรู้กันเฉพาะพระญาติในราชสกุลปราโมชเท่านั้น แต่รู้ถึงพระเจ้าอยู่หัว   และขุนนางสำคัญๆในสมัยรัชกาลที่ 5    ด้วย 
ท่านหนีออกนอกพระราชอาณาจักรไปเมื่อพ.ศ. 2419   สองปีหลังจากเกิดวิกฤตวังหน้า      ถ้าหากว่าเป็นกบฏก็เป็นกบฏที่อืดอาดยืดยาดมาก   มาหนีเอาตอนที่เรื่องอะไรต่อมิอะไรจบไปหมดสิ้นแล้ว

ท่านหญิงฉวีวาดท่านคงเห็นว่า ถ้าจะเล่าให้หลานชายฟังถึงเหตุผลที่ออกไปอยู่เขมร    ก็ควรจะโยงเข้ากับเหตุการณ์บ้านเมืองใกล้ๆพ.ศ.นั้นที่สุด  เพื่อเพิ่มน้ำหนักความสำคัญให้ความจำเป็นของท่าน    ไม่มีเหตุการณ์ไหนใกล้เท่าวิกฤตการณ์วังหน้า    เพราะวิกฤตอื่นๆเช่นร.ศ. 112 ก็เกิดขึ้นภายหลัง     ด้วยเหตุนี้วังหน้าจึงถูกลากออกมาเป็นจำเลยร่วม ทั้งไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย
ในเอกสารที่คุณ siamese นำมาให้ดู ไม่มีชื่อพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์    พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้คำว่า "หม่อมฉวีวาดในกรมขุนวรจักร"    คำนี้ แสดงว่าท่านหญิงฉวีวาดทำความผิด ถูกถอดเป็น "หม่อม" เรียบร้อยแล้ว แบบเดียวกับหม่อมไกรสรในรัชกาลที่ 3 
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 19 ก.พ. 14, 03:18

กราบสวัสดีอาจารย์ เทาชมพู อาจารย NAVARAT C. และทุกๆท่าน

มาอ่านหลังจากกระทู้นี้จบตั้งหลายเดือน แต่ได้รับอรรถรสอย่างยิ่งยวด
รู้สึกเหมือนกำลังอ่านสารคดีสืบสวนสอบสวน หรือไม่ก็งานวิจัยวิทยานิพนธ์ชั้นเยี่ยม
เป็นผลงานร่วมกันของ ท่านอาจารย์ทั้งสองรวมไปถึงท่านอื่นๆที่มิได้เอ่ยนาม


หนังสือของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ที่ผมชอบอ่านที่สุดเล่มหนึ่งคือเรื่อง โครงกระดูกในตู้ นี่แหละ ด้วยผู้เขียนมีสำนวนชวนอ่าน ทำให้อ่านได้แล้วอ่านไ้ด้อีก และเรื่องที่จำได้ดีที่สุดก็คือเรื่องหม่อมเจ้าฉวีวาดนี่เอง ตอนอ่านก็คิดในใจว่าเว่อไปหรือเปล่า แต่สุดปัญญาความรู้ของตัวเองจนได้แต่เก็บความสงสัยไว้ในใจ ต่อเมื่อมาพบเจอกระทู้นี้ก็ตอบข้อสงสัยในใจได้หมดสิ้น

ขออนุญาตเสนอความเห็นว่า น่าจะจัดพิมพ์ เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ หรือเป็นบทความวิชาการ ลงไว้เพื่อเป็นที่รับรู้กันในแวดวงวิชาการ

ตัวกระผมนั้นความรู้ยังด้อยนัก ไม่้มีอะไรจะมาร่วมเสนอ ทำได้ดีที่สุดคือเขียนสดุดีเท่านั้น  
ถ้าเป็นภาษาวัยรุ่น(วัยของกระผม   ยิงฟันยิ้ม) ก็ต้องบอกว่า ระดมไลค์ ไลค์ๆๆๆๆ กระทู้นี้เลยทีเดียว ฮ่าๆๆๆ

อ้อ ในช่วงเวลากระทู้นี้ถือกำเนิิดคือเดือน ตุลาคม ปีที่แล้ว ผมได้อ่านหนังสือชื่อ สตรีหมายเลข 0  ซึ่งเขียนโดย รุ่งมณีี เมฆโสภณ  พบว่าสตรีหมายเลข 0 ท่านนั้นมีอุปนิสัยละม้ายคล้ายคลึงกับหม่อมเจ้าฉวีวาดในท้องเรื่องนี้พอสมควรทีเดียว  ความประทับใจของผมต่อเรื่องเหล่านี้ไม่ได้มีมากไปกว่า คนเราเมื่อชีวิตไม่ได้ดังหวัง ก็พยายามหาทางออกในรูปแบบต่างๆ

We often sing lullabies to our children that we ourselves may sleep

จาก Sand and Foam --- Kahlil Gibran
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 19 ก.พ. 14, 08:26

ขอบคุณค่ะคุณปากกานินี
อ่านกระทู้นี้ก็ต้องอ่านกระทู้  โครงกระดูกในตู้ โดยคึกฤทธิ์ : ข้อเท็จจริงจากการชันสูตร ของคุณ NAVARAT.C ด้วย จึงจะครบสูตร

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.0

ดิฉันก็ไม่ทราบว่าคุณ NAVARAT.C จะมีเวลาเรียบเรียงเป็นหนังสือเอาไว้เป็นหลักฐานหรือไม่      เรื่องนี้ต้องยกให้ท่านทำค่ะ   ดิฉันคงจะทำได้แค่เชียร์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 02 เม.ย. 17, 17:38

ไปเจอเกร็ดเกี่ยวกับสมาชิกราชสกุลปราโมชอีกนิดหน่อย จึงคิดว่าควรรวมไว้ ณ ที่นี้   แม้ว่าไม่ค่อยเกี่ยวกับม.จ.ฉวีวาดก็ตาม

ได้พบหนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานฌาปนกิจศพ ม.ร.ว.บุญโรจน์ ปราโมช เมื่อ 10 มิถุนายน 2516
https://archive.org/stream/1025160000unse#page/n1/mode/2up
จึงได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โอรสของกรมขุนวรจักรฯ องค์หนึ่งคือหม่อมเจ้าจำรูญ ปราโมช ซึ่งในกระทู้บอกว่าทรงเข้าไปอยู่ในวังบางขุนพรหม พึ่งบารมีสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชนั้น ทรงรับราชการเป็นทหารเรือมียศเป็นนาวาโท
ท่านได้สมรสกับม.ล.หญิงสาย อสุนี มีบุตรชาย 2 คนคือม.ร.ว. บุญโรจน์ และม.ร.ว. จเร ปราโมช

ในประวัติของ ม.ร.ว.บุญโรจน์ เล่าว่าท่านได้รับการศึกษาขั้นต้นที่วังบางขุนพรหม    น่าจะเป็นได้ว่าท่านก็คงถือกำเนิดที่วังนี้เอง  เมื่อเติบโตขึ้นได้เข้าเรียนที่ร.ร.วัดเทพศิรินทร์   จบแล้วไปสมัครเข้าเรียนต่อที่ร.ร.นายร้อยตำรวจสามพราน
จบการศึกษา ออกมาเป็นนายร้อยตำรวจอยู่พักหนึ่งก็ลาออก   แล้วเข้ารับราชการที่กรมทางหลวง จนเกษียณอายุ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 02 เม.ย. 17, 18:03

เช่นเดียวกันครับ ผมไปเจอ ม.ร.ว. จรวย ปราโมช ธิดาหม่อมเจ้าจำรูญ ปราโมช เช่นกัน ต่อมาท่านได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

https://archive.org/details/unset0000unse_k9z4



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง