เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 90968 หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 16:21

ถนัดดั่งไม้ร้อยอ้อม  ท่าวล้มทับองค์...
สุดจะกล่าวคำใด

เชิญท่านอื่นๆค่ะ


บันทึกการเข้า
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 16:30

วิ่งตามอ่านสลับกับกระทู้ โปรตุเกสเข้าเมือง อยู่ค่ะ เกรงว่าคุณ NAVARAT.C และคุณเทาชมพูจะหมดแรง ต้องรีบเอาน้ำองุ่นคั้นสด

แช่เย็นจนเป็นวุ้นผสมน้ำผึ้ง Rosemaryจากสเปน มาบำรุงให้หายเหนื่อย

 

บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 18:28

ดิฉันอ่านไปอ่านมาแล้วก็งง

(อ้างอิง คห. ๑๒๑)  เหตุการณ์ริบราชบาตรที่พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ  เล่าประทาน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช   ท่านนำมาถ่ายทอดต่อในหนังสือ  
"ท่านเล่าว่าขณะนั้นท่านอายุ ๘ ขวบ  นอนหลับอยู่  แล้วตื่นขึ้นตอนดึก  เพราะเจ้าพี่จุดไต้จุดไฟทำอะไรกันตึงตัง  เหลียวหาคุณแม่ที่นอนอยู่ด้วยตอนหัวค่ำก็หายไปแล้ว  ถามหาคุณแม่กับเจ้าพี่ก็ไม่มีใครบอก  เพราะทุกองค์กำลังรีบเก็บข้าวของส่วนตัวของท่านลงหีบ  เห็นจะเป็นเพราะท่านทรงทราบกันทุกองค์แล้วว่าคุณแม่จะถูกริบราชบาตร  ท่านตกใจและคิดถึงคุณแม่ก็เลยนั่งกันแสงอยู่กับที่  แต่ก็ไม่มีใครมาสนใจกับท่าน  พอรุ่งเช้าเจ้าพี่ทุกองค์ก็รีบขนของออกจากตำหนักไป  ท่านมาทรงทราบภายหลังว่าเข้าไปอยู่ในวังหลวงกันทุกองค์..”  

ซึ่งคุณเทาชมพูคำนวณไว้ใน คห. ๑๒๒  ว่า
ถ้าทรงจำเหตุการณ์แม่นสมวัย ๘ ขวบ (ที่นับว่าเฉลียวฉลาดกว่าเด็กวัยเดียวกัน  เพราะจำรายละเอียดได้มากขนาดนี้)   การริบราชบาตรต้องเกิดขึ้นอีก ๕ ปีต่อมาหลังวิกฤตวังหน้า  คือตกราวปลายปี พ.ศ. ๒๔๒๒
ก็แปลว่า มจ. ฉวีวาด หนีไปเขมรใน พ.ศ. ๒๔๒๒  เรียกว่าเรื่องวิกฤตวังหน้าแทบจะถูกชาวบ้านลืมเลือนกันไปหมดแล้วด้วยซ้ำ  ไม่เกี่ยวอะไรกันสักนิดเดียว  

แต่จากประวัติ มจ. คอยท่า ปราโมช  ในหนังสือพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ มจ. คอยท่า ปราโมช ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%97%E0%B9%90

มจ. คอยท่า ปราโมช ได้เสด็จเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง กับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ตั้งแต่พระชันษาย่าง ๑๖ ปี
หากอนุมานตามที่ท่านสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๘๓ คำนวณพระชันษาได้ ๘๔ บริบูรณ์   ท่านน่าจะประสูติ พ.ศ. ๒๓๙๙   ดังนั้นท่านน่าจะเข้าวัง พ.ศ. ๒๔๑๕  

ซึ่งก็ไม่สอดคล้องกับเรื่องที่พระองค์เจ้าคำรบเล่าไว้เบื้องต้น  เพราะตอนนั้นอย่างน้อย มจ. คอยท่า  หรืออาจจะรวมถึง มจ. เมาฬี ปราโมช  ซึ่งปรากฏข้อมูลว่าเป็นพนักงานห้องเครื่องต้นในสมัย ร.๕  น่าจะอยู่ในวังหลวงแล้ว
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 18:39

เจ้าพี่เจ้าน้องท่านรับราชการในห้องเครื่องต้นวังหลวงกัน  เลยออกจะแปลกใจว่า มจ. ฉวีวาด ท่านได้เคยรับราชการอยู่ด้วยหรือไม่  และท่านเสกสมรสเมื่อใด

คือสงสัยว่าท่านไปรู้จักนายเวรผึ้งตอนไหน  และนายเวรผึ้งเป็นนายเวรฝั่งไหน  อ่านดูพระราชวงศ์ทั้งไทยและเขมรก็รู้จักคุ้นเคยกันดี  การจะหลงเชื่อคนที่มาอ้างตัวว่าเป็นอุปราชเขมรถึงขั้นลอบหนีไปด้วยนี่มันแหม่งๆ น่ะค่ะ

เมื่อไปถึงเมืองเขมร  ความจริงก็ปรากฏแล้ว  สมเด็จพระนโรดมทรงเมตตาพระราชทานโอกาส  ท่านยังเลือกจะเดินต่อไปบนเส้นทางของท่าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 18:48

ในหนังสือ " พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าฯ" บอกว่าท่านหญิงคอยท่าประสูติปี 2400  ค่ะ   แต่ไม่ได้บอกวันและเดือน   ถ้าท่านเข้าวังหลวงไปตั้งแต่พระชันษาย่าง 16 ปี ก็ประมาณพ.ศ. 2415  
ในพ.ศ. 2422  ที่เกิดริบราชบาตรกันขึ้นมา  ท่านอยู่กับกรมพระยาสุดารัตนฯมา 7 ปีจนพระชันษา 22 แล้วด้วยซ้ำ  

ในพระประวัติ ที่คุณ tita ไปค้นเจอ   ท่านหญิงคอยท่าอยู่ในพระบรมมหาราชวังมาโดยตลอด มิได้เว้นจังหวะกลับไปอยู่ในวังวรจักร

หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ได้เสด็จเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง กับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ตั้งแต่พระชันษาย่าง ๑๖ ปี     เข้าไปอยู่ได้ ๔ เดือนด้วยคุณงามความดีของท่าน สมเด็จกรมพระยาสุดารัตน ฯ ได้ทรงมอบให้เป็นหน้าที่ปอกผลไม้ ตั้งเครื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ ๕ ตลอดมาและเทียบเครื่องคาว  ด้วย จนพระชันษาได้ ๓๗ ปี
ฯลฯ  

ดังนั้นจากความทรงจำของพระองค์เจ้าคำรบ ที่ท่านเล่าว่าขณะนั้นท่านอายุ ๘ ขวบ  นอนหลับอยู่  แล้วตื่นขึ้นตอนดึก  เพราะเจ้าพี่จุดไต้จุดไฟทำอะไรกันตึงตัง  เหลียวหาคุณแม่ที่นอนอยู่ด้วยตอนหัวค่ำก็หายไปแล้ว  ถามหาคุณแม่กับเจ้าพี่ก็ไม่มีใครบอก  เพราะทุกองค์กำลังรีบเก็บข้าวของส่วนตัวของท่านลงหีบ ฯลฯ
จะต้องเป็นเจ้าพี่ 3 องค์เท่านั้น มิใช่ 4 องค์อย่างที่เล่าไว้ในหนังสือ

ก็น่าคิดเหมือนกันว่าสมัยนั้น สตรีมีสกุลมักจะถูกส่งตัวเข้าไปอยู่ในวังตั้งแต่เด็กๆ  ไม่คนใดก็คนหนึ่ง บางทีก็ทั้งพี่และน้อง   ไม่น่าจะอยู่ในวังวรจักรกันครบทั้ง 4 องค์จนเป็นสาว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 18:54

คุณtita  ทำให้ดิฉันเจอความคลาดเคลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง คือ ในหนังสือโครงกระดูกในตู้  มีอีกตอนหนึ่ง  บอกว่า
" ทางฝ่ายเจ้าพี่ของท่าน ซึ่งเป็นหม่อมเจ้าหญิงสี่องค์นั้น  เมื่อเข้าไปในวังหลวงแล้วก็ไปพึ่งพระบารมีพระอรรคชายาองค์เล็ก"  ฯลฯ
คือพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระวิมาดาฯ
แล้วก็ยังบอกอีกว่า
ส่วนพระองค์เจ้าคำรบ หลังจากตกยากอยู่สี่ห้าเดือน กรมพระยาสุดารัตนฯก็ให้คนมารับเข้าไปอุปการะในวัง    ส่วนเจ้าพี่ทั้งสี่องค์อยู่กับพระอรรคชายาทั้งหมด

ได้ฤกษ์ลอกหนังสืออีกแล้ว
" เมื่อหม่อมเจ้าหญิงในกรมขุนวรจักรฯเข้าไปพึ่งพระบารมีอีกสี่องค์   รวมทั้งท่านป้าปทุมซึ่งอยู่มาก่อน   พระอรรคชายาก็โปรดให้หม่อมเข้าเหล่านั้นเข้ามามีหน้าที่ในห้องพระเครื่องต้นทุกองค์     ต่างองค์ต่างก็มีการงานทำโดยมิต้องลำบากเดือดร้อน     
การทำเครื่องต้นนั้นทรงแบ่งหน้าที่กันทำ    ท่านป้าเมาฬีทรงทำเครื่องคาว   ผู้เขียนและหลานท่านหลายคนเรียกท่านในภายหลังว่า "ท่านป้าของคาว"  ส่วนท่านป้าคอย หรือหม่อมเจ้าคอยท่านั้นมีพระนามฉายาว่า "ท่านป้าของหวาน" เพราะท่านทำเครื่องหวาน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 19:05

มาเทียบกันดูด้วยความมึนงง
หนังสือพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช

หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ได้เสด็จเข้าไปอยู่ในพระบรม-มหาราชวัง กับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ตั้งแต่พระชันษาย่าง ๑๖ ปี เข้าไปอยู่ได้ ๔ เดือน  ด้วยคุณงามความดีของท่าน สมเด็จกรมพระยาสุดารัตน ฯ ได้ทรงมอบให้เป็นหน้าที่ปอกผลไม้ ตั้งเครื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ ๕ ตลอดมาและเทียบเครื่องคาว (ค) ด้วย จนพระชันษาได้ ๓๗ ปี ตรงกับปี ร.ศ.๑๑๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านได้ทรงรับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้าที่ ๓ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดขึ้นทั้งข้างในและข้างนอก
ปี ร.ศ. ๑๑๔ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ทิวงคต พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค ได้ทรงมอบให้หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า เป็นผู้จัดการจ่ายเงินเครื่องพระศพ และค่าอาหารของข้าหลวงทั้งหมด
ปีกุน ร.ศ. ๑๑๗ ถวายพระเพลิงกรมพระยาสุดารัตน ฯ แล้ว ท่านได้ไปรับราชการทำเครื่องต้นอยู่กับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ

ปีจอ ร.ศ. ๑๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ ๕ สวรรคตแล้ว ท่านยังทรงทำเครื่องพระบรมศพตลอดไปจนถวายพระเพลิง
ร.ศ. ๑๒๙ ปลายปี สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินี พระพันปีหลวง ได้ทรงขอร้องให้ไปช่วยทำเครื่องพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้ช่วยคุณท้าวราชกิจทำอยู่ ๒ ปี
จนถึงปี ร.ศ. ๑๓๑ ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้าที่ ๒ ปี
ร.ศ.๑๓๒ ได้ทรงเป็นผู้อำนวยการห้องเครื่องต้นทั้งหมด แทนคุณท้าวราชกิจ และต่อมาได้รับราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ชั้น ๓ เข็มพระบรมนามาภิไธยชั้น ๑ ประดับเพ็ชร และเข็มเสมา ร.ร.๖ ชั้น ๒

แต่ในโครงกระดูกในตู้ บอกคนละอย่างว่า
การทำเครื่องต้นนั้นทรงแบ่งหน้าที่กันทำ    ท่านป้าเมาฬีทรงทำเครื่องคาว   ผู้เขียนและหลานท่านหลายคนเรียกท่านในภายหลังว่า "ท่านป้าของคาว"  ส่วนท่านป้าคอย หรือหม่อมเจ้าคอยท่านั้นมีพระนามฉายาว่า "ท่านป้าของหวาน" เพราะท่านทำเครื่องหวาน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 19:14

ปะติดปะต่อข้อมูลจากหนังสือทั้ง 2 เล่ม อาจจะเป็นไปได้ดังนี้
1  เมื่อเกิดเหตุ "วังแตก"  ม.จ.คอยท่าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ขึ้นกับกรมพระยาสุดารัตนฯมา 7 ปีแล้ว   ไม่ได้เก็บข้าวของหนีกันกลางดึกกับบรรดาเจ้าน้องอย่างที่เล่าไว้ในโครงกระดูกในตู้
2  ตามหนังสือ โครงกระดูกในตู้  หม่อมเจ้าเมาฬี   หม่อมเจ้าโอษฐอ่อน หม่อมเจ้ารำมะแข อีก 3 องค์ไปพึ่งพระอรรคชายานับแต่นั้น
3  กว่าหม่อมเจ้าคอยท่าจะไปสมทบกับเจ้าน้องทั้ง 3 องค์ที่ตำหนักพระอรรคชายา เวลาก็ล่วงไปจนพ.ศ. 2439  ซึ่งเป็นปีที่กรมพระยาสุดารัตนฯสิ้นพระชนม์   คือต่อมาจากเหตุการณ์ "วังแตก" ถึง 17 ปี   
    ตอนนั้นพระองค์เจ้าคำรบพระชันษา 23 ปี จบจากร.ร.นายร้อยทหารบกแล้ว
4  หน้าที่การงานของม.จ.คอยท่า คือปอกผลไม้  ตั้งเครื่องคาว   แต่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าว่าท่านทำเครื่องหวาน
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 19:16

การเข้าวังของ มจ. คอยท่า ปราโมช  อ่านดูแล้วไม่เหมือนการหลบลี้หนีภัยเข้าไปพึ่งพระบารมีกันฉุกละหุกเลยค่ะ  อีกทั้งท่านก็เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ  ท่านน้องของท่านคือ มจ. จำรูญ ปราโมช ยังส่งธิดาคือ มรว. จรวย  เข้ามารับราชการในห้องเครื่องต้นด้วย  และภายหลังได้เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม มรว. จรวย ในรัชกาลที่ ๕

ถ้าเช่นนั้นอาจจะเป็นอย่างที่คุณเทาชมพูว่า  อาจจะเข้าวังไม่พร้อมกัน  อย่างน้อย มจ. คอยท่า ท่านหนึ่งล่ะที่เข้าไปก่อน  มจ. เมาฬี มีข้อมูลเพียงว่าเป็นพนักงานห้องเครื่องต้น  แต่ไม่ปรากฏว่าเข้ารับราชการปีใด  ส่วนท่านหญิงอีก ๒ พระองค์ไม่ปรากฎข้อมูล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 19:25

เจ้าพี่เจ้าน้องท่านรับราชการในห้องเครื่องต้นวังหลวงกัน  เลยออกจะแปลกใจว่า มจ. ฉวีวาด ท่านได้เคยรับราชการอยู่ด้วยหรือไม่  และท่านเสกสมรสเมื่อใด
ตามที่ม.จ.ฉวีวาดเล่าให้ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฟัง     กรมขุนวรจักรฯนำพระธิดาองค์นี้ไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯให้ทรงเลี้ยงไว้ในวัง     ท่านเล่าว่าพระเจ้าอยู่หัวโปรดปรานท่านมาก   โปรดให้เลี้ยงท่านอย่างพระเจ้าลูกเธอ   และคนในวังก็เรียกท่านว่า "ลูกเธอปลอม"
ท่านเล่าว่าท่านเคยวิ่งเล่นมากับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลูกเธออื่นๆ   เมื่อยังทรงพระเยาว์ทุกพระองค์จนเป็นที่คุ้นเคย

และยังมีเรื่องที่ทรงคุยให้หลานฟังอีกว่า  เจ้านายที่ม.จ.ฉวีวาดทรงคอยหาทางรังแกเล่นเป็นของสนุกอยู่เสมอ ก็หาใช่ใครอื่นไม่ นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงพระเยาว์   ครั้งหนึ่งสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงใช้ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯขึ้นไปหยิบของบนหอพระ    ท่านหญิงฉวีวาดนั่งอยู่ข้างพระทวาร   พอเสด็จลงมาท่านก็ยื่นขาออกไปขัดพระชงฆ์    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็เลยทรงล้มลง  ตกอัฒจันทร์ลงมาหลายขั้น    เป็นเหตุให้สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงกริ้วว่างุ่มง่ามเซ่อซ่า
แต่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็ทรงนิ่งเสีย  มิได้ทูลฟ้องว่าใครเป็นต้นเหตุให้ตกอัฒจันทร์    ท่านหญิงฉวีวาดก็ยิ่งเห็นว่าตัวเองเก่ง  รังแกเจ้าฟ้าพระราชกุมารพระองค์ใหญ่ได้

เมื่ออ่านโครงกระดูกในตู้ครั้งก่อนๆก็คิดไปตามเนื้อผ้าว่าท่านช่างซนเสียจริง ราวกับเด็กผู้ชาย  ดีที่พระเจ้าอยู่หัวท่านไม่เอาเรื่องด้วย
แต่พอมาดูเรื่องราวในกระทู้นี้แล้ว   มั่นใจว่าเป็นโคมลอยอีกใบที่ท่านจุดให้หลานชายดูเสียแล้วละค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 19:32

ขอยืมมาใช้มั่ง ถ้าจะใช้เมื่อไหร่ก็บอกนะครับ จะได้คืนให้


บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 19:38

ถ้า มจ. คอยท่า รับราชการอยู่กับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร มา ๗ ปี  เมื่อเกิดเรื่องเกิดราวใหญ่โตทางบ้าน  ท่านไม่น่าจะทอดเวลาให้ท่านน้องเล็กของท่านต้องตกยากอยู่ ๔ - ๕ เดือน  กว่าจะกราบทูลสมเด็จกรมพระยาสุดารัตน์ฯ ให้ส่งคนมารับเข้าไปอุปการะในวังกระมังคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 19:41

การเข้าวังของ มจ. คอยท่า ปราโมช  อ่านดูแล้วไม่เหมือนการหลบลี้หนีภัยเข้าไปพึ่งพระบารมีกันฉุกละหุกเลยค่ะ  อีกทั้งท่านก็เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ  ท่านน้องของท่านคือ มจ. จำรูญ ปราโมช ยังส่งธิดาคือ มรว. จรวย  เข้ามารับราชการในห้องเครื่องต้นด้วย  และภายหลังได้เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม มรว. จรวย ในรัชกาลที่ ๕

คุณ tita ทำให้ดิฉันนึกขึ้นมาได้ว่ายังมีหม่อมเจ้าชายอีกองค์อยู่ในวังวรจักร
พระประวัติบอกสั้นๆว่าม.จ.จำรูญ ประสูติเมื่อพ.ศ. 2402   สิ้นชีพิตักษัยเมื่อพ.ศ. 2453 คือปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 5    เมื่อเกิดเหตุ "วังแตก" ท่านพระชันษา 20 ปีเป็นหนุ่มแล้ว  วัยนี้น่าจะทำงานแล้ว    
โครงกระดูกในตู้ มิได้เล่าเลยว่า ม.จ.จำรูญไปอยู่เสียที่ไหน   ทำไมถึงไม่อาจยื่นมือเข้ามาช่วยน้องชายคนเล็กคือหม่อมเจ้าคำรบ ให้พ้นจากอดๆอยากๆกับหม่อมยาย    พี่ชายอยู่ในวัยทำงานแล้ว แล้วยังมีเจ้านายใหญ่โตระดับสมเด็จวังบูรพาให้พึ่ง  น่าจะเจือจานน้องชายได้บ้าง     ม.จ.คำรบท่านได้ไม่ต้องเดินขายพุทราหน้าโรงบ่อนโรงหวยอยู่ตามลำพัง

ว่าแล้วก็ไปค้นหาเจ้าจอมม.ร.ว.จรวยโดยด่วน
แล้วก็เจอจริงๆ
มื่อวัยเยาว์ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย อาศัยอยู่กับท่านพ่อที่วังบูรพาภิรมย์ เพราะท่านพ่อเสด็จอยู่กับจอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จนกระทั่งอายุได้ 7 ปี ท่านพ่อจึงส่งเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังกับพระญาติในราชสกุลปราโมช ซึ่งรับราชการอยู่ในห้องเครื่องต้น

ในเมื่อม.จ.จำรูญพึ่งพระบารมีสมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์อยู่   วังบูรพาก็อยู่ห่างวัดราชนัดดาไปแค่นั้นเอง   จะช่วยเหลือน้องชายเล็กๆ ไม่ได้หรือ?
บันทึกการเข้า
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 19:55

ตามอ่านอยู่ค่ะ สู้ๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 20:03

^


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.544 วินาที กับ 20 คำสั่ง