เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 90325 หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 19:08

นั่นสิครับวังของพระองค์เจ้าคำรบ อยู่คลองถมในปัจจุบันใช่หรือไม่ มีถนนชื่อเจ้าคำรพอยู่ตรงนั้นด้วย

วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรคือวังวรจักร(เก่า)ก่อนย้ายมาแถวคลองถมนี้ใช่ไหมครับ  


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 19:18

นั่นสิครับวังของพระองค์เจ้าคำรบ อยู่คลองถมในปัจจุบันใช่หรือไม่ มีถนนชื่อเจ้าคำรพอยู่ตรงนั้นด้วย

วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรคือวังวรจักร(เก่า)ก่อนย้ายมาแถวคลองถมนี้ใช่ไหมครับ  

กรมขุนวรจักรฯ ท่านสิ้นพิตักษัย เมื่อ พ.ศ. 2412 นะครับ

สิ่งที่สงสัยคือ "วังที่ท่านมาอยู่กับยาย ปีนต้นไม้แถววัดราชนัดดา ไปขายของที่โรงบ่อน" นั้น วังใคร มีโรงบ่อนตรงไหน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 19:18

ตอบ #195
คนละวังซีคะ  เพราะวังวรจักรตกเป็นของพระองค์เจ้าปรีดา  พระเชษฐาองค์ใหญ่ของพระองค์เจ้าคำรบ   ต่อมาเมื่อสิ้นพระชนม์ เจ้าน้องก็ขายวังเอาเงินมาแบ่งกัน

คำถามที่นึกขึ้นมาได้
วังวรจักรไม่ถูกริบราชบาตรด้วยหรอกหรือ เมื่อท่านย่าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์โดนริบราชบาตร  

ไปหาความหมายของริบราชบาตร มาจากเว็บพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ กองวิทยบริการศาลยุติธรรม
น่าจะพอเชื่อถือได้ค่ะ
http://www.museum.coj.go.th/Pratsanee/pratsanee1.html
ริบราชบาตร
          ริบราชบาตร ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายความว่า คำสั่งหลวง ริบราชบาตรเป็น โทษริบทรัพย์ มักใช้คู่กับ โทษประหารชีวิต เป็นการริบทรัพย์ของผู้กระทำผิดทุกสิ่งที่มีอยู่ในขณะนั้นรวมทั้งลูกเมียและทรัพย์สิน เงินทอง ให้ตกเป็นของหลวง ริบราชบาตร เป็นบทลงโทษที่มีอยู่ในกฎหมายตราสามดวงปรากฏในพระอัยการกบฏศึก มีบทลงโทษ ผู้กระทำผิด โทษเป็นขบถภายในและภายนอกราชอาณาจักร การก่อการกบฏภายในราชอาณาจักร หมายถึง การปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะเปลี่ยนพระมหากษัตริย์โดยมิชอบด้วยพระราชประเพณี    
         ลักษณะของการก่อกบฏภายนอกราชอาณาจักร หมายถึง การช่วยเหลือข้าศึกด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ความสะดวกแก่ข้าศึก ให้ได้ดินแดนบางส่วนหรือทั้งหมด บทลงโทษในความผิดของผู้ก่อกบฏ คือ
1. ริบราชบาตรและฆ่าทั้งโคตร
2. ริบราชบาตรและ ฆ่าเจ็ดชั่วโคตร
3. ริบราชบาตรพร้อมทั้ง ฆ่าผู้นั้นเสียโดย ไม่ให้เลี้ยงดูครอบครัวอีกต่อไป
การประหารชีวิตกระทำโดยไม่ให้โลหิตหรือร่างกายตกลงบนพื้นดินเป็นอันขาด ลักษณะของการก่อกบฏตามกฎหมายโบราณ พอสรุปได้ดังนี้
                  1. ปลดองค์พระมหากษัตริย์ลงจากราชบัลลังก์
                  2. ทำร้ายพระมหากษัตริย์ด้วยอาวุธถึงแก่สิ้นพระชนม์
                  3. เจ้าผู้ครองเมืองไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายอย่างเช่นแต่ก่อน แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อพระมหากษัตริย์ หรือแผ่นดินนั้นอีกต่อไป
                  4. ช่วยเหลือข้าศึกให้ยกทัพเข้ามาในแผ่นดิน
                  5. เอาความลับเกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองและกำลังทหารที่ไม่ควรเปิดเผยไปแจ้งให้ศัตรู/ข้าศึกทราบ

ท่านหญิงฉวีวาดหนีออกจากสยามไปด้วยเหตุส่วนตัว    ไม่ปรากฏว่าอยู่ในข้อใดทั้ง 5 ข้อข้างบนนี้    จะถูกริบราชบาตรทีเดียวหรือ
ถ้าหากว่าถูกริบ มีขอบเขตแค่ไหน   ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าว่าหม่อมย่าท่านโดนริบราชบาตร    แต่ไม่ได้เอ่ยว่าพระองค์เจ้าเฉลิมลักษวงศ์โดนริบราชบาตรด้วย  
ถ้าหม่อมย่าโดน  พระเชษฐาองค์ใหญ่ของท่านหญิงฉวีวาดคือพระองค์เจ้าปรีดา เหตุใดจึงไม่โดนริบวังด้วย  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 19:25


สิ่งที่สงสัยคือ "วังที่ท่านมาอยู่กับยาย ปีนต้นไม้แถววัดราชนัดดา ไปขายของที่โรงบ่อน" นั้น วังใคร มีโรงบ่อนตรงไหน
ตอบจากโครงกระดูกในตู้นะคะ
"วังของท่านตา(หม่อมเจ้าทับทิมในกรมพระราชวังหลัง)เป็นบ้านเล็กๆ อยู่ติดกับวัดราชนัดดา  ในที่ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยในปัจจุบันนี้    ขณะนั้นหม่อมเจ้าทับทิมผู้เป็นตาของท่านสิ้นชีพิตักษัยไปนานแล้ว     หม่อมยายเลี้ยงชีพด้วยการทำขนมขายให้บ่าวผู้หญิงซึ่งได้ช่วยไว้ออกเดินขายทุกวัน     ความเป็นอยู่ในบ้านหม่อมยายนั้น  ท่าน(หมายถึงพระองค์เจ้าคำรบ)เล่าว่าอัตคัด   ต้องอดๆอยากๆ  ผ้าผ่อนที่จะนุ่งห่มก็เก่าแก่ขาดวิ่น   ข่าวคราวทางคุณแม่ก็ไม่มีออกมาเลย   รู้แต่ว่าติดสนม

ที่หน้าเรือนของหม่อมยายนั้น มีต้นพุทราใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง    หม่อมยายให้ท่านเก็บผลพุทราทุกเช้า   พอเก็บได้มาแล้ว หม่อมยายก็เย็บกระทงใบตองเล็กๆ    ใส่พุทราได้สิบกระทงบ้าง สิบห้ากระทงบ้าง   ก็เอาใส่กระจาด   ตกเย็นก็ให้ท่านกระเดียดกระจาดไปขายตามหน้าโรงบ่อนโรงหวย   ในราคากระทงละอัฐ    ท่านพ่อท่านก็ดีพระทัยที่ได้ช่วยหม่อมยาย   ออกเดินขายพุทราตามหน้าโรงบ่อนโรงหวยทุกวัน"
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 19:33

ดิฉันชักมึนงง  ตกลงวังกรมขุนวรจักรธรานุภาพอยู่ตรงไหนแน่คะ

๑.  "ถ้าจะกล่าวเรื่องความเป็นมาของวังของกรมขุนวรจักรฯ ตั้งแต่สมัยได้รับพระราชทานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ จนกระทั่งท่านมาซื้อวังเองที่ตำบลวรจักร ในโครงกระดูกในตู้ VS ตำนานวังหน้า มีข้อความที่แตกต่างกันในด้านที่มา
     วังกรมขุนวรจักรนั้น ต่อมากลายเป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าปรีดา เกิดโรงละครปรีดาลัย บนถนนเจริญกรุง ซึ่งดำรงตั้งอยู่มาได้

     จากแผนที่ พ.ศ. 2450 (พิมพ์กรมแผนที่ทหารบก - จัดทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ระบุตำแหน่งวังพระองค์เจ้าปรีดา ซ้ายมือทิศตะวันตกจรดถนนวรจักร ขวามือติดคลองวัดสามปลื้ม  จะเห็นว่าก่อนที่ถนนวรจักรตัดผ่าน หน้าวังหันหน้าออกไปทางคลอง"

     บริเวณนี้คือย่านวรจักร

๒.  "วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร "วังนี้ตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมืองฟากใต้ ต่อวังกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ (ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของเอกชน และสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ : ป.บุนนาค) มาทางตะวันตก ที่เดิมเป็นวังกรมขุนวรจักรธรานุภาพทั้งวังกับวังพระองค์เจ้าเกยูรครึ่งวัง

     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซื้อพระราชทานกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร  และโปรดฯ ให้รื้อตำหนักที่พระราชวังนันทอุทยาน มาสร้างเป็นตำหนักด้วย ๑
"๑) หน้าวังหันออกถนนบำรุงเมืองตรงหน้าสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ตรงข้ามกับโรงเรียนเทเวศร์วิทยาลัย ปัจจุบันทางตะวันออกของวังเป็นที่ทำการขององค์การโทรศัพท์ ทางตะวันตกเป็นตึกแถวที่อาศัยของเอกชน"

     บริเวณนี้คือถนนบำรุงเมืองถัดเสาชิงช้าขึ้นมา  แถวชุมสายโทรศัพท์สำราญราษฎร์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 19:39


สิ่งที่สงสัยคือ "วังที่ท่านมาอยู่กับยาย ปีนต้นไม้แถววัดราชนัดดา ไปขายของที่โรงบ่อน" นั้น วังใคร มีโรงบ่อนตรงไหน
ตอบจากโครงกระดูกในตู้นะคะ
"วังของท่านตา(หม่อมเจ้าทับทิมในกรมพระราชวังหลัง)เป็นบ้านเล็กๆ อยู่ติดกับวัดราชนัดดา  ในที่ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยในปัจจุบันนี้    ขณะนั้นหม่อมเจ้าทับทิมผู้เป็นตาของท่านสิ้นชีพิตักษัยไปนานแล้ว     หม่อมยายเลี้ยงชีพด้วยการทำขนมขายให้บ่าวผู้หญิงซึ่งได้ช่วยไว้ออกเดินขายทุกวัน     ความเป็นอยู่ในบ้านหม่อมยายนั้น  ท่าน(หมายถึงพระองค์เจ้าคำรบ)เล่าว่าอัตคัด   ต้องอดๆอยากๆ  ผ้าผ่อนที่จะนุ่งห่มก็เก่าแก่ขาดวิ่น   ข่าวคราวทางคุณแม่ก็ไม่มีออกมาเลย   รู้แต่ว่าติดสนม

ที่หน้าเรือนของหม่อมยายนั้น มีต้นพุทราใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง    หม่อมยายให้ท่านเก็บผลพุทราทุกเช้า   พอเก็บได้มาแล้ว หม่อมยายก็เย็บกระทงใบตองเล็กๆ    ใส่พุทราได้สิบกระทงบ้าง สิบห้ากระทงบ้าง   ก็เอาใส่กระจาด   ตกเย็นก็ให้ท่านกระเดียดกระจาดไปขายตามหน้าโรงบ่อนโรงหวย   ในราคากระทงละอัฐ    ท่านพ่อท่านก็ดีพระทัยที่ได้ช่วยหม่อมยาย   ออกเดินขายพุทราตามหน้าโรงบ่อนโรงหวยทุกวัน"


แนบแผนที่สำรวจ พ.ศ. 2426 พิมพ์ พ.ศ. 2430 กะที่ทางควรอยู่หน้าป้อมมหากาฬ (กรอบเขียว)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 19:49

ดิฉันชักมึนงง  ตกลงวังกรมขุนวรจักรธรานุภาพอยู่ตรงไหนแน่คะ

๑.  "ถ้าจะกล่าวเรื่องความเป็นมาของวังของกรมขุนวรจักรฯ ตั้งแต่สมัยได้รับพระราชทานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ จนกระทั่งท่านมาซื้อวังเองที่ตำบลวรจักร ในโครงกระดูกในตู้ VS ตำนานวังหน้า มีข้อความที่แตกต่างกันในด้านที่มา
     วังกรมขุนวรจักรนั้น ต่อมากลายเป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าปรีดา เกิดโรงละครปรีดาลัย บนถนนเจริญกรุง ซึ่งดำรงตั้งอยู่มาได้

     จากแผนที่ พ.ศ. 2450 (พิมพ์กรมแผนที่ทหารบก - จัดทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ระบุตำแหน่งวังพระองค์เจ้าปรีดา ซ้ายมือทิศตะวันตกจรดถนนวรจักร ขวามือติดคลองวัดสามปลื้ม  จะเห็นว่าก่อนที่ถนนวรจักรตัดผ่าน หน้าวังหันหน้าออกไปทางคลอง"

     บริเวณนี้คือย่านวรจักร

๒.  "วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร "วังนี้ตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมืองฟากใต้ ต่อวังกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ (ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของเอกชน และสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ : ป.บุนนาค) มาทางตะวันตก ที่เดิมเป็นวังกรมขุนวรจักรธรานุภาพทั้งวังกับวังพระองค์เจ้าเกยูรครึ่งวัง

     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซื้อพระราชทานกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร  และโปรดฯ ให้รื้อตำหนักที่พระราชวังนันทอุทยาน มาสร้างเป็นตำหนักด้วย ๑
"๑) หน้าวังหันออกถนนบำรุงเมืองตรงหน้าสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ตรงข้ามกับโรงเรียนเทเวศร์วิทยาลัย ปัจจุบันทางตะวันออกของวังเป็นที่ทำการขององค์การโทรศัพท์ ทางตะวันตกเป็นตึกแถวที่อาศัยของเอกชน"

     บริเวณนี้คือถนนบำรุงเมืองถัดเสาชิงช้าขึ้นมา  แถวชุมสายโทรศัพท์สำราญราษฎร์

สมัยรัชกาลที่ ๒ กรมขุนวรจักรได้รับพระราชทานที่วังประตูสำราญราษฎร์ ---> สมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้ย้ายมาที่วังริมสนามชัย และขอซื้อวังประตูสำราญราษฎร์ เพื่อยกให้กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร -----> สมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงเกณฑ์ที่ดินสร้างสวนสราญรมย์ กรมขุนวรจักรย้ายไปซื้อที่ดินเอง

ที่วรจักร -----> รัชกาลที่ ๕ กลายเป็นที่วังพระองค์เจ้าปรีดา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 19:59

อ้างถึง
ที่วรจักร -----> รัชกาลที่ ๕ กลายเป็นที่วังพระองค์เจ้าปรีดา
ตกลงวังนี้ใช่ไหมครับ ที่โครงกระดูกในตู้บอกว่าถูกริบราชบาตร

อีกคำถามนึง แล้ววังพระองค์เจ้าคำรพมีขึ้นได้อย่างไร แต่สมัยไหน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 20:37

ขอลอกเฉพาะเรื่องริบราชบาตรในโครงกระดูกในตู้มาให้วิเคราะห์กันนะคะ
(ถ้ายังคุยกันยาวๆต่อไปอีก    ดิฉันอาจจะมีโอกาสได้ลอกทั้งเล่มก็เป็นได้   ยิ้มเท่ห์ )

" ท่านป้าฉวีวาดเป็นเจ้านายข้างใน  ซึ่งมีจารีตคุ้มครองหนักหนากว่าเจ้านายฝ่ายหน้าอยู่แล้ว    เมื่อท่านมิได้ไปเพียงนอกเสาหิน โดยมิได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต   แต่ล่วงเลยออกนอกเขตพระราชอาณาจักรไปถึงเมืองเขมร    โทษของท่านก็เป็นอุกฤษฎ์โทษโดยมิต้องพิจารณาแต่อย่างใดเลย    ตามกฎหมายในสมัยนั้น หากทางราชการเอาตัวผู้กระทำผิดมิได้   ก็ให้เกาะเอาตัวผู้ที่เป็นญาติสนิท เช่น บิดามารดา หรือญาติพี่น้องมาลงโทษแทน    เมื่อท่านป้าฉวีวาดหนีรอดไปแล้ว   ทางราชการก็มาเกาะเอาตัวม.ร.ว.ดวงใจ ผู้เป็นย่าของผู้เขียนไปลงพระราชอาญาเฆี่ยนหลัง 30 ที   และให้จำสนมไว้ ทั้งให้ริบราชบาตรอีกด้วย"

คนที่โดน "เกาะ" ในความผิดของม.จ.ฉวีวาด  มีคนเดียวคือม.ร.ว.ดวงใจ   เจ้าพี่เจ้าน้องของม.จ.ฉวีวาดไม่ได้โดนด้วย  เพราะหม่อมเจ้าหญิงทั้งสี่องค์สามารถจะอพยพเข้าไปอยู่ในวังหลวง   ไปพึ่งพระบารมีพระอรรคชายา พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์  หรือพระวิมาดา   โดยเข้าไปทำหน้าที่ในห้องพระเครื่องต้น  มีงานการทำไม่ลำบากเดือดร้อน    
หลังจากนั้น 1 ปี ม.ร.ว.ดวงใจพ้นโทษจากสนม กลับมาอยู่วังตามเดิม ในฐานะที่ยากจน  พระองค์เจ้าคำรบก็กราบถวายบังคมลาจากในวังกลับมาอยู่กับหม่อมแม่

แกะรอยเหล่านี้ แสดงว่า การริบราชบาตรที่ราชสกุลปราโมชโดน มีลักษณะดังนี้
1 หม่อมแม่ของม.จ.ฉวีวาดโดนหนักที่สุดคือโดนเฆี่ยน  ถูกจำกัดบริเวณที่เรียกว่าติดสนม ในวังหลวง   และถูกริบทรัพย์สินเงินทอง
2 พระเชษฐาของม.จ.ฉวีวาดพระองค์เจ้าปรีดาผู้รับมรดกวังวรจักร มิได้โดนริบวัง  หรือเงินทอง ยังคงครองวังวรจักรต่อมาจนสิ้นพระชนม์
3 หม่อมเจ้าหญิง เจ้าพี่เจ้าน้องของม.จ.ฉวีวาด  มิได้โดนราชภัย เพียงแต่ต้องย้ายจากวังวรจักรไปอยู่ในวังหลวง พึ่งพระบารมีพระวิมาดา
4 พระองค์เจ้าคำรบมิได้ถูกจำกัดสิทธิ์เรื่องการศึกษาและหน้าที่การงาน    พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งให้ไปเข้าร.ร.นายร้อยทหารบก   ทรงฝากเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์ให้ทรงดูแลอุปการะอีกทางหนึ่ง

ดูจากตัวอย่างข้างบนนี้ ริบราชบาตรก็คือมารดาของผู้กระทำผิดถูกลงโทษขั้นเฆี่ยน จำกัดบริเวณและริบทรัพย์ แต่ผู้เดียว  พี่น้องอื่นๆของผู้กระทำผิดไม่ได้ถูกลงโทษแต่อย่างใด
นี่ก็เป็นคำตอบว่า ทำไมวังวรจักรจึงอยู่กับเจ้านายราชสกุลปราโมชมาจนตัดถนนวรจักร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 20:43

อีกคำถามนึง แล้ววังพระองค์เจ้าคำรพมีขึ้นได้อย่างไร แต่สมัยไหน
วังนี้หรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 21:06

ไม่ใช่ครับ วังที่อยู่ตรงคลองถม

ส่วนวังที่ถนนพระอาทิตย์ผมทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๖พระราชทานให้พระองค์เจ้าคำรพ แล้วตกเป็นของม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และบุตรของท่านตามลำดับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 21:13

ผมก็ยังสงสัยอยู่ดี
อ้างถึง
คนที่โดน "เกาะ" ในความผิดของม.จ.ฉวีวาด  มีคนเดียวคือม.ร.ว.ดวงใจ   เจ้าพี่เจ้าน้องของม.จ.ฉวีวาดไม่ได้โดนด้วย.... 
...หลังจากนั้น 1 ปี ม.ร.ว.ดวงใจพ้นโทษจากสนม กลับมาอยู่วังตามเดิม ในฐานะที่ยากจน  พระองค์เจ้าคำรบก็กราบถวายบังคมลาจากในวังกลับมาอยู่กับหม่อมแม่
การริบราชบาตร ไม่ใช่ริบเงินทองอย่างเดียว สมบัติอื่นๆเช่นบ้านและที่ดินก็ถูกริบด้วยไม่ใช่หรือครับ นี่มีกลับมาอยู่วังตามเดิมด้วย อย่างนี้ก็ไม่เข้าข่ายริบราชบาตร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 21:33

         ริบราชบาตร ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายความว่า คำสั่งหลวง ริบราชบาตรเป็น โทษริบทรัพย์ มักใช้คู่กับ โทษประหารชีวิต เป็นการริบทรัพย์ของผู้กระทำผิดทุกสิ่งที่มีอยู่ในขณะนั้นรวมทั้งลูกเมียและทรัพย์สิน เงินทอง ให้ตกเป็นของหลวง
         ก็ออกจะงงๆเหมือนกัน ว่าวังหรือตำหนักที่ท่านย่าม.ร.ว.ดวงใจอยู่  ไม่ถูกริบ  ริบแต่ทรัพย์สินส่วนตัวเท่านั้น  ไม่ใช่ "ทุกสิ่งที่มีอยู่ในขณะนั้นรวมลูกเมีย"   เพราะลูกสาวหม่อมย่าทั้ง 4 องค์ก็ไม่ได้ตกเป็นคนหลวง  หรือจะอนุโลมว่าเข้าวังไปถวายการรับใช้พระอรรคชายาถือว่าเป็นคนหลวงแล้ว?
         ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ข้อกำหนดของริบราชบาตรสมัยรัชกาลที่ ๕ ค่ะ ใครทราบกรุณาอธิบายด้วย
บันทึกการเข้า
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 21:37

เกรงว่าทุกๆท่านจะเหนื่อยมากเกินไป หยุดพักทานผลไม้ก่อนดีมั้ยคะ ลูกพีชสดจากต้นที่บ้าน พร้อมพริกกับเกลือค่ะ



ทานเสร็จแล้วโพสข้อมูลกันต่อนะคะ คอยตามอ่านอยู่ตลอดค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 22:26

ขอบคุณค่ะ    ทานเสร็จแล้วเห็นจะต้องเรียกนักเรียนตอบเสียที   หลับกันไปหมดทั้งห้องแล้ว
คุณประกอบว่าไงคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.225 วินาที กับ 20 คำสั่ง