เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 90331 หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 15 ต.ค. 13, 17:03

เรื่องที่ไม่มีใบเสร็จ เค้าพริ้วกันสบายๆอยู่แล้ว
เผลอๆจะโดนข้อกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทท่านเสียอีก
บันทึกการเข้า
ตูมตั้งบังใบ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 15 ต.ค. 13, 19:01

ถ้าพิจารณาในแง่ของเรื่อง กฏมณเฑียรบาล ร่วมกับคำว่า เสเพล พอจะเป็นแนวทางในการหาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้สำหรับการไปเมืองเขมรของ หม่อมเจ้าฉวีวาด ได้หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 15 ต.ค. 13, 20:51

^
ยังไม่เข้าใจค่ะ  คุณหนุ่มสยามเข้าใจสิ่งที่คุณตูมฯ พยายามจะสื่อไหมคะ

ส่วนดิฉัน ตอนนี้ก็แน่ใจว่าสาเหตุม.จ.ฉวีวาดหนีออกนอกสยามคือสาเหตุส่วนตัว      ถ้าหากว่าเป็นเรื่องการเมือง สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ น่าจะทรงใช้คำทำนองว่า หนีเพราะ "เกรงพระราชอาญา"  หรือ "ร้อนตัวกลัวผิด"  หรืออะไรอื่นๆที่แสดงถึงนัยยะความเดือดเนื้อร้อนใจของท่านว่าจะถูกจับกุมลงโทษ ทำให้อยู่ในสยามไม่ได้    แต่ก็ไม่มีคำทำนองนี้อยู่ในรายงานที่ถวายเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์

ถ้าหากว่าเรื่องนี้เป็นละคร  ก็มีตัวละครอีกตัวหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง  แต่กลับเงียบเชียบไม่ปรากฏบทบาทใดๆในวิกฤตวังหน้า ตลอดจนการหนีของหม่อมเจ้าฉวีวาดเลย   ความเงียบและนิ่งของท่านเป็นคำตอบบางอย่างในตัว  หากว่าจะแกะรอยกันจริงๆ
จึงขอแกะรอยไปก่อน ระหว่างรอคุณหนุ่มสยามมาเฉลย

ตัวละครที่ว่านี้ก็คือพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร  พระสวามีของหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด

"โครงกระดูกในตู้" มิได้กล่าวเลยว่าเมื่อหม่อมเจ้าฉวีวาดลงเรือหนีไปเขมร     พระสวามีไปทำอะไรอยู่ที่ไหน    จึงมีแต่ผู้หญิงไปกันทั้งลำเรือ แต่ไม่มีประมุขของวัง คือพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์เสด็จลงเรือไปด้วย
พี่น้องเครือญาติของท่านหญิงถูกริบราชบาตร   บ้านแตกสาแหรกขาด   แต่ไม่มีการเอ่ยว่ากรมหมื่นวรวัฒน์ฯได้รับผลกระทบใดๆ   ซ้ำช่วงปลายรัชกาลก็ยังมีผลงานจนได้ทรงกรมเป็นกรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร เมื่อพ.ศ. 2446 คือ 29 ปีต่อมา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 15 ต.ค. 13, 21:00

ถ้าหากว่าท่านหญิงฉวีวาดได้เป็นหัวโจกในเรื่องวิกฤตวังหน้าจริง   ถึงขั้นต้องหลบหนีออกนอกประเทศเมื่อทำการไม่สำเร็จ     พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์น่ะหรือจะลอยนวลอยู่ได้     เพราะอะไรใหญ่โตขนาดนี้ที่ภรรยาทำ เป็นไปไม่ได้ที่สามีจะไม่รู้ไม่เห็น   นอกจากนี้ฐานะของพระองค์เจ้าเฉลิมฯ ยังหมิ่นเหม่อยู่มาก   เพราะท่านก็เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเหมือนกัน     ถ้าพระชายาเป็นหัวโจก พระสวามีก็ต้องเป็นหัวโจกด้วย  
แต่นี่..รูปการณ์เหมือนพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ถูกลืมไปเสียเฉยๆ    คือถูกลืมทั้งจากหนังสือโครงกระดูกในตู้    และถูกลืมจากผู้เกี่ยวข้องกับวิกฤตวังหน้า     ทั้งพระเจ้าอยู่หัว  ทั้งกรมพระราชวังวิชัยชาญ ทั้งกรมหมื่นสถิตย์ฯผู้ทรงบันทึกเพลงยาวเอาไว้ละเอียดลออ    มิได้เอ่ยถึงพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์เลย
ราวกับว่าพระสวามีของท่านหญิงฉวีวาดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

ดิฉันจึงมองว่า พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ไม่เกี่ยวข้องจริงๆน่ะแหละค่ะ     เพราะในเมื่อไม่มีการคบคิดวางแผนการร้าย   มีแต่อุบัติเหตุไฟไหม้ตึกดิน     ทางการสืบสวนแล้วพบความจริงข้อนี้    ก็เลยตัดปัญหาไปว่า...ไม่มีผู้เกี่ยวข้อง
พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ท่านก็ทรงอยู่โดยสงบของท่านต่อไป  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 15 ต.ค. 13, 21:12

ดังนั้นจึงนำไปสู่คำตอบอีกข้อหนึ่งว่า หม่อมเจ้าฉวีวาดมิได้หนีไปพร้อมกับพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณ์ฯ    แต่ไปองค์เดียว   ชีวิตคู่ตามที่เล่าไว้ใน "โครงกระดูกในตู้" ก็มิได้ราบรื่น   ท่านหญิงเองก็ดูว่าไม่พอพระทัยพระสวามีเสียมากกว่าพระสวามีเป็นฝ่ายไม่พอพระทัยพระชายา
เมื่อไม่มีพระสวามีไปด้วย   ลำพังแต่ม.จ.ฉวีวาด  หม่อมเจ้าหญิงปุกและนางสาวน็อกซ์ (ถ้าเราเชื่อตามหนังสือว่าลงเรือไปด้วยกัน)
บวกละครผู้หญิงอีกโรงหนึ่ง จะกล้าหาญชาญชัยลงเรือออกทะเล มุ่งหน้าไปยังอาณาจักรเขมรที่แต่ละคนเองก็ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยไปมาก่อนเชียวหรือ
ไม่มีใครที่เก่งพอจะสามารถนำทางไป ตลอดจนให้การคุ้มครองผู้หญิงเหล่านี้บ้างเลยละหรือ?   และใครคนนั้นจะต้องรับหน้าที่ดูแลผู้หญิงพวกนี้จนอยู่ในเขมรต่อไปได้   ไม่ต้องบากหน้ากลับมาสยามอีก 

เชิญวิเคราะห์กันเองตามสะดวกค่ะ
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 10:51

ข้อมูลบางจุดยังไม่ค่อยแน่ชัด  หรือดิฉันอาจอ่านข้ามตรงไหนไป

กรณีหม่อมเจ้าหญิงปุก

- หม่อมเจ้าหญิงปุก เป็นพระธิดาในเจ้าฟ้าอิศราพงศ์  พระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์  ต่อมาเป็นต้นราชสกุล อิศรศักดิ์  อนุมานจากข้อมูลที่ว่า หม่อมเจ้าหญิงปุกเข้าเฝ้าสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ คราวเสด็จกรุงพนมเปญเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗  ขณะนั้นชนมายุ ๗๖ ชันษา  จึงน่าจะประสูติเมื่อปี พ.ศ.  ๒๓๙๑

- เจ้าฟ้าอิศราพงศ์พระบิดา  สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๔๐๔  ขณะนั้นหม่อมหญิงปุกน่าจะชนมายุ ๑๓ ชันษา  อนุมานเอาว่าคงต้องเสด็จเข้าไปอยู่ในวังหลวง

- ต่อมากรมหมื่นพิทยาลงกรณ์พระราชโอรสของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญประสูติเมื่อ ๑๐ ม.ค. ๒๔๑๙  เสด็จในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เคยรับสั่งกับผู้เขียนหนังสือโครงกระดูกในตู้ว่า “หม่อมเจ้าหญิงปุกได้เคยเลี้ยงดูพระองค์ท่านมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  และประทับที่เมืองเขมรตลอดมาจนชรามาก  สิ้นชีพิตักษัยในเมืองเขมรในรัชกาลที่ ๗”

- ขณะเมื่อเสด็จในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ประสูติ  หม่อมเจ้าหญิงปุกน่าจะชนมายุ ๒๘ ชันษาแล้ว  (ก็มากอยู่นา)  น่าจะเสด็จออกจากวังหลวงมาอภิบาลเสด็จในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  ที่วังหน้า

- ในรายงานที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงมีถึงสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร  กล่าวถึงหม่อมเจ้าหญิงปุกว่า "”พอจะได้ยินชื่อหม่อมฉวีวาดบ้าง  รุ่นสาวได้แต่งงานกับกรมหมื่นวรวัตรสุภาพร  แล้วประพฤติตัวเสเพลหนีออกไปเขมร  แล้วไปมีผัวอีก  ปลายตกเป็นอนาถา  เจ้าปุกในเจ้าฟ้าอิศราพงศ์  ออกไปได้เป็นพระองค์อัครนารี  ออกช่วยเงินส่งกลับเข้ามายังกรุงเทพ"

- สมแด็จพระนโรดมฯ ในวัยเยาว์เสด็จมาประทับที่กรุงเทพ  ข้อมูลทั่วไประบุว่าทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๐๓ – ๒๔๔๗  แต่เนื่องจากช่วงต้นรัชกาลมีเหตุวุ่นวายทางการเมือง  กว่าจะเสด็จไปครองราชย์จริงประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๑

- ข้อสงสัยคือ หม่อมเจ้าหญิงปุกเป็นหม่อมในสมเด็จพระนโรดม (พรหมบริรักษ์ – นักองค์ราชาวดี)  หรือ  “ออกไปได้เป็นพระองค์อัครนารี” ได้อย่างไรและเมื่อใด ?
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 10:57

กรณี มจ. ฉวีวาด

ดิฉันไม่แน่ใจว่ามีข้อมูลแน่ชัดหรือไม่ว่า มจ. ฉวีวาด เดินทางไปเขมรเมื่อใด และท่านเคยคบหาสนิทสนมกับหม่อมเจ้าหญิงปุกมากแค่ไหน  รวมถึงมีอายุมากน้อยกว่ากันเท่าใด
 
มจ. ฉวีวาดนั้นกลับมาสยามในรัชกาลที่ ๖ เพียงลำพัง  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ไม่ได้เล่าว่าทำไมท่านถึงกลับ  บอกแต่ว่ากลับมาท่านก็มาบวชชี  จนสิ้นชีพิตักษัยเมื่อพระชนม์ได้ ๘๐ ปี  ซึ่ง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ เล่าไว้เพียงว่า

"ท่านป้าฉวีวาดเป็นโครงกระดูกในตู้โดยแท้  เพราะเรื่องราวของท่านถูกปิดบังซุบซิบกันมานาน  ไม่ให้ลูกหลานได้รู้  ที่ผู้เขียนเรื่องนี้บังเอิญรู้โดยละเอียดก็เพราะสมัยหนึ่งที่ท่านป้าฉวีวาดชรามากแล้ว  ท่านเกิดโปรดปรานหลานคนนี้ขึ้นมา  และเอาไป "เลี้ยง" ไว้กับท่าน  การเลี้ยงหลานของท่านออกจะแปลก  เพราะท่านบรรทมกลางวันเป็นส่วนมาก  แต่ปลุกหลานขึ้นมาคุยตอนกลางคืน  เล่าเรื่องอะไรต่ออะไรให้ฟัง..”

ผู้เฒ่าผู้แก่ยามหวนนึกถึงความหลัง  เป็นไปได้ไหมว่าบางเรื่องก็อยากจะปิดกั้นไว้ในอดีตตลอดไป  ยามมองย้อนไปในอดีต  แต่ละคนย่อมวาดหวังอยากให้เส้นทางชีวิตที่ผ่านมาราบรื่นงดงาม  เรื่องราวในอดีตที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ รับทราบจากท่านป้าจึงเป็น

"เมื่อท่านป้าฉวีวาดได้เข้าไปอยู่ในวังกับสมเด็จพระนโรดมแล้ว  ความสนิทสนมระหว่างท่านกับสมเด็จพระนโรดมก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ  ว่ากันว่าสมเด็จพระนโรดมตั้งท่านป้าเป็นถึงพระราชเทวี  แต่ความข้อนี้ผู้เขียนไม่ยืนยันเพราะท่านไม่ได้เล่าให้ฟัง  ท่านบอกแต่ว่าท่านประสูติพระองค์เจ้าเขมรกับสมเด็จพระนโรดมองค์หนึ่งเป็นพระองค์เจ้าชาย  มีนามว่าพระองค์เจ้าพานคุลี”

ขออภัย  เป็นไปได้ไหมว่า มจ. ฉวีวาดในยามชรา  ท่านดึงชีวิตของหม่อมเจ้าหญิงปุกมาเป็นชีวิตของท่านเอง  ถ้าเป็นเช่นนั้น  เรื่องราวการเดินทางไปเขมรอย่างโลดโผน  ความเป็นจริงอาจเป็นท่านติดตามไปกับขบวนเดินทางไปเขมรของหม่อมเจ้าหญิงปุก  หม่อมเจ้าหญิงปุกออกไปได้เป็นพระองค์อัครนารี  ส่วนท่าน  “ปลายตกเป็นอนาถา”  หม่อมเจ้าหญิงปุกต้องออกช่วยเงินส่งกลับเข้ามายังกรุงเทพ
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 11:07

ข้อสงสัยประการหนึ่งของดิฉันคือ  สมัยนั้นฝ่ายในสามารถไปสนิทสนมกับฝ่ายหน้าได้ขนาดนั้นเลยหรือ (ตามที่ มจ. ฉวีวาดเล่า)  รวมถึงการที่หม่อมเจ้าหญิงปุก "ออกไปได้เป็นพระองค์อัครนารี"  เพราะถ้านับว่าขณะเสด็จในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  ประสูติ  ท่านก็ชันษา ๒๘ แล้ว  แล้วยังมีช่วงที่ท่านอภิบาลเสด็จในกรมฯ อีก  นับว่าชันษาสูงสำหรับการออกเรือนในสมัยนั้น  เลยไม่ทราบว่าท่านได้มีโอกาสคุ้นเคยกับสมเด็จพระนโรดมมาก่อนตอนไหนหรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 11:47

ได้คุณtitaมาช่วยวิเคราะห์ ทำให้กระทู้นี้น่าสนุกยิ่งขึ้นไปอีก
คำถามของคุณtita เกิดจากความสับสนอันมีที่มาจาก"โครงกระดูกในตู้"ทั้งสิ้น

ผมเชื่อว่าเอกสารชั้นต้นในเรื่องนี้มี ชนิดที่เปิดออกมาเมื่อไหร่ก็เป็นได้หงายหลังผลึ่งกันไปทั้งวงการ ถ้าขาดเสียซึ่งเอกสารดังกล่าวที่ผมเรียกว่า"ใบเสร็จ" เราก็ได้แต่ตั้งสมมติฐานกันไป ถึงจะถูกต้องหรือใกล้เคียงอย่างไร คนทั่วไปก็ยังเลือกที่จะเชื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ ซึ่งองค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นบุคคลสำคัญของโลกถึง๔สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน อยู่ดี

ซึ่งท่านก็ได้เขียนยกย่องท่านป้าของท่านไว้เลอเลิศ ขนาดยกให้เป็นผู้รื้อฟื้นนาฏกรรมเและดนตรีเขมรเลยด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 13:00

สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์หรือนักองราชาวดี พระราชสมภพเดือนกุมภาพันธ์ ๒๓๗๗ ที่อังกอร์โบเร(เสียมราฐ) ทรงเติบโตในกรุงเทพ และเสด็จกลับกัมพูชาเมื่อพ.ศ.๒๔๐๐ และเสด็จมากรุงเทพฯอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ ๒๔ มกราคม ๒๔๑๒ (สมัยนั้นคือ๒๔๑๑)
 
หม่อมเจ้าหญิงปุก ประสูติปี พ.ศ.๒๓๙๑ ดังนั้นในปีที่นักองราชาวดีเสด็จมาครั้งที่๒ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าโปรดเกล้าฯให้ราชาภิเษกเป็นกษัตริย์เขมรพี่พระอุโบสถวัดโพธิ์นั้น หม่อมเจ้าหญิงทรงมีอายุ๒๐เศษนิดๆ ตามราชประเพณีโบราณ หลังราชาภิเษกแล้วเจ้านายหรือขุนนางพ่อค้าจะยกลูกสาวถวายกษัตริย์พระองค์ใหม่เพื่อให้เป็นเจ้าจอม เป็นไปได้ว่าท่านหญิงอาจจะได้ถวายตัวในตอนนั้นและเสด็จกลับกรุงกัมพูชาพร้อมกัน
ถ้าเสด็จไปโดยวิธีอื่นแล้วคงไม่พ้นพระราชอาญา พ่อแม่คงต้องโทษถูกริบราชบาตรเหมือนคดีท่านหญิงฉวีวาดนั่นแหละ

ตามสมมติฐานที่ว่า พระพี่เลี้ยงของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ก็ไม่ใช่ท่านหญิงปุกองค์นี้อย่างที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 13:11



"โครงกระดูกในตู้" มิได้กล่าวเลยว่าเมื่อหม่อมเจ้าฉวีวาดลงเรือหนีไปเขมร     พระสวามีไปทำอะไรอยู่ที่ไหน    จึงมีแต่ผู้หญิงไปกันทั้งลำเรือ แต่ไม่มีประมุขของวัง คือพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์เสด็จลงเรือไปด้วย
พี่น้องเครือญาติของท่านหญิงถูกริบราชบาตร   บ้านแตกสาแหรกขาด   แต่ไม่มีการเอ่ยว่ากรมหมื่นวรวัฒน์ฯได้รับผลกระทบใดๆ   ซ้ำช่วงปลายรัชกาลก็ยังมีผลงานจนได้ทรงกรมเป็นกรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร เมื่อพ.ศ. 2446 คือ 29 ปีต่อมา


ที่น่าสงสัยคือ ในเมื่อคุณชายหม่อมฯ ท่านมีโอกาสซักไซ้ ไต่ถามป้าฉวีวาดแล้ว ก็น่าจะพรรณาความเป็นอยู่หรือการออกไปจากพระราชอาณาจักรสยามไว้บ้าง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 13:19

^แล้วยังไงต่อครับ^
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 13:40

ดิฉันเข้าใจว่าเรื่องราวของ มจ. ฉวีวาด นี้คงเป็นที่รับรู้กันของเหล่าพระญาติวงศ์ยุคนั้น  สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เองก็ทรงทราบ  แต่ความที่เป็นเรื่องเสื่อมเสียเลยต้องปกปิดและหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงกัน  ข้อมูลทาง มจ. ฉวีวาด เองก็มีเท่าที่เล่าผ่าน “โครงกระดูกในตู้”  ซึ่งดิฉันเองก็ไม่อยากจะตั้งข้อสังเกตไปถึงท่านผู้เขียน  เพราะตอนที่ท่านรับทราบเรื่องราวที่ท่านป้าเล่า  ตัวท่านเองก็น่าจะยังเด็ก  ถึงเมื่อท่านระแคะระคายความเป็นมาที่แท้จริงแล้ว  เรื่องอย่างนี้คงลำบากใจอยู่

ขออภัย  ดิฉันอยากจะเข้าใจว่าเรื่องนี้คงเป็นเรื่องราวงดงามที่ มจ. ฉวีวาด สร้างชดเชยชีวิตความเป็นจริงที่ท่านประสบมา  ถ้าตัดฝอยต่างๆ ออกไป  (เรือสำเภา  กรณีวิกฤตการณ์วังหน้า  คณะละคร ฯลฯ)  เหลือแค่ Fact ที่ว่า มจ. ฉวีวาด เดินทางไปเขมร  ก็จะมาถึงข้อสังเกตว่าไปอย่างไร  ไปเฝ้าสมเด็จพระนโรดมฯ ได้อย่างไร  ข้อนี้ก็จะมาคลิกกับเรื่องการออกไปได้เป็นพระองค์อัครนารีของหม่อมเจ้าหญิงปุก  การเดินทางไปเขมรของหม่อมเจ้าหญิงปุกก็น่าจะเป็นขบวนพอสมควร  มจ. ฉวีวาด คงสามารถ (ลอบ) ติดตามออกไปได้  ชีวิตของท่านหลังไปถึงเขมรแล้วจะอยู่ในวังสักระยะหรือจะระหกระเหินจนถึง “ปลายตกเป็นอนาถา” อย่างไรก็ไม่อาจทราบได้แล้ว

แต่เมื่อท่านเล่าเรื่องให้หลานเล็กฟัง  ก็ได้แต่คาดเดาว่าท่านคงต้องประสมประเสเรื่องราวต่างๆ ที่พอหยิบยกมาได้  อาจจะเพื่อทดแทนความเป็นจริงของชีวิตท่านเอง  หรือเพื่อสร้างความสนุกสนานให้หลานเล็กของท่าน  ที่ท่านก็คงไม่ทราบอนาคตว่าหลานของท่านจะหยิบยกเรื่องนี้มาเขียนเป็นเรื่องราวรับรู้กันกว้างขวาง  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 13:58

ข้อความโดย: tita
อ้างถึง
มจ. ฉวีวาดนั้นกลับมาสยามในรัชกาลที่ ๖ เพียงลำพัง  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ไม่ได้เล่าว่าทำไมท่านถึงกลับ  บอกแต่ว่ากลับมาท่านก็มาบวชชี  จนสิ้นชีพิตักษัยเมื่อพระชนม์ได้ ๘๐ ปี  ซึ่ง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ เล่าไว้เพียงว่า

"ท่านป้าฉวีวาดเป็นโครงกระดูกในตู้โดยแท้  เพราะเรื่องราวของท่านถูกปิดบังซุบซิบกันมานาน  ไม่ให้ลูกหลานได้รู้  ที่ผู้เขียนเรื่องนี้บังเอิญรู้โดยละเอียดก็เพราะสมัยหนึ่งที่ท่านป้าฉวีวาดชรามากแล้ว  ท่านเกิดโปรดปรานหลานคนนี้ขึ้นมา  และเอาไป "เลี้ยง" ไว้กับท่าน  การเลี้ยงหลานของท่านออกจะแปลก  เพราะท่านบรรทมกลางวันเป็นส่วนมาก  แต่ปลุกหลานขึ้นมาคุยตอนกลางคืน  เล่าเรื่องอะไรต่ออะไรให้ฟัง..”
เรื่องเล่าของม.ร.ว. คึกฤทธิ์อ่านอย่างสนุกๆก็ดีอยู่ดอก แต่ถ้าจะเอาจริงเอาจังแล้วจะเห็นความแปลกประหลาดของท่านป้าองค์นี้ ที่นักปราชญ์อย่างท่านก็น่าจะมองเห็น

ข้อความข้างต้นเต็มๆคือ

" ท่านป้าฉวีวาดเป็นโครงกระดูกในตู้โดยแท้  เพราะเรื่องราวของท่านถูกปิดบังซุบซิบกันมานาน  ไม่ให้ลูกหลานได้รู้   ที่ผู้เขียนเรื่องนี้บังเอิญรู้โดยละเอียด ก็เพราะสมัยหนึ่งที่ท่านป้าฉวีวาดชรามากแล้ว   ท่านเกิดโปรดปรานหลานคนนี้ขึ้นมา และเอาไป "เลี้ยง" ไว้กับท่าน     การเลี้ยงหลานของท่านออกจะแปลก   เพราะท่านบรรทมกลางวันเป็นส่วนมาก   แต่ปลุกหลานขึ้นมาคุยตอนกลางคืน  เล่าเรื่องอะไรต่ออะไรให้ฟัง     ท่านเสวยข้าวเย็นหรือข้าวเช้าก็ไม่แน่นัก  ตอนราวๆตีสองของวัน    และเสวยอะไรแปลกๆ เช่น เปลือกส้มเขียวหวานจิ้มกับน้ำพริก  เป็นต้น    ท่านปลุกหลานที่ท่าน "เลี้ยง" ให้ลุกขึ้นกินข้าวด้วยในยามวิกาลเช่นนั้นทุกคืนไป"

แม่ชีคืออุบาสิกาที่สมาทานศีล๘โดยเคร่งครัด หนึ่งในศีลแปดนั้น คือไม่บริโภคอาหารในเวลาวิกาล
แต่แม่ชีฉวีวาดตื่นบรรทมขึ้นมาล่ออะไรแปลกๆ เช่น เปลือกส้มเขียวหวานจิ้มกับน้ำพริก  เป็นต้น ท่านปลุกหลานที่ท่าน "เลี้ยง" ให้ลุกขึ้นกินข้าวด้วยในยามวิกาลเช่นนั้นทุกคืนไป หลานที่มีดีกรีระดับม.ร.ว. คึกฤทธิ์ก็น่าจะรู้ว่าท่านป้าของตนเพี้ยนไปแล้ว แต่ก็ยังเอาเรื่องเพี้ยนๆจากปากท่านป้ามาขยายความต่อเสมือนเป็นเรื่องจริงที่คนไทยควรเชื่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 14:11

ข้อความโดย: tita
อ้างถึง
แต่เมื่อท่านเล่าเรื่องให้หลานเล็กฟัง  ก็ได้แต่คาดเดาว่าท่านคงต้องประสมประเสเรื่องราวต่างๆ ที่พอหยิบยกมาได้  อาจจะเพื่อทดแทนความเป็นจริงของชีวิตท่านเอง  หรือเพื่อสร้างความสนุกสนานให้หลานเล็กของท่าน  ที่ท่านก็คงไม่ทราบอนาคตว่าหลานของท่านจะหยิบยกเรื่องนี้มาเขียนเป็นเรื่องราวรับรู้กันกว้างขวาง
 
ผมเห็นด้วยกับข้างต้นครับ แต่ผมผิดหวังกับหลานของท่านที่หยิบยกเรื่องนี้มาเขียนเป็นเรื่องราวรับรู้กันกว้างขวาง จนทำให้ผู้สนใจประวัติศาสตร์แทบจะทั้งหมดในประเทศนี้เชื่อว่าเรื่องเท็จ(ที่ผู้เขียนเองก็รู้ว่าเท็จ)นั้นเป็นเรื่องจริง และสร้างความเสียหายให้กับบุคคลอื่นที่ท่านลากเข้ามาเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่เรื่องเท็จของท่าน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง