เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 22
  พิมพ์  
อ่าน: 91065 หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 29 ต.ค. 13, 16:30

ขออภัยที่ออกนอกเรื่องนะคะ คุณแมวเซาเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับโรงงานน้ำตาลที่อุตรดิตถ์หรือเปล่าคะ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 29 ต.ค. 13, 20:50

สรุปพระประวัติย่อของม.จ.ฉวีวาด ปราโมช
จากข้อมูลในกระทู้นี้

ประสูติ               ประมาณพ.ศ. 2397-2399   (คำนวณจากพระชันษาของเจ้าพี่เจ้าน้องของท่าน)
ปฐมวัย              (อาจจะ)เคยเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังมาระยะหนึ่ง
เจริญพระชันษา      ปลูกตำหนักอยู่ในวังวรจักร  
หมั้น                  พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าคคณางค์ยุคล  กรมหลวงพิชิตปรีชากร    แล้วถอนหมั้น
เสกสมรส            พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร  พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว   ไม่มีโอรสธิดา
หนีจากสยาม        ประมาณพ.ศ. 2422  พระชันษาประมาณ 23-25 ปี    กับมหาดเล็กชื่อนายเวรผึ้ง
อยู่ในเขมร           ระหว่างพ.ศ. 2422 - พ.ศ. 2461 (ในรัชกาลที่ 6)  รวมเวลา 39 ปี
สามี                  นายเวรผึ้ง
                       ออกญานครบาล (มัน)
                       ออกญาแสรนธิบดี (ปัล)เจ้าเมืองระลาเปือย
                       พระพิทักราชถาน (ทอง)
                       ขุนศรีมโนไมย กรมการวัลเลอรีย์

บุตร                  นายนุด หรือนุศ  เกิดจากออกญาแสรนธิบดี  เจ้าเมืองระลาเปือย
ปัจฉิมวัย             บวชชีในประเทศไทย   อยู่กับญาติในราชสกุลปราโมช
                      ออกจากกรุงเทพไปอยู่ที่จ.อุตรดิตถ์ กับบุตรชาย
                      ญาติทางกรุงเทพไปรับกลับมากรุงเทพ
สิ้นชีพิตักษัย        หลังพ.ศ. 2477  แต่คงไม่เกินพ.ศ. 2480
 
                     ไม่พบหลักฐานว่า
                     1   ทรงเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์วิกฤตวังหน้าในพ.ศ. 2417
                     2   ทรงนำละครไทยไปเผยแพร่ในราชสำนักกัมพูชาในรัชกาลที่ 5

  
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 30 ต.ค. 13, 08:09

อ่านพบความตอนหนึ่งใน "พระราชวงศ์จักรี" ตอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระนิพนธ์ในหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล อ่านแล้วก็ไม่ได้คิดอะไร  แต่เมื่อมาอ่านข้อวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องหม่อมเจ้าฉวีวาด  ปราโมช ในกระทู้นี้แล้ว  เลยขอนำความตอนนั้นมาให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายได้ช่วยกันวิเคราะห์วิจารณ์กันต่อไป

เนื่อความในพระนิพนธ์นั้นมีว่า

เป็นธรรมดา คนชอบดูแต่ความโอ่อ่าฟุ้งสร้านและ bluffing ยิ่งกว่าการที่เป็นอยู่จริง  ฉะนั้นมนุษย์ที่เรียกว่าเจ้าจึงมักจะถูกกล่าวหาว่ามั่งมีนัก  และถ้าเจ้ามีแล้วก็ต้องแปลว่าทำนาบนหลังคน!!  ทำไมเรื่องเจ้าจนๆ จึงไม่มีใครเอามาปาฐกกันบ้าง?  ข้าพเจ้าจะเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่งที่น่าฟัง  วันหนึ่งมีผู้หญิงกระเดียดกระจาดใส่ห่อหมกเข้าไปขายหม่อมเจ้าหญิงเม้าพระชายากรมหลวงสรรพสาตร์ฯ  ท่านเม้าเห็นเข้าก็ร้องทักออกไปว่า "ตาย, ท่านแดง  ทำไมท่านมากระเจียดกระจาดขายของอย่างนี้?  หญิงคนนั้นโบกมือให้นิ่งแล้วตอบว่า "ทานแดงที่โกนจุกปีเดียวกับท่านตายนานแล้ว!  คนนี้ชื่ออีแดงขายห่อหมก!!"  ท่านเม้าจึงเรียกถามเบาๆ ว่า เรื่องเป็นอย่างไร?  ท่านแดง (Nick name) ตอบว่า "พ่อก็ตาย  แม่ก็ตาย  พี่น้องก็ไม่มี  จะทำอย่างไร  ฉันก็ไปบอกกระทรวงวังถอนบาญชีว่า "ท่านแดงนั้นตายแล้ว  เพื่อจะมาหากินเลี้ยงชีวิตร์ไม่ให้เสียเกียรติ์เจ้า!"  ท่านเม้าเลยให้เงินช่วยไปเลี้ยงตั้งตัว  แต่ท่านแดงก็เลยหายสูญไป  ไม่มีใครพบปะอีก  ป่านนี้เห็นจะอยู่กับพ่อแมของท่านแล้วดอกกระมัง!

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 30 ต.ค. 13, 10:07

หม่อมเจ้าแดงเป็นเจ้านายที่รักศักดิ์ศรีของเจ้า     ถึงตกยากก็ทำอย่างโคลงโลกนิติว่า
อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ            สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง                    จับเนื้อกินเอง

เชื่ออีกอย่างว่า จดหมายที่พระองค์เจ้ามาลิกากราบทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไม่ได้เป็นความลับจนเจ้านายในราชสกุลดิศกุลไม่ทรงรู้    เผลอๆเจ้านายในราชสกุลยุคลก็ทรงทราบด้วย
บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 30 ต.ค. 13, 10:36

อ้างถึง
TITA
ขออภัยที่ออกนอกเรื่องนะคะ คุณแมวเซาเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับโรงงานน้ำตาลที่อุตรดิตถ์หรือเปล่าคะ?


ใช่ครับ ที่ใช้ชื่อsleepcat เพราะเกรงเด็กๆสมัยนี้จะไม่สนใจอ่านเรื่องเก่าๆ   
เรื่องของแม่ชีฉวีวาด ก็เคยเตรียมเรื่องไว้ว่าจะเขียนลงต่อเนื่องในกระทู้ โรงงานน้ำตาลเหมือนกัน  แต่ผมไม่ได้อ่านโครงกระดูกในตู้  และหาข้อมูลที่เป็นเรื่องราวไม่ได้  มีแต่คำบอกเล่าจากคนหลายๆคน (ที่ส่วนมากไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว)    ผมเคยไปคิดว่าเป็นหม่อมเจ้าฉวีวรรณ ใน ร.3  แต่มาเทียบดูอายุและไม่ใช่แน่ก็เลยหยุดไป

 ส่วนที่เลือกมาใช้ชื่อแมวเซา  ก็เพราะสนใจเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์สงครามและเป็นคน เกิดที่บ้านป่าเซา (เป็นชื่อเก่ามีที่มาที่เดี๋ยวนี้ถูกสะกดชื่อว่าบ้านป่าเซ่าว์และไม่มีควมหมาย)

ขอแนะนำตัวอีกนิดว่าเป็นแมวเซาคนเดียวกับเว็ปศาลาโกหกที่เขียนเรื่องอานามสยามยุทธด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 30 ต.ค. 13, 10:44

ขอต้อนรับคุณแมวเซาค่ะ
ถ้าจะเขียนเรื่องแม่ชีฉวีวาด  ก็ขอเชิญตั้งกระทู้ในเว็บเรือนไทย  ถึงจะซ้ำกับในเว็บของคุณก็ได้ค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 30 ต.ค. 13, 16:52

ผมอ่านได้เรื่องที่คุณแมวเซาเขียนหลายเรื่อง ไม่นึกว่าจะเป็นคนเดียวกัน เรื่องสงครามเชียงตุงหรือสงครามปราบฮ่อก็อ่านที่คุณเขียนนี่แหละครับ แต่ความจำมันไม่ค่อยจะเที่ยงแล้วและประมาทไปไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนเขียน

ยินดีที่ได้เจอกันในเรือนไทยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 13:12


       แม่ชียายเจ้าท่านใช้ชีวิตอยู่ที่วัดท่าทองอยู่นานหลายปี   จนกระทั่งมีลูกหลานของท่านมารับกลับไปกรุงเทพฯจึงไม่ได้เสียชีวิตอยู่ที่นั่น  
       จะว่าไปก็เป็นเรื่องแปลกมากๆของชาวบ้านนอกของ เมืองอุตรดิตถ์  เพราะเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๘๐-๙๐ปีที่แล้ว   ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียอีก  ส่วนผู้คนที่เคยได้เห็นตัวจริงของแม่ชียายเจ้า  ก็แทบไม่เหลือตัวแล้ว
     คุณแมวเซานับช่วงเวลาที่ "แม่ชียายเจ้า"ไปอยู่ที่วัดท่าทองว่าเป็นเวลาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง  คือก่อนพ.ศ. 2475
ลูกหลานมารับท่านกลับไปกรุงเทพ ก็คงประมาณ 2475 หรือก่อน/หลังเล็กน้อย
      เปิดประวัติหม่อมเจ้าในราชสกุลปราโมชดู ว่าใครเข้าข่ายพี่น้องที่พอจะรู้เรื่องนี้ และใช้ลูกหลานมารับท่านกลับไปกรุงเทพ
      เริ่มที่เจ้าพี่เจ้าน้องร่วมหม่อมมารดาเดียวกันอีก 6 องค์
      - ม.จ.เมาฬี สิ้นชีพิตักษัยไปตั้งแต่พ.ศ. 2466       ไม่ใช่
      - ม.จ.คอยท่า   สิ้นชีพิตักษัยเมื่อพ.ศ. 2483        อาจเป็นไปได้
      - ม.จ.จำรูญ     สิ้นชีพิตักษัยเมื่อพ.ศ  2453        ไม่ใช่
      - ม.จ. โอษฐ์อ่อน    ไม่มีข้อมูล
      - ม.จ. รำมะแข      ไม่มีข้อมูล
      - พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ   สิ้นชีพิตักษัยเมื่อพ.ศ 2482  อาจเป็นไปได้
      ถ้าพูดถึงความพร้อม   ม.จ.หญิงทั้งหลายอยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ถ้าจะวานหลานมารับท่านหญิงฉวีวาดก็ต้องวานญาติผู้ชายช่วยอีกที  พราะสมัยนั้นการเดินทางไปถึงอุตรดิตถ์ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเหมือนสมัยนี้   ม.จ.ชายก็เหลือเพียงพระองค์เจ้าคำรบองค์เดียว
      ส่วนม.จ.ชายอื่นๆในราชสกุลปราโมช    เจ้าพี่องค์ใหญ่คือพระองค์เจ้าปรีดาก็สิ้นพระชนม์ไปนานแล้วตั้งแต่พ.ศ. 2457  หม่อมเจ้าชายอื่นๆที่ต่างหม่อมมารดากัน คือม.จ.พยับ  ม.จ.ดำรง ม.จ.โอภาศ ม.จ.ดำเกิง  ม.จ.สฤษดิ์ ม.จ.ทินวุฒิ ม.จ.อัทยา ม.จ.สอาด  ม.จ.เสพย์บัณฑิต ม.จ.กรรมสิทธิ์  ก็สิ้นชีพิตักษัยกันไปหลายๆปีก่อนปี 2475  ทุกองค์
      ส่วนเจ้าน้องเล็กๆของท่านหญิงฉวีวาด ที่ประสูติในปี 2415 (คือปีที่กรมขุนวรจักรฯสิ้นพระชนม์) คือม.จ.เล็ก ม.จ.รทวย ม.จ.ประพฤติ  ม.จ.ประดับ ม.จ.บันเทิง ก็ล้วนพระชันษาสั้น สิ้นไปหลายปีแล้วเช่นกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 13:49

หมายเหตุ  :  ความจริง มีม.จ.ชายที่เป็นพระอนุชาของท่านหญิงฉวีวาดอีก 4 องค์ที่ยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าสิ้นชีพิตักษัยไปเมื่อใด คือม.จ. อาจ ม.จ.สดับดี  ม.จ.กริต  ม.จ.ประวัติ
      ทั้งหมดนี้บวกกับเจ้าพี่เจ้าน้องหญิงรวม 13 องค์ล้วนประสูติราวพ.ศ. 2415  คือเมื่อกรมขุนวรจักรฯสิ้นพระชนม์
      ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เขียนไว้ในโครงกระดูกในตู้ว่า  ท่านพ่อของท่านคือพระองค์เจ้าคำรบมีพระอนุชาต่างมารดาเพียงองค์เดียวคือท่านชายเล็ก   นับตามศักดิ์ก็คือเป็นท่านอาของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์   แต่จริงๆแล้ว   ท่านมีท่านอาชายหญิงถึง 13 องค์ด้วยกัน   นอกจากท่านชายเล็กแล้วม.ร.ว.คึกฤทธิ์คงจะไม่รู้จักเลย     เมื่อกรมขุนวรจักรฯสิ้นพระชนม์  ท่านอาเล็กๆที่ส่วนใหญ่ประสูติหลังเสด็จพ่อสิ้นพระชนม์ก็คงถูกหม่อมแม่พาแยกย้ายกันไปจากวังวรจักรไป  ไม่ได้ติดต่อกันอีกเว้นแต่ท่านชายเล็ก     
      หรือบางองค์ถ้าอยู่ในวัง ก็คงสิ้นไปก่อนม.ร.ว.คึกฤทธิ์จำความได้   ท่านจึงไม่รู้ว่าท่านมีอาอยู่ตั้ง 13 องค์ ไม่ใช่ 1 องค์อย่างที่ท่านคิด
     จึงอนุมานได้ว่า ล่วงมาอีกตั้งหกสิบปี    ท่านอาเหล่านี้หากยังไม่สิ้นพระชนม์   (เพราะหลายองค์ก็ไม่มีบันทึกพระประวัติว่าประสูติและสิ้นในพ.ศ.ใด)  ก็คงไม่เคยมาติดต่อเกี่ยวข้องกับหม่อมเจ้าสายม.ร.ว.ดวงใจผู้เป็นหม่อมคนใหญ่    จึงไม่คิดว่าจะเป็นท่านเหล่านี้ที่ติดต่อกับท่านหญิงฉวีวาด
บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 14:17

กราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าเรือน คุณNAVARAT.C และสมาชิกทุกท่านด้วยครับ  ผมไม่ได้คิดว่าจะมีท่านผู้ใหญ่ไปอ่านกระทู้บ้านนอกที่ผมเขียนไว้ จากประสพการณ์ตรงๆ   (เขียนไว้เพื่อไม่ให้เรื่องราวเก่าๆของท้องถิ่นสูญหายไป เพราะคนที่ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนต้องโย้กย้ายไปอยู่ที่อื่นกันหมด)

ความจริงผมกลับรู้สึกคุ้นเคยกับบ้านนี้มากกว่าที่อื่นเสียอีก เพราะแอบเข้ามาอ่านเป็นประจำอยู่แล้วครับ



ส่วน "แม่ชียายเจ้า"ผมเคยตั้งใจจะเขียนให้เป็นเรื่องลึกลับสักหน่อย เพราะข้อมูลดิบก็มีเท่าที่เอามาเล่านี้เอง(เพียงแต่มีคนยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงอยู่หลายคน)    

เรื่องที่ผมสนใจต่อเนื่องไปจากเรื่องนี้คือ ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับวังหน้าสมัยที่วังแตก (หมายถึงผุ้คนที่อยู่ในสังกัดวังหน้า)  ได้อพยพหลีกลี้หนีภัยการเมืองไปอยู่ที่ใหนกันบ้าง  วังใหญ่ที่เคยเฟื่องฟูถึงได้กลายเป็นวัดร้างไปอย่างรวดเร็ว   ถ้ามองว่าคนเหล่านั้นเขาจะโยกย้ายกันไปที่ใหนกันดี จะได้หลีกพ้นจากความวุ่นวายของเมืองกรุง  สถานที่จะไปได้ไกลที่สุด สะดวกที่สุดในการเดินทาง  พร้อมทั้งผู้คนที่ยังเป็นประเทศสยามอย่างสมบูรณ์   ผมมีแนวคิดว่าคำตอบที่ดีที่สุดคือเมืองอุตรดิตถ์
บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 15:08

เรื่องที่มีบุคคลที่อาจจะได้ดูแลท่านอยู่สมัยที่บวชชี  ไม่น่าจะมีแต่เพียงหลวงพ่อทองดำ  ผมเข้าใจว่าคนสมัยนั้นเขามีเครือข่ายเส้นสายที่จะต้องดิดต่อสื่อสารกันอยู่เสมอๆ   ที่เมืองอุตรดิตถ์ก็มีเรื่องราวอยู่หลายเรื่องที่แสดงว่ามีเส้นสายสัมพันธ์กับเมืองกรุงมากกว่าเมืองชายแดนธรรมดาๆ   
 ที่ตลาดท่าอิฐ เหนือบางโพเล็กน้อย เป็นตลาดใหญ่มักมีมหรสพ มีบ่อน มีงานรื่นเริงบ่อยๆ ศิลปินของวังหน้าก็มีโอกาสมาอยู่ที่นี่ ผมคิดถึงละครหุ่นโรงเล็ก(โจหลุยส์  ศิษย์ครูแก)   ครูแกเจ้าของคนประดิษฐ์หุ่นละครโรงเล็ก    เคยได้ยินว่าท่านเคยมาอยู่ที่นี่ 
ในสงครามหลายครั้งที่เกี่ยวข้องกับที่นี่ น่าจะมีบรรดาทหารสังกัดวังหน้าได้มีโอกาสรู้จักทำเลสถานที่แห่งนี้อย่างดีด้วยครับ
อีกอย่างนึงเป็นพิเศษกับนายนุด(ถ้าท่านยังสนใจอยู่)  คือที่นี่เป็นเส้นทางผ่านของฝิ่นที่ชาวจีนฮ่อขนกองคาราวานมาด้วยม้าลาไม่น้วยกว่า 50ตัวต่อเที่ยว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 15:27


เรื่องที่ผมสนใจต่อเนื่องไปจากเรื่องนี้คือ ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับวังหน้าสมัยที่วังแตก (หมายถึงผุ้คนที่อยู่ในสังกัดวังหน้า)  ได้อพยพหลีกลี้หนีภัยการเมืองไปอยู่ที่ใหนกันบ้าง  วังใหญ่ที่เคยเฟื่องฟูถึงได้กลายเป็นวัดร้างไปอย่างรวดเร็ว   ถ้ามองว่าคนเหล่านั้นเขาจะโยกย้ายกันไปที่ใหนกันดี จะได้หลีกพ้นจากความวุ่นวายของเมืองกรุง  สถานที่จะไปได้ไกลที่สุด สะดวกที่สุดในการเดินทาง  พร้อมทั้งผู้คนที่ยังเป็นประเทศสยามอย่างสมบูรณ์   ผมมีแนวคิดว่าคำตอบที่ดีที่สุดคือเมืองอุตรดิตถ์
คุณแมวเซาหมายถึงวังแตกครั้งไหน    วังหน้ายังอยู่เป็นปกติดีหลังพ.ศ. 2417   จนกระทั่งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จทิวงคตในพ.ศ. 2428   จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงยุบตำแหน่งวังหน้า   สถาปนาตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารแทน
เมื่อสิ้นวังหน้า    ข้าราชการวังหน้าทั้งหลายก็ย้ายไปสังกัดวังหลวง   ส่วนศิลปินต่างๆเมื่อไม่มีเจ้านายแล้วก็คงแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพอยู่นอกวัง   เลี้ยงตัวเองและครอบครัวต่อไป
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 21:25

เมมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตแล้ว  ข้าราชการวังหน้าส่วนที่เป็นผู้ชายนั้นยกไปสมทบรับราชการฝ่ายพระบรมมหาราชวังดังที่ท่านอาจารย์้ทาชมพูได้กล่าวไว้  แต่ส่วนฝ่ายในในพระบวรราชวังนั้นยังคงประทับและใช้ชีวิตกันอยู่ที่วังหน้าต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ดังมีหลักฐานปรากฏในตำนานวังน่า พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า
 
“เมื่อพระองค์เจ้าสุดาสวรรค์สิ้นพระชนม์ โปรดให้พระองค์เจ้าวงจันทร์ ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในวังน่าแทนพระองค์ เจ้าสุดาสวรรค์ต่อมา จนปีขาล พ.ศ. ๒๔๕๙ พระองค์เจ้าวงจันทร์ สิ้นพระชนม์ เจ้านายข้างในยังเหลืออยู่น้อยพระองค์ สมัคจะเสด็จ ไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายฝ่ายในพระราชวังบวรฯ เสด็จลงไปอยู่ในพระราชวังหลวง แลทรงพระราชดำริห์ว่า พระราชมณเฑียรสถานในพระราชวังบวรฯ ซึ่งเปนที่ประดิษฐานพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ แต่ก่อนมา ชำรุดทรุดโทรมมากนัก ไม่สมควรจะเปนที่ประดิษฐานพระอัฐิต่อไป จึงโปรดให้เชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ ทั้ง ๔ พระองค์ แห่มาจากพระราชวังบวร ฯ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๖๐ มาประดิษฐานไว้ที่วิหารพระธาตุ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนที่วังน่านอกจากบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานนั้นโปรดให้กระทรวงกลาโหมดูแลปกครองรักษาต่อมา”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 11:24

ขอบคุณค่ะคุณ V_Mee เข้ามาทีไรก็มีข้อมูลมาแน่นปึ้ก
คุณ NAVARAT.C  ถามอะไรคุณ V_Mee ไว้ข้อหนึ่ง ดิฉันลืมไปแล้วค่ะว่าหน้าไหนในกระทู้นี้     ต้องย้อนกลับไปดู

ตอนนี้ขอมาต่อเรื่องท่านหญิงฉวีวาดก่อน
เกิดคำถามกับตัวเองหลังจากอ่านเรื่องที่คุณแมวเซานำมาโพสต์      ว่าถ้าแม่ชียายเจ้าคือท่านหญิงฉวีวาด    ท่านไปทำอะไรไกลถึงอุตรดิตถ์ ในวัยที่สังขารร่วงโรยเต็มที    ควรจะอยู่สบายๆในวังของพระองค์เจ้าคำรบ   มีญาติพี่น้องบ่าวไพร่ดูแล   แทนที่จะไปปลูกกุฏิอยู่ไกลลิบลับตามลำพัง
ที่บอกว่าตามลำพัง  เพราะแม่ชีอยู่กุฎิก็คืออยู่ในวัดด้วยตัวเอง     ไม่สามารถจะหอบหิ้วลูกหลานไปอยู่ในกุฏิด้วยกันได้   ต่อให้มีนายนุดอยู่ในอุตรดิตถ์ด้วย เขาก็ต้องอยู่นอกวัดอยู่ดี    
จากคำบอกเล่าของเมียนายนุดที่เล่าถวายพระองค์เจ้ามาลิกาเมื่อพ.ศ. 2468   หล่อนถึงกับทนอยู่ไม่ไหว  หนีสามีกลับเขมรโดยขอโดยสารไปกับเรือเจ้านายเขมร    แสดงว่าชีวิตความเป็นอยู่กับนายนุดคงลำบากมาก     ความสัมพันธ์ระหว่างนายนุดกับท่านแม่ก็เลวร้าย  ลูกชายสามารถด่าว่าแม่ต่างๆนานาได้ โดยแม่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย

จากหลักฐานจดหมายของพระองค์มาลิกา แสดงว่าในช่วงปี 2468  หม่อมเจ้าฉวีวาดอยู่กับนายนุด  ที่บางโพ  (อุตรดิตถ์)  การที่ท่านต้องทิ้งกรุงเทพมาอยู่ไกลขนาดนี้     ดิฉันมองเห็นทางเดียวคือมีลูกชายเป็นสาเหตุ     กล่าวคือเมื่อลูกชายออกจากคุกเขมรมาแล้ว   แม่ก็ไม่สามารถให้ลูกชายเข้าไปอยู่ในวังพระองค์เจ้าคำรบได้  เพราะหลอกพี่น้องไว้ว่าตัวเองเป็นพระสนมของสมเด็จพระนโรดม มีลูกเป็นพระองค์เจ้า     เมื่อลูกชายตามมาอยู่ด้วยจริงๆ ความลับก็จะแตก   ใครเห็นนายนุดผู้เป็นนักโทษออกจากคุกมาใหม่ๆ   และติดฝิ่นงอมแงม ก็ต้องดูออกว่าแบบนี้ไม่ใช่พระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงพระนามว่าพระองค์เจ้าพานคุลีแน่นอน

หม่อมเจ้าฉวีวาดก็เลยต้องออกจากกรุงเทพมาอยู่กับบุตรชาย    บวชชีอาศัยบารมีหลวงพ่อคุ้มกันมิให้นายนุดมารังควานได้มากนัก   ท่านก็คงมีทรัพย์สินติดตัวมาบ้าง เห็นได้จากสร้อยทองที่ท่านแกะให้เด็กหญิงชาวบ้านไว้เป็นที่ระลึก  
เมื่อเมียหนีกลับเขมร  นายนุดอาจจะอพยพไปอยู่ที่อื่น หรือมีอันเป็นไปด้วยประการใดประการหนึ่ง  หม่อมเจ้าฉวีวาดหมดภาระทางนี้แล้ว ก็ติดต่อญาติพี่น้องให้มารับท่านกลับ     แล้วไปสิ้นชีพิตักษัยในกรุงเทพ
บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 11:33

ในปี พ.ศ.2417  ก็ต้องลดจำนวนทหารวังหน้าลงอยู่แล้วนะครับ  คือผมมองถึงคนในสังกัด (บรรดาเจ้านายที่มีบรรดาศักดิ์คงมีที่ไปและมีบันทึกไว้บ้าง)   สมัยก่อนการกระทบกระทั่งมีปัญหากันของเจ้านาย แม้บ่าวไพร่ไม่ได้รู้ต้นสายปลายเหตุก็ต้องพากันหวาดหวั่นต้องเจอเหตุเพทภัยแบบไม่รู้ตัว (ในเรื่องหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด  นี้เป็นพยาน  นี่ขนาดเป็นเจ้านะครับ ถ้าสามัญชนจะงุนงงขนาดใหน)  

 ดังนั้นคนสยามจึงเป็นคนอ่อนไหวต่อข่าวลืออย่างเลี่ยงไม่ได้  คงทำให้เชื่อแต่ข่าวลือแล้วก็กลายเป็นคนชอบพูดชอบคุยมากกว่าการอ่าน   แล้วมันก็ยังดำรงมาจนถึงบัดนี้ใช่ใหมครับ
 
การกระทบกระทั่งกันของนายไพร่วังหน้ากับวังหลวงมันมีมาตั้งแต่สร้างกรุงเทพแล้วนะครับ  ตั้งปืนใหญ่ใส่กันแล้วนี่นา(สงสัยเป็นเพราะ ดวงเมืองเป็นอย่างนี้)  แล้วก็ยังมีต่อมาอีกเป็นระยะตามยุคสมัย   ขนาดมีรับสั่งให้ยุบวังหน้าแล้วยังมีเรื่องมีราว จะราวีกันอยู่ดี

 "เป็นข้าเป็นไพร่อยู่ในเวียงในวังนี่ปวดหัวชมัด  นี่ก็มีสนธิสัญญาบราวริ่งมาหลายปีแล้วมีโอกาสเมื่อใด  เป็นได้หลีกลี้หนีไปเสียให้ไกลๆ ได้ทำมาหากินค้าขายอย่างอิสระเสรี     ทำการเกษตรกรรมก็จะได้เป็นไทกับตัวเองยอมเสียภาษีที่ดินเสียอากรต้นไม้สวน ดีเสียกว่าเป็นบ่าว  จะบวชพระบวชชีทำบุญสุนทานเมื่ใดก็ได ไม่ต้องขออนุญาติใคร"   ผมว่ามีคนคิดอย่างนี้ไม่น้อยละ ถึงได้มีการออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่ๆกันมากในสมัยนั้น

ปล.เกือบลืมไปว่าในสมัยที่แม่ชี ขึ้นมาอุตรดิตถ์นั่น เขามีรถไฟ มาถึงแล้วจอดนอนที่ปากน้ำโพคืนเดียวเอง     ที่เมืองอุตรดิตถ์สนามบินยังมีเลยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง