เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 90972 หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 21 ต.ค. 13, 11:46

ดิฉันขอ "ถอด" จดหมายของบุตรชายท่านหญิงฉวีวาด ที่ถวายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  มาให้อ่านกัน     โดยสะกดใหม่เป็นคำไทยปัจจุบัน เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย และจัดย่อหน้าใหม่ให้อ่านง่ายขึ้นในหน้าจอ

ขอพระเดชะปกเกล้าปกกระหม่อม   ขอพระราชทานกราบถวายบังคมทูล กรมพระดำรงราชานุภาพ  ขอทรงทราบใต้ละอองธุลีพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าขอเล่าความตามต้นเนิ่น เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕   หม่อมเจ้าแม่ฉวีวาดได้ออกจากพระราชอาณาเขตสยามไป  ที่พึ่งอาศัยอยู่ในประเทศเขมร   ได้บังเกิดได้ข้าพระพุทธเจ้าคนหนึ่ง  แล้วได้เล่าความบอกว่าเป็นพระราชตระกูลในสยาม    ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้ารู้ความมา  ก็ตั้งใจว่าจะทะนุบำรุงชาติสยามให้อุตตมะชาติอยู่   
บรรลุมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จรัชกาลที่ ๖    หม่อมแม่เจ้าได้กลับมาอยู่ในสยาม ๑๖ ปีนี้แล้ว   ข้าพระพุทธเจ้าก็ได้พยายามตามมา  หวังใจจะที่พึ่งพระบูรพโพธิสมภาร     ตั้งแต่เกิดมาข้าพระพุทธเจ้าเกิดมารู้ตัวว่าพระมารดา  เป็นชาติสยาม  ก็ตั้งใจจะรักษาชาติสยามให้อุตตมะชาติ   
ที่ข้าพระพุทธเจ้าเข้ามานี่จะได้แคลงคล้ายยกเนื้อยกตัวดูถูกพระเจษฎาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็หามิได้   ประโยชน์จะสืบหาพระมารดาให้เห็นเท่านั้น   แล้วจะไม่ให้ระคายในพระราชตระกูลสยามด้วย   
ควรไม่ควรก็ตามแต่จะทรงพระกรุณาโปรด   เพราะข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนเขมรเข้ามาใหม่  แล้วไม่รู้ความผิดชอบ

Phantugi
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 21 ต.ค. 13, 12:03

เราแกะรอยอะไรได้บ้าง  จากหนังสือกราบทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ จากนาย Phantugi

1  ม.จ.ฉวีวาดได้จากบุตรชายมาสยาม 16 ปีโดยมิได้ส่งข่าวคราวกลับไปให้ทราบ     
2  ในเมื่อไม่มีการติดต่อกัน   บุตรชายก็เลยเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามเพื่อสืบหาท่านแม่
3  เมื่ออยู่ในเขมร   บุตรชายได้รับคำบอกเล่าจากท่านแม่ว่า ท่านแม่เป็นเจ้านายในราชตระกูลสยาม
4  บุตรชายมิได้กล่าวเลยว่าบิดาเป็นใคร   ชื่ออะไร  อยู่ที่ไหน
5  บุตรชายมิได้อ้างเชื้อสายเจ้านายเขมรทางฝ่ายบิดาเลย   เรียกตัวเองว่าเป็น "คนเขมร" เฉยๆ   
    แสดงว่าก็รู้ตัวว่าเป็นสามัญชน ที่มีมารดาเป็นเจ้านายสยาม
6  หนังสือฉบับนี้มิได้บอกชัดเจนว่าเจอม.จ.ฉวีวาดแล้วหรือยัง  บอกแต่ว่าสาเหตุที่เข้ามาในสยามก็เพื่อสืบหามารดา

เหตุการณ์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงสืบหาตัวนาย Phantugi พบ เกิดขึ้นในพ.ศ. 2469 สิ้นรัชกาลที่ 6 ไปแล้ว 1 ปี ถึงรัชกาลที่ 7      เจ้าเมืองพิจิตรแจ้งเข้ามาว่าเขาอ้างตัวเป็น "พระองค์เจ้าพานดูรี"  ประกอบอาชีพหมอสักและหมอดูอยู่ที่พิจิตร
ดิฉันจึงขอตีความว่า ลูกชายน่าจะพบท่านแม่แล้ว    แต่พบว่าไม่สามารถอาศัยอยู่ด้วยได้ก็เลยต้องจากกันอีกครั้ง  แต่เจ้าตัวไม่ได้กลับไปเขมร   แต่ไปตั้งหลักแหล่งประกอบอาชีพอยู่ที่พิจิตร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 21 ต.ค. 13, 12:36

หมายเหตุ :
การถอดหนังสือกราบทูลของนาย Phantugi  เป็นฝีมือดิฉันเอง ซึ่งบางคำก็อ่านไม่ออก เพราะไม่ได้สะกดอย่างไทย   ส่วนเป็นคำเขมร หรือคำไทยที่สะกดผิด  ก็ยังไม่แน่ใจ   ต้องอาศัยตีความว่าเป็นคำไหนกันแน่   
เพราะฉะนั้นขอความกรุณาอย่าเพิ่งลอกไปอ้างอิง  จนกว่าดิฉันจะมีหลักฐานมากกว่านี้เสียก่อนนะคะ

คำที่เป็นปัญหา มีอย่างน้อย 2 คำคือ
ข้าพระพุทธเจ้าขอเล่าความตามต้นเนิ่น
ที่ข้าพระพุทธเจ้าเข้ามานี่จะได้แคลงคล้าย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 21 ต.ค. 13, 15:21

โครงกระดูกในตู้ เล่าถึงพระองค์เจ้าพานคุลีไว้สั้นๆว่า

" เป็นอันว่าผู้เขียนเรื่องนี้มีสมเด็จพระนโรดมเป็นลุงเขย    และมีพระองค์เจ้าเขมรเป็นลูกพี่ลูกน้องอยู่องค์หนึ่ง    พระองค์เจ้าพานคุลีนี้เคยเข้ามาเยี่ยมท่านแม่ที่กรุงเทพฯครั้งหนึ่ง หลังจากท่านป้าฉวีวาดกลับมาจากเมืองเขมรแล้วในรัชกาลที่ ๖"

หากข้อความข้างบนนี้เป็นความจริงก็แสดงว่าความสัมพันธ์ระหว่างท่านหญิงฉวีวาดกับบุตรชาย นับว่าห่างเหินกันมากกว่าแม่ลูกอื่นๆที่มีถิ่นฐานห่างไกลกัน   แม่เดินทางกลับจากเขมรก็ไม่ได้คิดจะเอาลูกชายมาด้วย    และไม่ได้ส่งข่าวให้ทราบว่าอยู่ไหน  ลูกเป็นฝ่ายติดตามมาหาเอง  เจอกัน  ลูกชายมาเยี่ยมแม่เพียง 1 ครั้ง  จากนั้นก็ไม่ปรากฏแก่เครือญาติว่าไปมาหาสู่กันอีก    

ถ้าหากว่าบุตรชายของท่านหญิงเป็นพระองค์เจ้าพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินเขมร  ต่อให้เป็นเจ้านายที่มิได้ร่ำรวย   แต่ก็น่าจะมีความพร้อมในการเสด็จมาเยี่ยมท่านแม่ได้หลายครั้งกว่านี้    เพราะเป็นหน้าที่ของบุตรอยู่แล้วว่าจะต้องทะนุบำรุงบิดามารดาผู้ชรา   ถ้าท่านแม่ไม่ยอมกลับไปเขมร อยากอยู่บ้านเกิดมากกว่า    ลูกก็มีหน้าที่เป็นฝ่ายมาเยี่ยมเยียนตามโอกาส
แต่ในเมื่อความจริง มิได้เป็นอย่างที่เครือญาติทางราชสกุลปราโมชเข้าใจ     ก็เป็นเหตุผลที่ลงตัวว่าเหตุใดท่านหญิงฉวีวาดจึงมิได้อนุญาตให้บุตรชายมาหาอีก    ส่วนนาย Phantugi เองก็คงติดขัดหลายอย่าง ทั้งฐานะความเป็นอยู่ และความสัมพันธ์ห่างเหินมาแต่แรก     เมื่อจากกันแล้วก็อาจจะจากกันเลย   
ลองใช้คำว่า พระองค์เจ้าพานคุลี ค้นโดยกูเกิ้ล  พบว่าทุกเว็บที่เจอ เรียกว่าพระองค์เจ้าพานคุลี เป็นพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินเขมร กันหมด   เปลี่ยนไปหาด้วยคำว่า Phantugi  ก็ไม่เจอที่อื่นนอกจากในกระทู้นี้    
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 21 ต.ค. 13, 16:35

/ไม่ทราบพอจะเป็นข้อมูลได้บ้างไหมคะ?

http://members.iinet.net.au/~royalty/states/asia/cambodia3.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 21 ต.ค. 13, 16:43

ขอบคุณค่ะคุณ tita
ไม่มีชื่อ Phantugi ในรายพระนามพระราชโอรสธิดาของสมเด็จเจ้านโรดม
บันทึกการเข้า
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 16:28

ขอบพระคุณคุณเทาชมพูและผุ้รู้ทุกท่านค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 20:50

คุณยายบางแค
อ้างถึง
ดิฉันต้องขออภัย ที่เป็นสาเหตุให้กระทู้ต้องหยุดชะงักลง  และ ขอขอบคุณที่ทุกท่านรับฟังความคิดเห็น

ดิฉันเชื่อว่า ทุกท่านที่ให้ความเห็น คงทราบดีอยู่แล้ว ว่า ท่านเขียนอะไร ให้ความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับหม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช ดิฉันไม่น่าจะต้องมาเขียนซ้ำ  เชิญท่านว่ากระทู้นี้ต่อไปเลยค่ะ
ความเห็นของคุณยายบางแค ทำให้ผมต้องพยายามหาหลักฐานมาให้ได้เพื่อที่จะนำเรื่องนี้ไปสู่บทสรุป ที่หายไปจากกระทู้เพราะคิดว่าถ้าไม่มีหลักฐานที่เดี๋ยวนี้เขาเรียกว่าใบเสร็จแล้ว ก็ป่วยการที่จะไปล้างความเชื่อของคนในเรื่องที่ปราชญ์แห่งประเทศไทยท่านเขียนไว้ จากการตามรอยตรายางของหอจดหมายเหตุแห่งชาติไปที่นั่น วันนี้ผมก็ได้หลักฐานมาแล้วครับ

ขอเชิญท่านผู้อ่านค่อยๆอ่าน แล้วทำความเข้าใจกับภาษาไทยโบราณที่พระองค์มาลิกา เจ้านายของเขมรทรงเขียนมากราบทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

หน้าแรกคงอ่านแล้วทำความเข้าใจได้นะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 20:52

ในนี้บอกว่าสมเด็จพระนโรดมมิได้เลี้ยงหม่อมเจ้าฉวีวาดเป็นเจ้าจอมหม่อมห้าม หรือแม้แต่จะได้“ลิ้มชิมรส” เพราะหม่อมเจ้าฉวีวาดท่านหนีไปกัมพูชากับนายเวนผึ้ง(นายเวร ชื่อผึ้ง)และมีครรภ์กับนายคนนี้แล้ว แถมเป็นเมียน้อยเขาเพราะเขามีเมียแล้วสองคน จึงอยู่กับนายเวรผึ้งไม่เท่าไหร่ ก็ไปได้กับออกญานครบาล(มัน) ไม่นานเลิกกันอีก แล้วไปได้กับอีกคนหนึ่ง ชื่อออกญาแสรนธิบดี(ปัล) เจ้าเมืองระลาเปือย 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 21:05

มีบุตรชายด้วยกันชื่อ"นุด" เมื่อนายนุดอายุ๖ขวบ  หม่อมเจ้าหญิงปุกพระอัครนารีเอาตัวไปเลี้ยงไว้ในวัง  ให้บ่าวเรียกว่า"คุณ" เมื่อม.จ.ฉวีวาดเลิกกับออกญาแสรนธิบดี   ก็ไปอาศัยอยู่กับหม่อมเจ้าพัชนีในพระราชวังหลวง  ทำขนมและลูกกวาดขายอยู่ได้ประมาณ๒ปีก็หายตัวออกจากวังไปได้สามีใหม่ ชื่อ พระพิทักราชถาน(ทอง) ต่อมาพระพิทักราชถานถึงแก่กรรม   ม.จ.ฉวีวาดได้สามีใหม่ชื่อขุนศรีมโนไมย อยู่กรมกาวัลเลอรีย์
แล้วเอานายนุดออกจากวังไปอาศัยอยู่กับพ่อเลี้ยง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 21:13

พักยกให้ท่านผู้อ่านทบทวนเรื่องราวและทำใจก่อนที่จะไปต่อนะครับ เดี๋ยวจะมึนงงเหมือนผมที่ต้องหยุดพักสมองไปครึ่งวันหลังจากได้อ่านหลักฐานนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 21:25

 ตกใจ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 22:28

พระองค์มาลิกาที่คุณนวรัตนเอ่ยถึง เจ้าของลายพระหัตถ์ที่มีมาถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ น่าจะเป็นพระราชธิดาพระเจ้านโรดม ที่ภาษาอังกฤษสะกดว่า 
 Preah Ang Mechas Norodom Malika, ประสูติ พ.ศ. 2415  สิ้นพระชนม์  พ.ศ.2494  เมื่อมีหนังสือทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงฯในพ.ศ. 2469  พระชันษา 54  ปี
ทรงเสกสมรสกับ Preah Ang Mechas Aruna Yukanthor  ซึ่งเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้านโรดมและเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดากับพระองค์หญิงมาลิกา   พระองค์เจ้ายุคุนธรสิ้นพระชนม์ในประเทศสยามเมื่อพ.ศ. 2477
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 07:17

ก่อนจะไปกันต่อ เพื่อจะไม่ให้สับสน ผมขอบอกก่อนว่าหนังสือฉบับนี้ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๔๖๙ ก็จริง แต่มีมาถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงท่านก่อนหนังสือฉบับลงวันที่ ๗ มกราคม ๒๔๖๙ ที่นำลงไปก่อนหน้า ด้วยเหตุว่าพ.ศ.สมัยนั้นยังขึ้นศักราชใหม่ในเดือนเมษา ดังนั้น ข้อความในหนังสือนี้จึงถือเป็นรายงานเบื้องต้นที่อาจจะไม่เหมือนกับฉบับตอนต้นกระทู้ในรายละเอียด ซึ่งฉบับนั้นจะมีข้อเท็จจริงหลังจากทีพระองค์หญิงมาลิกาไปหาข้อมูลที่เป็นทางการแล้ว

ในหน้านี้บอกว่านายนุดติดฝิ่น พอแม่ไม่ให้เงินก็ด่าว่าแม่เสียป่นปี้ ที่ว่าท่านหญิงปุกออกเงินให้มากรุงเทพก็ไม่จริง เพราะอยู่กินกับขุนศรีมโนมัยหลายปี จนสามีป่วยหนักเป็นไข้ทรพิษ หม่อมเจ้าฉวีวาดเห็นอาการแล้วกลัวหมอ(ด๋กเต้อ-ด๊อกเต้อร์?)จะสั่งเผาเรือนและเสื้อผ้าของผู้ป่วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 07:33

แม่ลูกจึงคบคิดกันขายบ้านให้คนอื่นไป เอาเงินไปอยู่เมืองบาสักหลายปี นายนุดหากินทางเล่านิทานโบราณได้เงินชาวบาสักหลายร้อย ตอนหลังนายนุดมาติดคุกที่พนมเปญ ลือกันว่าหม่อมเจ้าฉวีวาดมากรุงเทพในปี๒๔๖๑

ตรงนี้สำคัญครับ

ผมอ่านว่า ผ่ายหลังหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด ไม่มรฎกคุณด้วงผู้มารดา จึงใช้มือให้คนเขมรซึ่งคุ้นเคยเข้าออกในกรุงเทพไปพูดชักชวนเจ้านุด ให้หนีออกจากคุกแล้วพาเจ้านุดเข้ามาในกรุงเทพ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 19 คำสั่ง