เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 91159 หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 16:50

เส้นทางการหนี ก็ดูไปก็ไม่ยากจนเกินไป และไม่ง่ายที่จะออกจากพระราชอาณาเขต

หากพายเรือในกลางคืนผ่านด่านมาได้ ข้ามสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งคงเป็นเรือเล็กกินน้ำไม่ลึก ลัดเลาะเลียบชายฝั่งไปเรื่อย ๆ อย่างน้อย ๓ - ๔ วันคงพ้นพระราชอาณาจักรสยาม

ก็ภายใน ๓ วันหากไม่มีสัญญาณบอกให้รู้เรื่องก็คงเงียบหาย อีกทั้งเรื่องในวังคงยุ่ง ๆ กับเรื่องวังหน้า
เส้นทางเดินเรือในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕  คงไม่ต่างจากสมัยต้นรัตนโกสินทร์นัก     อ่านนิราศเมืองแกลง  จะเห็นว่ากวีบ่นว่าเดินทางลำบากเจียนตาย แค่ออกจากกรุงเทพไปถึงระยองเท่านั้น
ดิฉันชักไม่ค่อยแน่ใจ ว่าม.จ.ฉวีวาดท่านออกเดินทางระยะเดียวกับเกิดวิกฤตวังหน้า   ห่างกันแค่วันเดียวอย่างที่ท่านเล่าให้หลานชายฟัง   เพราะเรื่องทั้งหมดฟังๆก็กลายเป็นโคมลอยใบใหญ่ๆหลายใบ เรียงกันเป็นแถว  

ในรายงานที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงมีถึงเสนาบดีมหาดไทย คือ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร
กล่าวว่า "พอจะได้ยินชื่อหม่อมฉวีวาด บ้าง รุ่นสาวได้แต่งงานกับกรมหมื่นวรวัตรสุภาพร แล้วประพฤติตัวเสเพลหนีออกไปเขมร แล้วไปมีผัวอีก ปลายตกเป็นอนาถา
เจ้าปุกในเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ออกไปได้เป็นพระองค์อัครนารี ออกช่วยเงินส่งกลับเข้ามายังกรุงเทพ"
+++
๑. เจ้าปุก ได้รับการตกแต่งเป็นอัครนารี อย่างสมพระเกียรติ ไม่ใช่หนีตามกันไป
๒. "ประพฤติตัวเสเพลหนีออกไปเขมร" - ก็ไม่ได้เกริ่นอะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องหม้อหุงก๊าซระเบิดที่วังหลวง คำว่า "เสเพล" คืออะไรลองคิดพิจารณาดูกัน  ฮืม
คำว่าประพฤติตัวเสเพล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯหมายความตื้นลึกอย่างไรก็ตามแต่   แต่ก็ชวนให้คิดต่อได้หลายประการคือ
1  ม.จ.ฉวีวาดทรงเลิกร้างจากกรมหมื่นวรวัฒน์สุภาพรแล้ว ก่อนเดินทางไปเขมร
2  ความประพฤติของท่าน ส่อนัยยะว่ามีชายอื่นเกี่ยวข้องด้วย
3  ชายนั้นไม่ใช่บุรุษสูงศักด์ในสังคมสยาม ที่ท่านจะเลิกจากพระสวามีเก่ามาอยู่ด้วยได้อย่างเปิดเผย
4  การเดินทางไปเขมรคือทางออก
5  ม.จ.ฉวีวาดไปเริ่มชีวิตใหม่ที่เขมร   พระสวามีใหม่เป็นใครก็ตาม แต่ไม่ใช่สมเด็จเจ้านโรดม
6  มีการเลิกร้างกับชายคนนั้นอีก  
7  มีบุตรชาย 1 คนซึ่งม.จ.ฉวีวาดให้อยู่ต่อในเขมรจนโต  ไม่ทราบว่าเกิดจากสามีคนนี้ หรือเปล่า
8  ตัวท่านหญิงเองต้องอาศัยเงินช่วยเหลือจากหม่อมเจ้าหญิงปุก  ซึ่งกลายเป็นเจ้านายฝ่ายในระดับสูงของเขมร  จ่ายค่าเดินทางให้กลับมาสยาม
9  ไม่มีพระประสงค์จะเล่าเรื่องเหล่านี้ให้หลานชายของท่านทราบ
    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 17:41

เจอโครงกระดูกในตู้อีกโครงเบ้อเร่อแล้วค่ะ

ก่อนอื่น ขอลอกข้อความใน "โครงกระดูกในตู้" มาให้เห็นกันชัดๆ   เป็นเหตุการณ์ริบราชบาตรที่พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ  เล่าประทานม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช   ท่านนำมาถ่ายทอดต่อในหนังสือ

    "ชีวิตของท่านพ่อของผู้เขียนนั้น  เมื่อได้ฟังท่านเล่าแล้ว   ก็เหมือนกับชีวิตของขุนแผนเมื่อยังเป็นเด็ก    เมื่อท่านเล่านั้นน้ำเนตรท่านไหลพราก
     ท่านเล่าว่าขณะนั้นท่านอายุ 8 ขวบ  นอนหลับอยู่  แล้วตื่นขึ้นตอนดึก  เพราะเจ้าพี่จุดไต้จุดไฟทำอะไรกันตึงตัง   เหลียวหาคุณแม่ที่นอนอยู่ด้วยตอนหัวค่ำก็หายไปแล้ว    ถามหาคุณแม่กับเจ้าพี่ก็ไม่มีใครบอก    เพราะทุกองค์กำลังรีบเก็บข้าวของส่วนตัวของท่านลงหีบ    เห็นจะเป็นเพราะท่านทรงทราบกันทุกองค์แล้วว่าคุณแม่จะถูกริบราชบาตร   ท่านตกใจและคิดถึงคุณแม่ก็เลยนั่งกันแสงอยู่กับที่    แต่ก็ไม่มีใครมาสนใจกับท่าน    พอรุ่งเช้าเจ้าพี่ทุกองค์ก็รีบขนของออกจากตำหนักไป     ท่านมาทรงทราบภายหลังว่าเข้าไปอยู่ในวังหลวงกันทุกองค์  
   บ่าวไพร่ของคุณแม่ของท่านที่ยังมีเหลืออยู่ในขณะนั้นก็พากันหลบหนีกระจัดพลัดพรายไปหมด    คงเหลือท่านอยู่องค์เดียวที่ตำหนัก     ท่านเล่าว่าท่านทั้งตกใจ ทั้งกลัว   ทั้งคิดถึงแม่   ทั้งหิว    ความรู้สึกเหมือนกับว่าฟ้าถล่มทลายลงมาทับองค์    ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุว่าเกิดอะไรขึ้น    ไม่รู้ว่าคุณแม่หายไปไหน  ได้แต่กันแสงองค์เดียว  และร้องเรียกหาแม่อยู่จนสาย
  ราวๆเพล   หม่อมยายของท่านคือหม่อมของหม่อมเจ้าทับทิมในกรมพระราชวังหลังและหม่อมแม่ของม.ร.ว.ดวงใจ ก็มาที่ตำหนัก   พอเห็นองค์ท่านก็เข้าอุ้มรีบเอาออกจากตำหนักไป   และพาไปอยู่ที่วังท่านตาซึ่งเป็นบ้านเล็กๆอยู่ติดกับวัดราชนัดดา"
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 17:44

    ทีนี้มาดูหลักฐานทางประวัติศาสตร์    ว่าด้วยพ.ศ.(ตามเคยค่ะ)

    พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ  ประสูติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2414
   วิกฤตวังหน้า เกิดขึ้นเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2417   ท่านหญิงฉวีวาดเล่าว่าหนีไปในช่วงเวลานั้น
   เพราะฉะนั้น ถ้าหม่อมเจ้าฉวีวาดหนีไปตอนนั้นจริง    พระองค์เจ้าคำรบพระอนุชา จะต้องพระชันษา 3 ขวบ 1 เดือน เท่านั้น

   แต่ข้อความข้างบนนี้ เล่าว่าพระองค์เจ้าคำรบ พระชันษา 8 ขวบ เมื่อราชสกุลถูกริบราชบาตร       การจดจำเหตุการณ์และลำดับเรื่องราวทุกอย่าง  บอกบ่งว่าเป็นเด็กโตรู้ความได้ดี   อายุมากพอจะจดจำภาพอดีตได้แม่นยำ
   ถ้าหากว่าอายุ 3 ขวบคงจำอะไรไม่ได้เลยด้วยซ้ำไป   นี่ท่านทรงจำได้ขนาดเล่าให้บุตรชายฟังไป น้ำพระเนตรก็ไหลไป  

   ถ้าทรงจำเหตุการณ์แม่นสมวัย 8 ขวบ(ที่นับว่าเฉลียวฉลาดกว่าเด็กวัยเดียวกัน  เพราะจำรายละเอียดได้มากขนาดนี้)   การริบราชบาตรต้องเกิดขึ้นอีก 5 ปีต่อมาหลังวิกฤตวังหน้า คือตกราวปลายปีพ.ศ. 2422  
   ก็แปลว่าม.จ.ฉวีวาดหนีไปเขมรในพ.ศ. 2422     เรียกว่าเรื่องวิกฤตวังหน้าแทบจะถูกชาวบ้านลืมเลือนกันไปหมดแล้วด้วยซ้ำ    ไม่เกี่ยวอะไรกันสักนิดเดียว  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 18:12

  มีหลักฐานอีกหลายหน้ากระดาษใน "โครงกระดูกในตู้ " ยืนยันว่าเมื่อเกิดเหตุริบราชบาตร เจ้านายในราชสกุลปราโมชแตกฉานซ่านเซ็นกันหมดนั้น  เป็นช่วงเวลาที่พระองค์เจ้าคำรบโตเท่าเด็กชั้นประถม 3 แล้วอย่างน้อย  ไม่ใช่เด็กเตรียมอนุบาล
  มาอ่านกันต่อนะคะ

  " ขณะนั้นหม่อมเจ้าทับทิม  ผู้เป็นตาของท่านสิ้นชีพิตักษัยไปนานแล้ว   หม่อมยายหาเลี้ยงชีพด้วยการทำขนมขาย...ที่หน้าเรือนมีพุทราใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง    หม่อมยายให้ท่านเก็บผลพุทราทุกเช้า  พอเก็บได้มาแล้ว   หม่อมยายก็เย็บกระทงใบตองเล็กๆ  ใส่พุทราได้สิบกระทงบ้าง สิบห้ากระทงบ้าง    ก็เอาใส่กระจาด   ตกเย็นก็ให้ท่านกระเดียดกระจาดไปขายตามหน้าโรงบ่อนโรงหวย  ในราคากระทงละอัฐ    ท่านพ่อท่านก็ดีพระทัยที่ได้ช่วยหม่อมยาย   ออกเดินขายพุทราตามหน้าโรงบ่อนโรงหวยทุกวัน   ขายหมดก็เอาอัฐที่ขายได้มาให้หม่อมยาย
   คนที่ซื้อพุทราไปจากท่านนั้นไม่มีใครทราบว่า ท่านเป็นหม่อมเจ้าพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"


   เด็กสามขวบคงไม่ถูกใช้ให้ปีนต้นพุทรา เพราะมีแต่จะพลาดตกลงมาคอหักตาย   แต่นี่สามารถเก็บลูกลงมาเยอะแยะ  ใส่ได้สิบถึงสิบห้ากระทง       นอกจากนี้ย่ายายที่ไหนก็คงไม่ใช้เด็กสามขวบออกเดินขายพุทราในตอนเย็นไปจนค่ำ  (หรือดึก) เพราะมีแต่จะเดินหายไปเลย กลับบ้านไม่ถูก      เด็กสามขวบคงไม่รู้จักเงินอัฐ ทั้งรับเงินทอนเงินจากลูกค้าได้
   ต้องเด็กอายุแปดขวบเป็นอย่างน้อย  ถึงจะทำได้
  
   คอนเฟิร์มว่า พระองค์เจ้าคำรบทรงตกยากเพราะเจ้าพี่ฉวีวาดเป็นเหตุ อยู่ในพ.ศ. 2422  ห่างจากวิกฤตวังหน้าหลายปี
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 18:20

^ มีเอกสารหลักฐานการริบราชบาตรหรือไม่คะ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 18:22

ดิฉันไม่มีค่ะ   ต้องถามคุณเพ็ญชมพู   ท่านค้นข้อมูลเก่ง   อาจจะเจอระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษาก็เป็นได้
ดิฉันอ้างจาก "โครงกระดูกในตู้" เท่านั้น
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 18:38

อาจจะนอกเรื่องสักนิด  คือพอมาอ่านที่คุณ Navarat. C ติงเรื่อง มจ. ฉวีวาดเป็นรูปชี  ทำไมจึงทานอาหารยามวิกาล

ดิฉันเลยสงสัยว่าแล้วแม่ชีมาเลี้ยงดูเด็กชายได้หรือ?  ไม่ทราบว่าตอนที่ มจ. ฉวีวาด เล่าเรื่องให้หลานชายฟัง  ท่านป้าและคุณชายอายุเท่าใด

ครั้งแรกดิฉันเข้าใจว่าท่านรับฟังเรื่องนี้ตอนเด็กๆ สมัยที่ท่านป้าเลี้ยง  แต่ก็ยังแหม่งๆ ว่าท่านอยู่วัดหรือที่ใด  แม่ชีจะเลี้ยงดูหลานชายได้จนถึงอายุเท่าใด?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 18:48

เท่าใดก็ไม่ได้ครับ
ศีลข้อสามของศีลแปด ไม่ใช่กาเมสุมิจฉาจารา แต่เป็น อพรหมจริยา เวรมณี

ไม่ผิดพรหมจรรย์ ไม่แตะต้องสัมผัส ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเพศตรงข้าม อย่าว่าแต่คนเลย สัตว์ก็ยังไม่ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 18:51

ยกเอาหนังสือ "โครงกระดูกในตู้" มาตอบเรื่องแม่ชีม.จ.ฉวีวาด เท่าที่จะตอบได้
๑  "ท่านป้าฉวีวาดกลับมาจากเมืองเขมรแล้วในรัชกาลที่ ๖   ท่านกลับมาแล้วก็บวชเป็นรูปชี"
๒  "สมัยหนึ่งท่านป้าฉวีวาดชรามากแล้ว   ท่านเกิดโปรดปรานหลานคนนี้ขึ้นมา  แล้วเอาไป "เลี้ยง" ไว้กับท่าน"


ดิฉันเข้าใจว่าท่านหญิงฉวีวาดน่าจะมีตำหนักส่วนตัว หรืออย่างน้อยก็ห้องส่วนตัว  อยู่ในวังของพระองค์เจ้าคำรบต่างหาก ไม่ได้อยู่วัด   จึงเอาหลานชายไปเลี้ยงได้ค่ะ  
แม่ชีอยู่บ้านได้ใช่ไหมคะ?  ไม่จำเป็นต้องอยู่วัด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 19:03

ข้อความโดย: tita
อ้างถึง
มจ. ฉวีวาดนั้นกลับมาสยามในรัชกาลที่ ๖ เพียงลำพัง  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ไม่ได้เล่าว่าทำไมท่านถึงกลับ  บอกแต่ว่ากลับมาท่านก็มาบวชชี  จนสิ้นชีพิตักษัยเมื่อพระชนม์ได้ ๘๐ ปี  ซึ่ง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ เล่าไว้เพียงว่า

"ท่านป้าฉวีวาดเป็นโครงกระดูกในตู้โดยแท้  เพราะเรื่องราวของท่านถูกปิดบังซุบซิบกันมานาน  ไม่ให้ลูกหลานได้รู้  ที่ผู้เขียนเรื่องนี้บังเอิญรู้โดยละเอียดก็เพราะสมัยหนึ่งที่ท่านป้าฉวีวาดชรามากแล้ว  ท่านเกิดโปรดปรานหลานคนนี้ขึ้นมา  และเอาไป "เลี้ยง" ไว้กับท่าน  การเลี้ยงหลานของท่านออกจะแปลก  เพราะท่านบรรทมกลางวันเป็นส่วนมาก  แต่ปลุกหลานขึ้นมาคุยตอนกลางคืน  เล่าเรื่องอะไรต่ออะไรให้ฟัง..”
เรื่องเล่าของม.ร.ว. คึกฤทธิ์อ่านอย่างสนุกๆก็ดีอยู่ดอก แต่ถ้าจะเอาจริงเอาจังแล้วจะเห็นความแปลกประหลาดของท่านป้าองค์นี้ ที่นักปราชญ์อย่างท่านก็น่าจะมองเห็น

ข้อความข้างต้นเต็มๆคือ

" ท่านป้าฉวีวาดเป็นโครงกระดูกในตู้โดยแท้  เพราะเรื่องราวของท่านถูกปิดบังซุบซิบกันมานาน  ไม่ให้ลูกหลานได้รู้   ที่ผู้เขียนเรื่องนี้บังเอิญรู้โดยละเอียด ก็เพราะสมัยหนึ่งที่ท่านป้าฉวีวาดชรามากแล้ว   ท่านเกิดโปรดปรานหลานคนนี้ขึ้นมา และเอาไป "เลี้ยง" ไว้กับท่าน     การเลี้ยงหลานของท่านออกจะแปลก   เพราะท่านบรรทมกลางวันเป็นส่วนมาก   แต่ปลุกหลานขึ้นมาคุยตอนกลางคืน  เล่าเรื่องอะไรต่ออะไรให้ฟัง     ท่านเสวยข้าวเย็นหรือข้าวเช้าก็ไม่แน่นัก  ตอนราวๆตีสองของวัน    และเสวยอะไรแปลกๆ เช่น เปลือกส้มเขียวหวานจิ้มกับน้ำพริก  เป็นต้น    ท่านปลุกหลานที่ท่าน "เลี้ยง" ให้ลุกขึ้นกินข้าวด้วยในยามวิกาลเช่นนั้นทุกคืนไป"

แม่ชีคืออุบาสิกาที่สมาทานศีล๘โดยเคร่งครัด หนึ่งในศีลแปดนั้น คือไม่บริโภคอาหารในเวลาวิกาล
แต่แม่ชีฉวีวาดตื่นบรรทมขึ้นมาล่ออะไรแปลกๆ เช่น เปลือกส้มเขียวหวานจิ้มกับน้ำพริก  เป็นต้น ท่านปลุกหลานที่ท่าน "เลี้ยง" ให้ลุกขึ้นกินข้าวด้วยในยามวิกาลเช่นนั้นทุกคืนไป หลานที่มีดีกรีระดับม.ร.ว. คึกฤทธิ์ก็น่าจะรู้ว่าท่านป้าของตนเพี้ยนไปแล้ว แต่ก็ยังเอาเรื่องเพี้ยนๆจากปากท่านป้ามาขยายความต่อเสมือนเป็นเรื่องจริงที่คนไทยควรเชื่อ

สรุปว่าแม่ชีม.จ.ฉวีวาด
๑  ท่านบรรทมตอนกลางวัน  ตื่นบรรทมตอนกลางคืน
๒  เลี้ยงหลานชายได้   น่าจะให้อยู่ในห้องเดียวกัน เพราะสามารถปลุกให้ลุกขึ้นกินข้าวด้วยตอนตีสองได้ทุกคืน
๓  ท่านเสวยอาหารในยามวิกาลได้เป็นปกติ
๔  ท่านน่าจะอยู่ในวังวรจักร ไม่ได้อยู่วัด  เพราะระบบการดำเนินชีวิตของท่านย่อมไม่เหมือนแม่ชีอื่นๆ หรือพระเณรในวัด   ทำให้อยู่ด้วยกันยาก    อีกข้อคือไม่ปรากฏว่าม.ร.ว.คึกฤทธิ์เคยออกจากวังไปอยู่วัด ตอนเด็กๆ
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 19:05

ดิฉันไม่มีข้อมูลละเอียดในมือ  เท่าที่ลองดูจากวิกิ (ซึ่งก็มาจากโครงกระดูกในตู้ด้วย)  มจ. ฉวีวาด ประสูติประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๗ - ๒๓๙๙  สิ้นพระชนม์เมื่อชันษา ๘๐  คือประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๗๙

มรว. คึกฤทธิ์ เกิดเมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๔๕๔  เท่ากับเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ (ที่คาดว่า มจ. ฉวีวาด ชันษา ๘๐)  คุณชายจะอายุ ๒๓ ปี

ลำบากตรงที่หลักฐานข้อมูลของ มจ. ฉวีวาด มีน้อยมาก  เลยไม่ทราบว่าช่วงที่ท่านชรามากและเล่าเรื่องให้หลานท่านฟัง  ท่านชันษาสักเท่าใด?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 19:14

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เอ่ยถึงท่านป้าในความทรงจำที่ตัวท่านเองเคยเห็นไว้ตอนหนึ่งว่า
" ท่านป้าฉวีวาดท่านมีผิวขาวผ่องสมชื่อ    และแม้แต่เมื่ออายุท่าน 70 กว่า แล้ว   ท่านก็ยังมีรูปร่างหน้าตาและท่าทางซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นคนสวยมากเมื่อยังสาวๆ    และนอกจากสวยแล้ว  ยังเป็นคนใจแข็งเก่งกาจมากอีกด้วย"

ถ้าท่านป้าอายุ 80 โดยประมาณ  คุณชายหลานอายุ 23 โดยประมาณ
ตอนนั่งกินเปลือกส้มจิ้มน้ำพริกด้วยกัน  เป็นช่วงท่านป้าอายุ 70 +  คุณชายหลานก็ประมาณ 13+  ขวบ   โตพอจะจดจำเรื่องผจญภัยของท่านป้า และเรื่องวิกฤตวังหน้าได้แล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 19:54

อ้างถึง
ดิฉันเข้าใจว่าท่านหญิงฉวีวาดน่าจะมีตำหนักส่วนตัว หรืออย่างน้อยก็ห้องส่วนตัว  อยู่ในวังวรจักรต่างหาก ไม่ได้อยู่วัด   จึงเอาหลานชายไปเลี้ยงได้ค่ะ  
แม่ชีอยู่บ้านได้ใช่ไหมคะ?  ไม่จำเป็นต้องอยู่วัด

แม่ชีอยู่บ้านได้มั้ย

ถามว่า แล้วไปบวชเป็นแม่ชีทำไม ท่านใช้คำว่ารูปชีด้วยซ้ำ คำนี้หมายถึงนักบวช ไม่ใช่แค่อุบาสิกาถือศีล๘และยังครองเรือนอยู่
ถ้าอยากจะใช้ชีวิตอยู่ปฏิบัติธรรมที่บ้าน ก็รักษาศีลให้เคร่งคร้ดโดยไม่ต้องโกนผมโกนคิ้ว นุ่งขาวห่มขาวก็ได้ครับ ได้มรรคได้ผลเช่นกัน

แต่ผมก็คล้อยตามความเห็นของท่านอาจารย์เทาชมพูนะครับว่า แม่ชีฉวีวาดคงไม่ได้ไปอยู่วัด คงมีเรือนส่วนตัวอาศัยญาติคนใดอยู่นั่นแหละ การนุ่งขาวห่มขาวอาจจะเพราะต้องการสร้างภาพ สมัยก่อนการออกบวชถือเป็นการลี้ราชภัย ท่านหญิงอาจจะคิดว่าตนยังมีคดีติดตัวอยู่ก็ได้ ผมดูรูปการแล้วคงไม่ได้ตั้งใจบวชเพื่อหนีโลกแสวงธรรมกระมั้ง ลองไม่ระวังรักษาศีลให้บริบูรณ์เช่นนี้

อ้อ มีข้อมุสาวาทอีกหนึ่งข้อ แม่ชีของคุณหลานดูแล้วท่าจะไม่สมาทานเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 20:13

เรื่องพ.ศ.ที่สับสน พลอยทำให้เนื้อเรื่องอลหม่านอยู่หลายตอน   มีคำชี้แจงของท่านผู้ประพันธ์เอาไว้ในคำนำพิมพ์ครั้งแรกว่า

"อนึ่ง  การเขียนหนังสือเรื่องนี้ได้เขียนเป็นทำนองให้ลูกหลานฟัง    จึงจะใช้สำนวนโวหารอย่างนั้น  ไม่ถือว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์   และเรื่องที่จะเล่านั้นก็ได้ยินมาจากปากผู้ใหญ่ทั้งสิ้น     การบอกกาลเวลาโดยให้วันเดือนปีของเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นจึงจะไม่ทำ   และทำไม่ได้   เพราะผู้เขียนเรื่องนี้มีความจำเลวเป็นพิเศษในเรื่องวันที่และเดือนปี   จึงจะไม่กล่าวถึงกาลเวลาอันแน่นอนในหนังสือเล่มนี้ นอกจากบังเอิญจะจำได้"

การนับพ.ศ. เวลาเขียนเรื่องราวในอดีต  มันเป็นยาขมปื๋สำหรับคนไม่สนุกกับตัวเลข  ถ้าจะเขียนให้ไหลลื่นไม่ชะงัก ก็ไม่ต้องเสียเวลาบวกลบ
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ท่านก็พูดจริงว่าท่านได้ยินมาจากปากผู้ใหญ่อย่างไร ท่านก็เขียนไปตามนั้น     พวกเราต่างหากอยากรู้ละเอียดมากขึ้นไปอีกหน่อย  ผลคือแทนที่จะรู้เรื่องได้มากขึ้นเลยกลายเป็นมึนหัวมากขึ้นทุกที  จนมาถึงค.ห.นี้ ดิฉันเลยชักไม่รู้แล้วว่าเรื่องจริงเป็นอย่างไร


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 21:24

แม่ชีอยู่บ้านได้ครับ  การโกนหัวบวชชีเป็นแค่การโกนหัว นุ่งห่มขาวและถือศีล 8 เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องไปอยู่วัด ผมก็มีน้าสาวที่ตอนนี้โกนหัวเป็นชี ไปปลูกบ้านอยู่ชนบทถือศีลภาวนาไป  ไม่อยู่วัดเพราะต้องการหลบหนีความวุ่นวายของผู้คนในวัด และยังสะดวกกว่าด้วย


ท่านฉวีวาดอาจจะโกนหัวบวชชีและอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกับท่านชายคึกฤทธิ์แหละครับ  น่าจะอยู่คนละเรือนแต่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ส่วนการโกนหัวเป็นชีของท่าน อาจจะเพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิตด้วย มิใช่เพื่อมุ่งหลุดพ้นเป็นหลักก็ได้  เพราะจะว่าไปท่านก้มีแผลอยู่พอสมควร แม้จะสูงวัยแล้ว การเป็นชีหรือใช้ศาสนาพอจะเป็นเกราะบังตัวท่านได้ในระดับนึง และอาจสร้างความสะดวกใจได้มากกว่าทั้งต่อตัวท่านเองและคนรอบข้างด้วย  ส่วนที่ท่านอาจารย์นวรัตนฯ มองว่าการที่ท่านรับท่านชายคึกฤทธิ์ไปด้วยท่านคงไม่ได้มองว่าทำให้ศีลไม่บริบูรณ์กระมังครับ  เพราะท่านอาจมองที่เจตนาเป็นหลักว่าไม่ได้ไปในทำนองชู้สาวแต่อย่างใด


ส่วนเรื่องที่ท่านเล่าให้หลานชายฟัง แม้ว่าจะไม่จริง  รวมทั้งท่านก็คงไม่ได้เคร่งครัดนักด้วย เรื่องที่เล่าเลยมีลักษณะเป็นนิทาน มีทั้งจริงทั้งเท็จทั้งเอาชีวิตคนอื่นเข้ามาเล่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวไปด้วย มีความหวือหวาค่อนข้างมาก และอาจจะเป็นเรื่องอย่างที่ท่านเองก็อยากเชื่อก็ได้  คนยิ่งมีสถานะสูง ยิ่งแก่ตัวแล้วมองย้อนไปที่ความล้มเหลวหรืเหลวแหลกของตัวเองในอดีต อาจจะสร้างเรื่องราวใหม่ขึ้นมา เพื่อทั้งบอกเล่าคนอื่น และปลอบใจตัวเองไปด้วยก็ได้


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง