เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
อ่าน: 4915 ขัติยราชปฏิพัทธ รักเร้นในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 07 ก.พ. 24, 19:32

       ขอเล่าถึงเจ้าฟ้ากลางบ้าง  เพื่อให้กระทู้นี้จบได้สมบูรณ์
       เมื่อสิ้นเจ้าฟ้าอาภรณ์และเจ้าฟ้าปิ๋ว ในรัชกาลที่ 3 ก็เหลือเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าอยู่เพียง 3 พระองค์ คือเจ้าฟ้ามงกุฎ เจ้าฟ้าจุฑามณี และเจ้าฟ้ากลาง
        เจ้าฟ้ากลางดูจะมีดวงพระชะตาที่ดีกว่าพระเชษฐาและพระอนุชา  ท่านไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาบั่นรอน    ไม่มีการเมืองมากระทบกระทั่งให้เดือดร้อน     ทรงรับราชการในกรมวังมาด้วยความเรียบร้อย  ไม่มีปัญหาใดๆ  แต่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯก็มิได้พระราชทานพระนามหรือโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม    คงเป็นที่รู้จักในพระนามเจ้าฟ้ากลางตามเดิม
       จนสิ้นรัชกาลที่ 3   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์     ในต้นรัชกาลที่ 4  เจ้าฟ้ากลางทรงกลายเป็นพระราชวงศ์ที่มีฐานันดรศักดิ์สูงสุด   เพราะเป็นเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าเพียงองค์เดียว   ไม่นับเจ้าฟ้าจุฑามณีที่ทรงได้รับบวรราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2  ไปแล้ว   ถ้านับตามลำดับเจ้าฟ้ากลางท่านก็อยู่อันดับ 3 ในแผ่นดิน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 07 ก.พ. 24, 19:34

     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงพระราชทานพระนามใหม่ให้สมพระเกียรติว่า "เจ้าฟ้ามหามาลา" และพระราชทานพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อิศวราธิราชรวิวงศ์ บรมพงศ์ปฏิพัทธ์ บุรุษรัตน์วโรภโตสุชาติ บริษัทยนาถนรินทราธิบดี ให้ตั้งเจ้ากรมเป็นกรมหมื่นบำราบปรปักษ์    ทรงบังคับบัญชากรมพระภูษามาลาคลังวิเศษคลังข้างใน
       เจ้าฟ้ามหามาลา กรมหมื่นบำราบปรปักษ์ทรงรับราชการได้เรียบร้อยถี่ถ้วน เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2410 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์  ต่อมาได้สำเร็จราชการในกรมใหญ่น้อยต่างๆ หลายกรม คือกรมวัง กรมภูษามาลา กรมช้าง กรมพระธรรมการและโหรพราหมณ์เป็นต้น
     ต่อมาใน พ.ศ. 2421  เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช  บุณยรัตพันธุ์) ที่สมุหนายกถึงอสัญกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำเร็จราชการสิทธิขาดในกรมมหาดไทย  เมื่อพ.ศ. 2428  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 07 ก.พ. 24, 19:53

  หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จสวรรคต  พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ประชุมกัน เห็นพ้องกันว่าถวายราชสมบัติให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ พระราชโอรสองค์ใหญ่  เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่    โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็น “ผู้สำเร็จราชการ” จนกว่าพระเจ้าแผ่นดินใหม่จะมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา  ภายหลังก็มีการตั้ง สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหามาลา ขึ้นเป็น ผู้สำเร็จราชการคนที่ 2
   เหตุผลสำคัญคือบัดนี้  เจ้าฟ้ามหามาลาทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีฐานันดรสูงสุด  ทรงเป็นพระราชปิตุลา (อา) ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  นอกจากนี้เป็นบุคคลที่ค่อนข้างเก็บตัว ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทรงสันทัดงานภายในราชสำนักที่เรียบง่าย และไม่ผาดโผน  ได้แก่ ภารกิจภายในกรมวัง กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ    รอบรู้ในศิลปศาสตร์ต่าง ๆ เช่นเรื่องราชประเพณี พงศาวดาร พุทธศาสตร์ ไสยศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เลขะวิทยา สรภาณ มนตราและพยากรณ์ แพทยศาสตร์ ธาตุมิศการ นวกรรม หัตถโกศล รัตนศาสตร์ ภูตศาสตร์ ดุริยานยุต นัจจะเวธี กิฬาโกศล และสูทศาสตร์  แต่ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง  ก็นับวา่เป็นบุคคลที่เหมาะสมจะรับตำแหน่งหน้าที่ ที่จะช่วยรักษาความเป็นกลางทางการเมืองไว้    ไม่ทำให้คลื่นลมที่แรงในยุคต้นรัชกาลที่ 5  ต้องแรงมากขึ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 07 ก.พ. 24, 19:55

     สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 กันยายน  พ.ศ.2429  พระชนมายุได้ 68 ปี  ทรงเป็นต้นราชสกุลมาลากุล
      ต่อมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เฉลิมพระยศขึ้นเป็น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์


บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 11 ก.พ. 24, 21:42

ขอบคุณ อ.เทาชมพู และทุกท่านที่กรุณานำเรื่องนี้มาให้อ่านครับ เห็นใจเจ้าฟ้าทั้ง 2 องค์ ได้ฟังนิยายเรื่อง บุญบรรพ์ ทางวิทยุศึกษาอยู่พักหนึ่ง แต่ตามไปซื้อหนังสือไม่ทัน จึงสงสารเจ้าคุณจอมมารดาเรียมอีกหนึ่งท่านเป็นทุน อ่านกระทู้ถึงตอนนี้นึกๆดูก็เห็นว่าความรักฉันสามีภรรยาดูจะไม่ค่อยยั่งยืน เหมือนอย่างวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนที่นางบัวคลี่ถูกพ่อของนางสั่งให้วางยาฆ่าขุนแผน นางก็เชื่อฟังพ่อ "อันสามีเขาจะรักเพียงไหน ลงบันไดสามขั้นก็ขาดผัว ที่ตรงท่านพ่อแม่จนแก่ตัว ถึงลูกชั่วฉันใดไม่ขาดกัน " จาก FB ห้องสมุด มสธ. แต่ความรักของแม่กับลูกนี่อยู่ยาวตลอดไป ตั้งแต่คุณหญิงนาคกับพระราชโอรสธิดาหรือจะเจ้าฟ้าบุญรอดกับพระราชโอรส ฯลฯ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 12 ก.พ. 24, 07:54

      ขอบคุณที่ติดตามอ่านและแสดงความคิดเห็นค่ะ
      สังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา อนุญาตให้ชายมีภรรยาได้หลายคนพร้อมกัน เป็นเรื่องถูกต้องตามกฎหมาย   (แต่ผู้หญิงถ้ามีชายอื่นนอกจากสามีจะผิดกฎหมาย ถูกลงโทษอย่างหนัก)     ถ้าเอามาตรฐานปัจจุบันไปวัดก็ไม่ยุติิธรรมกับเพศหญิง  แต่ยุคนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดา  เป็นหน้าที่ภรรยาต้องยอมรับโดยดี
      สมเด็จพระอมรินทรฯ ในรัชกาลที่ 1  ดูว่าท่านไม่รับกฎหมายข้อนี้เลย    ส่วนสมเด็จพระศรีสุริเยนทราฯ ท่านทรงรับอนุภรรยาได้ แต่รับภรรยาเอกคู่คี่หรือเหนือท่านไม่ได้   จึงต้องจบลงด้วยการแยกทางกัน
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 12 ก.พ. 24, 13:01

ช่วงนี้ผมติดซีรีส์จีนเรื่องราวในวังหลังยุคโน้นนั้นนี้ หนึ่งในภารกิจสำคัญของฮ่องเต้คือผลิตโอรสสวรรค์ เพื่อให้ราชวงศ์ไม่ขาดตอนแผ่นดินอยู่เย็นเป็นสุข มีโอรสแค่พระองค์เดียวถ้าไม่แข็งแรงก็ลำบาก มีโอรสหลายพระองค์ก็แกร่งแย่งชิงอำนาจสร้างความวุ่นวายทั่วแคว้น ใครแพ้กลายเป็นอ๋องถูกเฉดหัวส่งไปอยู่แคว้นชายแดน ในวังหลังก็แย่งชิงอำนาจตลอดเวลาสนุกมากไม่ต่างจากวังหน้า

หลายเหตุการณ์ในสมัยก่อนมีเหตุและผลแตกต่างจากปัจจุบัน เนื่องจากเมืองไทยไม่มีใครสร้างซีรีสประเภทนี้ (หรือมีแต่ผมไม่เห็น?) คนไม่ชอบอ่านหนังสือเลยค่อนข้างห่างเหินจากเรื่องในอดีต แม้ถูกดัดแปลงเพื่อการพาณิชย์มากบ้างน้อยบ้างก็ยังอ้างอิงเรื่องจริง เป็นเค้าโครงให้คนสนใจติดตามข้อมูลด้วยตัวเองต่อไป

แต่ซีรีสจีนยาวมากใส่อะไรเข้ามาเยอะมาก บางช่วงผมแผ่ดูผ่านๆ อะไรจะดราม่าเบอร์นี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 22 ก.พ. 24, 20:07

 ในยุคก่อนมีหนังจีนทางทีวี  คนไทยยุคคุณปู่คุณทวดอ่านเกร็ดพงศาวดารจีนกัน  เรื่องก็คล้ายๆกับคุณ Superboy เล่า  คือดราม่ากันในวังหลวง  แย่งชิงบัลลังก์ หักหลังฆ่าฟันกันจนกระทั่งผู้มีบุญมาเกิด ก็ยกทัพเข้ามายึด สถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นมา
  ละครโทรทัศน์ที่อิงเรื่องประวัติศาสตร์ไทย มีให้ดูหลายเรื่องค่ะ    ตามดูใน Netflix ได้ อย่างบุพเพสันนิวาส และพรหมลิขิต

    ความจริงไทยเราก็มีประวัติศาสตร์ที่สีสันเข้มข้นไม่น้อยไปกว่าจีน    สมัยอยุธยานั้นเกิดดราม่ากันเกือบจะทุกรัชสมัย   ขึ้นอยู่กับว่าใครจะหยิบตรงไหนมาทำละคร  เรื่องราวอย่างพันท้ายนรสิงห์ นายขนมต้ม  พระยาพิชัยดาบหัก  คุณ Superboy น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาแล้ว
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 07 มี.ค. 24, 21:14

ลงชื่อเริ่มอ่านครับ

ขอบอกว่าเมื่อผมมาเยือนเรือนไทย ถ้าเจออภิมหาซีรียส์เช่นเรื่องจอมพล ป. เรียกว่านั่งอ่านกันข้ามวันเลยทีเดียว แต่หลังๆนี้จังหวะชีวิตไม่อำนวยให้ทำแบบนั้นแล้ว เลยต้องกระมิดกระเมี้ยนอ่านไปวันละนิดหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 08 มี.ค. 24, 14:37

กว่าจะอ่านจบ  กาแฟเย็นก็คงหมดพอดีค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 20 คำสั่ง