เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6930 มีคนเขาเสนอว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่เมืองไทย สุวรรณภูมิ
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 09 ต.ค. 13, 22:21

ข้าพเจ้าไปอ่านมา มีคนส่งลิงค์มาให้ บอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนไทย อยู่สุวรรณภูมิ

อ่านแล้วไม่เห็นด้วยเท่าไร

ทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไร

ตามอ่านรายละเอียดได้จากลิงค์นี้

http://www.buddhabirthplace.com/tha/archeo/archeothai.htm
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ต.ค. 13, 22:36

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ต.ค. 13, 07:20

เวปที่ว่า ม.อัสสัมชัญเข้าไปเป็นสปอนเซ่อร์ด้วยเหตุผลอันใด?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ต.ค. 13, 12:50

ไม่ต้องไปสนใจหรอกค่ะคุณหาญบิง   เสียเวลาเปล่าๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ต.ค. 13, 15:55

แต่ถ้าอยากค้นคว้าต่อจากนี้   ก็เริ่มต้นๆด้ที่นี่ค่ะ

เมื่อพ.ศ. ๒๐๐๙   นายเปรมศักดิ์   เพียยุระ    สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดขอนแก่น   ตั้งกระทู้ถามที่   ๑๒๒๐ ร.   เรื่องการชำระประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา   
รองนายกรัฐมนตรีได้ตอบตามที่คัดลอกมาลงข้างล่างนี้
 
จากหนังสือ   กฎหมายสงฆ์   ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ปรับปรุง   พ.ศ. ๒๕๔๗   โดยสำนักพิมพ์สูตรไพศาล

คำถามที่ ๑   รัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานหรือองค์กรใดทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อวิเคราะห์เอกสาร คัมภีร์โบราณ   เอกสารจดหมายเหตุและพงศาวดารโบราณที่บันทึกเรื่องราวการอุบัติเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนาบ้างหรือไม่   อย่างไร  ขอทราบรายละเอียด

คำตอบที่ ๑   เกี่ยวกับการวิเคราะห์เอกสารคัมภีร์โบราณ   เอกสารจดหมายเหตุและพงศาวดารที่บันทึกเรื่องราวการอุบัติเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนานี้    ทางรัฐบาลได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการชำระจัดพิมพ์มาโดยลำดับซึ่งได้ชำระคัมภีร์ที่สำคัญๆที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาอาทิ   ชินกาลมาลี    จามเทวีวงศ์    ตำนานมูลศาสนาและรัตนพิมพวงศ์   และเมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ  ๒๐๐ ปี (พุทธศักราช  ๒๕๒๕) ก็มีการเรียบเรียงจัดพิมพ์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย   

นอกจากนี้  คัมภีร์ที่พระสงฆ์ไทยรจนาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ทางหอสมุดแห่งชาติ   กรมศิลปากรก็ได้ชำระจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นจำนวนมากแล้วอาทิ   คัมภีร์จักกวาฬทีปนี   เวสสันตรทีปนี   มังคลัตถทีปนีและอื่นๆอีกรวมถึงจดหมายเหตุราชทูตฝรั่งเศสที่มาเจริญสัมพันธไมตรีและเอกสารจดหมายเหตุต่างๆ   

ทางกองประวัติศาสตร์โดยคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยก็ได้ดำเนินการชำระและจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ออกมาเป็นระยะ   ซึ่งพิมพ์ที่โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีโดยหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติหรือห้องสมุดประชาชนทั่วไป   
               
คัมภีร์และเอกสารจำนวนมหาศาลที่ชาวพุทธทรงจำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่   จดจารจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือปรากฏอยู่ในปัจจุบันทั่วโลกต่างระบุชัดเจนว่า   พระพุทธเจ้าเป็นอภิชาตบุตรแห่งชมพูทวีป  คือ   บริเวณประเทศอินเดีย   เนปาล   ในปัจจุบันซึ่งมีโบราณวัตถุ   โบราณสถานรับรองปรากฏอยู่   และตรงกับหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฎก   อรรถกถาและฎีกา
                   
ดังนั้นในกระทู้ถามที่ว่า    "รัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานหรือองค์กรใดทำการศึกษา.....บ้างหรือไม่อย่างไร"   รัฐบาลนี้จึงไม่จำเป็นต้องมอบหมายเพราะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านนี้โดยตรงอย่างต่อเนื่องมาตลอดทุกยุคสมัยอยู่แล้ว   นั่นคือ   หอสมุดแห่งชาติ    กรมศิลปากร(ปัจจุบันสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม)  ซึ่งก็ได้ดำเนินการสมบูรณ์เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า   พระพุทธศาสนานี้มิใช่อุบัติเกิดขึ้นในประเทศไทยและพระพุทธเจ้าก็หาใช่คนไทยหรือเป็นโอรสของพระเจ้ากรุงสยามตามความเชื่อของคนบางกลุ่มบางพวกที่ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างไร้วิจารณญาณไม่

คำถามที่ ๒   รัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้มีการชำระประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเพื่อค้นหาความจริงของการอุบัติแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยหรือไม่    อย่างไร   ขอทราบรายละเอียด

คำตอบที่ ๒    ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า   เอกสารโบราณของไทยที่กล่าวถึงประวัติพระพุทธเจ้าส่วนมากเป็นตำนานพื้นบ้านซึ่งเล่าเรื่องวิถีชีวิตประชาชนในถิ่นนั้นๆที่นับถือพระพุทธศาสนาแล้วแต่งเรื่องแบบจินตนาการไปไกลเพื่อรองรับปูชนียสถานที่สร้างขึ้นในถิ่นนั้นๆ  โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดรับสั่งกับประชาชนว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จะมา
ประดิษฐานในที่นั้นๆหลังจากพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน  เช่น   ตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม)    ตำนานเมืองโยนก   ซึ่งเอกสารเหล่านี้เกิดจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง   มิได้เขียนขึ้นบนพื้นฐานทางประวัติศาสตร์แต่เขียนตาม
จินตนาการที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาโดยเปลี่ยนชมพูทวีปเป็นประเทศสยามเช่น   เรียกเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองปาฏลีบุตร เรียกเจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราชเป็นศรีธรรมาโศกทุกพระองค์
                       
ส่วนเอกสารประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่บัณฑิตชนทั่วโลกยอมรับนั้นมีหลายระดับเช่น   ชินกาลมาลี   ได้มีการตรวจชำระจัดพิมพ์มานานแล้ว   ตำนานมูลศาสนาก็มีการตรวจชำระจากภาษาล้านนาเป็นภาษาไทยกลาง   และพิมพ์หลายครั้งแล้วเป็นต้น    ซึ่งเอกสารที่เล่าประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีจำนวนมากจัดพิมพ์เผยแพร่แล้ว   สืบค้นหาอ่านดูได้ที่หอสมุดแห่งชาติ
                       
ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่มีนโยบายสนับสนุนที่จะให้มีการชำระประวัติศาสตร์เพื่อค้นหาความจริงของการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยแต่อย่างใดเพราะการที่จะนำเอาเอกสารโบราณของไทยที่ผู้เขียนมีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ในวงจำกัดมาตัดสินประวัติพระบรมศาสดาเอกของไตรโลกว่าเสด็จอุบัติในประเทศไทยนั้นเป็นไปไม่ได้    ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง     บัณฑิตชนไม่สรรเสริญ   หากทำก็จะเป็นการบิดเบือนพระพุทธศาสนาสร้างความอับอายขายหน้าแก่ชาวพุทธทั่วโลก   และเป็นบาปอกุศลแก่ผู้ริเริ่ม
ดำเนินการอย่างร้ายแรง   ฐานล่วงมุสาวาทกล่าวตู่สร้างความสับสนแก่สังคมโลกในสิ่งที่เป็นเท็จให้เข้าใจว่าเป็นจริง   ในสิ่งที่เป็นจริงให้เป็นเท็จ   อีกทั้งเป็นการทำลายศรัทธาของมหาชนที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งยวดอีกด้วย

http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=1462.0
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 ต.ค. 13, 22:50

ผมรู้จักกับท่านที่เป็นคนสร้างแนวคิดนี้ขึ้นมาครับ เขาชื่อคุณ เอก อิสโร ครับ จริง ๆ เขาก็เป็นคนหนุ่มที่มีอุดมการณ์ดีนะในช่วงแรกที่พบกัน มีหลาย ๆ คนเคยเตือนเขาไปแล้วในเรื่องตั้งความเชื่อนี้ขึ้นมาครับ แต่เขาดื้อ เขามั่นใจในสิ่งที่แกคิด แล้วก็ไปเอาสมมติฐานหลาย ๆ อย่างมาผสม ๆ กันเพื่อให้รองรับกับแนวคิดของเขาครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 ต.ค. 13, 22:55

เรื่องร่วมสมัย ก็น่าจะเกี่ยวกับ พระท่านที่ชื่อ ท่านพระปุณณะ เพราะท่านเป็นชาวเมืองสุปปารกะ ในแคว้นสุนาปรันตะ ซึ่งแคว้นนี้อยู่นอกมัธยมประเทศมาทางด้านตะวันตก ไม่แน่ใจว่าอยู่ตรงไหน อาจจะเป็นแถวเพชรบุรีก็ได้ครับ หรืออาจจะแถวย่างกุ้ง หรือธากกา บังกลาเทศก็เป็นไปได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 ต.ค. 13, 23:50

เรื่องนี้ยิ่งพูดกันกว้างออกไปก็ยิ่งทำให้คนสับสนค่ะ    ควรจะยุติได้แล้ว

แคว้นอะไรที่คุณสมุน 007 พูด   ถ้ายังหาพิกัดไม่ได้   เพราะอาจจะอยู่ตรงไหนก็ได้ตั้งแต่จ.เพชรบุรี จนถึงบังกลาเทศก็ได้นี่   ดิฉันว่ามันเลื่อนลอยพอๆกับไม่มีจริงละค่ะ
อีกอย่าง ถ้าแคว้นนี่อยู่นอกมัธยมประเทศมาทางด้านตะวันตก  มันจะมาอยู่แถวเอเชียอาคเนย์ได้ยังไงล่ะคะ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 09:57

แคว้นอะไรที่คุณสมุน 007 พูด   ถ้ายังหาพิกัดไม่ได้   เพราะอาจจะอยู่ตรงไหนก็ได้ตั้งแต่จ.เพชรบุรี จนถึงบังกลาเทศก็ได้นี่   ดิฉันว่ามันเลื่อนลอยพอๆกับไม่มีจริงละค่ะ
อีกอย่าง ถ้าแคว้นนี่อยู่นอกมัธยมประเทศมาทางด้านตะวันตก  มันจะมาอยู่แถวเอเชียอาคเนย์ได้ยังไงล่ะคะ

ถ้าเรายึดเอาตามในพระไตรปิฎก จะมีการแบ่งเป็น มัธยมประเทศ แล้วก็เขตที่เลยมัธยมประเทศออกไปซึ่งมีทั้งทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกครับ

ที่ผมบอกว่ามีสิทธิมาถึงเพชรบุรีบ้านเราได้ เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีว่า บ้านเราขุดพบตะเกียงโบราณของอียิปต์ ร่วมสมัยเดียวกับปโตเลมีครับ นั่นก็แสดงว่า บ้านเราก็มีคนมาค้าขายด้วยนานแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนจะมีการจดบันทึกกันอย่างจริงจังในสมัยสุโขทัยครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 10:01

ขอเสริมความรู้นะครับ

ชมพูทวีปครั้งพุทธกาลแบ่งเป็นหลายอาณาจักร เป็นมหาชนบท ๑๖ แคว้น และยังปรากฎอีก ๔ แคว้นในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อาณาจักรเหล่านี้มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นมหาราชาบ้าง ราชาบ้างมีอธิบดีบ้าง เป็นผู้ปกครองโดยทรงอำนาจสิทธิขาดบ้างโดยสามัคคีธรรมบ้าง บางคราวตั้งเป็นอิสระ บางคราวตกอยู่ในอำนาจอื่นตามยุคตามสมัย

คนในชมพูทวีปแบ่งเป็นชนชั้น ที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทรคนในชมพูทวีปสนใจในวิชาธรรมมาก มีคณาจารย์ตั้งสำนักแยกย้ายกันตามลัทธิต่าง ๆ มากมาย เกียรติยศของศาสดาเจ้าลัทธิเจ้าสำนักผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้รับยกย่องเสมอเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินหรือมากยิ่งกว่า

      การที่ทรงเลือกมัธยมประเทศ เพราะชมพูทวีปแบ่งเป็น ๒ จังหวัด เหนือ ๑ อาณาเขต อาณาเขตในคือ มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศเป็นถิ่นกลางที่ตั้งแห่งนครใหญ่ ๆ มีความเจริญรุ่งเรือง มีเศรษฐกิจดี มีประชากรหนาแน่น เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่ของนักปราชญ์ผู้มีความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษาและศิลปวิทยาการ เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพวกอารยันหรืออริยกะ รูปร่างสูง ผิวค่อนข้างขาวเป็นพวกที่มีความเจริญไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม ทรงกำหนดกรุงกบิลพัสดุเป็นที่บังเกิด

ส่วนอาณาเขตนอก เรียกว่าปัจจันตชนบทหรือประเทศปลายแดนเป็นถิ่นที่ยังไม่เจริญ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนพื้นเมืองดั้งเดิม รูปร่างเล็กผิวดำ จมูกแบน เป็นพวกเชื้อสายดราวิเดียนหรือพวกทมิฬในปัจจุบัน

http://www.dhammathai.org/buddha/g26.php
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 10:07

ในพระไตรปิฎก กล่าวถึงพระวินัยเรื่องการบวช ที่เกี่ยวข้องเนื่องด้วยอาณาเขตระหว่าง มันฌิมชนบทและปัจจันตชนบทครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?book=1&bookZ=45&name=%BE%C3%D0%BE%D8%B7%B8%D2%B9%D8%AD%D2%B5%BE%D4%E0%C8%C9

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาค ๒


เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ
             [๒๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ปปาตะบรรพตเขตกุรรฆระนคร
ในอวันตีชนบท ก็คราวนั้นอุบาสกชื่อโสณกุฏิกัณณะ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหากัจจานะ
นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั่งอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบเรียน
คำนี้กะท่านพระมหากัจจานะว่า ท่านขอรับ ด้วยวิธีอย่างไรๆ กระผมจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่
พระคุณเจ้าแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดย
ส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย กระผมปรารถนาจะปลง
ผมและหนวด ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ากรุณาโปรดให้
กระผมบวชเถิด ขอรับ เมื่ออุบาสกโสณกุฏิกัณณะกราบเรียนเช่นนี้แล้ว ท่านมหากัจจานะได้
กล่าวคำนี้กะอุบาสกโสณกุฏิกัณณะว่า โสณะ การประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งต้องนอนผู้เดียว
บริโภคอาหารหนเดียวจนตลอดชีพ ทำได้ยากนักแล เอาเถอะ โสณะ คุณจงเป็นคฤหัสถ์
อยู่ในจังหวัดนี้แหละ แล้วประกอบตามพระพุทธศาสนา ประกอบตามพรหมจรรย์ ซึ่งต้องนอน
ผู้เดียว บริโภคอาหารหนเดียว ควรแก่กาลเถิด.
             คราวนั้น ความตั้งใจบรรพชาซึ่งได้เกิดแก่อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั้นสงบลงแล้ว
             แม้ครั้งที่สองแล อุบาสกโสณกุฏิกัณณะ ....
             แม้ครั้งที่สามแล อุบาสกโสณกุฏิกัณณะได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ นมัสการ
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั่งอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบเรียนคำนี้
กะท่านพระมหากัจจานะว่า ท่านขอรับ ด้วยวิธีอย่างไรๆ กระผมจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระคุณเจ้า
แสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย กระผมปรารถนาจะปลงผมและหนวด
ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ากรุณาโปรดให้กระผมบวชเถิด
ขอรับ
             ครั้นนั้น ท่านมหากัจจานะให้อุบาสกโสณกุฏิกัณณะบรรพชาแล้ว.
             ก็สมัยนั้น อวันตีชนบทอันตั้งอยู่แถบใต้ มีภิกษุน้อยรูป ท่านพระมหากัจจานะจัดหา
พระภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบาก ต่อล่วงไปถึง ๓ ปี จึงอุปสมบท
ให้ท่านพระโสณะได้.
พระโสณเถระรำพึงแล้วอำลาเข้าเฝ้า
             ครั้งนั้น ท่านพระโสณะจำพรรษาแล้ว ไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่ง
จิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เราได้ยินมาอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้เช่นนี้และ
เช่นนี้ แต่เรามิได้เฝ้าต่อพระพักตร์ เราควรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
หากพระอุปัชฌายะจะพึงอนุญาตแก่เรา ครั้นเวลาสายัณห์ ท่านออกจากที่หลีกเร้นแล้ว จึงเข้า
ไปหาท่านพระมหากัจจานะ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบเรียนว่า ท่านขอรับ
กระผมไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระ-
*ภาคพระองค์นั้น เราได้ยินมาอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้เช่นนี้และเช่นนี้ แต่เรามิได้เฝ้าต่อพระพักตร์
เราควรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น หากพระอุปัชฌายะจะพึง
อนุญาตแก่เรา ท่านขอรับ กระผมจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
หากท่านพระอุปัชฌายะจะอนุญาตแก่กระผม.
อาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ
             ท่านมหากัจจานะ กล่าวว่าดีละ ดีละ คุณโสณะ คุณจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น คุณจักเห็นพระองค์ผู้น่าเลื่อมใส ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ทรงถึงความฝึกกายและความสงบจิตอันสูงสุด ทรงทรมานแล้ว
คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว ผู้ไม่ทำบาป คุณโสณะ ถ้าเช่นนั้น คุณจงถวายบังคม
พระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามฉันสั่งว่า ท่านมหากัจจานะ อุปัชฌายะ
ของข้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคม พระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าพระพุทธเจ้าข้า
ดังนี้ และคุณจงกราบทูลอย่างนี้ว่า
             ๑. พระพุทธเจ้าข้า จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดหา
ภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบาก นับแต่วันข้าพระพุทธเจ้าบรรพชา
ล่วงไป ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไรเฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ พึงทรงอนุญาตอุปสมบทด้วย
คณะสงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้.
             ๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ขรุขระดื่นดาด
ด้วยระแหงกีบโค ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาต
รองเท้าหลายชั้น.
             ๓. พระพุทธเจ้าข้า คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์
ถ้ากระไร เฉพาะในอวันติทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาค พึงทรงอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์.
             ๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ
หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด
ในอวันตีทักขิณาบถก็มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล
ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาค พึงทรงอนุญาตหนังเครื่องลาด คือ หนัง
แกะ หนังแพะ หนังมฤค.
             ๕. พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายฝากถวายจีวรเพื่อหมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา ด้วยคำว่า
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายจีวรผืนนี้แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุผู้รับฝากมาบอกว่า อาวุโส คนทั้งหลาย
มีชื่อนี้ถวายจีวรแก่ท่านแล้ว พวกภิกษุผู้รับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยคิดว่า พวกเรา
ไม่ต้องการของเป็นนิสสัคคีย์ ถ้ากระไร ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสชี้แจงในเรื่องจีวร.
พระโสณะเถระเข้าเฝ้า
             ท่านพระโสณะรับสนองคำของท่านพระมหากัจจานะว่าปฏิบัติตามอย่างนั้นขอรับ แล้ว
ลุกจากอาสนะอภิวาทท่านพระมหากัจจานะทำประทักษิณแล้ว เก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรเดิน
ไปทางที่จะไปพระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี
โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะ
ต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้ จึงท่านพระอานนท์คิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระบัญชาใช้เราเพื่อ
ภิกษุรูปใดว่า ดูกรอานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาค
ย่อมปรารถนาจะประทับอยู่ในพระวิหารแห่งเดียวกับภิกษุรูปนั้น พระผู้มีพระภาคปรารถนาจะ
ประทับอยู่ในพระวิหารแห่งเดียวกับท่านพระโสณะเป็นแน่ ดังนี้ จึงจัดเสนาสนะต้อนรับท่าน
พระโสณะในพระวิหารอันเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาค.
ถวายเทศน์ในพระวิหาร
             [๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงเสด็จเข้าพระวิหาร แม้ท่าน
พระโสณะก็ยับยั้งอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเข้าพระวิหาร ครั้นเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาค
ทรงตื่นพระบรรทมแล้วทรงอัชเฌสนาท่านพระโสณะว่า ดูกรภิกษุ เธอจงกล่าวธรรมตามถนัด
ท่านพระโสณะกราบทูลสนองพระพุทธบัญชาว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้สวดพระสูตร
ทั้งหลาย อันมีอยู่ในอัฏฐกวรรค จนหมดสิ้นโดยสรภัญญะ ครั้นจบสรภัญญะของท่านพระโสณะ
พระผู้มีพระภาคทรงพระปราโมทย์โปรดประทานสาธุการว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ สูตรทั้งหลายที่มีใน
อัฏฐกวรรคเธอเรียนมาดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงจำได้แม่นยำดี เธอเป็นผู้ประกอบด้วยวาจา
ไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีโทษ ให้เข้าใจรู้ความได้แจ่มชัด เธอมีพรรษาเท่าไร ภิกษุ?
             ท่านพระโสณะกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีพรรษาเดียว พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. เพราะเหตุไร เธอจึงมัวประพฤติชักช้าเช่นนั้นเล่า ภิกษุ?
             โส. ข้าพระพุทธเจ้าเห็นโทษในกามทั้งหลายนานแล้ว แต่เพราะฆราวาสคับแคบ มีกิจ
มาก มีกรณียมาก จึงได้ประพฤติชักช้าอยู่ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงเปล่งพระอุทาน
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความข้อนี้แล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-
                          อารยชนเห็นโทษในโลก ทราบธรรมที่ปราศจาก
                          อุปธิแล้ว ฉะนั้น จึงไม่ยินดีในบาป เพราะคน
                          สะอาดย่อมไม่ยินดีในบาป.
กราบทูลอาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ
             [๒๒] ลำดับนั้น ท่านพระโสณะคิดว่า พระผู้มีพระภาคกำลังโปรดปรานเรา เวลานี้
ควรกราบทูลถ้อยคำที่พระอุปัชฌายะของเราสั่งมา ดังนี้ แล้วลุกจากที่นั่ง ห่มจีวรเฉวียงบ่า หมอบ
ลงที่พระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วได้กราบทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า
พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระมหากัจจานะ อุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายบังคมพระบาท
ยุคลของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลอย่างนี้ว่า
             ๑. พระพุทธเจ้าข้า จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดหา
ภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบาก นับแต่วันข้าพระพุทธเจ้าบรรพชา
ล่วงไป ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคพึงทรง
อนุญาตอุปสมบท ด้วยคณะสงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้
             ๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ขรุขระดื่นดาดด้วย
ระแหงกีบโค ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตรองเท้า
หลายชั้น
             ๓. พระพุทธเจ้าข้า คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้
บริสุทธิ์ ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถขอพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตอาบน้ำได้เป็นนิตย์
             ๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ
หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด
ในอวันตีทักขิณาบถก็มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล
ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตหนังเครื่องลาด คือ หนัง
แกะ หนังแพะ หนังมฤค
             ๕. พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายฝากถวายจีวรแก่หมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา ด้วยคำว่า
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายจีวรผืนนี้แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุผู้รับฝากมาบอกว่า อาวุโส คน
ทั้งหลายมีชื่อนี้ถวายจีวรแก่ท่านแล้ว พวกภิกษุผู้ได้รับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยคิดว่า
พวกเราไม่ต้องการของเป็นนิสสัคคีย์ ถ้ากระไร ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสชี้แจงในเรื่องจีวร.
พระพุทธานุญาตพิเศษ
             [๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

             ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป เราอนุญาตการอุปสมบท
ด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ ๕ ได้ ทั่วปัจจันตชนบท ๑-
กำหนดเขตปัจจันตชนบทและมัชฌิมชนบท
             บรรดาชนบทเหล่านั้น ปัจจันตชนบท มีกำหนดเขต ดังนี้:-
             ในทิศบูรพามีนิคมชื่อกชังคละ ถัดนิคมนั้นมาถึงมหาสาลนคร นอกนั้นออกไปเป็น
ปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ๑-
@๑. จังหวัดภายในเป็นศูนย์กลางของประเทศ
             ในทิศอาคเนย์ มีแม่น้ำชื่อสัลลวตี นอกแม่น้ำสัลลวตีนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท
ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท
             ในทิศทักษิณ มีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ นอกนิคมนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมใน
เป็นมัชฌิมชนบท
             ในทิศปัจฉิม มีพราหมณคามชื่อถูนะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมใน
เป็นมัชฌิมชนบท
             ในทิศอุดร มีภูเขาชื่ออุสีรธชะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็น
มัชฌิมชนบท
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบท ด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ ๕ ได้ ทั่ว
ปัจจันตชนบทเห็นปานนี้
             ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ดื่นดาดด้วยระแหง
กีบโค เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้น ทั่วปัจจันตชนบท
             ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถ นิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้
บริสุทธิ์ เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ทั่วปัจจันตชนบท
             ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ
หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด
ในอวันตีทักขิณาบถ ก็มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล
เราอนุญาตหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ทั่วปัจจันตชนบท
             ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คนทั้งหลายในโลกนี้ฝากถวายจีวรเพื่อหมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา
ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ยินดีได้ จีวรนั่นยังไม่ควรนับราตรีตลอดเวลาที่ยังไม่ถึงมือ.
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 10:12

จะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงกำหนดว่า ปัจจันตชนบท ไปสุดที่ไหนนะครับ แต่ทรงกำหนดอาณาเขตของมัชฌิมชนบท(มัธยมประเทศ)เท่านั้น นอกเหนือไปจากนี้ พระองค์ทรงจัดเป็น ปัจจันตชนบท ทั้งหมดครับ  แล้วถ้าดูในประวัติการเดินทางจะของท่านพระปุณณะ ก็จะเห็นได้ชัดว่า ท่านกล่าวถึงการเดินทางโดยทางเรือไว้ เพราะท่านมีกล่าวถึงเกาะต่าง ๆ ด้วย

ประการต่อมา เมื่อสองพันกว่าปีก่อน ลักษณะภูมิประเทศของบ้านเรา ชายทะเลยังอยู่ที่จังหวัดสระบุรีนะครบ กรุงเทพฯ ยังอยู่ใต้ทะเลอยู่เลย จังหวัดเพชรบุรีก็เป็นเพียงชายฝั่ง หรืออาจจะเป็นเกาะ ๆ หนึ่งก็เป็นไปได้ครับ


รายละเอียดตะเกียงโบราณยุคปโตเลมี พบที่โบราณสถานพงตึก จ.กาญจนบุรี

http://writer.dek-d.com/constantine_xii/story/viewlongc.php?id=486453&chapter=2
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 10:21

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

ปุณโณวาทสูตร

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9641&Z=9745&pagebreak=0


อรรถกถา ปุณโณวาทสูตร
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3



ส่วนนี้จะเป็นคำอธิบายของ ท่านเจ้าประคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุต์ ประยุตโต) ซึ่งในตอนท้ายก็จะได้ยกอรรถกถา อธิบายประวัติของท่านพระปุณณะ เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ  ดังนี้ครับ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)



ปุณณสุนาปรันตะ, -ตกะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในจำนวนอสีติมหาสาวก ชื่อเดิมว่า ปุณณะ เกิดที่เมืองท่าชื่อ สุปปารกะ ในแคว้นสุนาปรันตะ เมื่อเติบโตขึ้น ได้ประกอบการค้าขายร่วมกับน้องชาย ผลัดกันนำกองเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวค้าขายตามหัวเมืองต่างๆ
       คราวหนึ่ง น้องชายอยู่เฝ้าบ้าน ปุณณะนำกองเกวียนออกค้าขายผ่านเมืองต่างๆ มาจนถึงกรุงสาวัตถี พักกองเกวียนอยู่ใกล้พระเชตวัน รับประทานอาหารเช้าแล้วก็นั่งพักผ่อนกันตามสบาย
       ขณะนั้นเอง ปุณณะมองเห็นชาวพระนครสาวัตถีแต่งตัวสะอาด เรียบร้อย พากันเกิดไปยังพระเชตวันเพื่อฟังธรรม ไต่ถามทราบความก็ดีใจ จึงพาบริวารเดินตามเขาเข้าไปสู่พระวิหาร ยืนอยู่ท้ายสุดที่ประชุม ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใสอยากจะบวช
       วันรุ่งขึ้นถวายมหาทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว มอบหมายธุระแก่เจ้าหน้าที่คุมของให้นำสมบัติไปมอบให้แก่น้องชาย แล้วออกบวชในสำนักพระศาสดา ตั้งใจทำกรรมฐาน แต่ก็ไม่สำเร็จ คิดจะไปบำเพ็ญภาวนาที่ถิ่นเดิมของท่านเอง จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลขอพระโอวาท ดังปรากฏเนื้อความใน ปุณโณวาทสูตร
       พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานพระโอวาทแสดงวิธีปฏิบัติต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ โดยอาการที่จะมิให้ทุกข์เกิดขึ้น แล้วตรัสถามท่านว่า จะไปอยู่ในถิ่นใด
       ท่านทูลตอบว่า จะไปอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะ
       ตรัสถามว่า ชาวสุนาปรันตะเป็นคนดุร้าย ถ้าเขาด่าว่า ท่านจะวางใจต่อคนเหล่านั้นอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ตบตี
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาตบตีจะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ขว้างปาด้วยก้อนดิน
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาขว้างด้วยก้อนดิน จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ทุบตีด้วยท่อนไม้
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาทุบตีด้วยท่อนไม้ จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ฟันแทงด้วยศัสตรา
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาฟันแทงด้วยศัสตรา จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่เอาศัสตราอันคมฆ่าเสีย
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาเอาศัสตราอันคมปลิดชีพเสีย จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่า มีสาวกบางท่านเบื่อหน่ายร่างกายและชีวิตต้องเที่ยวหาศัสตรามาสังหารตนเอง แต่เราไม่ต้องเที่ยวหาเลย ก็ได้ศัสตราแล้ว
       พระผู้มีพระภาคประทานสาธุการ และตรัสว่า ท่านมีทมะและอุปสมะอย่างนี้ สามารถไปอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะได้
       พระโอวาทและแนวคิดของพระปุณณะนี้ เป็นคติอันมีค่ายิ่งสำหรับพระภิกษุผู้จะจาริกไปประกาศพระศาสนาในถิ่นไกล


       พระปุณณะกลับสู่แคว้นสุนาปรันตะแล้ว ได้ย้ายหาที่เหมาะสำหรับการทำกรรมฐานหลายแห่ง จนในที่สุดแห่งที่ ๔ ได้เข้าจำพรรษาแรกที่วัดมกุฬการาม ในพรรษานั้น น้องชายของท่านกับพ่อค้ารวม ๕๐๐ คน เอาสินค้าลงเรือจะไปยังทะเลอื่น ในวันลงเรือ น้องชายมาลาและขอความคุ้มครองจากท่าน ระหว่างทางเรือไปถึงเกาะแห่งหนึ่ง พากันแวะบนเกาะพบป่าจันทร์แดงอันมีค่าสูง จึงล้มเลิกความคิดที่จะเดินทางต่อ ช่วยกันตัดไม้จันทร์บรรทุกเรือจนเต็มแล้วออกเดินทางกลับถิ่นเดิม แต่พอออกเรือมาได้ไม่นาน พวกอมนุษย์ที่สิงในป่าจันทร์ซึ่งโกรธแค้น ได้ทำให้เกิดลมพายุอย่างแรงและหลอกหลอนต่างๆ น้องชายของพระปุณณะระลึกถึงพระพี่ชาย พระปุณณะทราบ จึงเหาะมายืนอยู่ที่หน้าเรือ พวกอมนุษย์ก็พากันหนีไป ลมพายุก็สงบ
       


พวกพ่อค้าทั้ง ๕๐๐ คน กลับถึงถิ่นเดิมโดยสวัสดีแล้ว ได้พร้อมทั้งภรรยาพากันประกาศนับถือพระปุณณะและถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ แล้วแบ่งไม้จันทร์แดงส่วนหนึ่งมาถวายท่าน พระปุณณะตอบว่า ท่านไม่มีกิจที่จะต้องใช้ไม้เหล่านั้น และแนะให้สร้างศาลาถวายพระพุทธเจ้า ศาลานั้นเรียกว่า จันทนศาลา เมื่อศาลาเสร็จแล้ว พระปุณณะได้ไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จมายังแคว้นสุนาปรันตะ พร้อมด้วยพระสาวกจำนวนมาก ระหว่างทางพระผู้มีพระภาคทรงแวะหยุดประทับโปรดสัจจพันธดาบส ที่ภูเขาสัจจพันธ์ก่อนแล้ว นำพระสัจจพันธ์ ซึ่งบรรลุอรหัตตผลแล้วมายังสุนาปรันตะ และประทับที่จันทนศาลา ในมกุฬการาม ๒-๓ วัน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้าน แล้วทรงเดินทางกลับ ระหว่างทางเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำนัมมทา ได้แสดงธรรมโปรดนัมมทานาคราช นาคราชขอของที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานั้น จากนั้นเสด็จต่อไปถึงภูเขาสัจจพันธ์ ตรัสสั่งพระสัจจพันธ์ให้อยู่สั่งสอนประชาชน ณ ที่นั้น พระสัจจพันธ์ทูลขอสิ่งที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ภูเขานั้นด้วย อันนับว่าเป็นประวัติการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาท
       เหตุการณ์ที่เล่านี้เกิดขึ้นในพรรษาแรกที่พระปุณณะกลับมาอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะ และท่านเองก็ได้บรรลุอรหัตตผลในพรรษาแรกนั้น เช่นกัน ท่านพระปุณณเถระบำเพ็ญจริยาเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนสืบมาจนถึงปรินิพพาน ณ แคว้นสุนาปรันตะนั้น ก่อนพุทธปรินิพพาน

http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%D8%B3%B3%CA%D8%B9%D2%BB%C3%D1%B9%B5%D0
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 20:23

แคว้นอะไรที่คุณสมุน 007 พูด   ถ้ายังหาพิกัดไม่ได้   เพราะอาจจะอยู่ตรงไหนก็ได้ตั้งแต่จ.เพชรบุรี จนถึงบังกลาเทศก็ได้นี่   ดิฉันว่ามันเลื่อนลอยพอๆกับไม่มีจริงละค่ะ
อีกอย่าง ถ้าแคว้นนี่อยู่นอกมัธยมประเทศมาทางด้านตะวันตก  มันจะมาอยู่แถวเอเชียอาคเนย์ได้ยังไงล่ะคะ

ถ้าเรายึดเอาตามในพระไตรปิฎก จะมีการแบ่งเป็น มัธยมประเทศ แล้วก็เขตที่เลยมัธยมประเทศออกไปซึ่งมีทั้งทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกครับ

ที่ผมบอกว่ามีสิทธิมาถึงเพชรบุรีบ้านเราได้ เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีว่า บ้านเราขุดพบตะเกียงโบราณของอียิปต์ ร่วมสมัยเดียวกับปโตเลมีครับ นั่นก็แสดงว่า บ้านเราก็มีคนมาค้าขายด้วยนานแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนจะมีการจดบันทึกกันอย่างจริงจังในสมัยสุโขทัยครับ

ดิฉันหมายความว่าถ้าเอามัธยมประเทศในอินเดียเป็นศูนย์กลาง  ถ้าวัดไปทางตะวันตก  มันก็ต้องไปทางปากีสถานน่ะซีคะ  ไม่ใช่มาทางไทย
ถ้ามาทางตะวันออก ก็จะเจอบังกลาเทศและพม่า ขวางอยู่ก่อนมาถึงไทย


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 22:13


ดิฉันหมายความว่าถ้าเอามัธยมประเทศในอินเดียเป็นศูนย์กลาง  ถ้าวัดไปทางตะวันตก  มันก็ต้องไปทางปากีสถานน่ะซีคะ  ไม่ใช่มาทางไทย
ถ้ามาทางตะวันออก ก็จะเจอบังกลาเทศและพม่า ขวางอยู่ก่อนมาถึงไทย

โอ้ ขออภัยด้วยครับ ผมผิดเอง จำทิศสับสนครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง