เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 35756 สิบสี่ตุลาครานั้น กับความทรงจำของแต่ละท่านในเรือนไทย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12532



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 07:30

๏ ยิ้ม  แย้มยืนหยัดเย้ย  เผด็จการ
   สุท  สู้อย่างกล้าหาญ  ก่อนม้วย    
   ธา  ราแห่งวิญญาณ   จะไปสู่        
   ชัย  ชนะที่สุดด้วย     ปล่อยสิ้นงานการ ๛    

เพื่อนหรินทร์เขียนไว้ให้เพื่อนยิ้ม
อ่านแล้วอิ่มใจรำลึกนึกความหลัง
ภราดรจากไปเศร้าใจจัง
แต่ก็ยังภูมิใจมีเพื่อนดีเอย

เพื่อนอีกคนหนึ่งของอาจารย์ยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

"อาลัย...ยิ้ม"

เมื่อวาน...ทราบข่าวแล้วใจหาย...
เห็นสื่อรายงานว่า...
อาจารย์ "สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ" นักวิชาการ "เสื้อแดง" เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งแล้ว....
พร้อมรายงานประวัติสรุปความได้ว่า...อาจารย์สุธาชัย เข้าป่าขณะเรียนอยู่ปี ๓ ธรรมศาสตร์ช่วงเหตุการณ์  ๖ ตุลา ๑๙  ออกจากป่ามาศึกษาต่อจนจบปริญญาตรี ด้านประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้ปริญญาโทอักษรศาสตรมหาบัณฑิต เอกประวัติศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก็ไปเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ที่นั่น จนสุดท้ายได้ทุนจุฬาไปเรียนต่อจนจบปริญญาเอก สาขา Portuguese History จาก UNIVERSITY OF BRISTOL

หลายคนในแวดวงสื่อและผู้สนใจการเมือง...
ล้วนเรียกอาจารย์สุธาชัยว่า "อาจารย์ยิ้ม"....
แต่สำหรับผม...ผมเรียกอาจารย์สุธาชัยว่า "ยิ้ม" เฉย ๆ
เพราะ "ยิ้ม" กับผม ไม่ใช่ "ยิ้ม" แค่คนรู้จักกันผิวเผินทั่วไป
แต่รู้จักกันมาตั้งแต่เรียนมัธยมด้วยกันที่ "สวนกุหลาบ"...!
และพบเจอ..กอดคอ..ตั้งวง...สนทนา..ด้วยรอยยิ้มฉันท์ "เพื่อน" กันมาสม่ำเสมอ....
โดยเฉพาะในงาน "เลี้ยงรุ่น"...
เกือบจะเรียกได้ว่า แทบไม่มีครั้งไหนที่ไม่ได้เจอกัน!....

"ยิ้ม" จะใส่เสื้อสีอะไรไม่สำคัญ
เพราะในสายตาผม...!
"ยิ้ม" คือเพื่อนคนหนึ่งที่มีความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง
"ยิ้ม" ไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนผม
และผมก็ไม่จำเป็นต้องคิดเหมือน "ยิ้ม"
แต่ผมกับ "ยิ้ม" รักกัน! และเป็นเพื่อนกันได้...
เพราะเราไม่ได้เอาความคิดต่างมาเป็นอุปสรรคกีดกันความผูกพันของความเป็นเพื่อน....!
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12532



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 07:47

วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐...
หลังงานมุทิตาจิตท่านอาจารย์สวนกุหลาบที่โรงแรมเอเซีย...
ผมจึงชักชวนเพื่อนสวนกุหลาบรุ่นเดียวกับ "ยิ้ม" ได้สองสามคน
ถือโอกาสแวะไปเยี่ยม "ยิ้ม" ที่โรงพยาบาลจุฬา ด้วยความเป็นห่วง เพราะทราบข่าวว่ายิ้มป่วย...!!!
เห็นหน้าผมกับเพื่อน ๆ วันนั้น...
รู้เลยว่า "ยิ้ม" ดีใจมาก....!
เรานั่งสนทนากันนาน....
"ยิ้ม" ทวนความหลังกับผมหลายเรื่อง...ตั้งแต่สมัยเรียนสวนกุหลาบด้วยกัน จนจากไปเรียนที่โปรตุเกส และบอกว่า..ตั้งใจจะเขียนหนังสือทางวิชาการให้จบอีกสักเล่ม
คือ..."ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองโปรตุเกส"
ซึ่งหาคนรู้ลึกเรื่องนี้ได้น้อยมากในประเทศไทย!
วันนั้น...เราสัญญากันไว้ ๒ เรื่อง...
เรื่องที่หนึ่ง..หากเขียนจบแล้วตีพิมพ์  ก็จะมอบหนังสือเป็นของขวัญให้ผมกับเพื่อนที่ไปเยี่ยมคนละเล่ม...
สอง...รูปที่ถ่ายกันไว้วันนั้นขออย่าให้เอาไปเผยแพร่...
เพราะไม่อยากให้ใครเห็น ..!
ด้วยไม่อยากกวนใครให้ต้องมาเยี่ยม...

จากกันวันนั้น.....
ผมสัญญากับ "ยิ้ม" ว่าจะกลับไปเยี่ยม "ยิ้ม" อีก....
แต่สุดท้าย..ก็ยังไม่ได้ทำตามสัญญา ด้วยภารกิจและเพราะคิดไม่ถึงว่า...วันนี้จะมาเร็ว!!!!
ผมและเพื่อน ๆ หลายคน...แสดงความเสียใจไปกับครอบครัวของ "ยิ้ม"...
วันนี้...ก็ตั้งใจว่าจะไปทำบุญและร่วมพิธีสวดพระอภิธรรมให้ "ยิ้ม" ที่วัดหัวลำโพง...
เพียงแต่มีหนึ่งข้อที่จะขอจาก "ยิ้ม" ...คือ...
ขอละเมิดคำสัญญาที่เอา "ภาพ" นี้มาลง แม้ไม่เคยได้รับอนุญาต...!
แต่ด้วยเชื่อว่า..มาถึงวันนี้...
แม้ "ยิ้ม" ยังมีชีวิตอยู่ก็คงไม่ว่ากระไร...
เพราะ "ยิ้ม" คงไม่อาจกวนใครไปเยี่ยมที่โรงพยาบาลได้อีกแล้ว...
แต่"ภาพ"นี้....
อย่างน้อย...
จะเป็นภาพเดียวที่เหลืออยู่...
ที่จารึก "รอยยิ้ม..มิตรภาพ..และความผูกพันของความเป็นเพื่อน" ระหว่างผมกับ "ยิ้ม"
ก่อนวาระสุดท้ายที่ไม่มี "เพื่อน" คนไหนอยากให้มาถึง...!!!

        จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
         ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐

https://www.facebook.com/157659344260788/posts/1921981801161858/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33416

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 10:23

เผื่อลูกหลานรังเกียจเผด็จการ
คอลัมน์ "อ่านเอาเรื่อง" โดย "ผักกาดหอม"
ไทยโพสต์
16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 00:01 น.

   ก็สงสัย...
    มีข่าวเล็กๆ บอกว่า
    ......วันที่ ๑๔ ตุลาคม ครบรอบ ๔๕ ปี ของการลุกขึ้นสู้อำนาจเผด็จการทหาร หลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยมีการจัดกิจกรรมรำลึก โดยเฉพาะที่อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ในวันที่ ๑๔-๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖
    มีภาพเหตุการณ์น่าสนใจ โดยเป็นการรำลึกของ ผศ.ดร.วินัย ผลเจริญ อาจารย์วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม ที่ได้จุดเทียนรำลึกเหตุการณ์คนเดียว โดยในภาพมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบยืนดูอยู่ใกล้ๆ มีผู้แชร์ภาพดังกล่าวต่อเป็นจำนวนมาก
    “สืบสานเจตนารมณ์ ๑๔ ตุลา ทำกิจกรรมคนเดียว มี ๓ คนในครอบครัวช่วยดูและถ่ายรูปให้ พอจุดเทียนเสร็จก็พูดบอกลูกชาย ซึ่งเกิดวันที่ ๑๔ ตุลา ให้รู้ความสำคัญของ ๑๔ ตุลา ในประวัติศาสตร์ไทย เผื่อลูกจะได้รักประชาธิปไตยและรังเกียจเผด็จการ” ผศ.ดร.วินัย ระบุ.....
    ที่บอกว่าแปลกใจคือ ทำไม ผศ.ดร.วินัย ต้องรำลึกคนเดียว
    ทำไมต้องมีตำรวจไปยืนล้อมราวกับว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และใครเรียกมา
    ๑๔ ตุลา เป็นประวัติศาสตร์ร่วมของคนทั้งชาติ
    หลายที่ในประเทศไทยมีการจัดงานรำลึกเป็นปกติเช่นทุกปี
    คนใน คสช.ก็ไปรำลึกกับเขาด้วย
    ฉะนั้นภาพที่สื่อออกมาจึงสงสัยว่า จะบอกอะไรกับสังคม
    ๑๔ ตุลา ๖ ตุลา พฤษภาทมิฬ เป็นประวัติศาสตร์ที่ปราศจากข้อสงสัยว่านั่นคือการต่อสู้ระหว่างนักศึกษา ประชาชน กับเผด็จการทหาร
    มีประเด็นที่นักวิชาการต้องไปตีให้แตกว่า ทำไมคนที่สนับสนุน คสช.จำนวนมาก ถึงรำลึกเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา
    มีจุดต่างอะไรที่ทำให้ คสช.ไม่ถูกเหมารวมไปอยู่ในกลุ่มเผด็จการในอดีต
    ในทางกลับกัน
    กลุ่มนักศึกษายุค ๑๔ ตุลา หลายคนเป็นระดับแกนนำ เคยเข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่มีจีนหนุนหลัง เคยต่อต้านทุนนิยม ต่อต้านอเมริกา
    มาวันนี้หลายคนเป็นส่วนหนึ่งของทุนนิยมเสียเอง
    ที่สำคัญเป็นฟันเฟืองให้กับระบอบทักษิณ มีส่วนรวมในการโกงกินประเทศ
    และหลายคนโปรอเมริกา เชิดชูประชาธิปไตย แต่ยังสร้างภาพกอดหนังสือมาร์กซ์ เลนิน
    ถ้าอ้างว่าการเมืองมีพลวัต นักวิชาการควรไปวิจัยให้ชัดว่า ครั้งหนึ่งทำไมคนเกลียดถนอม ณรงค์ ประภาส มาวันนี้ถึงได้สนับสนุนประยุทธ์
    ทหารเหล่านี้มีความเหมือน ความต่างตรงไหน
     เช่นเดียวกัน ควรวิเคราะห์ให้เห็นภาพว่า หากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย สามารถเปลี่ยนประเทศไทยเป็นคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ วันนี้ สิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตย ที่โหยหาจะอยู่ในมือประชาชนจริงหรือไม่
    ครับ...แค่อยากจะคุยในสิ่งที่คนไม่อยากคุย เพราะไม่อยากพูดถึงและค้นหาความจริง.


https://www.thaipost.net/main/detail/19984
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12532



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 12:05

คนใน คสช.ก็ไปรำลึกกับเขาด้วย

ความย้อนแย้งในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๑  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12532



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 12:34

ว่าด้วยเรื่องคอมมิวนิสต์

๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

เมื่อ ๔๕ ปีก่อน
ผมยังอยู่ ป.๔โรงเรียนแม่คำประชานุเคราะห์ อ.แม่จัน จ.เชียงราย
ไม่รู้หรอกว่าเกิดอะไรที่กรุงเทพฯ
จำได้ว่า"กลัวคอมมิวนิสต์"สุด ๆ
จำได้ว่าชอบอ่านวารสาร"เสรีภาพ"
จำได้ว่าฟังวิทยุ ๙๑๔ กรป.กลาง
จะว่าไปผมก็คือเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อ
ที่วางแผนและจัดการโดยรัฐและอเมริกา
จะว่าไปผมก็คือคนที่เหลืองสุด ๆ

แล้ว ๔๕ ปีผ่านไป
ทำไมผมถึงไม่กลัวคอมมิวนิสต์อีกแล้ว
ผมคิดว่าเพราะผมรู้จักคอมมิวนิสต์มากขึ้น
ผมรู้จักรัฐไทยมากขึ้น
ผมรู้จักอเมริกามากขึ้น
และที่สำคัญ ผมรู้จักใครต่อใครอีกหลายคนมากขึ้น
ผมถึงได้ตระหนักว่า ผมถูกหลอกให้กลัว

มาวันนี้ผมเชื่อว่า คนรุ่นใหม่จะไม่ถูกหลอกง่ายอย่างผม
เพราะเขาเข้าถึงโลกได้ง่ายและกว้างกว่าผม
มาวันนี้ อย่าคิดว่าควบคุมการสื่อสารของรัฐไว้หมด
อย่าคิดว่าปิดปากฝ่ายตรงข้ามไว้หมด
แล้วหลอกประชาชนได้
ผมเชื่อว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า
คนรุ่นใหม่จะออกมาใช้สิทธิ์กันมาก
นั่นจะเป็นการให้"บทเรียน"แก่พวกคนแก่ ๆ
ที่ชอบหลอกลวง

สมฤทธิ์ ลือชัย
นักวิชาการอิสระด้านอุษาคเนย์ศึกษา

https://www.facebook.com/1205225461/posts/10214744447823881/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33416

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 13:04

ปาฐกถาวาระ 45 ปี 14 ตุลาคม หัวข้อ “ประชาธิปไตยกับความท้าทายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย”
 โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ
ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา


ท่านผู้มีเกียรติและเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในวัยเยาว์ทุกท่าน

ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ทางมูลนิธิ 14 ตุลา ไว้ใจให้ผมกล่าวปาฐกถาเรื่อง “ประชาธิปไตยกับความท้าทายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย” ทั้งที่ผมมีประสบการณ์ในหัวข้อนี้แค่ “ครึ่งเดียว” เพราะ 30 กว่าปีบนเส้นทางอาชีพ ผมมีโอกาสคลุกคลีในงานด้านเศรษฐกิจอยู่บ้าง แต่ในเรื่องการเมืองแล้วนับว่ายัง “ละอ่อน” อยู่มากเทียบไม่ได้กับหลายท่านในที่นี้

เมื่อได้รับการทาบทาม ผมพยายามศึกษาปาฐกถาของท่านอื่นที่เคยมาพูดบนเวทีแห่งนี้ซึ่งล้วนเป็น “ผู้คร่ำหวอด” ในวงการทั้งสิ้น แต่ละท่านได้ให้มุมมองที่ลุ่มลึก ชวนให้ขบคิดถึงความเป็นไปของบ้านเมืองในมิติต่างๆ จนผมอดกังวลไม่ได้ว่า การบ้านที่จะส่งในวันนี้จะทำได้สมความคาดหวังของผู้ฟังหรือไม่? แต่ก็ขอให้เบาใจได้ว่า ผู้พูดตั้งใจว่าจะพยายามอย่างเต็มที่ ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่ติดตามพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองด้วยความห่วงใย

เวลาผ่านไปไวมาก แทบไม่น่าเชื่อว่า ปีนี้เป็นปีที่ 45 ของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่นิสิต นักศึกษา และประชาชน รวมพลังเรียกร้องประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ และได้สร้าง “ต้นกล้า” และขยาย “หน่ออ่อน” ของมวลชนผู้รักเสรีภาพและประชาธิปไตยจำนวนมาก

มองย้อนกลับไป ผมยังจำภาพที่พวกเราหลายคนในที่นี่ออกมาเรียกร้อง “รัฐธรรมนูญ” ด้วยความหวังที่อยากเห็นบ้านเมืองก้าวไปสู่สังคมที่พึงปรารถนา อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ท่ามกลางสายฝน ตามด้วยแดดที่ตากเนื้อตัวจนแห้ง และหลับไปพร้อมกับความอ่อนเพลีย จนถึงรุ่งเช้าที่ตื่นมาพบกับการปิดล้อมของตำรวจบนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยข้างหน้านี้ เพราะเชื่ออย่างเต็มหัวใจว่า “ถ้าได้รับรัฐธรรมนูญ ประเทศจะเป็นประชาธิปไตย แล้วปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไข”
ฯลฯ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33416

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 13:10

  เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เป็นตัวอย่างที่ผลจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้าทำให้มี “ชนชั้นกลาง” ที่สนใจปัญหาสังคมและการเมืองมากขึ้น และช่วงนั้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาความเหลื่อมล้ำชัดเจน สร้างความไม่พอใจจนนำไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตยให้มีการเปิดกว้างทางการเมือง ซึ่งคล้ายกับ กรณี Arab Spring ในตะวันออกกลาง โดยปัจจัยที่เป็นตัวเร่งสำคัญ คือ ชนชั้นกลางที่มาพร้อมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความต้องการเสรีภาพมากขึ้น หรือแม้แต่ประเทศจีน ที่คาดกันในวงกว้างว่า การขยายตัวของชนชั้นกลางอย่างรวดเร็ว จะเป็นความท้าทายสำคัญต่อระบอบการปกครองในปัจจุบัน

   .............................

   มองย้อนกลับไปอาจกล่าวได้ว่า ในช่วงหลังตุลา 2516 จนเหตุการณ์พฤษภา 2535 เป็นช่วงที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ระบอบ ‘ประชาธิปไตย’ ที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งเป็นรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศไทย นำมาสู่การผลักดันรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด จนมีการเรียกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”
  
     แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ฉันทามติร่วมกันของคนในสังคมที่ว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบการเมืองที่จะนำพาประเทศไปสู่สังคมที่พึงปรารถนานั้น เริ่มไม่ชัดเจน

    ท่ามกลางปัญหาการเมืองภายในประเทศกว่าสิบปี คนไทยจำนวนไม่น้อยอาจรู้สึกกังวลใจ และหดหู่กับสภาวะบ้านเมืองที่แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย และคนไทยอีกจำนวนไม่น้อยก็อาจรู้สึกอึดอัดที่เหมือนถูกบังคับต้องให้เลือกข้าง ระหว่างข้างหนึ่งที่เชื่อว่า ประชาธิปไตยยังเป็นคำตอบของประเทศและอีกข้างที่อาจเริ่มเสื่อมศรัทธากับประชาธิปไตย เพราะเห็นว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเปิดโอกาสให้นักการเมืองที่ขาดความรับผิดชอบเข้ามากุมอำนาจรัฐ มีการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ในลักษณะเผด็จการทางรัฐสภาที่อ้างเสียงส่วนใหญ่จากประชาชน
   ..........................................

    ถ้ามองกว้างขึ้นในบริบทการเมืองโลก ผู้คนทั่วโลกจำนวนไม่น้อยตั้งคำถามในทำนองเดียวกันว่า ประชาธิปไตยสิ้นมนต์ขลังแล้วหรือ?

    นิตยสาร Economist ขึ้นปกหน้าว่า What has gone wrong with democracy? หรือ ประชาธิปไตยขณะนี้เกิดความบิดเบี้ยวที่จุดใดกันแน่?

     งานวิจัยของ Roberto Stefan Foa และ Yascha Mounk ชี้ว่า ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนคนในสหรัฐและยุโรปเห็นว่า “ผู้นำที่เข้มแข็งมีความสำคัญ โดยไม่สนใจว่า ผู้นำคนนี้จะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่” เพิ่มสูงขึ้น สะท้อน “ความเชื่อมั่นต่อประชาธิปไตยลดลง”

     นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งในสหรัฐและอิตาลีที่นักการเมืองซึ่งเสนอนโยบายประชานิยมที่ไม่รับผิดชอบกลับได้รับชัยชนะ หรือผลการทำประชามติ Brexit ที่คนส่วนใหญ่ต้องการเห็นอังกฤษถอนตัวจากสหภาพยุโรป ในขณะที่คนจำนวนไม่น้อยคิดว่า อาจไม่ใช่ choice ที่ดีที่สุด ก็สะท้อน “ศรัทธา” ของชาวโลกที่มีต่อประชาธิปไตยลดลง

        .........................................

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33416

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 13:12

   เมื่อพูดถึงประชาธิปไตย คำที่มักมาคู่กันคือ รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้ง ที่อาจทำให้หลายคนรวมทั้งตัวผมเองเคยเข้าใจผิดว่า ประชาธิปไตยคือการมีการเลือกตั้งหรือรัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นเช่นนั้น รัสเซียซึ่งมีทั้งสองอย่างก็คงเป็นประเทศประชาธิปไตย กล่าวอีกนัยหนึ่ง แม้รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งจะสำคัญแต่เป็นแค่ ‘วิธีการ’ หรือ “means” ที่จะช่วยนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่ใช่ ‘เป้าหมาย’ หรือ “ends” ในตัวเอง

     อดนึกถึงตัวเองเมื่อสมัยปี 2516 ไม่ได้ ตอนนั้นในวัย 20-21 ปี ไม่ได้มีความรู้ กำลังหรือแม้แต่อุดมการณ์อะไร ในด้านหนึ่งก็มีความตั้งใจบริสุทธิ์ อยากเห็นบ้านเมืองก้าวหน้า แต่อีกด้านก็ naïve หรือไร้เดียงสา ตอนนั้นได้แต่อ้างว่า ต้องมีรัฐธรรมนูญ ต้องมีการเลือกตั้ง เพราะเชื่อว่า “ถ้าได้รับรัฐธรรมนูญ ประเทศจะเป็นประชาธิปไตย แล้วปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไข” ซึ่งโลกความจริง ไม่ได้เป็นแบบนั้น

      45 ปีให้หลังมองย้อนกลับไป รู้สึกว่าเราไร้เดียงสามาก เพราะแม้จะมีรัฐธรรมนูญแล้ว มีผู้แทน มีการเลือกตั้ง แต่ปัญหาของบ้านเมืองหลายเรื่องไม่ได้น้อยลง แต่กลับเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำไป แต่จะว่าไปความไร้เดียงสาใช่จะเลวร้าย เพราะตอนนั้นหากคิดมากไป คงไม่กล้าทำอะไร
      เพียงแต่ในชีวิตจริงปัญหาซับซ้อนมากกว่าที่เราคิด เช่น เผด็จการมาได้หลายรูปแบบ ไม่เฉพาะทหารอย่างเดียว อาจมาในรูปแบบที่แยบยลไม่น้อยกว่ากัน อาทิ อำนาจในเชิงเศรษฐกิจ หรือความได้เปรียบทางสังคม การมีส่วนร่วมในเรื่องประชาธิปไตยนั้น จะดูเชิงปริมาณอย่างเดียวไม่ได้หาก ต้องเชิงคุณภาพด้วย

      ตัวที่สะท้อนความซับซ้อนได้ดีอย่างหนึ่งคือ ตอนนี้เฉพาะคนเดือนตุลาคม ก็มีความคิดแตกต่างกันมาก หลายคนยืนอยู่คนละขั้ว สะท้อนว่าปัจจุบันปัญหาซับซ้อนและไม่ง่ายเหมือนปี 2516
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33416

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 13:17

   ผมคิดว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าประเทศยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในระดับสูง การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทั้งมิติทางเศรษฐกิจ และมิติด้านโอกาสที่เท่าเทียมในด้านสังคม ถือเป็นเรื่องสำคัญในลำดับต้นๆ ที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ไขให้ดีขึ้น ถ้าอยากเห็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในสังคม

อย่างไรก็ดี ถ้าเทียบกับสมัย 14 ตุลา ผมคิดว่าปัจจุบันฐานของคนชั้นกลางที่เข้าใจและสนใจความเป็นไปของบ้านเมืองกว้างขึ้นมาก พัฒนาการทางเศรษฐกิจในสี่ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้เกิดคนชั้นกลางในชนบทจำนวนมาก ซึ่งถ้ามองในแง่นี้ก็จะมีกำลังใจว่า ประชาธิปไตยมีโอกาสจะลงหลักปักฐานมากกว่าเมื่อก่อน

และถ้าเหตุการณ์ 14 ตุลา เตือนให้ผู้มีอำนาจทราบถึง การเกิดขึ้นและความต้องการของชนชั้นกลาง การเรียกร้องของพ่อแม่พี่น้องจากชนบทช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นสัญญาณเตือนว่า เราต้องมีพื้นที่ให้พ่อแม่พี่น้องเหล่านี้มากขึ้น อันที่จริงฐานของคนชั้นกลางในชนบทที่กว้างขึ้นถือเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะหมายถึงฐานอันมั่นคงของประชาธิปไตยในอนาคต

................................
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33416

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 13:20

  พระไพศาล วิสาโล ได้ให้ความเห็นไว้อย่างแตกฉานในปาฐกถา 14 ตุลาเมื่อหลายปีก่อนว่า

“สถานการณ์บ้านเมืองที่เผชิญอยู่ ไม่ใช่ผลพวงของการต่อสู้ของคนไม่กี่คน หรือคนในระดับชั้นนำเท่านั้น หากเป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในประเทศที่มีการสั่งสมต่อเนื่องมานาน รวมทั้งผลปัจจัยจากสถานการณ์โลก

การมุ่งเน้นที่จะจัดการปัญหาในระดับบุคคล ไม่ว่าพูดคุย ประนีประนอม หรือแม้แต่กำจัดตัวบุคคลไปเลย วิธีการดังกล่าวไม่ช่วยแก้ปัญหา ตราบใดที่มองข้ามปัจจัยที่ใหญ่กว่านั้นคือ การเปลี่ยนที่ทั้งภายในและภายนอกที่ทำให้ประเทศไทยอยู่กับที่ไม่ได้ หากต้องปรับกติกาทั้งในแง่ความสัมพันธ์ของการจัดสรรอำนาจ และ การเปิดพื้นที่ให้รองรับคนกลุ่มใหม่ที่กว้างขึ้น เช่นเกิดขึ้นในช่วงหลัง 14 ตุลาคม”
   ..............................


อ่านปาฐกถาฉบับเต็มได้ที่

https://thaipublica.org/2018/07/prasarn_democracy-and-ec-challenging-in-thailand-1/

และ

https://thaipublica.org/2018/07/prasarn_democracy-and-ec-challenging-in-thailand-2/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12532



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 01 พ.ย. 18, 10:18

ช่วงนี้ ถ้าพูดถึงเรื่องเพลงคงไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อเพลง ประเทศกูมี เพลงนี้กล่าวถึงปัญหาของประเทศชาติในหลายด้าน รวมทั้งเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่บางคนอยากให้ลืม แต่บางคนอยากจะจำ  ลังเล

พลโทคงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานอนุกรรมประชาสัมพันธ์การสร้างความปรองดอง ตั้งข้อสังเกตเจตนาของผู้จัดทำเพลงทำไมถึงหยิบยกเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ที่มีภาพการนำเก้าอี้ฟาดศพ มาเป็นฉากหลัง ที่สื่อให้คนดูถึงความสะใจและรุนแรง จึงขอให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบว่า สะท้อนความรุนแรงในสังคมหรือมีกลุ่มใดต้องการปลุกกระแสนำไปขยายความต่อหรือไม่ ส่วนตัวไม่สนใจเนื้อหา แต่ตนเองตั้งข้อสังเกตฉากหลังภาพที่สื่อออกไปมากกว่า พร้อมขอให้พิจารณาการใช้ประโยชน์จากเพลงนี้ ซึ่งในปัจจุบันเราพยายามลดความขัดแย้งในสังคมลงเพื่อสร้างความสามัคคี มติชน

นายธีระวัฒน์ รุจินธรรม ผู้กำกับวิดีโอประกอบเพลง "ประเทศกูมี" บอกกับบีบีซีไทยว่า

"เดิมทีผมไม่คิดว่าเขาจะสนใจ เป็นเสียงของพลเมืองกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเอง ที่คิดว่ามีความจริงที่จะพูด อย่างที่ผมทำในมิวสิค (จำลองเหตุการณ์ ๖ ตุลา) มันก็เป็นความจริงในประวัติศาสตร์ ก็ไม่คิดว่าเขาจะซีเรียสอะไรขนาดนั้น คิดว่าเขามีอะไรที่ต้องทำเยอะ" บีบีซี

มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน มองดูความจริงซิชั่วดีโปรดเตือน ตายสิบเกิดแสน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33416

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 01 พ.ย. 18, 11:51

มันจะใกล้การเมืองปัจจุบันเข้าไปทุกทีแล้วนะคะ   ไม่ใช่จุดประสงค์ของเรือนไทย
ขอจบกระทู้แค่นี้เถอะค่ะ
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 10:46

กระทู้อันเลอค่า น่าเสียดายที่ตั้งมาก่อนพระองค์ท่านสวรรคตเพียงไม่กี่ัวัน

https://pantip.com/topic/35662307
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12532



ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 06 ต.ค. 19, 09:42

ร่วมรำลึก ๔๓ ปี เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5781.msg158840#msg158840
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5781.msg165461#msg165461
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12532



ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 14 ต.ค. 19, 11:07

ร่วมรำลึก ๔๖ ปี เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ
เป็นความงดความงามใช่ความชั่ว
มันอาจขุ่นอาจข้นอาจหม่นมัว
แต่ก็เริ่มจะเป็นตัวจะเป็นตน

พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า
ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน
พอปืนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล
ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย


จาก บทกวี "เพียงความเคลื่อนไหว" เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์



ณ วันนั้นนักศึกษายังกล้าแกร่ง
รวมพลังสำแดงทุกแห่งหน
ทรราชต้องหนีไกลดั่งไฟลน
ไทยทุกคนในวันนั้นพลันยินดี

ฤๅวันนั้นจะเป็นเพียงตำนาน
ที่เคยถูกกล่าวขานความยิ่งใหญ่
ค่อยค่อยถูกเวลาพรากให้จากไป
จะรออีกกี่สมัยได้กลับมา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง