เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 35989 สิบสี่ตุลาครานั้น กับความทรงจำของแต่ละท่านในเรือนไทย
chupong
พาลี
****
ตอบ: 316


 เมื่อ 09 ต.ค. 13, 14:46

เรียนท่านอาจารย์เทาชมพู รวมถึงท่านสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ณ เรือนไทยหลังงามทุกท่านครับ

   ก่อนจะขึ้นกระทู้ ผมต้องกราบขออภัยทุกท่านเป็นอเนกครับ ที่หาข้อมูลมาตั้งกระทู้
ท่านอัศนี พลจันทร ไม่ทันในเดือนกันยายน จากการศึกษาผ่านเว็บไซต์หลายแห่ง ชีวประวัติของท่าน ก็ไม่ต่างกันเท่าไร ส่วนข้อสงสัยของผมเรื่อง ทำไมงานของนายผีจึงมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆอายุของท่านก็ล่วงเข้าขั้นคุณปู่ ก็ได้คำตอบแล้วครับ มันเกี่ยวกับความเห็นแก่หมู่คณะ คับแคบอย่างร้ายกาจ ของ พคท. ซึ่งผมยิ่งเรียนรู้ไป ก็ยิ่งชิงชังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทู้นายผี จึงมิได้ตั้ง เพราะผมไม่สามารถหาประเด็นแตกต่างหรือโดดเด่นได้ครับ

   ทีนี้ เข้าสู่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ กันเลยครับ
   ตอนนั้น นายชูพงค์ยังไม่เกิดครับ หาก อาศัยคำบอกเล่าของคุณยาย น้าชายคนโตของผมก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับเขาด้วย ยายว่า ตอนเขายิงกันวันที่ ๑๔ นั่น โทรศัพท์ตามน้าเสียวุ่น คุณป้า (ลูกชายคนใหญ่ของคุณยาย) ละล้าละลังกว่าใครเพื่อน เนื่องจากห่วงน้องชาย แล้วน้าก็กลับมาครับ ปลอดภัยเรียบร้อย
ทุกประการ เหตุที่ไม่โดนอะไรกระทบกระเทือนแม้แต่น้อยนั้น ผมสัมภาษณ์น้า ท่านก็ตอบกลั้วหัวเราะ
   “ฉันกลับก่อนเขายิงกันโว้ย พอเขาประกาศปล่อยตัวสิบสามคนนั่น (ประมาณสองทุ่มกว่าๆของวันที่ ๑๓ ตุลาคม) ฉันก็แวะค้างบ้านเพื่อน รุ่งเช้า รู้ข่าวเขาซัดกันแล้ว วุ่นวายไปทั่วแหละ ไอ้ที่ฉันกลับถึงบ้านช้า ก็เพราะการจราจรมันโกลาหลไง”

   ครับ สำหรับผม ขาดประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับ ๑๔ ตุลา จึงประสงค์ถือโอกาสใกล้วันรำลึก
๔ ทศวรรษแห่งประพฤติเหตุดังกล่าว ชวนทุกๆท่านรื้อฟื้นความหลังกันครับ

   ขณะไฟเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ กำลังปะทุคุเดือด ท่านสมาชิกเรือนไทยแต่ละท่าน อยู่ที่ไหน ทำอะไร หรือรู้เห็นสิ่งใดบ้าง ขอท่านโปรดเมตตาเอื้อวิทยาทาน พลิกฟื้นประวัติศาสตร์ ปลูกฝังสติปัญญาให้กระผมผู้โฉดเขลาด้วยเถิดครับ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูงยิ่ง
ชูพงค์ ตรีวัฒน์สุวรรณ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33421

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ต.ค. 13, 16:25

ไม่สามารถจะเล่าเหตุการณ์ได้เลย  เพราะว่าอยู่ไกลบ้านเกิดเมืองนอนค่ะ   เชิญท่านอื่นเล่าให้คุณชูพงศ์ฟังดีกว่า
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1331


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ต.ค. 13, 17:51

สมัยนั้นผมยังไม่เกิดเหมือนกันครับ  ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ายังอยู่บนวิมานหรืออยู่บนยอดต้นงิ้ว  เจ๋ง  แต่แม่เล่าให้ฟังว่าแม่ผมก็ไปประท้วงที่ราชดำเนินกับเค้าด้วย ไม่ได้เป็นนักศึกษาอะไรกับเค้าแต่เลือดประชาธิปไตยแรง  ตอนเค้ายิงๆ กันยังวิ่งหนีกับเค้าด้วย ขาตกท่อไปข้างได้แผลกลับบ้านกันเลยทีเดียว   

เรื่องอื่นๆ ต้องถามผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆ ต่อ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
chupong
พาลี
****
ตอบ: 316


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ต.ค. 13, 18:05

กระผมขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์เทาชมพู ในฐานะ คนไทย ณ ต่างแดนตอนนั้น ครับ
 สำหรับต่างประเทศ เขาเสนอข่าว ๑๔ ตุลา ในประเทศไทยหรือไม่ มากน้อยเพียงใดครับ ผมคิดว่า สื่อฯ นอก คงให้ความสำคัญอยู่บ้างครับ

   สวัสดีครับ คุณประกอบ
   เรามาตามเก็บเกี่ยวประวัติศาสตร์ร่วมกันนะครับ สนุกดี ผมรออ่านคำบรรยายจากทุกๆท่านอย่างตั้งใจยิ่งครับ
 
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33421

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 ต.ค. 13, 18:19

การสื่อสารในยุคนั้นช้ากว่าเดี๋ยวนี้จนแทบจะเป็นคนละโลกกัน      แต่เราก็ได้อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาไทยจากแอลเอ ส่งมาที่โคโลราโดอีกที เล่าถึงเหตุการณ์บ้านเมือง   กว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรเรื่องก็จบลงไปแล้วค่ะ     
แต่อยู่อเมริกาก็ดีไปอย่าง ข่าวต่างๆไม่มีการเซนเซอร์  บางเรื่องก็รู้มากกว่าคนไทยเสียอีก   เช่นทีวีของอเมริกาเคยออกข่าวตีแผ่เรื่องการค้ายาเสพติดในไทย   ตั้งแต่คนไทยยังไม่รู้เลยว่ายาเสพติดเขาค้ากันในระดับไหน  ยังไง   

รู้ข่าวคราวจากไทยส่งมาถึงได้ก็ด้วยจดหมายเมล์อากาศประมาณ ๗ วันถึง  โทรศัพท์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องติดต่อยากและราคาแพงมาก   ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแล้วไม่มีใครอยากโทรกลับมาบ้าน      จำได้ว่าเพื่อนเขียนจดหมายไปเล่าว่ามีการยิงกราดจาก ฮ.ลงมาที่ถนนราชดำเนินด้วย      แต่ข่าวนี้ต่อมาก็ถูกปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง
จำอารมณ์ในขณะนั้นได้ว่า นักศึกษาเป็นฮีโร่ของประชาชน
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ต.ค. 13, 21:29

"มีการยิงกราดจาก ฮ.ลงมาที่ถนนราชดำเนินด้วย แต่ข่าวนี้ต่อมาก็ถูกปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง"

วันนั้น ๑๔ ตุลา ๑๖ เพื่อนบ้านข้างๆ รีบกลับมาจากบางลำพู มาเล่าให้ฟังว่าที่ราชดำเนินยิงกันใหญ่ มี ฮ. ยิงปืนกลกราดลงมายิงนักศึกษาด้วย

บันทึกการเข้า
Neepata
อสุรผัด
*
ตอบ: 24


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ต.ค. 13, 22:10

14  ตค หนูก็ยังไม่เกิด มารอด้วยคนค่ะ  แต่เคยไปอ่านหนังสือในห้องสมุดประชาชน ดูรูปนักศึกษาที่มาประท้วงและเสียชีวิตเป็นภาพขาวดำ  ภาพสะเทือนใจมากถึงจะเป็นขาวดำแต่ก็รู้ว่ามันร้ายแรงขนาดไหน แต่ยิ่งกลัวก็ยิ่งดู เป็นภาพหน้าตาแต่ละคนและภาพที่นอนกันเป็นแพ ทั้งที่เสียชีวิตและยกมือกุมท้ายทอย  มีทหารถือปืน และภาพทหารยิงคนวิ่งหนี  ทุกภาพเหมือนจะดึงคนอ่านเข้าไปอยู่ด้วย  ข้ามมาสมัยนี้ใครๆก็พูดถึงแต่ 14  ตค กลัวว่าจะเหตุการจะซ้ำรอย แต่ก็มีเหตุการณ์คล้ายๆกันช่วงที่ยังเด็ก  เป็นความสูญเสียที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น อาจารย์ที่สอนสมัยปวช. เล่าว่ามีรถเมล์ที่วิ่งไปเก็บศพจากเหตุการณ์ครั้งนั้น เมื่อมาให้บริการปกติ  คนที่ขึ้นรถรอบดึกมักจะเห็นมีผู้โดยสารเต็มคันรถนั่งกันนิ่งก็อุ่นใจมีเพื่อนแต่ที่จริงไม่มีใคร นอกจากคนขับกับกระเป๋ารถ    ขยิบตา      เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทำให้หนูเริ่มกลัวคำว่า  "ประชาธิปไตย"  ซะแล้ว รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
spyrogira
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 ต.ค. 13, 15:48

จำได้ว่า เรียนอยู่ชั้นประถม ยังบริจาคเงินค่าขนม สิบบาท ไว้เป็นทุนให้พี่นักศึกษาต่อสู้ ...
แต่กับเหตุการณ์ 6 ตค นั้น โหดร้ายกว่า ..

ใช้แทบเข้ามาอ่านครับ พิมพ์ยาก
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 316


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 ต.ค. 13, 18:18

เรื่องปืนที่ใช้สลายม็อบ ๑๔ ตุลาคมนั้น ผมได้ยินได้อ่านเหมือนกันครับคุณลุงไก่ สรุปกับตัวเองว่า ยิงมาจากสามแหล่ง

๑.   จากแถวทหารที่ยืนกันสลอน
๒.   จากบนรถถัง
๓.   จากเฮลิคอปเตอร์ปีกหมุน ผิดพลาดอย่างไร ขอท่านผู้รู้โปรดติติงแก้ไขด้วยเทอญครับ

เรียนคุณ Neepata ครับ ผมคิดว่า ความขัดแย้ง ไม่ว่าจะบ้านเมืองแห่งไหนย่อมมีเป็นปกติสามัญ เรื่องการชุมนุม การสลายฝูงชน ถ้าเรามองให้มันเป็นวัฏจักร ก็ธรรมดาครับ อย่ากลัวการเมืองเลยครับคุณ เพราะชีวิตเรา หลีกเลี่ยงไม่พ้นอยู่แล้ว ดูต่างแดนซีครับ ยุคปัจจุบันนี่แหละ บางประเทศยังฆ่ากันไม่เสร็จเลย

   ชโย ในที่สุด คุณ spyrogira
ก็สำแดงตนให้พวกเรารู้แล้วว่า ทันสิบสี่ตุลา ผมรอข้อความจากคุณ spyrogira เพิ่มเติม รวมถึงท่านอื่นๆด้วยครับ ตามอ่านทุกความเห็นด้วยใจระทึกครับผม ขออนุญาตจำกัดวงแค่ ๑๔ ตุลาก่อนดีกว่าครับ
   
   
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 ต.ค. 13, 20:55

เสียดายนะ ที่คุณชูพงษ์ไม่สามารถเห็นภาพทหารจากต่างจังหวัดที่ใส่หน้ากากกันแกสพิษ เพราะมีคำสั่งจากหน่วยเหนือที่เชื่อข่าวกรองว่าทางฝ่ายนักศึกษามีอาวุธเคมีหรืออาจจะมีการใช้แกสพิษต่อสู้กับฝ่ายทหาร

เรื่องของการยิงปืนจากรถถัง พอจะทราบมาบ้าง แต่ขออนุญาตยังไม่เล่าให้ทราบ

เรื่องการยิงปืนกลกราดลงจากเฮลิคอปเตอร์นั้น ถ้าพิจารณาย้อนกลับไปแล้ว คงจะไม่เป็นความจริงดังคำเล่าลือ คงจะเป็นเสียงใบพัดของเครื่อง เพราะถ้าเป็นความจริง คงจะตายกันมากกว่านี้หลายเท่านัก

จากความเห็นที่ ๖ ของคุณ Neepata ที่พูดถึงภาพนักศึกษานอนคว่ำหน้ากลางสนาม ผมคิดว่าภาพเหล่านั้นจะเป็นเหตุการณ์ของวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ครับ

คงไม่มีใครได้เคยเห็นภาพของทหารเรือนาวิกโยธินที่ได้รับคำสั่งให้ปิดกั้นที่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร ห้ามผู้เข้าร่วมชุมนุมออกจากพื้นที่ถนนราชดำเนิน และได้รับคำสั่งให้ยิงได้หากมีการฝ่าฝืน ไม่มีแม้แต่ในเวปไซท์ทั้งหลาย ในทางปฏิบัติ ทหารเรือนาวิกโยธินจะพยายามผลักดันผู้อยู่ในพื้นที่ทุกคนที่หนีออกมาทางสะพานพระปิ่นเกล้าให้ออกข้ามสะพานไปได้ทั้งหมด แต่จะปิดกั้นไม่ให้คนจากข้างนอกเข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุโดยเด็ดขาด

กล่าวกันง่ายๆ คือ ทหารเรือไม่ได้ใช้กระสุนเลยสักนัด



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12543



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 10:56

และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ
เป็นความงดความงามใช่ความชั่ว
มันอาจขุ่นอาจข้นอาจหม่นมัว
แต่ก็เริ่มจะเป็นตัวจะเป็นตน

พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า
ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน
พอปืนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล
ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย


จาก บทกวี "เพียงความเคลื่อนไหว" เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์



ณ วันนั้นนักศึกษายังกล้าแกร่ง
รวมพลังสำแดงทุกแห่งหน
ทรราชต้องหนีไกลดั่งไฟลน
ไทยทุกคนในวันนั้นพลันยินดี


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12543



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 13:49

โอ้ว่าหนุ่มสาวเอย

คึกคักหนักแน่นดังแผ่นผา
กลมเกลียวแกล้วกล้าสดใส
ฟันเฟืองฟาดฟันบรรลัย
กนกห้าสิบให้ชีวิตพลี

(สร้อย) เจ้าหนุ่มสาวเอย
เจ้าเคยแล้วหรือยัง (ซ้ำ)
ตายเพื่อสร้าง
ตายเพื่อสร้างเสรี  

มือเปล่าตีนเปล่าก้าวหน้า
ยอมให้เข่นฆ่าไปเป็นผี
ถือหลักศักดิ์สิทธิ์เสรี
พูดกันดีดีแล้วตั้งนาน

(สร้อย)

กดขี่ข่มเหงคะเนงร้าย
เผด็จการก้าวก่ายเสียทุกด้าน
ชาวนาเป็นศพกบดาน
ชาวบ้านเป็นซากยากจน

(สร้อย)

มือเปล่าตีนเปล่าห้าวหาญ
แกว่งกระบองคลุกคลานกลางถนน
นี่คือพลังของประชาชน
ทุกคนสืบเลือดบางระจัน

(สร้อย)

มาเถิดมาสร้างเมืองใหม่
สร้างประเทศเราให้เป็นสวรรค์
ใครมาข่มเหงรังแกกัน
ประชาชนเท่านั้นลุกฮือเอย

(สร้อย)


จาก "กล่อมวีรชน" สุจิตต์ วงษ์เทศแต่งให้วงดนตรีไทยเจ้าพระยา ทำนอง ตับพระลอเสี่ยงน้ำ ธันวาคม ๒๕๑๖



บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 316


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 15:03

ความรู้เสริม ตลอดจนความเห็นเชิงวิเคราะห์จากคุณลุงไก่ ช่วยเพิ่มรสชาติในการอ่าน และกระตุ้นให้ค้นคว้าต่อจริงๆครับ

   กราบขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูอย่างสูงยิ่งครับ ที่เมตตานำบทกวีมาแต่งประดับประดาสีสันให้แสนงาม ถ้าไม่รบกวนจนเกินไปแล้วหละก็ กระผมขอวิทยาทานจากคุณเพ็ญชมพูอีกสักบทได้ไหมครับ
บทกวีซึ่งขึ้นต้นว่า

“คลื่นลูกใหม่เริ่มท้าทะเลหลวง
รวีช่วงโชติฉายที่ชายผา ฯลฯ”
รู้ศึกจะท่านสนธิกานท์ กาญจนาสน์ นิพนธ์กระมังครับ ผมมีหนังสือชุด “ตุลาวรรณกรรม” อยู่ชุดหนึ่ง สถาบันวิชาการมูลนิธิสิบสี่ตุลา พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖
ในจำนวน ๓๐ เล่ม ของทั้งกล่อง มีรวมบทกวีคัดสรรอยู่ด้วยสองเล่มครับ บทกวีคัดสรรเล่มแรกนั่นเอง ทำให้ผมได้อ่านงานกวีบทนี้ แต่ ครั้นจะขอร้องให้คุณน้าท่านบอกจด ก็ทำมิสำเร็จ เพราะหนังสือเล่มนั้น พิมพ์ผิดบ้าง พิมพ์ตกบ้าง บางตำแหน่งก็ยากจะเดาได้ว่าที่ถูกต้องควรเป็นคำไหน  (ชะรอย
“ตุลาวรรณกรรม” คงทำกันรีบร้อนไปหน่อย) ขอคุณเพ็ญชมพู โปรดกรุณาอนุกูลด้วยเถิดครับ
   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12543



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 15:45

กระผมขอวิทยาทานจากคุณเพ็ญชมพูอีกสักบทได้ไหมครับ
บทกวีซึ่งขึ้นต้นว่า

“คลื่นลูกใหม่เริ่มท้าทะเลหลวง
รวีช่วงโชติฉายที่ชายผา ฯลฯ”
รู้ศึกจะท่านสนธิกานท์ กาญจนาสน์ นิพนธ์กระมังครับ

คลื่นลูกใหม่

คลื่นลูกใหม่เริ่มท้าทะเลหลวง
รวีช่วงโชติฉายที่ชายผา
เงาทะมึนของทมิฬสวมวิญญาณ์
คำรามบ้าคำรนร้องก้องแผ่นดิน

คลื่นลูกใหม่ประจัญหน้าทะเลหลวง
ไล่ทะลวงโขดเขินและเนินหิน
รณรงค์จนฟ้าน้ำตาริน
ทัพทมิฬบ้าคลั่งก็พังครืน

เหลือเลือดเนื้อซากศพกลบความเจ็บ
ทำลายเล็บเนื้อก็ช้ำแต่จำฝืน
เพื่อเสรีนิรันดร์อันยาวยืน
พิทักษ์พื้นทะเลหลวงของปวงชน

รวีโชติช่วงฉายที่ชายผา
คือสัญญาสยามแจ้งทุกแห่งหน
ขับความมืดความกลัวความมัวมน
บนถนนความคิดสิทธิ์เสรี

แว่วลำนำคำขับจับสำนึก
ให้ระลึกถึงความรักถึงศักดิ์ศรี
ถึงเมตตาการุณย์คุณความดี
เริ่มวันนี้แล้วประชาธิปไตย

จากรอยยิ้มของหัวใจสู่ใบหน้า
สู่แววตาสู่ความฝันของวันใหม่
ความที่ฝันไม่เหมือนฝันของวันใด
วันมีชัย “ธรรมศักดิ์” พิทักษ์ธรรม”

สนธิกาญจน์ กาญจนาสน์
พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12543



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ต.ค. 13, 16:17

ณ วันนั้นนักศึกษายังกล้าแกร่ง
รวมพลังสำแดงทุกแห่งหน
ทรราชต้องหนีไกลดั่งไฟลน
ไทยทุกคนในวันนั้นพลันยินดี

กรมประชาสัมพันธ์ออกแถลงการณ์เมื่อเวลา ๑๙.๐๕ น. วันจันทร์นี้ว่า

"เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดที่จะเกิดขึ้นและเพื่อยังความสงบและสันติสุขแก่ประชาชนชาวไทย จอมพลถนอม กิตติขจร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จอมพลประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงได้ลาออกจากราชการ และเดินทางออกจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศแล้วพร้อมกับพันเอกณรงค์ กิตติขจร จึงประกาศแจ้งไว้ให้ทราบทั่วกัน "

วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖


หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ ๒๕๑๖



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง