เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 23506 อักษรอริยกะในรัชกาลที่ 4
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 15:54

สมมุติอีกทีว่า ปิตุ เขียนแบบโรมันหรืออังกฤษ  พยัญชนะกับสระก็จะเรียงต่อกันไป เป็น p i t u     อริยกะก็เรียงแบบนี้ละค่ะ

ปิตุ เขียนด้วยอักษรอริยกะ เป็นดังนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 16:01

     อักษรอริยกะนำมาใช้พิมพ์บทสวดมนต์บ้าง พิมพ์หนังสือปาฏิโมกข์บ้าง และพิมพ์หนังสืออื่นๆ บ้าง ใช้แทนหนังสือใบลานที่เคยแพร่หลายมาแต่เดิม แต่ไม่แพร่หลาย  ส่วนใหญ่เมื่อแรกเผยแพร่นั้น จำกัดวงอยู่เฉพาะในวัดบวรนิเวศวิหาร
     หลักฐานของอักษรอริยกะที่ตกทอดมาถึงในปัจจุบันคือ จารึกวัดราชประดิษฐ์   เป็นจารึกข้อความบนแผ่นหินอ่อนพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงการสร้างวัดราชประดิษฐ์ ข้อความที่จารึกด้วยอักษรอริยกะ คือข้อความในบรรทัดที่ ๑ เป็นอักษรอริยกะ ภาษาบาลี เช่นเดียวกับบรรทัดที่ ๔๐-๔๒ ที่จารึกต่อจากข้อความอักษรขอมภาษาบาลี และในข้อความตอนท้ายบรรทัดที่ ๗๗-๗๘ ของจารึกก็จารึกด้วยอักษรอริยกะเช่นเดียวกัน
     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์    การใช้อักษรอริยกะก็เสื่อมไปในที่สุด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากมีรูปร่างและระบบอักขรวิธีแตกต่างจากอักษรไทยมากจึงไม่ได้รับความนิยมและค่อยๆ เลิกใช้ไป
     ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้นำรูปอักษรไทยมาใช้เขียนภาษาบาลีได้   อักษรอริยกะก็หมดความนิยม  ไม่มีใครพูดถึงอีก     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 16:02

       ดิฉันเข้าใจว่าเลิกใช้ไปนานแล้ว แต่ไปพบในเว็บนี้ ว่ายังมีการใช้กันอยู่ 

      ปัจจุบันนี้ยังมีการศึกษาอักษรอริยกะกันในมหามงกุฏราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยทางพุทธศาสนาในวัดบวรนิเวศวิหาร) ครับ แต่ปัญหาที่พบคือ การใช้งานในด้านการเรียนการสอนเช่นการพิมพ์ข้อสอบ หรือการพิมพ์ตำรานั้นมีความยุ่งยากและเสียเวลาเป็นอันมาก เนื่องจากที่ยังไม่มีใครประดิษฐ์ฟอนท์ชุดนี้สำหรับคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเลยครับ (น่าจะมีแต่ตัวพิมพ์โลหะแบบตอก) แต่ล่าสุดทาง f0nt.com ก็มีอาสาสมัครคือคุณทัชชี่ไปเริ่มช่วยในการพัฒนาฟอนท์อักษรอริยกะแล้วครับ ต้องรอดูว่าจะเป็นอย่างไร

http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:KzO1LgnToogJ:nora.exteen.com/20090219/entry+&cd=8&hl=th&ct=clnk&gl=th&client=firefox-a

     คุณเพ็ญชมพูพอจะทราบบ้างไหม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 16:08

เปรียบเทียบ "มงคลสูตร" อักษรอริยกะและอักษรไทย  ในหนังสือสวดมนต์ตัวอริยกะที่จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ เนื่องในวันพระบรมราชสมภพและวันเสด็จสวรรคต รัชกาลที่ ๔



ภาพโดย คุณ Great user



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 17:09

หากคุณเทาชมพูต้องการ font ของอักษรอริยกะ มีอยู่ในเว็บ omniglot.com เป็นของ Ian James



ในเว็บนี้มีตัวอย่างอักษรอริยกะตัวเขียนด้วย เป็นจดหมายจากศรีลังกาส่งมายังสยาม  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 17:39

ถ้าจะเขียนชื่อ "เพ็ญชมพู" เป็นอักษรอริยกะ ได้หรือไม่?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 18:58

เพญโชมพู  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 19:04

ทำไมต้อง โชม แทน ชม ล่ะคะ? หรือว่าต้องแสดงสระ โอ  ด้วย ไม่งั้นสะกดไม่ได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 19:14

ภาษาบาลีที่เขียนด้วยอักษรอริยกะต้องมีสระกำกับทุกครั้งต่างกับที่เขียนด้วยอักษรไทย เช่น



อักษรอริยกะไม่มี เ-ะ และ โ-ะ จึงใช้ เ และ โ แทน



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง