เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 7457 เสน่ห์หนังสืออนุสรณ์
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 03 ต.ค. 13, 14:36

หนังสืออนุสรณ์ที่จัดพิมพ์ขึ้นแจกจ่ายเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสต่างๆ เช่น หนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์ (หนังสืองานศพ), หนังสือที่ระลึกครบรอบอายุ, หนังสืออนุสรณ์งานต่างๆ ฯลฯ ย่อมมีคุณค่าในตัวเอง จากเรื่องราวที่ผู้จัดพิมพ์ได้สรรหาเรื่องราวต่างๆ มาลงพิมพ์ไว้

ในหนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์หรือหนังสืองานศพ ก็จะมีทั้งประวัติ รูปภาพ บันทึก ของผู้วายชนม์ และเรื่องราวอื่นๆ ที่นำมาลงพิมพ์ไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ได้รับมาอ่าน คุณค่าของเรื่องที่นำมาพิมพ์เผยแพร่ ก็ย่อมขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้จัดทำและจากความสนใจของผู้อ่านด้วย

จะขอเริ่มต้นสักเรื่องหนึ่งก่อน ...

"ในตอนเด็กๆ ผมเคยเป็นปอดบวมแล้วหยุดหายใจ หมอบอกว่าผมตายแล้วแต่แม่ผมไม่เชื่อ เพราะตอนที่ท้องผม แม่ฝันว่ามีเทวดาจูงช้างมาให้ บอกว่าช้างที่เอามาให้นี่เป็นช้างที่จะทำงานเพื่อแผ่นดิน ... พอผมหยุดหายใจแม่ก็ไม่เชื่อว่าผมจะตาย แม่เชื่อว่าผมจะต้องเติบใหญ่มาทำงานให้เแผ่นดิน ... ก็ไปบนที่หลวงพ่อโตวัดสระเกศ ไปบอกว่าลูกคนนี้ได้มาเพราะฝันว่าเทวดามามอบให้เพื่อทำงานให้แผ่นดิน ถ้าผมมีบุญก็ขอให้มีชีวิตอยู่ต่อไป จึงขอเอาขี้ธูปของหลวงพ่อโตไปละลายน้ำให้ลูกกิน และอธิษฐานว่าถ้าฟื้นก็จะยกให้เป็นลูกของท่าน ... แล้วแม่ก็เอาขี้ธูปมาละลายน้ำกรอกใส่ปากผมที่ตอนนั้นนอนอยู่ในโลงแล้ว ... ผมก็ฟื้นขึ้นมา แม่ก็เลยยกผมให้เป็นลูกของหลวงพ่อโต วัดสระเกศ ผมเองก็คิดว่าเป็นลูกท่าน"

จากหนังสือ ๑๐ ทศวรรษ ศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 14:46

เมื่อก่อนหลวงพ่อโตจะอยู่ริมคลอง มันหมิ่นเหม่จะตกไม่ตก ผมเห็นว่าไม่ค่อยเหมาะที่ท่านจะอยู่ตรงนั้นก็อยากยกมาไว้ที่ริมภูเขาทอง เพราะผมเชื่อว่าเมื่อเราเป็นลูกท่านแล้วก็ควรจะยกย่องท่าน ในตอนที่จะไปยกท่านจากริมคลองก็มีการสำรวจว่าท่านหนักประมาณ ๒๐-๒๔ ตัน ต้องใช้รถยกของการไฟฟ้านครหลวงซึ่งใช้ยกหม้อแปลงไฟฟ้าหนัก ๕๐-๖๐ ตันได้สบายๆ จึงจะยกได้ ผมก็นัดกับคุณหลวงสัมฤทธิ์ฯ ว่าจะขอรถยกของการไฟฟ้านครหลวงมายกหลวงพ่อ ก่อนทำก็ไปขออนุญาตท่านเจ้าอาวาส ท่านก็เห็นด้วยเพราะองค์หลวงพ่อหมิ่นเหม่จะตกคลองอยู่แล้ว ก็นัดแนะกันเป็นอันดีแต่ก็ไม่ได้คิดถึงเรื่องการบอกกล่าวท่าน คิดถึงแต่เรื่องทางวิทยาศาสตร์

วันที่จะยกท่านผมทำงานที่กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติไม่ได้ลงไปดู อยู่ๆ คุณหลวงสัมฤทธิ์ฯ ก็มาบอกว่ารถยกได้ลองยก ๒ ครั้งแล้วแต่ยกไม่ได้ ครั้งหนึ่งโซ่ขาด อีกครั้งยางรถแตก ก็สรุปว่าท่านไม่ต้องการไปจากที่ตรงนี้แน่นอน เพราะหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด ๕๐ ตันยังยกได้ นี่องค์หลวงพ่อ ๒๐ ตันก็น่าจะยกได้ ผมก็เลยไปพูดกับท่าน พูดแบบธรรมดาๆ ว่าเราตกลงกันแล้วว่าจะย้ายที่ให้ท่านใหม่ แล้วท่านจะตกน้ำตกท่าไปก็ช่วยไม่ได้แล้วนะ พอบอกกล่าวท่านเสร็จก็ให้ยกอีกครั้งก็ปรากฎว่ายกได้สบายๆ ยกห่างมาจากจุดเดิมที่ท่านอยู่ประมาณ ๑๐๐วาได้

ได้ลองใช้ภาพถ่ายทางอากาศของ William Hunt เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ มาประกอบการหาตำแหน่งวิหารเดิมของหลวงพ่อโตด้วยข้อสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ริมคลองมหานาค ก็ไม่สามารถชี้ตำแหน่งได้

ฮืม ฮืม




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 14:51

คุณหลวงสัมฤทธิ์ฯ ที่ท่านกล่าวถึง ได้สอบค้นดู ปรากฎว่าหมายถึง หลวงสัมฤทธิ์วิศวกรรม (โกศล สุขประยูร) ซึ่งท่านเป็นนักเรียนมัธยมบริบูรณ์ (มัธยมปีที่ ๘) รุ่นแรกของโรงเรียนปทุมคงคา


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 15:32

"พ่อกับแม่มีลูก ๑๐ คน พี่ชายบุญรอดเป็นพี่หัวปี พี่เลื่อนตามมาเป็นคนที่ ๒ แม่ตั้งชื่อให้พี่ชายว่าบุญรอด เพราะมีบุญได้รอดตายมา ส่วนที่เลื่อนเป็นน้องตามมา ... ตอนที่บุญรอดเข้าโรงเรียนโดยตาม พี่ประเสริฐ รุจิรวงศ์ ไปทุกชั้น จนพี่ประเสริฐจบเข้าโรงเรียนทหาร พี่จึงแยกมาเข้าโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ อายุน้อยมากแต่ก็มีความรู้สูง อยู่ในท่ามกลางเพื่อนๆ ที่อายุมากกว่า ..."

บันทึกของ สุภัทรา บิณฑสันต์ น้องสาวง ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ เป็นบุตรลำดับที่ ๗

บันทึกคำบอกเล่าของ ดร. บุญรอด ระหว่างที่เรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ดังนี้

"ผมเริ่มเรียนประถมที่โรงเรียนวัดใหม่ยายแฟง (วัดคณิกาผล) เริ่มเรียนเร็วเพราะมีลูกพี่ลูกน้องที่เขาถึงเกณฑ์ต้องเข้าเรียน (คงจะหมายถึง พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ ที่คุณสุภัทรากล่าวถึง) ผมก็ติดสอยห้อยตามไปกับเขาด้วยแล้วก็นั่งฟังครูไปด้วย รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ตอนนั้นอายุน้อยมากน้อยกว่าคนที่เข้าเรียนปกติถึง ๕ ปี พอถึงเวลาที่พี่เขาได้เลื่อนชั้น เราก็เลื่อนขึ้นไปด้วย ซึ่งตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าเราเรียนได้หรือไม่ได้ เพียงแต่ครูเห็นว่าเราอยู่ด้วยตลอดเวลาก็เหมือนเลื่อนชั้นให้เราไปโดยปริยาย แต่ตอนนั้นไม่สามารถวัดได้ว่าเรามีความรู้มากน้อยแค่ไหนนะ เพราะไม่ได้ไปสอบกับเขาด้วย จนพี่จบจากนั้นพี่ไปเรียนโรงเรียนนายร้อย เราตามไปไม่ได้ก็เลยย้ายมาเข้า ม.๑ ที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์"


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ต.ค. 13, 16:30 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 15:34

"ตอนมาขึ้น ม.๑ ที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ ครูเห็นว่าตัวเล็กมากก็เลยทดสอบความรู้ ผลก็คือตอบได้ เขาก็เลยให้เรียนแล้วก็สอบได้เลื่อนชั้นขึ้นไปเรื่อยๆ ถือเป็นการเรียนที่แปลกกว่าคนอื่นๆ แต่เราก็ทำได้ เรียนได้จนจบชั้นมัธยม เรียกว่าเราเรียนแบบนี้มาตลอด มันเหมือนกับว่าไม่ได้เรียนตามกฎเกณฑ์ของโรงเรียนทั่วไป แต่เราทำได้ ตอบได้ พอเรียนๆ ไป ก็เริ่มอาสาทำงานให้ครู ช่วยครูแปลหนังสือด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เวลาครูสอนก็ชอบจด ทำให้ได้เรียนเคมี ฟิสิกส์ ในตำราของต่างประเทศด้วย เพราะเมื่อก่อนนั้นตำราจะเป็นของต่างประเทศ เพราะฉะนั้น พอได้ช่วยครูจด ช่วยครูแปล ก็ทำเหมือนได้เรียนไปด้วย"

ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ จบชั้นมัธยม ๘ จากโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ด้วยอายุเพียง ๑๔ ปี และจบปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้า จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่ออายุเพียง ๑๘ ปี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 16:30

ทึ่งใน IQ ของดร.บุญรอดมากค่ะ     สติปัญญาขนาดนี้หาคนเทียบยาก   แม้แต่ในปัจจุบัน
ยังเป็นเด็กชายอยู่แท้ๆ เรียนม.ปลาย ช่วยครูแปลตำราภาษาอังกฤษได้ตั้งหลายสาขา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 18:36

หลวงพ่อโต ระหว่างทางเดินลงจากภูเขาทองตามบันไดที่ขึ้นมา จะเห็นมีป้ายบอกทางนมัสการหลวงพ่อโต ซึ่งมีบันไดทางแยกลงอีกทางหนึ่ง เมื่อลงมาจะเห็นวิหารประดิษฐานองค์หลวงพ่อโตซึ่งมีประวัติดังนี้

 วัดสระเกศ เดิมชื่อวัดสระแก รัชกาลที่ ๑ พระราชทานชื่อวัดใหม่เป็นวัดสระเกศ หลังจากขุดคลองมหานาคเสร็จ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดให้สร้างพระพุทธรูปโลหะหน้าตักกว้าง ๗ ศอก ๑ คืบ สูง ๑๐ ศอก ประดิษฐานที่พระวิหารด้านคลองมหานาค ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโต เนื่องจากขนาดขององค์พระใหญ่โต หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เลียนแบบศิลปะสุโขทัย แต่ยังไม่งดงามเท่า มีพระพักตร์ค่อนข้างกลมแป้นไม่อวบอิ่ม พระนาสิกโด่ง พระขนงโก่งเล็กน้อย ไม่นูนขึ้นรูป พระเนตรหรี่ยาว พระโอษฐ์บาง

 อุตราสงค์ยาวเฉียงตรงจากพระถันขวาขึ้นไปที่พระอังสาซ้าย ขอบชายอุตราสงค์ยาวจรดพระนาภีเป็นแบบเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ค่อนข้างสั้นเสมอกันไม่เรียวงอนอ่อนช้อย เป็นพระพุทธรูปสงบงามตามแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงถือว่า เป็นหลวงพ่อที่ให้ความคุ้มครอง ให้ความสุข ความเจริญ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 18:50

ผมลองใช้กูเกิลวัดระยะทาง๑๐๐วา(๒๐๐เมตร)แล้ว ตกตรงตำแหน่งนี้ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 19:23

อา เอาซะเป๊ะ เลยนะครับ  ยิงฟันยิ้ม

หยิบแผนที่สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ มาให้สำรวจกัน จะเห็นว่า วิหารหลวงพ่อโตหันหน้าออกคลอง อยู่ติดคลอง ส่วนอาคารติดกันขวามือคือ โรงเลื่อย

ที่มาแผนที่ฉบับเฉลิมพระเกียรติเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรุงเทพมหานคร)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 20:23

ช่วยวิเคราะห์ภาพองค์พระองค์นี้ว่าใช่องค์ที่กำลังพูดถึงหรือไม่


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 20:27

ทึ่งใน IQ ของดร.บุญรอดมากค่ะ     สติปัญญาขนาดนี้หาคนเทียบยาก   แม้แต่ในปัจจุบัน
ยังเป็นเด็กชายอยู่แท้ๆ เรียนม.ปลาย ช่วยครูแปลตำราภาษาอังกฤษได้ตั้งหลายสาขา

ตอนที่พี่เลื่อนเข้าเรียนที่จุฬาฯ (พี่เลื่อน - ดร. เลื่อน บิณฑสันต์ น้องชายคนรองของ ดร. บุญรอด บิณฑสัณต์) อาจารย์ที่สอนอยู่เห็นความสามารถของพี่เลื่อนว่าเก่งกว่าอาจารย์ที่สอนเสียอีก พี่เลื่อนได้ปริญญาทางการไฟฟ้าและเครื่องกลด้วย โดยเฉพาะอาจารย์ทางช่างกลให้คะแนนพี่เลื่อน ๑๑๐ % ทำให้ทางคณะต้องประชุมกันเป็นอาทิตย์ โปรเฟสเซอร์บอกว่าพี่เลื่อนดีกว่าที่อาจารย์สอนอยู่เสียอีก จึงให้แค่ ๑๐๐ % ไม่ได้

ตอนที่น้ำท่วมกรุงเทพฯ เป็นเวลานาน (พ.ศ. ๒๔๘๕) พี่เลื่อนและพ่อช่วยกันต่อเรือ ๓ ลำ ลำหนึ่งยาวเรียวต้องยืนพาย พี่เลื่อนพายเรือนี้ไปสอนหนังสือที่ตึกวิศวะฯ ยกเรือขึ้นวางไว้บนถนน นักเรียนจะแอบเอาเรือลงน้ำลองพายดูบ้างแต่ไม่มีใครทรงตัวได้ ตกน้ำเสื้อผ้าเปียกกันหมด ตอนรับปริญญาต้องใส่เสื้อครุย พี่เลื่อนตัดเสื้อเองทำได้สวยมาก มีคนจองขอยืมกันทุกปี

เมื่อตอนที่พี่เลื่อนถอดชิ้นส่วนของจักรเย็บผ้าของแม่ออกมากองหมด แม่โกรธมาก ว่าจะตีลูกทั้ง ๒ คน พี่รอดบอกว่าไม่ต้องเป็นห่วงจะเอาชิ้นส่วนกลับเข้าไปใหม่ พี่ทั้ง ๒ ก็ทำได้

สุภัทรา บิณฑสันต์ น้องสาว - ครอบครัวบิณฑสันต์ ๑๐ ทศวรรษ ศ. ดร. บุญรอด บิณฑสันต์

ดร. บุญรอด บิณฑสันต์
- ประกาศนียบัตร์ชั้นสูง พ.ศ. ๒๔๗๖
- ปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๗๘
ดร. เลื่อน บิณฑสันต์
- ปริญญาบัตร์วิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๘๐

อ้างถึง - ๙๐ ปีิวิศวฯ จุฬาฯ, ๙ รอบคุณพระเจริญฯ




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 20:32

ช่วยวิเคราะห์ภาพองค์พระองค์นี้ว่าใช่องค์ที่กำลังพูดถึงหรือไม่

ทรงเดียวกัน แต่มองแล้วจะต่างกันที่พระเนตรและมุมพระโอษฐ์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 20:37

ถ้าลงภาพนี้ ลุงไก่อาจจะเข้าใจในตำแหน่งมากยิ่งขึ้น แนวนั้นจะอยู่ริมคลองมหานาคและอยู่ตรงกับประตูตรงระเบียงคด ครับ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 20:56

มีเรื่องหนึ่งที่ผมต้องเรียนปรึกษาท่าน NAVARAT C. ในฐานที่เป็นศิษย์เก่าสถาปัตย์ฯ  คือ ในบทความของ ศ. ดร. จรวย บุญยุบล วศ. ๒๔๙๖ อดีตอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และคณะบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒-๒๕๒๖ ว่า
"... ไม่มีห้องเรียนประจำ ต้องเร่ร่อนไปเข้าฟังเลกเชอร์ (การบรรยาย) ตามตึกเรียนและห้องเรียนตามที่กำหนดไว้ เช่น ถ้าเรียนวิชาเคมีบรยายก็ต้องไปเรียนที่ห้องเลกเชอร์ตึกฟิสิกส์ของคณะวิทยาศาสตร์ อยู่ฝั่งเดียวกันกับตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ .. และถ้าจะเรียนวิชาเคมีปฏิบัติก็ต้องข้ามฟากไปรียนที่ตึกเคมี (ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นตึกของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) ... "

ผมคิดว่าน่าจะเป็นตึกของคณะเภสัชศาสตร์ ข้างตึกคณะสถาปัตย์ฯ นะครับ ทราบว่าปัจจุบันกลายเป็นตึกคณะศิลปกรรมศาสตร์ไปแล้ว

อ้างถึง - ศ. จรวย บุณยุบล, ความทรงจำเกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ในช่วงปี ๒๔๙๖-๒๕๓๘
๙๐ ปีวิศวฯ จุฬาฯ ๙รอบ คุณพระเจริญฯ


จะใช่ตึกนี้หรือเปล่าหนอ  ฮืม



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 20:57

ถ้าลงภาพนี้ ลุงไก่อาจจะเข้าใจในตำแหน่งมากยิ่งขึ้น แนวนั้นจะอยู่ริมคลองมหานาคและอยู่ตรงกับประตูตรงระเบียงคด ครับ

วันเสาร์นี้จะย่องไปสำรวจ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.113 วินาที กับ 20 คำสั่ง