เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 7468 เสน่ห์หนังสืออนุสรณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 21:35

อ้างถึง
"... ไม่มีห้องเรียนประจำ ต้องเร่ร่อนไปเข้าฟังเลกเชอร์ (การบรรยาย) ตามตึกเรียนและห้องเรียนตามที่กำหนดไว้ เช่น ถ้าเรียนวิชาเคมีบรยายก็ต้องไปเรียนที่ห้องเลกเชอร์ตึกฟิสิกส์ของคณะวิทยาศาสตร์ อยู่ฝั่งเดียวกันกับตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ .. และถ้าจะเรียนวิชาเคมีปฏิบัติก็ต้องข้ามฟากไปรียนที่ตึกเคมี (ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นตึกของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) ... "

ผมคิดว่าน่าจะเป็นตึกของคณะเภสัชศาสตร์ ข้างตึกคณะสถาปัตย์ฯนะครับ ทราบว่าปัจจุบันกลายเป็นตึกคณะศิลปกรรมศาสตร์ไปแล้ว

สมัยผมเป็นนิสิต ตึกที่อยู่ติดคณะสถาปัตย์เป็นตึกเคมีครับ ตึกเภสัชที่กลายเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์อยู่ถัดไปอีกตึกนึง



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 21:47

ถ้าลงภาพนี้ ลุงไก่อาจจะเข้าใจในตำแหน่งมากยิ่งขึ้น แนวนั้นจะอยู่ริมคลองมหานาคและอยู่ตรงกับประตูตรงระเบียงคด ครับ

บริเวณนี้กลายเป็นตึกแถว ร้านค้าไม้ไปหมดแล้ว มีถนนบรมบรรพตต้ดผ่าน

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 ต.ค. 13, 07:02

แวะมารู้จักอัจฉริยะทางการศึกษาอีกท่านหนึ่งแห่งทุ่งบางเขน ... มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

".. ข้าพเจ้าได้รู้จักกับ ดร. อุทิศ ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๔๘๓ เมื่อ ดร, อุทิศ ไปเรียนหนังสือที่แม่โจ้ ข้าพเจ้าเป็นอาจารย์สอนคำนวณเพียงวิชาเดียว เราไม่คุ้นกันมากนัก .. ต่อมาข้าพเจ้าเป็นเลขาธิการมหาิวิทยาลัย ดร. อุทิศมาทำหน้าที่พนักงานคลัง .. ดร. อุทิศได้ช่วยสอนวิชาบัญชี และได้เห็นลูกศิษย์เป็นชั้นโทไปตามๆ กัน ส่วน ดร. อุทิศก็ยังคงเ็ป็นชั้นตรีอยู่ ข้าพเจ้าจึงแนะนำให้ ดร. อุทิศสอบชิงทุนไปนอก แต่ ดร. อุทิศก็ไม่ยอมสอบ จนกระทั่งถูกคนปรามาทหน้าว่าหน้าอย่างนี้ไม่มีวันสอบชิงทุนได้ ดร. อุทิศจึงสมัครสอบชิงทุน ก.พ. ได้เป็นอันดับหนึ่งทั้งสามหน่วย และได้ไศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์

ก่อนจะไปนอก ดร. อุทิศได้เรียนที่ธรรมศาสตร์โดยไม่ได้ดูหนังสือและเข้าสอบเลย แต่ในปีที่ ๔ ดร, อุทิศสอบรวมวิชาทั้ง ๔ ปีจนได้ภายในปีเดียว และเรียนริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ต่อภายในประเทศ เมื่อไปถึงคอ์แนลล์ใหม่ๆ ดร. อุทิศยังไม่รู้ศัพท์ภาษาอังกฤษทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ ข้าพเจ้าได้เข้าช่วยแปลตำราเศรษฐศาสตร์ให้เมื่อเสร็จงานอื่นแล้ว คือตั้งแต่เที่ยงคืนไปจนถึงตีสอง แต่ในไม่ช้า ดร. อุทิศก็เชี่ยวชาญภาษาพอที่จะทำปริญญาเอกได้สำเร็จในเวลาเพียงสองปี"

อ้างถึง - แด่ ดร. อุทิศ โดย ศจ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร
"๔๘ ปีของข้าพเจ้าและบทความบางเรื่อง" อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศ. ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 05 ต.ค. 13, 13:31

คนเก่ง สมองดีเลิศหลายท่านที่ข้ามสาขาการเรียนหรือทำงาน มาดังอีกด้านหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับสาขาแรก   เช่นดร.อุทิศที่คุณลุงไก่นำเสมอ
ท่านเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเกษตร  ที่ออกทีวีบ่อยมาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะอีกแขนงของไทย    ยังจำได้เพราะเคยดูรายการทีวีของท่าน
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 05 ต.ค. 13, 14:55

ถ้าลงภาพนี้ ลุงไก่อาจจะเข้าใจในตำแหน่งมากยิ่งขึ้น แนวนั้นจะอยู่ริมคลองมหานาคและอยู่ตรงกับประตูตรงระเบียงคด ครับ

วันเสาร์นี้จะย่องไปสำรวจ


ภาพถ่ายจากสะพานนริศดำรัส .. บริเวณริมคลองมหานาคที่วิหารหลวงพ่อโตเคยตั้งอยู่ กลายเป็นตึกแถวร้านค้าไม้ไปหมดแล้ว


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 05 ต.ค. 13, 16:36

ย้อนมาอ่าน "สาวชาวกรุง" ของ ศ.พ.ต. หญิง คุณหญิงผะอบ โปษะฤษณะ นิสิตอักษรศาสตร์รุนแรก พ.ศ. ๒๔๗๑ และปริญญาบัตร์อักษรศาสตร์รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๗๗ รับระทานปริญญาบัตร พ.ศ. ๒๔๗๘

ท่านเล่าว่าท่านมาสมัครสอบเข้าจุฬาฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ อันเป็นปีที่สองที่จุฬาฯ รับนิสิตหญิง ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ รับนิสิตหญิงเข้าศึกษาในคณะแพทย์ศาสตร์เป็นปีแรก คุณพ่ออยากให้เข้าเรียนแพทย์ แต่เพื่อนๆ ไปเลือกเข้าเรียนอักษรศาสตร์กันหมด พวกที่สมัครแพทย์มีแต่นักเรียนราชินี เลยสมัครเรียนอักษรศาสตร์ตามเพื่อน สอบเข้าได้เ็นที่ ๕ ประกาศผลสอบออกมาแล้วยังเกือบจะถูกตัดออกเพราะอายุน้อยเกินไปยังต้องพิจารณากันอยู่นาน ที่ได้ติดอยู่ก็เพราอายุ ๑๕ ปี ๗ เดือน ถ้าไม่มีเศษเดือนก็คงไม่ได้เป็นนิสิตกับเขาแล้ว (สมัยนั้นพระยาภรตราชาเ็ป็นคณบดี)

เปรียบเทียบกับ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ เข้าเป็นนิสิตจุฬาฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ อายุ ๑๔ ปี (จุฬาฯ คงจะผ่อนปรนเรื่องอายุแล้วกระมัง?)

อาจารย์คุณหญิงผะอบท่านเล่าไว้ว่า ปีนั้นประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้ประทานแทนองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึงประทับอยู่ที่โลซานน์ นิสิตทุกคนต้องเตรียมครุยปริญญาไว้ก่อน ซึ่งต้องสั่งตัดล่วงหน้าก่อนที่จะประกาศผลได้ตก  เพราะเมื่อประกาศผลแล้วก็รับพระราชทานปริญญาในเวลาต่อมาไม่กี่วัน ในปีนั้นการรับปริญญารับที่เรือนไม้ข้างตึกจักรพงษ์เดี๋ยวนี้ (เดิมเป็นที่รับประทานอาหาร) เพราะยังไม่ได้สร้างตึกจักรพงษ์ (ปัจจุบันพื้นที่นี้คือสระว่ายน้ำ ดูจากภาพในหนังสือ มุมด้านหนึ่งของโรงอาหารเป็นเวทียกพื้นสูงประมาณเอว มีคำอธิบายภาพว่า ภายในโรงอาหาร อ.เป้า ขำอุไร (บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ รุ่นเดียวกับ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์) เล่าให้ฟังว่าในหลวง ร.๗ เสด็จมาพระราชทานปริญญาที่นี่ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีหอประชุม - ลุงไก่)

อาจารย์คุณหญิงผะอบได้เป็นนิสิตรุ่นแรกของจุฬาฯ ที่สำเร็จประกาศนียบัตรครูมัธยม (จุฬา) หรือที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ว่า "อนุปริญญาครุศาสตร์" จำนวน ๑๔ คน

เครดิตภาพ - facebook หอประวัติจุฬาฯ  เครื่องแบบนิสิตหญิงคณะแพทย์ศาสตร์ ในยุคต้น





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 19 คำสั่ง