เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 46851 เสี้ยวหนึ่งกับป่าดงและชาวถิ่น
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 23 ม.ค. 19, 19:35

แมงดาทะเลในโลกนี้มีอยู่ ๔ ชนิด พบที่เมืองไทย ๒ ชนิด คือ แมงดาถ้วย (Carcinoscorpius rotundicauda) และแมงดาจาน (Tachypleus gigas)

อีก ๒ ชนิด ตัวหนึ่งพบแถวจีนและญี่ปุ่นคือ Tachypleus tridentatus และตัวที่พบแถวชายฝั่งตะวันออกของอเมริกา คือ Limulus polyphemus

แมงดาจานของไทยมีดีที่ไข่

แมงดาจาน เป็นชนิดที่เราเอาไข่ของมันมาทำกินกัน  มันมีหางเป็นทรงเหลี่ยม  มีวางขายค่อยข้างมากในตลาดสดในตัวเมืองของ จ.เพชรบุรี  ไข่ของมันเอามากินแบบจิ้มกับน้ำจิ้มซีฟูดก็ได้ เอามาแกงคั่วกับสับปะรดก็ได้ (หากจะใส่เห็ดเผาะลงไปด้วยก็จะยิ่งอร่อยมากขั้น)



ส่วนแมงดาทะเลของจีนและญี่ปุ่นกับแมงดาทะเลของอเมริกามีดีที่เลือด  ยิงฟันยิ้ม

ทุกวันนี้ในมาตรฐานการผลิดยาฉีดระบุว่าเภสัชภัณฑ์หรืออุปกรณ์การแพทย์ใดๆ ที่สัมผัสกับของเหลวในร่างกาย หรือระบบไหลเวียนของเลือด ต้องไม่มีสารพิษ endotoxin ตัวนี้ สิ่งที่จะใช้ทดสอบเรื่องนี้ได้ก็คือสิ่งที่สกัดมาจาก amoebocyte ในเลือดแมงดาทะเล

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 24 ม.ค. 19, 20:02

ขอบคุณครับ

แมงดาทะเลนี้จัดอยู่ในพวก living fossil  เราพบฟอสซิลของพวกมันในหินที่กำเนิดขึ้นมาจากตะกอนที่มีอายุในช่วง 450 ล้านปี (ยุค Ordovician) 

ในปัจจุบัน เราได้พบว่ามีพวก living fossil อยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งพืชและสัตว์ ที่เป็นพืชก็เช่นต้นแปะก๊วย  ที่เป็นสัตว์ก็เช่นแมงดาทะเล ที่เราพูดถึง  พวกหอยก็เช่นหอยงวงช้าง เป็นต้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 24 ม.ค. 19, 20:25

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 24 ม.ค. 19, 20:38

แมงดานา ของอร่อย แกะ(ฉีก)เป็นชิ้นเล็กใส่ครกโขลกน้ำพริกกะปิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกปลาร้า กินกับผักต้มหรือนึ่ง โดยเฉพาะพวกยอดฟักทอง ยอดมะระ หัวปลี ชะอม ขนุนอ่อน ผักกาดดอก ยอดแค... หรือกับพวกผักเผาเช่นฝักลิ้นฟ้าเผา(ฝักเพกา) ยอดหวาย(หางหวาย) มะเขือยาว...  อร่อยนักแล

แมงดานาใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ๆมีน้ำ จึงพบมากในพื้นที่ๆมีภูมิประเทศเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง   แต่ก่อนนั้น ตามเส้นทางรถไฟสายเหนือตั้งแต่แถวอยุธยาไปจนแถวพิษณุโลก เราจะเห็นชาวบ้านตั้งเสาไฟ ติดไฟนีออนสีขาวนวลหรือสีม่วงและขึงตาข่าย (ตะคัด)เพื่อดักขับแมงดาเอามากินมาขายกัน  

ในปัจจุบัน ภาพนี้ไม่เห็นแล้ว ก็คงจะเป็นเพราะความเจริญและพัฒนาการทางด้านบริโภคและอุปโภค เลยทำให้วิถีชิวิตของผู้คนเปลี่ยนไป หรือไม่ก็เพราะมีพวกยาฆ่าพืชฆ่าสัตว์ตกสะสมอยู่ในดินในน้ำมากจนทำลายวงจรชีวิตของมันไปหมด    ทราบแต่ว่า เดี๋ยวนี้เรา import แมงดาจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาขายอยู่ไม่น้อย  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 24 ม.ค. 19, 20:49

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 24 ม.ค. 19, 20:52

น้ำพริกแมงดา


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 24 ม.ค. 19, 21:00

ขื่อหอยงวงช้างคงจะใช้เรียกชื่อหอยสองชนิดที่มีความแตกต่างกัน    ตัวในภาพนั้นจะพบอาศัยอยู่ในพื้นที่ๆเป็นโคลนบริเวณปากแม่น้ำ มีชื่อเรียกกันว่า Geoduck clam    อีกชนิดหนึ่งเป็นพวกหอบที่ลอยไปมาอยู่ในน้ำทะเล มีหนวดคล้ายปลาหมึก  มันสามารถจะทำตัวให้ลอยขึ้นหรือจมลงได้ และเคลื่อนที่ไปมาได้ด้วยการพ่นน้ำคล้ายปลาหมึกพ่นน้ำ มีชื่อเรียกกันว่า Nautilus clam (หากเป็นฟอสซิล ก็มักเรียกรวมๆว่าพวก Ammonite หรือ พวก Nautiloid)    
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 07:30

ชื่อหอยงวงช้างเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน

Geoduck มีชื่อจีนว่า  象拔蚌 แปลว่า หอยงวงช้าง คนไทยจึงเรียกว่า หอยงวงช้าง บ้าง แต่บางคนก็เรียกอีกชื่อหนึ่งตามลักษณะของหอย  ยิงฟันยิ้ม  ถ้านำมาผัดคงไม่ดึกดำบรรพ์

ผัดดึกดำบรรพ์  ฝีมืออาเฮีย



Nautilus  คนไทยก็เรียกว่า หอยงวงช้าง เช่นกัน ถ้านำมาผัดก็คงเรียกว่า "ผัดดึกดำบรรพ์" ได้ แต่คงไม่อร่อย

Nautilus เป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์อยู่บนโลกนี้แล้วกว่า ๓๕๐ ล้านปีแล้ว และยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็น ฟอสซิลที่มีชีวิต

หอยงวงช้าง  Nautilus pompilius มีความสามารถในการดำดิ่งไปใต้พื้นสมุทรได้ถึง ๓ กิโลเมตร ทำให้ถูกนำไปเป็นชื่อเรือดำน้ำ ที่เรารู้จักกันดีคือเรือดำน้ำของกัปตันนีโม ใน ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ (Twenty Thousand Leagues Under the Sea) ของ จูลส์ เวิร์น (Jules Gabriel Verne)

ภายในเปลือกจะแบ่งเป็นช่อง ๆ ใช้กักอากาศและน้ำเพื่อการลอยตัวและดำดิ่งไปใต้สมุทร


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 18:39

ใช่ครับ
   
หอย Ammonite ปรากฎตัวในท้องน้ำมหาสมุทรเมื่อประมาณ 350 ล้านปีที่แล้ว (ยุค Devonian) มันมีวิวัฒนาการไปเป็นหอยตัวขนาดใหญ่ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่กำลังมีวิวัฒนาการของสัตว์พวกไดโนเสาร์ (Dinosaur)  ฟอสซิลของมันตัวขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบ มีขนาดประมาณ 2.5 เมตร  แล้วพวกตัวใหญ่ๆก็หายไปในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ไดโนเสาร์หายไปเช่นกัน

เห็นเปลือกหอย Nautilus มีวางขายตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันของเรา ก็ไม่รู้ว่าเป็นของในเขตทะเลไทยหรือจากทะเลอื่น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 18:50



แอมโมไนต์ตัวนี้ชื่อ Dactylioceras tenuicostatum มาจากWhitby, Yorkshire ประเทศอังกฤษ  

แอมโมไนต์เพิ่งสูญพันธุ์ไปพร้อม ๆ กับไดโนเสาร์เมื่อ ๖๕ ล้านปีมานี้เอง  มีขนาดตั้งแต่เล็กอย่างในภาพ จนถึงใหญ่ยักษ์ดังในคลิป

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 19:26

ขอต่อเรื่องแมลงและแมงอีกหน่อย แล้วจะกลับไปต่อเรื่องหอย ครับ

ชาวบ้านป่าไม่นิยมกินแมงและแมลงต่างๆดังที่นิยมในหมู่ผู้คนในพื้นราบ  ที่เคยเห็นชาวบ้านป่าเก็บกินกันอยู่บ้างก็จะเป็นจักจั่น ซึ่งผมไม่เคยกินก็เลยไม่รู้รสและความอร่อยของมัน รู้แต่ว่าจักจั่นมีหลายขนาดและหลายสี คือ ตัวสีเขียว(ที่เห็นเขาเอามากินกัน) สีดำ สีน้ำตาล และตัวเล็กที่เรียกว่าเรไร  

ผมประเมินจากความดังของเสียง เห็นว่าจักจั่นในพื้นที่ป่าจริงๆมีไม่มากเหมือนกับในพื้นที่ชายป่าชายทุ่ง   จำได้ว่าเมื่อยังอยู่ในวัยเด็กนั้น ในช่วงพื้นที่มหาวิทยาลัยพะเยา บนเส้นทางรถยนต์เชียงราย-ลำปาง และเส้นทางช่วง อ.งาว-จ.ลำปาง จะได้ยินเสียงจักจั่นดังสนั่นไปหมด  เมื่อมาทำงานเดินป่าเดินดง จึงได้สังเกตเห็นว่า จักจั่นจะอาศัยอยู่มากในบริเวณที่เป็นป่าดิบแล้ง มีต้นไม้ใหญ่จำนวนมากแต่ค่อนข้างจะโปร่ง มีแสงแดดส่องถึงพื้นรำไร และดูจะต้องเป็นพื้นที่ป่าในบริเวณที่เป็นเขาหินปูนอีกด้วย      
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 20:45

จักจั่นตัวสีเขียว (ที่เห็นเขาเอามากินกัน)

น่าจะเป็นเจ้าตัวนี้

จั๊กจั่นงวงช้าง Pyrops candelarius


คุณ ๔๒๘๓๒๖๒ แห่ง พันทิป เล่าว่า

มันเป็นแมลงศัตรูพืช จะอาศัยกินท่อน้ำเลี้ยงของต้นไม้ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ เคยเห็นเค้าใช้ถุงพลาสติกใส ๆ เอามาผูกที่ปลายไม้ ทำคล้ายตะกร้อ ไปจับตามต้นลำไย ต้นลิ้นจี่ ช่วงฤดูหนาว จากนั้นเอามาแช่น้ำทำความสะอาด เด็ดปีกแล้วเอามาทอดกรอบ โรยเกลือ เมื่อทอดเสร็จแล้วสามารถกินได้ทั้งตัว รสชาติจะออกมัน ๆ มีกลิ่นหอมดี
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 31 ม.ค. 19, 18:30

ตัวนี้ไม่เคยเห็น เคยเห็นแต่พวกที่มีรูปร่างตามปรกติ คือไม่มีงวง ครับ

ที่เคยเห็นอีกอย่างหนึ่ง คือ กินจักจั่นสดๆ หักหัวมันทิ้งไปแล้วก็เอาใส่ปาก ภาพนี้ได้เห็นครั้งหนึ่ง วันหนึ่งในช่วงเวลาหัวค่ำขณะกำลังตั้งวงสนทนายามแดดร่มลมตกที่เหมืองแร่ปิล๊อกบนสันเขาเทือกเขาตะนาวศรี  จักจั่นตัวนั้นคงจะโชคไม่ดี บินมาเกาะขอบเสบบ้านไม้ก็เลยถูกจับกิน 

สันเขาตะนาวศรีที่แบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่านี้มีความสูงประมาณ 1000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ก็แสดงว่าในความสูงระดับนี้ จักจั่นก็ยังอาศัยอยู่ได้   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 31 ม.ค. 19, 19:24

เรื่องราวของกระทู้กระโดดไปมาแล้วก็มาถึงชื่อ ปิล็อก ซึ่งเป็นสถานที่ๆอยู่ในบริเวณสันเขาแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า เทือกเขาตะนาวศรี   ก็เลยเห็นว่า คงจะต้องขยายความกันอีกเล็กน้อย

ประวัติของเหมืองแร่ปิล็อกนั้นคงจะหาอ่านได้ไม่ยาก เช่น  https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/compare/itemid/1309
 
อย่างย่อๆก็คือ เมื่อประมาณ พ.ศ.2580 มีชาวพม่าแอบเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกและทังสเตน ทางการไทยรู้เข้าก็เลยให้กรมโลหกิจฯ (กรมทรัพยากรธรณีในปัจจุบัน) เข้าไปสำรวจและจัดการแก้ไขปัญหา มีการออกประทานบัตรให้กับองค์การเหมืองแร่(รัฐวิสาหกิจในสมัยนั้น) เพื่อการทำเหมืองแร่อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทั้งนี้โดยนัยก็คือการประกาศยืนยันต่อพม่าและผู้ปกครองอาณานิคม (อังกฤษ) ว่าเขตแดนไทยอยู่ถึงตรงใหน   
บันทึกการเข้า
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 02 ก.พ. 19, 13:42

เรื่องราวของกระทู้กระโดดไปมาแล้วก็มาถึงชื่อ ปิล็อก ซึ่งเป็นสถานที่ๆอยู่ในบริเวณสันเขาแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า เทือกเขาตะนาวศรี   ก็เลยเห็นว่า คงจะต้องขยายความกันอีกเล็กน้อย

ประวัติของเหมืองแร่ปิล็อกนั้นคงจะหาอ่านได้ไม่ยาก เช่น  https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/compare/itemid/1309
 
อย่างย่อๆก็คือ เมื่อประมาณ พ.ศ.2580 มีชาวพม่าแอบเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกและทังสเตน ทางการไทยรู้เข้าก็เลยให้กรมโลหกิจฯ (กรมทรัพยากรธรณีในปัจจุบัน) เข้าไปสำรวจและจัดการแก้ไขปัญหา มีการออกประทานบัตรให้กับองค์การเหมืองแร่(รัฐวิสาหกิจในสมัยนั้น) เพื่อการทำเหมืองแร่อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทั้งนี้โดยนัยก็คือการประกาศยืนยันต่อพม่าและผู้ปกครองอาณานิคม (อังกฤษ) ว่าเขตแดนไทยอยู่ถึงตรงใหน   

2580 ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง