เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 46850 เสี้ยวหนึ่งกับป่าดงและชาวถิ่น
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 17 ม.ค. 19, 20:29

ตัวบึ้ง  ต้องถามคุณเพ็ญชมพูว่าเป็นอย่างเดียวกับ tarantula  หรือเปล่านะคะ

คุณวิกกี้บอกว่า "บึ้ง" คือแมงมุมทารันทูล่าชนิดหนึ่ง

https://th.wikipedia.org/wiki/แมงมุมทารันทูล่า


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 18 ม.ค. 19, 19:08

ขอบคุณครับ  เห็นแต่ภาพและเรื่องราวของคนที่ชอบเลี้ยงแมงมุมตัวใหญ่นี้ นึกว่าจะมีนิสัยไม่ดุร้ายนัก ที่แท้ก็ดูจะดุร้ายเอาการอยู่ทีเดียว

เมื่อเดินทำงานอยู่ในป่าดง เรามักจะพบเห็นรูของบึ้งอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้ตลิ่งห้วย หรือบริเวณที่มีความชุ่มชื้นของดินจากการที่ใบไม้ร่วงลงมาทับถมกัน  ในพื้นที่ของป่า(ไผ่)ไม้ไร่ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มักพบรูของพวกมัน         
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 18 ม.ค. 19, 21:45

รูบึ้ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 20 ม.ค. 19, 10:55

อาหารเลิศรสจากเขมร "บึ้งทอดกระเทียมพริกไทย"  ยิงฟันยิ้ม

อันนี้เป็นเมนูจากเพื่อนบ้านไม่ไกล กัมพูชา นี่เอง ... แมงมุมยักษ์ทอดกระเทียมพริกไทยค่ะ ... เบ้อเริ่มเลย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 20 ม.ค. 19, 17:14

ดูน่ากลัวมากกว่าน่ากินนะครับ   ผมขอบาย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 20 ม.ค. 19, 18:18

สัตว์ในกลุ่มที่เรียกว่าแมงและสามารถเอามาทำอาหารได้นั้น ดูจะมีอยู่ 3 ชนิด คือ แมงมุมที่ได้กล่าวถึงแล้ว แมงป่อง และแมงดา

สำหรับแมงป่อง ผมไม่เคยคนไทยจับเอามากินกัน เคยเห็นแต่ในเมืองจีนในตลาดยามเย็นบนถนนสายหนึ่งในกรุงปักกิ่ง มีอยู่หลายแผงลอยที่เอามาปิ้งย่างวางขายร่วมกับสัตว์อื่นๆ ที่นึกออกก็มีอาทิ ปลาดาว งู ...

สำหรับแมงดานั้น คงไม่ต้องกล่าวว่าคนไทยส่วนใหญ่นิยมเอามาทำอาหาร เป็นของโปรดของผู้คนในทุกภาคเลยทีเดียว 

ที่จริงแล้วจะควรจะต้องเรียกชื่อให้ครบว่า แมงดานา เพราะมีอีกแมงดาหนึ่งที่เป็นสัตว์ทะเล   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 20 ม.ค. 19, 19:19

แมงป่องเป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันมันจะซ่อนตัวอยู่ในที่ๆเย็นๆและชื้น เช่น ใต้ก้อนหิน ใต้กองใบไม้   และดูมันจะขี้หนาวเมือนกัน ก็จึงมักจะพบในจุดที่มีอุณหภูมิอบอุ่น ซึ่งคะเนตามประสบการณ์ของผมก็คงจะเป็นแถวๆ 20-25 องศา  มันมีอยู่หลายสายพันธุ์ ซึ่งสำหรับพันธุ์ตัวใหญ่สีดำที่เรียกกันว่า แมงเวา แมงเงา แมงป่องช้างนั้น เราไม่ค่อยจะได้พบเห็นมัน

เมื่อเราพูดถึงแมงป่องในเรื่องของความอันตรายของมัน เรามักจะนึกถึงภาพของแมงป่องสีดำตัวใหญ่   แต่แท้จริงแล้ว อันตรายที่เราจะได้รับจากแมงป่องตัวใหญ่นั้นกลับมีไม่มากเท่ากับพวกตัวเล็กๆสีขี้เถ้าอ่อนๆ ซึ่งคนที่จะได้รับอันตรายจากพวกตัวเล็กๆนี้ก็ดูจะกลับเป็นพวกเราคนกรุงเสียมากกว่าพวกชาวบ้านทั้งหลาย (ทั้งชาวชนบทและบ้านป่า)

พวกแมงป่องตัวเล็กนี้ชอบที่จะเข้าไปหลบพักหลับนอนอยู่ในรองเท้า กองเสื้อผ้า ใต้หมอน ใต้ผ้าห่ม... ของเรา  เราจึงมีโอกาสถูกมันต่อยเอาเวลาเช้าเมื่อใส่ถุงเท้ารองเท้า หรือเมื่อรื้อเสื้อกางเกง(โดยเฉพาะเสื้อหนาว)จากกองผ้าที่พับไว้   ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตเมืองจะมีโอกาสเกิดเหตุได้น้อยมาก ในที่อยู่อาศัยตามชายทุ่งชายป่าจะมีโอกาสเกิดเหตุได้มากขึ้น  ส่วนผู้ที่มีโอกาสจะได้จะถูกมันต่อยมากที่สุดก็คือพวกนักธรรมชาติที่นิยมตั้งที่พักค้างแรมอยู่ในพื้นที่ป่าดง               
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 18:09

อาจจะมีข้อสงสัยว่า แล้วจะถูกแมงป่องตัวน้อยมันต่อยได้อย่างไร 

ไม่ยากเลยครับ และก็ยังมักจะเป็นเวลาเช้าเสียอีกด้วย  เรื่องเกิดเนื่องมาจากการที่เราใช้ถุงนอน ใช้ผ้่าห่ม และถอดรองเท้าถุงเท้าเวลานอน    ในขณะที่เรากำลังนอนหลับอยู่นั้น มันก็ออกเดินเพ่นพ่านหากิน  ก็เป็นธรรมดาที่หลังจากที่เราได้ที่ๆเหมาะสมสำหรับการปักหลักค้างแรมแล้ว เราก็มักจะต้องหุงหาอาหารกินก่อนที่จะนอน ซึ่งหมายถึงการมีเศษอาหารที่สัตว์ตัวเล็กๆหลากหลายสนใจเข้ามาเยี่ยมเยียน  แมงป่องก็สนใจเพราะมีทั้งสัตว์และของที่สามารถเอามาเป็นอาหารได้  กินอิ่มแล้วยังมีที่มืดๆ อุ่นๆ ให้มุดหลบนอนได้    เมื่อเราตื่นมาในตอนเช้า ขยับตัว หรือทำกิจกรรมอื่นใดก็จะไปจ๊ะเอ๋กับมัน หากไม่สังเกต ไม่เห็นมัน ก็มีโอกาสจะถูกมันต่อยเอาง่ายๆ

แล้วจะมีวิธีการป้องกันบ้างใหม ?  ก็มีนะ แต่จะเป็นในรูปของการลดโอกาสมากกว่าที่จะเป็นการป้องกัน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 19:04

ในประสบการณ์ของผม  วิธีการลดโอกาสเจ็บตัวที่ใช้ได้ผลที่สุด คือการปูผ้าใบรองพื้นสำหรับการนั่งและการปูถุงนอนทับลงไป  ซึ่งหากจะต้องค้างแรมอยู่กับที่เดิมต่อไป ก็ควรจะต้องทำตนให้เป็นคนที่มีระเบียบ เมื่อตื่นนอนแล้วก็จัดพับเก็บเครื่องนอน เครื่องนุ่งห่มต่างๆให้เรียบร้อย มิใช่ทิ้งหมกกองไว้   

การปูผ้าใบนั้น ก็คล้ายๆกับการแบ่งเขตระหว่างกิจกรรมของเรากับกิจกรรมที่ดำเนินการไปตามธรรมชาติ     หากเราต้องนอนค้างแรมอยู่หลายวัน เมื่อรื้อผ้าใบออกมาเราก็มักจะพบอะไรๆใต้ผืนผ้าใบที่แปลกไปจากเดิม มันกลายเป็นบ้านใหม่ของสิ่งมีชีวิตหลายอย่างเลยทีเดียว

ผ้าใบที่กล่าวถึงนี้ อาจจะทำให้หลายท่านนึกถึงผ้าที่มีความหนา ความหนัก และความเป็นไปได้ที่จะแบกพกติดตัวเข้าป่า ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ   ผมใช้ผ้าใบเมื่อผมใช้สัตว์ต่างในการเดินทำงานในพื้นที่ป่าลึก และใช้ผ้าขาวม้าเมื่อต้องแบกของด้วยตนเอง    ชาวบ้านป่าและนักเดินดงแต่ก่อนนั้นต่างก็ใช้ผ้าขาวม้ากันทั้งนั้น         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 22 ม.ค. 19, 19:03

ผมเริ่มมีและใช้ผ้าขาวม้าตั้งแต่แรกเข้าวัยรุ่น แรกๆก็ใช้เพียงเพื่อการห่อตัวเดินเข้าออกห้องอาบน้ำ และใช้ในการผลัดเปลี่ยนกางเกง  เมื่อเรียนในสาขาวิชาที่ต้องมีการเดินทางออกภาคสนาม ก็จึงได้เริ่มมีประสบการณ์ในการใช้ประโยชน์อื่นๆที่หลายหลายจริงๆ จนเมื่อเข้าทำงาน ต้องเดินทางไปในพื้นที่ชนบทและป่าดง ผ้าขาวม้าก็เลยกลายเป็นของใช้ที่ขาดมิได้และต้องอยู่ติดตัวเกือบตลอดเวลา  คงไม่ต้องขยายความนะครับว่าใช้อะไรกันบ้าง ก็ไม่ต่างไปจากที่เรารู้ๆกันว่าชาวบ้านเขาใช้กันอย่างไร

ด้วยที่ผมต้องมีและต้องใช้ผ้าขาวม้าดังที่เล่ามา ก็เลยพอจะเข้าใจได้ว่า ด้วยเหตุใดเราจึงเห็นผู้คนนิยมใช้ผ้าขาวม้าผืนเก่าๆ สีซีดๆ ดูสกปรก ไม่ทิ้งมันไปหากมันยังไม่ขาดวิ่น ทั้งๆที่มีผ้าผืนใหม่อยู่แล้วหรือจะหาซื้อผืนใหม่ทดแทนก็ไม่ยากนัก 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 22 ม.ค. 19, 19:46

ผมก็เป็นหนึ่งในพวกนั้น จะซื้อทีก็เรื่องมาก แถมซื้อมาใช้ครั้งแรกแล้วก็พับเก็บไว้แบบถาวรเลยก็มากทีเดียว  มันก็อดไม่ได้ที่จะซื้อผ้าที่เขาว่าดีและเป็นฝีมือของชุมชนหรือชาวถิ่นนั้นๆ  ผ้าขาวม้าก็เลยกลายเป็นของเก็บสะสมเล็กๆน้อยๆอีกอย่างหนึ่งของตัวเอง   จะว่าไปแล้วผมก็ยังชอบใช้ผ้าขาวม้าที่ผมใช้ติดตัวมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2514 ยังดีอยู่และก็ยังเก็บอยู่ จะเดินทางไปค้างแรมที่ใหนก็ยังอดที่จะแอบเอาใส่กระเป๋าไปด้วยไม่ได้   

ผมขอแบ่งการใช้งานผ้าขาวม้าออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ใช้ในเชิงเป็นองค์ประกอบของเครื่องแต่งกาย มีการใช้งานเบาๆ  และกลุ่มที่ใช้ในเชิงเป็นผืนผ้าสำหรับใช้งานแบบอเนกประสงค์

ผ้าขาวม้าของกลุ่มแรกมักจะเน้นไปทางความสวยงาม เนื้อผ้ามักจะมิใช่ทอด้วยด้ายฝ้าย 100%  อาจมีด้ายไหมหรือเส้นด้ายที่ทำมาจากสารสังเคราะห์ปนอยู่ ซึ่งอาจจะมีทั้งที่ใช้เป็นด้ายยืนและด้ายนอน(ด้ายพุ่ง) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 22 ม.ค. 19, 20:32

ผ้าข้าวม้าของกลุ่มที่สองซึ่งเป็นพวกผ้าสำหรับใช้งาน   ผ้าของกลุ่มนี้จะเป็นผ้าฝ้าย ก็มีทั้งแบบที่ทอจากโรงงานทอผ้าขนาดใหญ่ โรงทอผ้าขนาดเล็ก (SME) และที่ทอด้วยมือ   แม้จะใช้ด้ายฝ้ายเหมือนกันแต่มันก็มีความแตกต่างกันในด้านคุณสมบัติเมื่อนำไปใช้งานจริง   

คุณสมบัติที่สำคัญ คือ ยิ่งใช้ยิ่งเนื้อฟูนิ่ม ซับน้ำดี เนื้อผ้าแน่น หนาพอควร ผ้ามีน้ำหนักพอสมควร เนื้อผ้าไม่โย้เย้ไปมา ผ้ามีความยาวและมีหน้ากว้างเหมาะสมกับสรีระของผู้ใช้     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 23 ม.ค. 19, 18:46

เคยคิดเล่นๆว่า  ผ้าขาวม้านี้ดูคล้ายกับว่าจะเป็นของใช้ในวัฒนธรรมของกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่(ประมาณ)ระหว่างเส้นลองติจูดที่ 99 องศาตะวันออก กับลำน้ำโขง และละติจูดที่ 0 - 20 องศาเหนือ     ผู้คนที่อยู่เหนือขึ้นไปจากกรอบพื้นที่นี้ดูจะใช้ผ้าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะนี้ในการโพกหัวเป็นหลัก ยิ่งใต้ลงมาการใช้ประโยชน์ของผ้าก็จะลดการใช้จากระดับหัวลงมาเรื่อยๆ เป็นผ้าคาดอก คาดเอว แล้วก็กลายเป็นโสร่ง

ลองติจูดที่ 99 องศาตะวันออกนี้ มีลักษณะคล้ายกับเป็นแนวพื้นที่เชื่อมต่อของความต่างทางสังคม วัฒนธรรม และอิทธิพลของมหาอำนาจในอดีต (ซึ่งยังคงถือปฎิบัติกันแบบกลายๆกันอยู่)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 23 ม.ค. 19, 19:06

กลับมาต่อกันอีกแมงหนึ่ง คือ แมงดา

ขอกล่าวถึงแมงดาทะเลเพียงเล็กน้อยว่า มันมีอยู่สองชนิด เรียกว่า แมงดาจาน กับ แมงดาถ้วย     

แมงดาถ้วยนั้น เป็นพวกที่มีพิษ มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เห-รา  กินแล้วอาจจะถึงแก่ชีวิตก็ได้  มันมีหางเป็นทรงกลม

แมงดาจาน เป็นชนิดที่เราเอาไข่ของมันมาทำกินกัน  มันมีหางเป็นทรงเหลี่ยม  มีวางขายค่อยข้างมากในตลาดสดในตัวเมืองของ จ.เพชรบุรี  ไข่ของมันเอามากินแบบจิ้มกับน้ำจิ้มซีฟูดก็ได้ เอามาแกงคั่วกับสับปะรดก็ได้ (หากจะใส่เห็ดเผาะลงไปด้วยก็จะยิ่งอร่อยมากขั้น)           
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 23 ม.ค. 19, 19:15

ยำไข่แมงดาทะเล


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 20 คำสั่ง