เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 46899 เสี้ยวหนึ่งกับป่าดงและชาวถิ่น
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 23:11

ได้รูปสาวกะเหรี่ยงจากอินทรเนตร   หน้าตาจิ้มลิ้มทีเดียวค่ะ  เห็นใจคุณประกอบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 11:43


ไปอยู่แถวนั้นราวๆ เดือนนึง ผมยังไม่รู้จักกลัวเสือกลัวผีเท่าไหร่  ช่วงนั้นมีข่าวคนเห็นเสือแถวๆ หมู่บ้าน ชาวป่ากลัวกันผมคนเมืองไม่ตระหนัก เดินแบกท่อโทงๆ กับพระบ้าง ถ้าท่อเล็กหน่อยก็ฉายเดี่ยวแบกคนเดียวเดินลัดป่าขึ้นเขา คิดถึงตอนนีแล้วก็เสียวไม่หยอก ดีว่าไม่เจอเสือขบ
เดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่อย่างคุณประกอบ ไม่รู้เสียแล้วว่าโทงๆแปลว่าอะไร    ไปถามรอยอินดูไป๊
คุณคงไม่ได้เดินโทงๆแบกท่อตามพระท่านไปแน่ๆ


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 14:20

ฮิฮิ โทงๆ รู้ความหมายครับ ติดปากเลยเผลอไปหน่อย   ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  แต่ถ้าเดินโทงๆ จริงก็ไม่ต้องกลัวผี  ผีป่าผีบ้านคงหนีกระเจิงหายหมดรวมสาวๆ กะเหรี่ยงด้วย  เหลือแต่เสือ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 19:27

ได้รูปสาวกะเหรี่ยงจากอินทรเนตร   หน้าตาจิ้มลิ้มทีเดียวค่ะ  เห็นใจคุณประกอบ

เห็นสวยหน้าตาจิ้มลิ้มแบบนี้ ทำให้นึกภาพออกเลยว่า หนุ่มทั้งหลายคงจะต้องเดินแบบ ลีๆไถๆ = เดินไปเดินมา = ขึ้นกองล่องกอง (ภาษาเหนือ) แน่นนอน

สำนวนในลักษณะนี้ดูเหมือนจะมีอยู่ในภาษาต่างๆทุกภาษาเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 20:23

ขึ้นต้นเรื่องไว้ที่ประมาณปี พ.ศ.2498   ก็จะขอเริ่มบรรยายภาพของท้องถิ่นที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทยในขณะนั้นครับ มิได้หมายความว่าเป็นภาพของปี 2498 เท่านั้นนะครับ

ในสมัยนั้น เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากอุบลราชธานี ก่อนที่จะถูกแบ่ง อ.พะเยาออกไปเป็นจังหวัดใหม่     
เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีสองเทศบาล คือ เทศบาลเมืองเชียงราย และเทศบาลเมืองพะเยา  ทั้งสองเขตเทศบาลอยู่ห่างกันประมาณ 90 กม. เชื่อมด้วยถนนที่ทำด้วยกรวดแม่น้ำ ลาดด้วยยางมะตอยบางๆที่ร่อนหายไปเกือบหมดแล้ว   ส่วนถนนต่อจากพะเยาไป อ.งาว จนถึงลำปางอีกประมาณ 130 กม.นั้น ค่อนข้างจะดี

โรงเรียนในสมัยนั้นเปิดเทอมประมาณวันที่ 17 พค. ดังนั้นผมก็จะต้องเดินทาง (เข้ากรุงเทพฯ) ทุกปีในช่วงนี้ พร้อมพ่อ แม่และน้อง  พ่อแม่ก็อาศัยช่วงนี้กลับไปเยี่ยมปู่ย่าตายายและญาติพี่น้อง (พ่อเป็นคนในตัวเมืองโคราช แม่เป็นคนในตัวเมืองแม่กลอง)   จำได้ว่า ประมาณช่วงก่อน พ.ศ.2505 ? จะต้องออกเดินทางจากเชียงรายเวลาประมาณตีสองตีสาม แต่ตื่นเตรียมตัวตั้งแต่ประมาณเที่ยงคืน ไปถึงลำปางก็ประมาณบ่ายสามโมงเย็น เพื่อขึ้นรถไฟซึ่งเป็นขบวนรถด่วนสายเชียงใหม่กรุงเทพฯ จากสถานีนครเขลางค์ (ชื่อสถานีลำปางในสมัยนั้น) เวลาประมาณ 1 ทุ่ม  สมัยนั้นใช้หัวรถจักรไอน้ำและขบวนรถไม่ยาวมากดังในปัจจุบัน เนื่องจากรางรถไปที่ใช้ในการสับหลีกตามสถานี้ต่างๆนั้นไม่ยาว  นั่งอยู่ท้ายขบวนยังได้รับควันจากหัวรถจักร มาถึงปลายทางก็มีกลิ่นควันไฟติดตัว  กลิ่นนี้ยังฝังใจจดจำได้อยู่  ไปทำงานที่ญี่ปุ่นก็ยังหาโอกาสไปนั่งขบวนรถจักรไอน้ำท่องเที่ยวนอกเมืองเพื่อรำลึกความหลังอยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 20:38

คุณตั้งไม่ได้บอกว่าเดินทางจากเชียงรายไปลำปางด้วยรถไฟ หรือรถยนต์   เดาว่ารถไฟ    ต้องไปรอรถไฟสายเชียงใหม่อีก 4 ช.ม.
ทำไมไม่เดินทางจากเชียงรายไปเชียงใหม่แล้วขึ้นขบวนรถด่วนจากที่นั่นคะ   หรือว่าเวลามันไม่ลงตัวกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 21:08

เชียงรายไม่มีทางรถไฟไปถึงครับ

สถานีรถไฟสายเหนือที่ใกล้เชียงรายที่สุดคือลำปาง ซึ่งต้องเดินทางติดต่อกันโดยถนนผ่านพะเยา การเดินทางสมัยโน้นต้องเผื่อเวลาแยะๆเพราะทั้งรถทั้งถนนไม่มีความแน่นอนทั้งคู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 21:15

อ้างถึง
จำได้ว่า ประมาณช่วงก่อน พ.ศ.2505 ? จะต้องออกเดินทางจากเชียงรายเวลาประมาณตีสองตีสาม แต่ตื่นเตรียมตัวตั้งแต่ประมาณเที่ยงคืน ไปถึงลำปางก็ประมาณบ่ายสามโมงเย็น
หมายความว่าคุณตั้งต้องนั่งรถออกจากเชียงรายตั้งแต่สองตีสาม  ฝ่าไปในความมืดจนกระทั่งสว่าง จากนั้นรถก็แล่นผ่านพะเยาลงไปถึงลำปางตอนบ่ายสามโมงเย็น  รวมแล้วเกือบ 12 ช.ม.  เผื่อเวลาไว้ 4 ชั่วโมง ก่อนรถไฟสายเชียงใหม่กรุงเทพมาถึง
รอรถด่วนจากเชียงใหม่ จากบ่ายสามโมงถึงทุ่มหนึ่ง  แล้วค่อยขึ้นรถด่วนไปกรุงเทพ  ถึงกรุงเทพในวันรุ่งขึ้น

ใช้เวลาเดินทางนานกว่าไปอเมริกาในยุคนี้อีกไหมเนี่ย?


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 22:00

เล่ามาเสียยาว ก็เพื่อเป็นการปูพื้นเรื่องราวของกระทู้ครับ หวังไว้ว่า เพื่อจะได้เขียนได้ง่ายขึ้นหน่อย ครับ

คงเคยได้ยินคำบรรยายเปรียบเทียบว่า  ".....ล้าหลังกว่า.....ประมาณ 40 ปี"  ผมก็ไม่ทราบว่าทำไมจึงนิยมที่จะเปรียบเทียบกันที่ช่วงระยะเวลาห่างกันประมาณ 40 ปี    แต่เอาเถอะครับ ผมได้เข้าใจและได้เห็นภาพจริงที่เกิดขึ้นเมื่อผมได้มีโอกาสเข้าไปเดินทางในพม่าในช่วงที่พม่ากำลังเริ่มเปิดประเทศ    ครับ ภาพนั้นก็คือ สภาพของพม่าในขณะนั้นกับสภาพที่ผมเห็นเมื่อครั้งผมยังเป็นเด็กอยู่ที่เชียงรายนั่นเอง

ออกจากบ้านตีสอง เดินทางออกจากเมืองสวนทางกับชาวบ้านที่ใช้ล้อ (เกวียน) เดินทางเข้าเมือง (โดยใช้ทางล้อข้างถนน) ล้อเดินทางกันเป็นกลุ่มๆละ 3-5 เล่ม แต่ละล้อมีคน 2-4 คน มักจะมีเพียงเล่มแรกเท่านั้นที่มีคนนั่งห่มผ้าหัวโด่คอยบังคับวัวเทียมล้อให้ไปตามแยกที่ต้องการ ที่เหลือนอกจากนั้นหลับหมด ให้วัวมันเดินตามกันไปเอง ไม่มีไฟฉายและการตามไฟ ไฟรถจะส่องเข้าตาวัวเห็นแวววาวสีเขียวอมเหลือง ไม่มีการชนกันแน่ เพราะรถก็วิ่งได้ไม่เร็วเนื่องจากถนนขรุขระมากๆๆๆๆ   เมื่อถึงเมืองแล้วก็แยกย้ายกันไปตามภาระกิจที่ตนจะไปทำ บางเล่มก็พาคนไข้ไปโรงพยายาล บางเล่มก็ไปตลาดเช้าเพื่อขายของหรือจับจ่ายของ    ตลาดเช้าชาวบ้านโดยทั่วๆไปจะติดตลาดตั้งแต่ประมาณตีสี่  ในช่วงที่ทำงาน ผมมักจะหาโอกาสไปตลาดพวกนี้ตอนประมาณตีห้าครึ่งถึงหกโมงเช้า ช้ากว่านั้นตลาดก็จะเริ่มวายแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 22:42

คุณตั้งไม่ได้บอกว่าเดินทางจากเชียงรายไปลำปางด้วยรถไฟ หรือรถยนต์   เดาว่ารถไฟ    ต้องไปรอรถไฟสายเชียงใหม่อีก 4 ช.ม.
ทำไมไม่เดินทางจากเชียงรายไปเชียงใหม่แล้วขึ้นขบวนรถด่วนจากที่นั่นคะ   หรือว่าเวลามันไม่ลงตัวกัน

สมัยนั้น เส้นทางจากเชียงรายไปเชียงใหม่สุดโหดครับ   คิดว่าเส้นทางถนนสายลำปางเชียงใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็เพิ่งจะเริ่มกรุยทางกันในขณะนั้น 
เส้นทางเชียราย-เชียงใหม่สมัยก่อนนั้น คือการเลาะน้ำแม่ลาวจาก อ.แม่สรวย ไป อ.เวียงป่าเป้า ผ่านแม่ขะจาน แม่เจดีย์ แล้วลัดเลาะข้ามเขาไปยังเชียงใหม่ เส้นทางจากแม่ขะจานไปถึงเชียงใหม่นั้นผมไม่ทราบแน่ว่าในสมัยก่อนนั้นเป็นเส้นใด อาจจะเป็นจากแม่ขะจาน ไป อ.พร้าว แล้วเข้า อ.สันทราย แล้วเข้าเชียงใหม่ก็เป็นได้  สมเด็จพระนเรศวร เคยใช้เส้นทางเหล่านี้ครับ
เส้นทางนี้เป็นเส้นทางเก่าที่ใช้เดินทางตืดต่อกันระหว่างเชียงรายกับเชียงใหม่ เชียงรายจึงมีประตูเมืองที่เรียกว่าประตูเชียงใหม่ จากประตูนี้ผ่านบ้านเด่นห้า หนองหม้อ ท่าล้อ ดงมะดะ ไปแม่สรวย  ที่บ้านท่าล้อนั้น ได้ชื่อมาก็เพราะเป็นที่พักล้อเกวียนนั่นเอง ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านประตูล้อ และยังคงเหลือลูกหลานเชื้อสายชาวไทยใหญ่อยู๋บ้าง    ถนนเส้นนี้คงจะเป็นถนนสายหลักระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่มาตลอด   ในสมัย ร.5 ที่ได้มีการเชื่อมโยงโครงข่ายสายไทรเลขก็ปักเสาตาม
ถนนเส้นนี้
แล้วก็ดูเหมือนว่า การจะส่งทหารจากเชียงใหม่มาช่วยเชียงรายในคราวเหตุการณ์เงี้ยวล้อมเมืองเชียงรายเพื่อปล้นสดมภ์นั้น ซึ่งก็จะต้องใช้ถนนเส้นนี้ซึ่งทุระกันดารเดินทางลำบากมาก ผนวกกับเหตุการณ์เงี้ยวยึดเมืองแพร่ เหตุกาณ์ผีบุญในอิสาน  จึงเป็นผลทำให้เกิดมีกองทหารประจำจังหวัดขึ้นมา ที่เรียกว่าจังหวัดทหารบกในปัจจุบันนี้  ฟังมาปะติดปะต่อกันได้แบบนี้ ผิดถูกอย่างไรเซนเซทั้งหลายช่วยไขความกระจ่างด้วยครับ


อ้อ เรื่องรถไฟไปเชียงรายนั้น ผมทราบมาตั้งแต่จำความได้ว่าจะมีการสร้าง โดยแยกจาก อ.เด่นชัย จ.แพร่ จนบัดนี้ก็ยังไม่เกิดเลยครับ   แต่ก็อาจจะพอมีโอกาสอยู่บ้างหากจะมีรถไฟสายยาวจากจีนตอนใต้เชื่อมต่อกับไทยและแหลมทอง เห็นว่าจะแยกในลาวเป็นเส้นหนึ่งไปทางหนองคาย อีกเส้นหนึ่งไปทาง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ผ่านพะเยา อ.งาว ไป อ.สอง อ.ร้องกวาง ไปจรดเส้นเดิมที่ อ.เด่นชัย

บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 23:38

อยากร่วมวงคุยเรื่องสาวกะเหรี่ยงจัง แ่ต่คงนั่งฟังน้ำลายยืดอย่างเดียว เพราะไม่มีประสบการณ์ทำนองนี้เลยครับ เท่าที่เฉียดที่สุดก็ตอนสมัยวัยรุ่นไปแอบชอบมื่อหน่อ (สาวกะเหรี่ยง) อยู่บ้านหนึ่ง แอบปิ๊งอยู่ พอรู้ข่าวอีกทีสาวก็มีครอบครัวแล้ว ธรรมเนียมประเพณีชาวกะเหรี่ยงแถบนี้จะแต่งงานออกเรือนกันเร็วมาก

ทุกวันนี้ยังเห็นสาวน้อยวัยเพิ่งทำบัตรประชาชน มือหนึ่งจูงลูกแล้วยังกระเต็งตัวเล็กข้างหลังอีกคน  ตกใจ
บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 23:40

ขออนุญาตเสริมข้อมูลการเดินทางในช่วง 40-50 ปีก่อนของ อ.ตั้ง เพื่อให้เห็นภาพในช่วงนั้นชัดเจนขึ้นครับ แต่เป็นเส้นทางจากบ้านป่าดง อ.ท่าสองยาง จนถึงตัวจังหวัดตากนะครับ (เพิ่งสัมภาษณ์คุณแม่ที่เพิ่งกลับมาจากปฏิบัติธรรมเมื่อซักครู่ใหญ่นี้เองครับ) เป็นเหตุการณ์ในช่วงประมาณปี 2504-2505 ช่วงที่แม่และเพื่อนอีก 2 คน เดินทางไปเรียน รร.สารพัดช่าง (วุฒิการศึกษา ปกศ.สูง) ที่ จ.ตาก ก่อนที่จะศึกษาต่อและเข้ารับราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขครับ

แม่เล่าว่า.. ต้องเตรียมตัวก่อนออกเดินทางกันหลายวัน ต้องหาล้อ (แม่เรียกเกวียนว่า "ล้อ" เหมือน อ.ตั้ง เลยครับ) และจ้างลูกหาบที่ไว้ใจได้ (ปกติจะใช้บริการ "เมล" เป็นลูกหาบ ซึ่งเมลในที่นี้หมายถึง คนที่มีหน้าที่ส่งเอกสารไปรายงานที่จังหวัด หรือสมัยตะก่อนเรียกว่า "คนนำสาร") บางครั้งก็เป็นขบวน บางครั้งก็เดินทางกันแค่ 2 เล่ม ต้องระวังทั้งเสือทั้งคน ลุ้นกันตลอดเส้นทางกว่าจะถึงที่พักในหมายถัดไป

เริ่มต้นเดินทางจาก อ.ท่าสองยาง ไปพักค้างแรมที่บ้านกะเหรี่ยงก่อนเข้าตัวอำเภอแม่ระมาด (ระยะทางประมาณ 50 กม.) ตื่นแต่เช้ามืดแล้วเดินทางเข้าตัวอำเภอแม่ระมาด จากนั้นก็จะเปลี่ยนล้อ (เกวียน) ร่วมขบวนเดินทางต่อไปยัง อ.แม่สอด (ระยะทางห่างออกไปอีก 30 กม.) เพื่อจะเดินทางด้วยรถบรรทุกสินค้าไปยังตัวจังหวัด ถ้าไปไม่ทันหรือมีเหตุขัดข้องก็จะค้างแรมที่ อ.แม่สอด อีกวันสองวัน

สภาพรถบรรทุกก็เป็นรถดีเซลขนาดใหญ่ ไม่ได้ออกแบบไว้ให้สะดวกต่อการบรรทุกผู้โดยสาร ทุกคนที่เดินทางก็ต้องเลือกนั่งอยู่บนกองสรรพาระสิ่งของกันเอาเอง (แต่ก็สะดวกสบายกว่านั่งบนเกวียนเยอะ) เมื่อรถบรรทุกสินค้าเดินทางออกจากแม่สอด ก็จะพักขบวนระหว่างทางที่ห้วยยะอุ เขต อ.แม่สอด ปิดท้ายค้างแรมในทริปอีก 1 คืน (เพื่อพักผ่อน ถ่ายสินค้าและรับสินค้าเพิ่ม) แล้วออกเดินทางต่อตอนเช้ามืด จนถึงตัวเมืองตาก ระยะทางจาก อ.แม่สอด-ตัวเมืองตาก รวมประมาณ 80 กม.

สรุป ระยะทางจากบ้านป่า อ.ท่าสองยาง ถึงตัวจังหวัดตาก 170 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-5 วัน ครึ่งแรกเดินทางด้วยล้อ (เกวียน)  ครึ่งหลังเดินทางด้วยรถบรรทุกสินค้า

ปล. การเดินทางเช้ามืดเป็นอย่างที่ อ.ตั้ง เล่าไว้ครับ ต้องเดินทางก่อนพระอาทิตย์ขึ้น นอกจากต้องกะเวลา พัก กิน นอน ในเป้าหมายต่อไป แล้วจะเสียเวลาช้าโอ้เอ้ไม่ได้ เพราะการเดินทางด้วยเกวียนต้องคิดถึงวัวด้วย ถ้าวัวเป็นอะไรไปก็จบกัน แม่บอกว่า "ต้องออกเดินทางตั้งแต่ตีสามตีสี่ เดี๋ยววัวร้อน" และถ้าเป็นหน้าฝนจะเดินเท้ากันเกือบตลอดเส้นทาง ผมนึกภาพความลำบากในการเดินทางไปเรียนของแม่แล้วน้ำตาซึมเลยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 07:44

เอารูปมาช่วยงาน พอให้เห็นบรรยากาศครั้งกระนั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 08:02

สถานีรถไฟนครลำปางในอดีตและปัจจุบัน แตกต่างกันน้อยมาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 03 ต.ค. 13, 11:32

รูป #27 ให้ภาพถนัดชัดเจนมากค่ะ    เข้าใจทันที  ว่าการเดินทางในสมัยนั้นลำบากลำบนขนาดไหน
เส้นทางในยุคคุณตั้งมาเป็นนักเรียนที่กรุงเทพ น่าจะเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองละมัง

ขอคารวะคุณแม่ของคุณพี ในความมานะ และอดทน ตั้งแต่เดินทางจากบ้านไปถึงร.ร.เลยทีเดียวค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง