เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 46853 เสี้ยวหนึ่งกับป่าดงและชาวถิ่น
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


 เมื่อ 30 ก.ย. 13, 21:35

เปิดกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อเล่าเรื่องเก่าๆเกี่ยวกับป่าดงพงไพรและวิถีชีวิตของชาวบ้านป่าและชาวเมือง ซึ่งผมได้ประสบพบมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2500 จนถึงปัจจุบัน  เท่าที่ยังจำได้ครับ ทั้งนี้ เขียนๆไปอาจจะทำให้ย้อนนึกเรื่องอื่นๆได้อีก เลยอาจจะทำให้เรื่องราวย้อนไปย้อนมา ก็ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าเสียก่อน

ที่ผมนึกจะเล่าเรื่องในหัวข้อตามกระทู้นี้ขึ้นมา ก็เพราะอยากจะให้คนรุ่นหลังๆได้เห็นภาพต่างๆบางส่วนในอดีต ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจจะหาคนเล่าให้ฟังได้ไม่ง่ายนักแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นข้อมูลประกอบสำหรับใช้ในการวิเคราะห์เพื่อทำประโยชน์ใดๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 ก.ย. 13, 22:12

โดยพื้นๆของชีวิตผมแล้ว เสี้ยวใหญ่ๆของชีวิตของผมสัมผัสอยู่กับสังคมท้องถิ่น ตั้งแต่เด็กๆจนกระทั้งทำงาน งานทางวิชาชีพก็ต้องใช้เวลามากในการออกภาคสนาม ออกไปสำรวจเก็บข้อมูล ทำให้ได้เห็นชีวิตท้องถิ่น เห็นป่าเขา เห็นของใหม่ๆแปลกๆตลอดเวลา  เมื่อมีความชอบคลุก ชอบความง่าย ชอบสมถะเป็นทุนอยู่แล้ว แถมถูกใจกับลักษณะของงานในวิชามี่ได้เลือกเรียน ผลก็คือ มันกลายเป็นชีวิตจิตใจของผมที่ชอบจะใช้โอกาสในช่วงการเดินทางไปใหน มาใหน หาทางใช้ถนนเล็กแวะเวียนไปตามหมู่บ้านต่างๆ
 
ผมชอบเดินตลาดสดตอนเช้า หากมีโอกาสก็ไม่เคยละเว้นเลย   ดูตลาด คุยกับแม่ค้า มันเป็นความสุขครับ  ผมเห็นว่าตลาดมันเล่าเรื่องทางสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ได้ดีมากๆ ผมเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นรวมทั้งข่าวสารและความเคลื่อนไหวต่างๆจากตลาด แล้วก็วิเคราะห์เตรียมการสำหรับกิจกรรมที่จะจำเป็นจะต้องทำในถิ่นนั้นๆ  ช่วงที่ผมทำงานภาคสนามหนักๆนั้นเป็นช่วงเริ่มมีการต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมืองและกำลังแรง ก็ทำงานกับป่าดงอยู่ต่อไปจนเขาเลิกรากันไปแล้ว

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 ก.ย. 13, 22:21

ภาพขของเชียงรายเท่าที่นึกออก คงย้อนไปได้ถึงแถวๆ2498
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 ก.ย. 13, 22:28

 รูดซิบปาก ตะกี้นี้กดอะไรก็ไม่รู้ ส่งไปเลย   ตั้งใจว่าจะยกเอาไปต่อวันพรุงนี้ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 07:14

มีภาพเก่าๆของคุณตั้งมาประกอบบ้างก็จะดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 10:04

ยังจำได้ถึงภาพรพินทร์ ไพรวัลย์นุ่งโสร่ง ค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4993.msg103087#msg103087


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 20:21

มีภาพเก่าๆของคุณตั้งมาประกอบบ้างก็จะดี

อะแฮ่ม เสียใจจริงๆครับ มีรูปอยู่น้อยมากครับ  แต่ก็จะพยายามหามาสอดแทรก

สมัยทำงานนั้น ป่าคือป่าครับ สัตว์ป่ายังไม่ค่อยจะรู้จักมนุษย์เลย ที่น่ากลัวคือคน มากกว่าความน่ากลัวจากสัตว์  ในขณะนั้นมีคนกำลังต่อสู้ทางอุดมการณ์เคลื่อนไหวอยู่ในป่าในดง เขาไม่ชอบที่จะเห็นกล้องถ่ายรูป วิทยุ และอะไรๆที่เป็นเครื่องใช้สนามแบบทหาร จะเป็นอันตรายแก่ตนมากด้วยถูกคิดว่าเป็นพวกหาข่าว แล้วก็อีกประการหนึ่ง กล้องของหลวงก็มีจำกัดด้วย ภาพเก่าๆในป่าลึกๆจึงไม่ค่อยมี จะพอมีอยู่บ้างก็ในพื้นที่ๆใกล้ชุมชนขนาดใหญ่ ครับ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 21:05

เมื่อหลายปีก่อนโน้นผมเคยเข้าป่าทุ่งใหญ่ฯแถวชายแดนไทยพม่ากลางดงกะเหรี่ยงไปช่วยพระที่วัดในนั้นแบกท่อน้ำทำประปาภูเขาตั้งเดือนนึงได้   ยังเกือบได้สร้างตำนานหนุ่มเมืองกรุงที่ถูกสาวชาวป่าหักอกเลย นิยายทั่วไปสาวชาวป่าจะถูกไอ้หนุ่มเมืองกรุงเด็ดดมแล้วหักอกทอดทิ้ง  แต่ของผมดันกลับกัน  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 21:40

ยังจำได้ถึงภาพรพินทร์ ไพรวัลย์นุ่งโสร่ง ค่ะ

จะเล่าเหตุผลที่ทำไมจึงใช้โสร่งในระหว่างการทำงานสำรวจในสนาม ครับ

หลังจากเดินทำงานในดงกะเหรี่ยงมาพักหนึ่ง ก็ได้เห็นประโยชน์ของการใช้โสร่งของกะเหรี่ยงเทียบได้กับการใช้ผ้าขะม้า (เขียนอย่างไรถูกครับ ขะม้า หรือ ขาวม้า)  โสร่งนั้นใช้งานได้สารพัดอย่างเท่าๆกับผ้าขะม้า ที่จริงแล้วมันก็คือผ้าขะม้าเย็บชายเข้าด้วยกันนั่นเอง  ทั้งคู่ทำจากผ้าฝ้าย สามารถเลือกความหนาของผ้าเพื่อให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานได้ ลวดลายบนผืนผ้ามีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง โสร่งจะมีลายที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ในขณะที่ผ้าขะม้าที่ใช้กันในเกือบจะทุกพื้นที่จะเป็นลายตาตรางสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่  ความต่างอีกอย่างหนึ่ง คือ โสร่งมักจะเป็นผ้าทอจากโรงงานเกือบทั้งหมด ส่วนผ้าขะม้ายังคงมีการการทอด้วยมืออยู่มากพอสมควร

ผ้าขะม้านั้น ถูกนำไปใช้สารพัดงาน แต่ที่ชาวบ้านไทยนิยมใช้กันเป็นหลักนั้น ดูจะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ ใช้อาบน้ำ ใช้โพกหัว และใช้ปูนั่งหรือนอน

โสร่งนั้น ก็ถูกใช้สารพัดงานเช่นกัน แต่ที่นิยมคือใช้ใส่เป็นเครื่องนุ่งห่มห่อหุ้มกาย   ซึ่งสำหรับชาวบ้านกะเหรี่ยงนั้น ได้ใช้โสร่งเป็นผ้าห่มอีกด้วย

ช่วงหนึ่ง ผมนิยมใช้โสร่งก็เพราะเห็นว่าสะดวกในการเดินทำงานตามห้วยที่มีน้ำไหล และในห้วยขนาดใหญ่ (เช่น ห้วยขาแข้ง) เราสามารถยกชายให้สูงพ้นน้ำ จะเหน็บหยักรั้งก็ได้ โป้งโล้งดี เย็นสบาย เปียกน้ำก็แห้งใด้เร็ว  แล้วก็คล่องตัวเมื่อเรือล่มในแม่น้ำที่เชี่ยว (เช่น แควใหญ่ แควน้อย)  

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 22:12

อีกนิดหน่อยกับเรื่องของโสร่งครับ

ก็แปลกอยู่อย่างนึงนะครับ คนที่อยู่พ้นเขตแดนด้านตะวันตกของไทยทั้งหมด ที่เราเรียกว่าพม่านั่นแหละครับ ทุกชนชาติในพม่าใส่โสร่งกันทั้งนั้น แล้วแต่ละชนชาติก็มีลายโสร่งที่เป็นลักษณะจำเพาะของตน  เช่น ชาวไทยใหญ่ของรัฐฉาน โสร่งจะเป็นสีออกไปทางสีดำหรือน้ำเงินเข้มจนใกล้ดำ แล้วมีลายเส้นสีขาวสั้นๆ (คล้ายลายลอนคลื่น) ประอยู่เป็น pattern อย่างมีระเบียบ     
สำหรับโสร่งที่ดีที่สุดของพม่า (ข้าราชการในร่างกุ้งบอก) คือ ที่พวกชาวยะไข่เขาใช้กัน  มีหลากสี มีลวดลายเป็น pattern ค่อนข้างละเอียด  ทำจากฝ้าย ยิ่งซักยิ่งฟู ผ้าที่ทำมีน้ำหนักดี  ราคาค่อนข้างสูงกว่าโสร่งปรกติ เป็นที่นิยมของคนพม่าที่พอมีเงิน   ส่วนโสร่งของชาวพม่าที่อยู่ในเมืองหลักตลอดภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกลางประเทศ ตั้งแต่มัณฑะเลย์ลงมานั้น แทบจะทั้งหมดไปจากโรงงานผลิตในไทย

โสร่งของยะไข่นั้น ผมมีอยู่ตัวหนึ่ง ก็จัดว่ายากอยู่เหมือนกันที่จะหาซื้อในร่างกุ้ง ได้มานานมากแล้วครับ   

สำหรับโสร่งที่คนในภาคใต้ของเราใช้กันนั้น ส่วนมากจะไปจากโรงงานในกรุงเทพฯ  ส่วนโสร่งที่มีเนื้อผ้าหนาฟูนั้น เพื่อนบอว่าทั้งหมดเข้ามาจากทางมาเลย์เซีย

เป็นเรื่องชวนคิดนะครับว่า วัฒนธรรมโสร่งนั้นแทบจะไม่แปดเปื้อนข้ามเขตแดนเข้ามาในไทยเลย แม้กระทั่งในบริเวณที่เป็นที่อยู่ของกลุ่มคนชาติพันธุ์เดียวกัน (แถบ จ.แม่ฮ่องสอน) 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 22:22

มีการนุ่งผ้าแบบหนึ่งของชายไทยเรียกว่านุ่งผ้าลอยชาย   คือไม่ตวัดชายผ้าขึ้นโจง   เป็นวิธีนุ่งแบบอยู่กับบ้านตามสบาย  แต่พอแขกมาก็ต้องโจงให้เรียบร้อย   
ต่างจากโสร่งเพราะผ้านุ่งไทยไม่เย็บเป็นถุง  แต่ก็โป้งโล้งตามสบายอยู่เหมือนกันค่ะ
ดูๆแล้วนุ่งผ้าลอยชายเห็นจะไม่เอามาจากโสร่ง     แต่นุ่งปล่อยๆแบบตามสบาย ไม่รัดกุมอย่างนุ่งโจงกระเบน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 22:28

เมื่อหลายปีก่อนโน้นผมเคยเข้าป่าทุ่งใหญ่ฯแถวชายแดนไทยพม่ากลางดงกะเหรี่ยงไปช่วยพระที่วัดในนั้นแบกท่อน้ำทำประปาภูเขาตั้งเดือนนึงได้   ยังเกือบได้สร้างตำนานหนุ่มเมืองกรุงที่ถูกสาวชาวป่าหักอกเลย นิยายทั่วไปสาวชาวป่าจะถูกไอ้หนุ่มเมืองกรุงเด็ดดมแล้วหักอกทอดทิ้ง  แต่ของผมดันกลับกัน  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

ครับ คงจะเป็นแถวบ้านพุจือ ?
สาวกะเหรี่ยงนั้น ดูดีๆแล้วจะเห็นว่าเป็นผู้หญิงที่สวยงาม ไม่ต้องมีการปรุงแต่งใดๆเลย กริยามารยาทก็เรียบร้อย ผมว่าเรียบร้อยกว่าสาวชาวเมืองที่มีการศึกษาดีเสียอีก ยิ่งใส่ผ้าถุงขาวสะอาด นั่งทอผ้าอยู่บนชานบ้าน อารมภ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสเวลาคุยด้วย และการแสดงอาการเหนียมอายที่ดูน่ารัก

ใช่ภาพนี้ใหมครับ คุณประกอบครับ

ด้วยภาพดังนี้แหละครับ เลยมีหนุ่มเมืองไปตกหลุมรัก แต่งงานแล้วก็กลายเป็นลูกบ้านนั้นไปเลย ไม่กลับเข้าไปอยู่ในเมืองอีก  ผมเห็นมาหลายคนมากเลยทีเดียว โดยเฉพาะในหมู่บ้านที่คนเมืองสามารถเข้าถึงสถานที่นั้นได้ด้วยยานพาหนะ   สำหรับหมู่บ้านที่ต้องเดินเท้าเข้าไปนั้น ไม่พบครับ แต่เคยเห็นฝรั่งไปฝังตังอยู่กินเป็นชาวบ้านป่าไปเลย
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 22:39

ผมไปตกระกำลำบากแบกท่อน้ำอยู่แถวบ้านทิไร่ป้าครับ  ไม่ไกลจากพุจือเท่าไหร่ เป็นหมู่บ้านใหญ่ทีเดียว ฝั่งนึงอยู่ในไทย อีกฝั่งอยู่พม่า มีห้วยอะไรกั้นพรมแดนจำชื่อไม่ได้แล้ว นั่งรถจากถนนใหญ่แถวทองผาภูมิตอนเข้า กว่าจะถึงก็ตอนเย็นพอดี นี่คือในหน้าแล้ง ถ้าหน้าฝนรถเข้าไม่ได้


สาวๆ กะเหรี่ยงนี่ถ้ายังโสดจะใส่เสื้อผ้าทอสีขาวๆ กัน ทั้งเด็กทั้งสาว เค้ามีประเพณีกันว่าถ้าเหยียบกระไดบ้านใครหักต้องเสียผีรับลูกสาวบ้านนั้นไปด้วย ผมอ้วนๆ เดินขึ้นเดินลงกระแทกเท้าหลายบ้านไม่ยักกะหัก  สาวๆ แถวนั้นหน้าใสใช้ได้หุ่นบึกบึนโดนใจจริงๆ  ต่อปากต่อคำก็เก่ง เป็นแม่บ้านแม่เรือนก็ดี โดนหักอกไปหลายดอก ป่านนี้สาวๆ เหล่านั้นลูกๆ คงโตกันหมดแล้ว


ไปอยู่แถวนั้นราวๆ เดือนนึง ผมยังไม่รู้จักกลัวเสือกลัวผีเท่าไหร่  ช่วงนั้นมีข่าวคนเห็นเสือแถวๆ หมู่บ้าน ชาวป่ากลัวกันผมคนเมืองไม่ตระหนัก เดินแบกท่อโทงๆ กับพระบ้าง ถ้าท่อเล็กหน่อยก็ฉายเดี่ยวแบกคนเดียวเดินลัดป่าขึ้นเขา คิดถึงตอนนีแล้วก็เสียวไม่หยอก ดีว่าไม่เจอเสือขบ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 22:47

มีการนุ่งผ้าแบบหนึ่งของชายไทยเรียกว่านุ่งผ้าลอยชาย   คือไม่ตวัดชายผ้าขึ้นโจง   เป็นวิธีนุ่งแบบอยู่กับบ้านตามสบาย  แต่พอแขกมาก็ต้องโจงให้เรียบร้อย   
ต่างจากโสร่งเพราะผ้านุ่งไทยไม่เย็บเป็นถุง  แต่ก็โป้งโล้งตามสบายอยู่เหมือนกันค่ะ
ดูๆแล้วนุ่งผ้าลอยชายเห็นจะไม่เอามาจากโสร่ง     แต่นุ่งปล่อยๆแบบตามสบาย ไม่รัดกุมอย่างนุ่งโจงกระเบน

ผมได้เคยมีโอกาสใส่โจงกระเบนในงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคครั้งหนึ่ง (คุณนวรัตน์ก็ด้วยเหมือนกัน) ต้องใส่กันอยู่หลายชั่วโมงเลยทีเดียว  กว่าจะปลดทุกข์ได้แทบตาย ชั้นนอกเป็นโจงกระเบน ห่อหุ้มกางเกงขาสั้น แล้วก็ยังมี กกน.อยู่ชั้นในสุด    ก็เลยพอจะเข้าใจดีครับสำหรับการนุ่งผ้าลอยชาย    การมีหางโจงขนาดแขนตวัดลอดอยู่ใต้ขา จะนั่งเต็มก้นก็เหมือนนั่งทับท่อนไม้ ได้แต่นั่งตะแคงก้น หรือไม่ก็เอาก้นยันกำแพงกึ่งยืนกึ่งนั่ง  ดังนั้น เมื่อไรที่อยู่ในความเป็นส่วนตัวหรือพักผ่อน การปลดหางโจงจึงเป็นสิ่งที่กระทำกัน

จะด้วยหางโจงหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ จึงทำให้เกิดการนั้่งพับเพียบ จนกลายเป็นกริยาที่เรียบร้อย นอบน้อม เป็นที่ยอมรับในสังคม กลายเป็นประเพณีสืบทอดต่อๆมา ??
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 23:04

ผมไปตกระกำลำบากแบกท่อน้ำอยู่แถวบ้านทิไร่ป้าครับ....... 

อ้อ บ้านทิไร่ป้า หน้าฝนไม่ต้องเข้าเลย  ถนนเส้นที่วิ่งจากทองผาภูมิไปหมู่บ้านแถวนั้น เข้าเสน่พ่อง ไปจนพุจือ ไปห้วยแม่กษัตริย์ ปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นเหมือนเดิมครับ

ทิ ในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า น้ำ 

ผมว่า หากคุณประกอบหลุดปากพูดไปว่า เยออ้ายเน่อ (ฉันรักเธอ) ก็คงต้องกลับไปอยู่ที่ทิไร่ป้าแล้ว  คงไม่มีใครสอนให้พูดว่า เยอบัดสะริเน่อ นะครับ มันแปลว่าผมอยากนอนกับคุณ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.116 วินาที กับ 20 คำสั่ง