เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 46902 เสี้ยวหนึ่งกับป่าดงและชาวถิ่น
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 16 ต.ค. 13, 23:56

ขอบคุณครับที่เข้ามาช่วยเสริมความรู้

ขอต่อเรื่องใบตองตึงอีกเล็กน้อย

เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นมีการใช้ใบตองตึงมาก จึงมีอาชีพเก็บใบตองตึงไปขาย  ในปัจจุบันนี้มีการใช้ถุงพลาสติกและใบตองกล้วยแทน จึงทำให้เกือบจะไม่เห็นตลาดชาวบ้านใช้ตองตึงกัน เท่าที่ทราบจากคำบอกเล่า ก็คือหายาก และไม่นิยมใช้กันแล้ว    ดั้งเดิมเมื่อใช้ใบตองตึงนั้น เขาจะใช้ตอก (ไม้ไผ่จักให้เป็นตอก) เพื่อรัดห่อของนั้นๆ  ต่อมาในช่วงประมาณ พ.ศ.2505 +/-  แม่ค้าในตลาดในเมืองต่างๆก็เริ่มเปลี่ยนไปใช้ยางรัดแทนตอก (ภาษาเหนือเรียกว่ายางรัดว่า หนังวีอง หรือ หนังวง) แต่ตลาดในชนบทก็ยังคงใช้กันอยู่  จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.2515 (จากข้อสังเกตที่พอจำได้นะครับ) เมื่อแถว จ.กำแพงเพชร ได้เริ่มปลูกกล้วยไข่กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งเป็นจังหวะที่ถนนช่วงนครสวรรค์-กำแพงเพชร ได้ก่อสร้างเสร็จ ใบตองกล้วยก็เริ่มขยายตลาดออกไป ในที่สุดการใช้ใบตองตึงก็หมดไป

ต้นตองตึง ในภาษาภาคกลางก็คือ ต้นพลวง เป็นไม้ยืนต้นที่สูงได้ในระดับ 20-30 เมตร พื้นที่ที่พบจะเป็นบริเวณที่เป็นดินปนหิน แห้งแล้ง ที่เรามักจะเรียกพื้นที่นี้ว่าป่าเต็งรัง แต่จริงๆแล้วส่วนมากจะเป็นต้นพลวงและต้นเหียง   ป่าเหียงและพลวงนี้จะพบในบริเวณที่เป็นตะพักลำน้ำเก่า (river terrace) เป็นพื้นที่ๆมีการสะสมของตะกอนลำน้ำ (ทราย กรวด ดินโคลน) สภาพของดินจึงเป็นกรด ทำให้มีต้นไม้ไม่มากชนิดที่จะขึ้นได้ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นจะเป็นพวกที่มีเปลือกหนา

ครับแล้วค่อนขยายต่อ

 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 05:10

แล้วกัน ผมนึกว่าใบตองตึงคือใบสักเสียอีก สมัยเด็กๆเคยไปล่องแก่งแม่ปิงจากเชียงใหม่มาตาก แพทำด้วยไม้ไฝ่กับใบตองตึง ผู้ใหญ่บอกผมว่าชาวเหนือเรียกใบสักว่าใบตองตึง

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/06/K7930494/K7930494.html


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 17 ต.ค. 13, 22:54

เข้าใจไม่ผิดซะทีเดียวหรอกครับ 

ใช่ครับ คนทางเหนือนำใบตองตึงมาพับแล้วเย็บเข้ากับก้านไม้ไผ่ เป็นตับๆ แล้วก็เอาไปมุงหลังคา  เรียกว่าหลังคาตองตึง   อันหลังคาตองตึงนี้จะใช้กับที่พักอาศัยชั่วคราว หรือเมื่อแรกย้ายที่อยู่เท่านั้น  เราจึงพบการใช้หลังคาตองตึงก้บที่พักกลางทุ่งนาที่เรียกว่า ห้างนา หรือ เขียงนา   และก็จะพบการใช้กับบ้านพักพิงชั่วคราวตามชายทุ่ง (ทุ่งที่อยู่ในป่าดง) เมื่อเขาออกไปเลี้ยงวัวหรือเก็บของกินในป่า  ด้วยลักษณะการใช้ในลักษณะนี้ จึงได้พบเห็นบ่อยครั้งที่มีการใช้ใบต้นสักด้วย   ผมเดาเอาว่าเหตุที่ไม่นิยมใช้ใบต้นสักก็เพราะในสักมีขน อาจจะทำให้เกิดการคันเมื่อใบสักแห้ง

หลังจากที่ใช้หลังคาตองตึงกับบ้านพักอาศัยเป็นการชั่วคราวแล้ว ชาวบ้านเขาก็จะเปลี่ยนไปใช้หญ้าคา  หลังคาหญ้าคาเป็นงานละเอียดและคงทนมากกว่าใบตองตึง กันฝนและให้ความอบอุ่นได้ดีกว่าใบตองตึงมาก นอกจากนั้นแล้วใบตองตึงยังแห้งกรอบและหักแหว่งได้ง่ายอีกด้วย   
แท้จริงแล้วมันยังมีเรื่องของช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย   ดังได้กล่าวมาแล้วว่าตองตึงเป็นต้นไม้สูง เวลาที่เหมาะสมจะเก็บเกี่ยวใบตึงมีอยู่สองช่วง คือ ช่วงแตกใบใหม่เมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน และช่วงที่ต้นไม้ผลัดใบ  ผมเคยเห็นพื้นที่ที่มีต้นพลวงถูกตัดเหลือแต่ตอ ที่เมื่อเข้าฤดูฝนแล้วก็จะมีใบแตกออกมา ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเป็นการตั้งใจทำสวนทำไร่ตองตึงหรือไม่

หลังคาหญ้าคานั้นจะมีราคาแพงมากกว่าตองตึง เก็บเกี่ยวและจัดเย็บเป็นตับสำหรับใช้ในการมุงหลังคาได้ยากกว่า      นึกถึงตอนเดินป่าผ่านเข้าไปในดงหญ้าคา ใบของมันบาดจนแขนลนลายไปหมด แถมยังรู้สึกแสบๆคันๆแบบมันอีกด้วย เนื่องจากเหงื่อที่เค็มของเราเยิ้มเข้าไปตามรอยบาดเหล่านั้น

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 18 ต.ค. 13, 10:57

เอาภาพประกอบ ใบตองตึง  มาเสริมค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 18 ต.ค. 13, 11:14

หลังคาหญ้าคา


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 18 ต.ค. 13, 19:51

หะแรกคิดว่าจะมีเวลาเขียนคืนนี้อีกสักตอน  พอสำรวจดูเวลาแล้วไม่ได้แน่ๆ เลยต้องมาบอกกล่าวเสียแต่ตอนนี้ว่า ผมจะไป ตจว. ประมาณสัปดาห์หนึ่ง จึงขออภัยที่จะต้องเว้นวรรคไปครับ
บันทึกการเข้า
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 21 ต.ค. 13, 15:10

 ยิ้ม
สมัยเด็กๆเวลาไปซื้อหมูที่ตลาดสด เค้าจะใช้ใบแบบนี้ห่อมาให้พร้อมใช้เชือกกล้วยผูกให้หิ้ว เพิ่งทราบว่าเรียกใบตองตึง

เพราะเข้าใจมาตลอดว่าเป็นใบสัก ขอบคุณมากๆสำหรับความรู้ดีๆและรูปภาพสวยๆจากทุกๆท่านค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 29 ต.ค. 13, 19:52

กลับจาก ตจว. แล้วครับ

ใบตองตึงนี้ เท่าที่จำได้จากการออกไปทำงาน (ออกสำรวจ) ในพื้นที่ต่างๆ   พบว่ามีการใช้เฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น คือ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน แล้วก็จำได้ว่าไม่พบต่ำลงมากว่า อ.เถิน ของ จ.ลำปาง, อ.เด่นชัย อ.ลอง (ไม่ลงไปถึง อ.วังชิ้น) ของ จ.แพร่  อย่างไรก็ตาม ก็พบว่ามีการใช้กันบ้างในบางหมู่บ้านและชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนด้านตะวันตก (ลงไปถึงในพื้นที่ของ อ.สังขละบุรี ของ จ.กาญจนบุรี)
   
นอกจากนั้นแล้วก็พบว่ามีการใช้ในหมู่ชาวพม่าที่อยู่ตามตะเข็บชายแดน และรวมทั้งบรรดาชาวเขาทั้งหลาย ยกเว้นชาวม้ง (ชาวม้งนี้ ไม่แน่ใจนัก)

ดังที่เล่ามานี้ ทำให้ผมจินตนาการ (เดา) ไปใน 2 เรื่อง คือ เรื่องธรรมชาติของป่าตองตึง และเรื่องทางวัฒนธรรมของการใช้ใบตองตึง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 29 ต.ค. 13, 19:56

ลากเก้าอี้มาฟังต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 ต.ค. 13, 20:47

เมื่อวานนี้เครื่องคอมพ์รวนนิดหน่อย เลยต้องลงจากเวทีครับ

ต่อครับ
ธรรมชาติของป่าตองตึงหรือป่าตึง - พบเป็นผืนป่าหย่อมๆมากกว่าที่จะเป็นผืนป่าขนาดใหญ่มากๆ เกิดในพื้นที่ๆเป็นดินปนหินปนกรวด เป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี พื้นดินจึงดูแห้งแล้ง ต้นตึงมีความสูงได้ในระดับประมาณ 20 เมตร แต่ส่วนมากจะพบว่าสูงในระดับประมาณ 5-10 เมตร เปลือกของต้นมีความหนามากและแตกเป็นร่องลึก ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของไม้ในพื้นที่แห้งแล้ง  ต้นตึงเป็นต้นไม้ผลัดใบ จึงพบเห็นใบร่วงหล่นแห้งกรอบอยู่ตามพื้น    ป่าตึงเป็นป่าที่โปร่ง ต้นไม้แต่ละต้นขึ้นค่อนข้างห่างกัน (อย่างน้อยก็ 1 เมตรขึ้นไป) เกือบจะไม่มีไม้พื้นล่างหรือไม้คลุมดิน

เล่ามาเป็นพื้น เพื่อจะเล่าต่อไปว่า นอกจากใบจากต้นตึงจะมีประโยชน์ใช้สอยอย่างมากแล้ว ตัวต้นเองก็นำมาใช้เป็นเสาและโครงสร้างบ้านสำหรับชาวบ้านป่าโดยทั่วไป  ป่าตึงนี้มีความสำคัญในระบบนิเวศน์มาก    เมื่อแรกเริ่มฤดูฝน ผืนดินของป่าที่ตลอดช่วงแห้งแล้งเกือบจะไม่มีวัชพืชใดๆขึ้นเลยนั้น ก็จะมีหญ้าระบัดงอกเงยออกมาเต็มพื้นที่ (ระบัดแปลว่าผลิ แต่ชาวบ้านก็เรียกหญ้าที่งอกออกมาว่า หญ้าระบัด) เป็นแหล่งหญ้าอ่อนสำหรับสัตว์กินหญ้าทั้งหลาย หลังจากที่ค่อนข้างจะอดของอร่อยมานานหลายเดือน  โดยเฉพาะสัตว์พวกที่มีเขาจะชอบมาก เพราะเดินเล็มหญ้าสบายๆ เนื่องจากเป็นป่าโปร่ง ไม่มีอะไรมาระเกะระกะเขา   คงนึกออกแล้วนะครับว่า ป่านี้จะพบเห็นสัตว์อะไรได้บ้าง แล้วก็คงจะนึกออกต่อไปว่าแล้วนายพรานจะไปด้อมๆอยู่ที่ใหนกันบ้าง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 30 ต.ค. 13, 21:26

คราวนี้ ย้อนไปในช่วงก่อนฝน ต้นไม้ก็จะผลัดใบ มีใบแห้งร่วงและแห้งกรอบอยู่ตามพื้นดินเต็มไปหมด แต่ไม่ได้ทับถมกันแบบหนาแน่น     เนื่องจากช่วงก่อนฝนตั้งแต่ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปนั้น อากาศจะแห้งและใบไม้ก็จะแห้งมาก   ชาวบ้านป่าทั้งหลายที่เดินผ่านป่าประเภทนี้ก็จะจุดไฟเผาใบไม้ เพื่อเปิดหน้าดินให้โอกาสหญ้าระบัดงอกเงยออกมาเมื่อฝนตก บางคนก็จุดไฟเพื่อหวังจะได้มาล่าสัตว์ บางคนก็จุดไฟเพื่อสัตว์จะได้มีกินกัน  ทั้งนี้ จากประสบการณ์อันยาวนานของผมกับชีวิตในป่าดง ผมพบว่าชาวบ้านป่าเกือบทั้งหมดจะจุดไฟเพื่อช่วยให้สัตว์มีแหล่งอาหารกินกัน ไม่คิดในเรื่องจะกลับมาล่ามันไปเป็นอาหาร ก็เรียกได้ว่าเขามีคุณธรรมกันพอควรเลยทีเดียว
  
นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เราจะเห็นควันไฟในผืนป่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม  การจุดไฟเพื่อให้หญ้าระบัดงอกขึ้นนี้ ชาวบ้านป่าเขาจะทำกันเป็นกิจวัตรประจำปีกัน ก่อนจะจุดก็จะมีการดูช่วงเวลาที่เหมาะสม ดูลม ดูความแห้งของใบไม้ ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้ไฟลุกลามไปมากกว่าพื้นที่ๆต้องการ   ที่เราเห็นไฟป่าเป็นไฟลามทุ่งนั้น มักจะเกิดจากฝีมือของพวกลักลอบล่าสัตว์ เนื่องจากความไม่รู้จักพื้นที่นั้นๆ  

ในช่วงเดือนดังกล่าวนี้ ก็จะมีการเผาไม้ที่ถางออกจากการเปิดป่าเพื่อทำการเกษตรด้วย ทั้งหมดเป็นเป็นการเผาที่มีการกำหนดขอบเขตและควบคุมค่อนข้างดี (จะได้เล่าในโอกาสต่อไป)

ฝุ่นควันไฟที่ออกมาจากป่าในช่วงเดือนนี้ จะถูกกดให้ลอยอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมวลอากาศยังมีความหนาแน่นสูง ยังเป็นช่วงของมวลอากาศเย็นที่ไหลมาจากทิศเหนือเข้าปกคลุมประเทศ  ผลอย่างหนึ่งก็คือ เกิดสภาพอากาศที่เรียกว่าหมอกแดด (haze) หรือสภาพฟ้าหลัว

  
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 30 ต.ค. 13, 21:56

ช่วงที่ทำงานแล้วต้องเดินผ่านป่านี้เมื่อเขาได้จุดไฟเผาแล้วจะเป็นช่วงที่ทุกคนมอมแมมากที่สุด  ฝุ่นจากขี้เถ้าจะฟุ้งขึ้นมาจากการเดินมาทำหน้าที่เป็นแป้งประพรมเสื้อผ้า ใบหน้าและผม     ถ่านจากเปลือกไม้ที่ใหม้ไฟอยู่ตามต้นและกิ่งไม้จะช่วยแต่งเติมลายเส้นและปื้นสีดำบนเสื้อผ้าและใบหน้า   สำหรับตัวผมเองยิ่งสกปรกหนักเข้าไปใหญ่เพราะจะต้องหยิบจับหินดิน สภาพความสกปรกของมือจึงไม่ค่อยจะต่างไปจากเท้ามากนัก  (ผมใส่รองเท้าแตะเดินป่าครับ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 30 ต.ค. 13, 23:28

เรื่องทางวัฒนธรรมของการใช้ใบตองตึง

เรื่องนี้ทำให้ได้ทบทวนความจำ แล้วก็พบว่า แท้จริงแล้วในภาคตะวันออกแถวจันทบุรีโน่นก็มีการใช้ตองตึง ในภาคอิสานก็มีการใช้เช่นกัน 
ผมไม่คุ้นกับภาคตะวันออกและอิสาน เลยทำให้ไม่แน่ใจในเรื่องของวิถีการใช้ใบตองตึง  ซึ่งการใช้ในการทำหลังคานั้นมีแน่นอน แต่การใช้เป็นวัสดุสำหรับห่อของกินนั้น เท่าที่เห็นเป็นปรกติก็เห็นจะมีเฉพาะการใช้บุข้างกระชุหรือชะลอมเท่านั้น  ซึ่งต่างจากภาคเหนือ (ตามเขตพื้นที่ที่ผมได้กล่าวถึง) ที่มีการใช้เป็นวัสดุสำหรับห่อของกินอย่างเป็นปรกติ
 
ดูจะมีความต่างกันในระหว่างกลุ่มชนที่อยู่ในถิ่นภาคกลางกับกลุ่มชนที่อยู่ในภาคอื่นๆ  จะกล่าวว่าเพราะในภาคกลางไม่มีป่าตึงหรือหาใบตองตึงได้ยาก ก็ถูกในส่วนหนึ่ง แต่ก็มีกลุ่มชนที่อยู่ในพื้นที่ชายขอบของภาคกลางซึ่งมีพื้นที่ป่าตึงอุดมอยู่ ก็ดูจะไม่มีการใช้ตองตึง แต่กลับนิยมใช้ตองกล้วยตามคนในที่ราบลุ่มส่วนกลาง   ซึ่ง ?? คล้ายกับว่าเป็นคนละกลุ่มสายพันธุ์กัน  อย่างไรก็ตาม ความเหมือนและความต่างก็น่าจะเป็นเรื่องทาง social anthropology

เขียนเลอะเลือนเลอะเทอะไปใหนๆแล้วก็ไม่รู้ครับ   สมควรจะพอได้แล้ว   ไป อ.เทิง ยังไม่ถึงใหนเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 09:59

ตามอ่านอยู่ค่ะ    จะพาเดินไปทางไหน ลูกหาบในเรือนไทยก็เดินตามอย่างว่าง่ายไปเป็นพรวนกันเลยละค่ะ

เอารูปไส้อั่วห่อด้วยใบตองตึงมาลงประกอบ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 21:59

เห็นใส้อั่วแล้วเลยต้องขอขยายความ

ใส้อั่วเป็นอาหารเฉพาะถิ่นของภาคเหนืออย่างแท้จริง ไม่พบว่ามีการทำลงมาในเขต จ.ตาก จ.อุตรดิตถ์ แล้วก็ไม่พบว่ามีการทำในหมู่คนชาวเขาทั้งหลายอีกด้วย
     
มีความน่าสนใจอยู่ประการหนึ่ง คือ อาหารที่ทำในรูปของใส้กรอกนี้มีการทำกันในแทบจะทุกชาติพันธุ์ ในไทยเราก็มีอยู่หลายชนิดและแต่ละชนิดก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง    ทีนึกออกในทันทีก็คือ
              - ใส้กรอกข้าวเหนียวใส่ถั่วลิสง ที่กินคู่กับตือฮวน (อาหารชุดนี้มีกินในเวียดนามด้วย) 
              - ใส้กรอกข้าวผสมเนื้อ ที่เราเรียกกันว่าใส้กรอกอิสาน (แพร่หลายอยู่ในญี่ปุ่นแล้ว)
              - ใส้กรอกเครื่องแกง ที่เราเรียกว่าใส้อั่ว
              - ใส้กรอกหมู ที่เราเรียกว่ากุนเชียง
              - ใสกรอกตับ ที่เราเรียกว่าน้ำตับ หรือ มั่ม

แปลกอยู่ประการหนึ่งคือ ความต่างกับฝรั่ง ตรงที่ของฝรั่งนั้น แม้จะเป็นกลุ่มคนต่างชาติพันธุ์กัน ลักษณะของใส้กรอกก็ใม่ต่างกันมาก  แต่ของไทยซึ่งกลุ่มคนแทบจะเป็นชาติพันธุ์เดียวกันทั้งหมด กลับมีการทำใส้กรอกต่างอย่างสิ้นเชิง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง