เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 46760 เสี้ยวหนึ่งกับป่าดงและชาวถิ่น
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 14 ม.ค. 19, 09:45

ผมเคยดูยูทูป มีรายการหนึ่งเขาทดลองเอาเขียงไม้มะขามมาเป็นเป้า แล้วยิงด้วยปืนขนาดต่างๆ พบว่า แม้จะเป็นปืนขนาด .45 ก็ยังเจาะเขียงไม้มะขามไม่ทะลุ
แสดงว่า เหนียวแน่นและทนทานจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 14 ม.ค. 19, 18:33

ไม้มะขามมีเนื้อแน่นเช่นนั้นจริงๆ สามารถทนทานการใช้ได้นานมาก   คงจะเคยเห็นเขียงไม้มะขามในร้านขายพวกเป็ดย่าง หมูแดง หมูกรอบ และข้าวมันไก่ เขานิยมใช้ขนาดกว้างประมาณศอกหนึ่ง หนาประมระมาณ 15-20 ซม. พวกนี้จะใช้กันมานานหลายสิบปีแล้ว แม้จะมีการขูดทำความสะอาดผิวบ่อยครั้งมากจนผิวหน้าเขียงเป็นหลุม ก็ยังคงมีความทนทานในการใช้งานต่อไปได้อีกนาน

ผมก็ชอบเขียงไม้มะขาม เมื่อเห็นมีวางขายก็จะต้องหาทางแวะดู แต่ด้วยที่เรื่องมากหน่อยก็ทำให้เลือกที่ถูกใจได้ยาก บางครั้งซื้อมาใช้แล้วก็ไม่ถูกใจแบบถึงจุดพอใจที่สุด
       
ครับ..ทั้งขนาดความกว้าง ความหนา ความหนัก ตำแหน่งของแก่นไม้ของเขียง ทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กับลักษณะของการใช้ในการทำครัวของแต่ละคน ก็ตั้งแต่ลักษณะและชนิดของมีดที่ชอบใช้ ลักษณะของการใช้เขียง (หั่น สับ บะช่อ) ความเสถียร(การขยับเขยื้อน)เมื่อใช้งาน ความหนักเบาในการเคลื่อนย้าย....

คนทำครัวที่ชอบใช้มีดมีน้ำหนัก(มีดแบบจีน) ก็จะนิยมใช้เขียงแบบไม้มะขาม  คนที่ชอบใช้มีดเล็ก(มีดแบบตะวันตก)หรือทำอาหารพวกหั่นซอยก็จะใช้เขียงที่เป็นลักษณะแผ่นไม้   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 14 ม.ค. 19, 18:50

มีดแบบจีนนั้นหาซื้อได้ทั้งแบบที่ทำโดยคนไทยหรือชุมชนแหล่งตีมีดต่างๆของไทยเรา เช่น ของอยุธยา นครราชสีมา เพชรบูรณ์ ลำปาง แพร่ เป็นต้น     หรือจะหาซื้อแบบที่ทำมาจากจีนหรือฮ่องกงก็ได้ มีไม่มากรูปแบบนัก เท่าที่รู้ก็มีในร้านย่านถนนแปลงนาม (เยาวราช-เจริญกรุง) ราคาอยู่ในหลักต้นๆของหน่วยพันบาท  หากชอบก็พอคุ้มอยู่นะครับ ใช้ได้เหมาะมือตามใจอยากเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 14 ม.ค. 19, 19:33

เลยเถิดไปถึงเรื่องมีดทำครัว   ขอวกกลับไปเรื่องหนังสติ๊กอีกเล็กน้อย

ยางที่ใช้กับหนังสติ็กสมัยก่อนก็มีความต่างกับที่มีขายอยู่ในสมัยนี้  ยางสมัยก่อนนั้นจะมีลักษณะออกไปทางเป็นเส้นแบน กว้างประมาณเกือบๆ 1 เซ็นติเมตร หนาประมาณ 2-3 มิลิเมตร และมีความยาวและยืดหยุ่นมากกว่าในปัจจุบัน  ยางของสมัยปัจจุบันนี้จะออกลักษณะไปทางเส้นอ้วนใกล้จะกลม มีความยืดหยุ่นไม่มาก   ขยายความเรื่องยางนี้ก็เพียงจะบอกว่า ในสมัยนั้น เราสามารถปรับแต่งความยืดหยุ่นได้อย่างตามใจเราด้วยการผูกให้มันยาวหรือสั้น ต่างกับของในปัจจุบันนี้ที่ยางจะสั้นจนไม่สามารถปรับจะแต่งได้เลย  ก็มีส่วนประกอบของหนังสติ๊กอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะต้องรู้จักกัน ที่เรียกว่าหนังรอง ในภาษาเหนือนั้นเรียกส่วนประกอบนี้ว่า ...ก๋ง (คำหยาบของอวัยวะเพศหญิง)

เพียงหนังสติ๊กอย่างเดียว เด็กและผู้ใหญ่ในชนชทห่างไกลก็เป็นเรื่องที่เอามาคุยมาถกกันได้ ก็เป็นความสุขและความสุนทรีย์อีกอย่างหนึ่งในชีวิตของผู้คนสมัยโน้น  จะจัดให้เป็นลักษณะของการเรียนรู้ธรรมชาติในเรื่องของ behavior ของ elasticity, rebound, trajectory .. ก็น่าจะพอได้อยู่เหมือนกัน   

ง่ามหนังสติ๊กนี้เป็นของที่ผมสนใจสะสมเหมือนกัน แต่ต้องเป็นแบบชาวบ้าน มิใช่ของที่ผลิตขายแบบอุตสาหกรรม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 15 ม.ค. 19, 19:04

การละเล่นของเด็กบ้านป่าจริงๆนั้น เท่าที่ประสบมาไม่ว่าจะเป็นที่ใดๆดูจะมีอยู่สองสามอย่างเหมือนๆกัน คือ ตีล้อ (ตีแป้นไม้กลม) ลากกล่องหรือท่อนไม้(เสมือนรถยนต์) และปั้นดิน  สำหรับกิจกรรมอื่นๆเพื่อความสนุกก็คือไปหาแมลงหรือสัตว์ตัวเล็กเอามาทำกินเล่นกัน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าพื้นที่ใหนจะมีแมลงอะไรและในฤดูอะไร   

หากเป็นในภาคเหนือ ก็นิยมจะไปขุดหาจิ้งกุ่ง   ส่วนที่สนุกกันก็คือการจดจ้องและความพยายามในการเอาตัวมันออกมา เช่น ขุดจนเป็นแอ่งแล้วไปตักน้ำมาเทใส่ให้ท่วมรูของมันจนมันต้องออกมา หรือเพื่อให้ดินนิ่มจะได้ขุดได้ง่ายขึ้น  ก็ตามประสาเด็ก กว่าจะขุดได้ตัวหนึ่งก็ใช้เวลานานเลยทีเดียว ขนาดตัวของจิ้งกุ่งก็จะประมาณนิ้วก้อยของเรา  ที่ว่าสนุกเพลิดเพลินกันจริงๆก็คือการได้พูด ได้ถกกัน ได้หาทางเอาตัวมัน ได้แหย่กัน   เมื่อได้ตัวมาแล้วก็เอามาหมกใต้เตาหรือในกองไฟ คะเนว่าสุกแล้วก็เอาออกมาเด็ดหัวทิ้งไป แบ่งกันกิน ตัวหนึ่งกับเด็กสองสามคน ก็พอจะได้แต่เพียงลิ้มรสเท่านั้นเอง       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 15 ม.ค. 19, 19:24

จิ้งกุ่งนี้ เป็นของอร่อยและมีขายในตลาดเช้าทั่วๆไปในพื้นที่ภาคเหนือ  ในเชียงใหม่ในช่วงปี 2510+ ก็ยังเห็นมีทำขายกันในตลาดใหญ่กลางเมือง เอามาเสียบไม้สี่ห้าตัวแล้วชุบไข่หรือชุบแป้งทอด กินกับข้าวเหนียวห่อนึง (50 สตางค์) กับน้ำพริกตาแดง (หยิบนึง 25สตางค์) ผักต้ม (หยิบหนึ่ง 25 สตางค์) มื้อนั้นรวมกัน 2 บาท ก็อิ่มแล้ว   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 15 ม.ค. 19, 20:12

เมื่อย่างเข้าต้นฝนก็จะมีแมงมัน   เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยจะมีแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโดนยาฆ่าแมลงตายกันไปหมด ขายกันแพงมาก ปริมาณถ้วยตะไลหนึ่งราคาไม่น้อยกว่า 20 บาท หากคิดเป็นกิโลกรัมราคาก็น่าจะถึงประมาณ 2,000 ++ บาทเลยทีเดียว  แมงมันนี้ชอบแสงไฟที่สว่างๆ และจะมาตอมไฟพร้อมๆกับแมลงเม่า

เมื่อเห็นแมลงเม่ามาตอมไฟ ก็ได้เวลาจะเอากะละมังใส่น้ำไปวางไว้ใต้หลอดไฟเพื่อดักเอาแมลงเม่าไปทิ้ง เราก็จะได้แมงมันด้วย เก็บรวมกับที่มันเดินอยู่ตามพื้นก็พอจะได้จำนวนไม่น้อย     ในชนบทห่างไกล ชาวบ้านที่ใช้ตะเกียงเจ้าพายุก็มีโอกาสจะได้แมงมันเป็นจำนวนมาก ส่วนชาวบ้านที่ใช้ตะเกียงรั้วหรือตะเกียงกระป๋องก็เกือบจะไม่มีโอกาสจับแมงมันได้เลย 

ผมชอบแมงมันคั่วแห้งๆกับน้ำมันนิ๊ดเดียวในกระทะร้อนๆแล้วโรยเกลือ    ในปัจจุบันนี้ ด้วยที่มันมีราคาแพงมาก ชาวบ้านจึงนิยมเอาไปตำน้ำพริกกัน แทนที่จะเอามาคั่วแบบแต่ก่อน

แมงมันเป็นแมลง เป็นมดชนิดหนึ่ง เป็นตัวนางพญาของมดพันธุ์นั้น เป็นตัวแม่พันธุ์รุ่นใหม่ที่บินออกไปเพื่อจะสร้างอาณาจักรใหม่  แหล่งที่อยู่ของมันมักจะมีลักษณะเป็นเนินดินคล้ายรังปลวก ชาวบ้านที่มีความชำนาญจะพยายามหารังของแมงมัน แล้วขุดเอาไข่และตัวอ่อนของมันออกมาทำกิน       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 15 ม.ค. 19, 20:14

จิ้งกุ่งคือตัวนี้ใช่ไหมคะ
ทำใจลำบากถ้าจะต้องกินค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 15 ม.ค. 19, 20:18

แมงมัน ก็ทำใจลำบากเหมือนกัน ได้ข่าวว่ากิโลละ 1000 บาท  คงประหยัดเงินได้คราวนี้ละค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 15 ม.ค. 19, 20:38

ตัวจิ้งกุ่ง ก็เป็นดังภาพนั้นครับ ในมุมหนึ่งมันก็คือจิ้งหรีดอย่างหนึ่งที่อยู่ในรู ตัวใหญ่กว่าจิ้งหรีดที่เราเห็นเขาเอามาทอดขายกัน ตัวจิ้งกุ่งนั้นเราเกือบจะไม่เห็นเลยว่ามันมีปีก

สำหรับแมงมันนั้นหากเด็ดปีก เด็ดส่วนหัวและตัวทิ้งไป เหลือแต่ส่วนท้องลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วเขียวสีดำแดงเข้ม หากไม่บอกว่าเป็นอะไรก็น่าจะกินได้นะครับ จะไปสงสัยว่าเป็นอะไรหว่าก็คงจะเป็นตอนที่รู้สึกมีกากคล้ายเกล็ดปลาเล็กๆอยู่ในปาก

ผมเองไม่ได้รู้สึกว่าเป็นของโปรดหรือของมักอีกเลยนานมาแล้วครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 16 ม.ค. 19, 19:31

ในประสบการณ์ของผม คนบ้านป่าไม่นิยมกินพวกแมลง ต่างกับคนในชนบทที่มีอาชีพทำนา ทำไร่ หรือทำสวน ซึ่งนิยมกินแมลงชนิดต่างๆ    ก็มีเหตุผลที่เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของพื้นที่ ทั้งทางด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ ระบบนิเวศน์ วัฎจักรการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ สังคมและวิถีของการดำรงชีพ   

คนบ้านป่าในความหมายของผม คือผู้คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ราบลอนคลื่น (undulating terrain) และในพื้นที่ป่าเขา (ridge and valley terrain)   ส่วนคนในชนบทในความหมายของผม คือผู้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ๆเป็นตะพักลำน้ำ (river terrace terrain) และที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain area) 

ด้วยสภาพและลักษณะทางธรรมชาติ คนบ้านป่าโดยทั่วไปนิยมที่จะหากินสัตว์บกพวกเลี้ยงลูกด้วยนมและนก สัตว์น้ำก็จะเป็นพวกปลาและพวกกบเขียด    สำหรับคนในชนบททั่วไปอยู่ในระบบนิเวศน์ที่หลากหลายมากกว่า จึงมีโอกาสที่จะหาของกินได้หลากหลายมากตามไปด้วย แมลงจึงเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งในเมนูอาหารของผู้คนในชนบท 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 16 ม.ค. 19, 20:13

ช่วงเวลาปลายฤดูหนาวต่อไปจนถึงช่วงต้นฤดูฝน จะเป็นช่วงของเวลาการเร่งการเจริญวัยให้เต็มที่ของแมลงส่วนใหญ่ เพื่อพร้อมจะออกหาคู่ขยายพันธุ์ต่อไป  ต้นไม้ก็เริ่มแตกใบอ่อน เป็นอาหารชั้นดีให้กับแมลงเหล่านั้น 

ก็มีแมลงอยู่อีกสองชนิด(นอกเหนือจากแมงมัน)ที่ดูจะเป็นที่รอคอยของชาวบ้าน โดยเฉพาะคนในภาคเหนือและอีสาน คือ แมงนูน กับแมงขี้เบ้า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 17 ม.ค. 19, 19:17

แมงนูน มีชื่อเรียกอื่นๆเช่น แมงอีนูน แมงกินูน แมงจินูน  เป็นแมลงที่นิยมเอามากินกันของผู้คนในภาคเหนือและอีสาน  การไปจับแมงนูนนี้เป็นกิจกรรมของความสุขเมื่อยามค่ำของชาวบ้านและเด็กๆ  เมื่อฟ้ามืดดีแล้ว ก็จะใช้ไฟฉายเดินท่อมๆไปส่องดูตามใบของต้นไม้ พวกนี้จะอยู่กันเป็นกลุ่ม เมื่อพบว่ามีตัวเคลื่อนไหวก็จะเอาผ้าขาวม้ามารองใต้ต้น แล้วเขย่ากิ่งให้มันร่วงตกลงมา  ผมสัมผัสกับเรื่องของแมงนูนนี้น้อยมาก ก็คงจะขยายความได้เพียงเท่านี้ 

เช่นเดียวกันกับขี้เบ้าที่ผมก็สัมผัสกับเรื่องราวของมันน้อยมาก เคยไปขุดกับเขาเมื่อเด็กๆครั้งหนึ่งและก็ไม่เคยได้ลองลิ้มรสของมันด้วย ขี้เบ้ามีลักษณะเป็นก้อนกลมๆขนาดใกล้เคียงกับลูกเทนนิส จะพบลึกอยู่ใต้ผิวดินประมาณหนึ่งไม้บรรทัด ต้องขุดดินลึกลงไปบริเวณใต้กองขี้ควายเก่า จะพบขี้เบ้าอยู่ในโพรงดินสี่ห้าลูก เมื่อเอามาลูกกลมๆนั้นมากระเทาะเปลือกก็จะพบตัวหนอน(ด้วง)อ้วนๆ เอาออกมาทำอาหาร ส่วนตัวแม่ของมันนั้นเป็นแมลงปีกแข็งทางซึ่งอีสานเรียกว่าแมงกุ๊ดจี่ ภาษากลางเรียกว่าด้วงขี้ควาย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 17 ม.ค. 19, 19:34

ในพื้นที่บริเวณที่เป็นชายป่า จะมีสัตว์ประเภท แมง (มี 8 ขา) อยู่ชนิดนึ่งที่ก็เอามาทำกินกัน แต่ดูจะไม่เป็นที่นิยมกันนัก ก็จะใช้วิธีล่อให้มันออกมาหรือขุดเอามา ซึ่งอาจจะเป็นเพราะหายากหรือกลัวก็ได้ เรียกกันว่า ตัวบึ้ง

บึ้งก็คือแมงมุมชนิดหนึ่งตัวขนาดใหญ่ (พวก Tarantura ?) อยู่ในรู ที่ปากของรูจะพบมีไยแมงมุมถักอยู่   

ผมไม่เคยได้ลองกินอีกเช่นกัน   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 17 ม.ค. 19, 20:10

ตัวบึ้ง  ต้องถามคุณเพ็ญชมพูว่าเป็นอย่างเดียวกับ tarantula  หรือเปล่านะคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.108 วินาที กับ 19 คำสั่ง