เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 9464 บทบาทขุนนางในพระราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารค
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 22:35

ถ้าเจ้าของกระทู้หมายถึงขนมตามงานต่าง ๆ ผมเดาว่า คุณควรจะต้องไปค้นหาใน พระราชพิธีสิบสองเดือน นะครับ เพราะในพระราชพิธีสารท ก็จะมีการกวนข้าวทิพย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายในครับ

แต่ถ้าจะหมายถึง การเสด็จพระราชดำเนินชลมารคก็ดี หรือจะเป็นการเสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาทก็ดี ในสองพระราชพิธีนี้ เจ้าพนักงานที่ตามเสด็จฯ โดยมากจะเป็นฝ่ายหน้า ซึ่งหน้าที่หลัก ๆ ก็อย่างที่คุณลุงไก่ได้แจ้งไปแล้วครับ คือ ถวายการอารักขา นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนของงานโยธา ได้แก่การปลูกสร้างปะรำพิธี หรือสร้างที่ประทับต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานหนึ่งของตำรวจหลวงอยู่แล้วเช่นกันครับ

ผมไม่แน่ใจขอบเขตในการทำวิทยานิพนธ์ของท่านเจ้าของกระทู้นะครับ คงจะขอแนะนำหนังสือเสริมไว้ เพื่อเป็นแนวทางประกอบการค้นคว้าคือ

- พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  งานหนังสือที่จะถึงนี้ หาซื้อได้ครับเพราะทางสำนักพิมพ์คุรุสภาจัดพิมพ์ออกมาใหม่แล้วมีสามเล่มเล็ก ๆ

- โคลงพระราชพิธีสิบสองเดือน พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์

- ที่เหลือ ก็คงจะต้องลองหาข้อมูลเกี่ยวกับ พระราชพิธีเสด็จนมันการพระพุทธบาท ครับ เท่าที่พอจำได้ก็มี ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗ หาได้ในอินเตอร์เน็ตครับ ของเว็บเรือนไทยก็น่าจะมีกระมัง ถ้าความจำผมไม่พลาดนะครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 22:57

ขอบคุณ คุณเทาชมพู มากครับ สำหรับกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เพิ่งรู้ว่ามีการแห่เรื่องนี้ด้วย ขอบคุณครับ

คือข้อมุลทั่งหมดนี้ผมจะนำไปทำวิทยานิพนธ์ครับ ขอขอบคุณทุกความเห็นนะครับ
ขอแนะนำว่าถ้าจะทำวิทยานิพนธ์ได้ราบรื่นไม่มีอุปสรรค   ควรเลือกเรื่องที่คุณมีพื้นความรู้อยู่แล้วค่ะ    เพราะจะได้ไม่งงงวยกับประเด็นต่างๆที่คุณเองไม่รู้ว่ามีหรือไม่มี   ถ้ามีแล้วเป็นอย่างไร  ถ้าไม่มี แล้วจะเป็นอย่างไร    มันมีแต่จะทำให้การทำวิทยานิพนธ์ล่าช้า ดีไม่ดีหลงออกนอกทางกู่ไม่กลับ
คุณควรจะศึกษาความเป็นมาของกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคว่า เริ่มต้นจากอะไร  คุณสมุน007  และคุณลุงไก่ชี้ทางไว้ให้แล้วนะคะ     ต่อไปคือดูลักษณะของเรือที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราว่าเหมาะสมที่จะขนของสดของแห้งลงไปนั่งติดเตาถ่าน หุงต้มทำของกินกันหรือเปล่า  อย่าลืมว่าสมัยโบราณไม่มีเตาแกส ไม่มีเตาไฟฟ้า  ไม่มีแม้แต่หม้ออุ่นอาหาร หรือน้ำแข็งจะแช่อาหาร    ทำแต่ละมื้อสดๆ   ก็กินกันสดๆไปเลย
จุดมุ่งหมายของกระบวนเรือก็คือไปรบ ต่อมาคือไปทอดกฐิน   ไม่ได้ไปปิคนิคทางน้ำ   คือไม่ได้นั่งกินกันไปชมวิวกันไปจนต้องมีขนมที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อนั่งกินในเรือเหล่านี้โดยเฉพาะ

ส่วนการเห่เรือ มีขึ้นเพื่อให้จังหวะในการพายเรือ    เนื้อหาของบทเห่เรือมีได้หลายแบบแล้วแต่กวีจะแต่งขึ้นมา จะชมเรือ ชมธรรมชาติ  หรือชมอาหารการกินก็ได้  อย่างกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2  แต่มิได้หมายความว่าในรัชกาลที่ 2 ท่านจะให้ฝ่ายแม่ครัวในวังขนเครื่องครัวลงไปในกระบวนเรือเหล่านี้  แล้วแห่เมนูอาหารไปตลอดทาง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 ต.ค. 13, 23:02

ลักษณะของเรือในกระบวนแห่ เป็นเรือยาวแคบ  แค่ฝีพายนั่งสองแถวก็เต็มเรือแล้ว    ไม่มีเนื้อที่ให้ขนอาหารลงไปในเรือ 
ยิ่งต้องมีเครื่องครัวแบบโบราณแล้ว ยิ่งหาเนื้อที่ไม่ได้ค่ะ   จะลุกจะนั่งขูดมะพร้าว  โขลกน้ำพริก กันท่าไหน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 07:50

ลักษณะของเรือในกระบวนแห่ เป็นเรือยาวแคบ  แค่ฝีพายนั่งสองแถวก็เต็มเรือแล้ว    ไม่มีเนื้อที่ให้ขนอาหารลงไปในเรือ 
ยิ่งต้องมีเครื่องครัวแบบโบราณแล้ว ยิ่งหาเนื้อที่ไม่ได้ค่ะ   จะลุกจะนั่งขูดมะพร้าว  โขลกน้ำพริก กันท่าไหน

ถึงแม้ว่าจะไม่มีการประกอบอาหารในกระบวนเรือ แต่อย่างน้อยในกระบวนเรือก็มี Toilet นะขอรับ  ยิงฟันยิ้ม

ในพระราชพิธี ๑๒ เดือน บทพระราชนิพนธ์ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ทรงไว้ในช่วงประเพณีลอยกระทง ว่ามีเรือสำหรับเป็น Toilet เตรียมไว้มีม่านกั้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 07:55

แล้วพวกเจ้าพระยามีบทบาทในพิธีนี้ไหมครับ มีารทำขนมหรืออาหารไหมในพิธีนี้ หรือกิจกรรมพิเศษของพวกเจ้าพระยาหรือขุนนางในพิธีนี้อ่าครับ

พอจะเข้าใจแนวคิดว่า คงจะหมายถึงในแต่ละพระราชพิธีต่าง ๆ มีการทำขนมอะไรสำหรับการนั้น ๆ ใช่หรือไม่ คงคิดไปถึงตัวอย่างเช่น พระราชพิธีตรุษ พวกข้าราชการก็จะทำเกาเหลา หรือ เทศกาลเลี้ยงขนมเบื้องก็จะแห่กันละเลงแป้ง แบบนี้ตรงกับแนวคิดที่จะทำวิทยานิพนธ์ใช่ไหม  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 11:37

ดิฉันตีความคำถามคุณ bpnu ไม่ถูกจริงๆ   ขอบคุณคุณหนุ่มสยามที่มาไขกุญแจอธิบายให้ค่ะ    ลองเรียงลำดับความคิดของคุณ bpnu ว่าทำไมดิฉันตีความไม่ถูก  คำตอบคือมีวงกว้างมาก   กว่าจะลงเอยเรื่องขนม

๑  พวกเจ้าพระยา หรือคนรวยๆ ในสมัยก่อนประมาณ ร.5  ทำอะไรในช่วงที่มีพิธี  หรือมีบทบาทอะไรบ้างครับ
๒  เปลี่ยนเป็นบทบาทขุนนางในพระราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารค  ก็ได้ครับ
๓  พวกเจ้าพระยามีบทบาทในพิธีนี้ไหมครับ
๔  มีทำขนมหรืออาหารไหมในพิธีนี้
๕  หรือมีกิจกรรมพิเศษของพวกเจ้าพระยาหรือขุนนางในพิธีนี้อ่าครับ
๖   รู้ว่ากิจกรรมของขุนนางก็จะอยู่ในขบวนเรือพระที่นั่งไปด้วยแต่ไปในลำที่เล็กๆ
๗  ขอข้อมูลพวกขนมหรืออาหารที่ใช้ประกอบในงานพิธีเรือ
๘  ขอข้อมูลการทำอะไรที่เฉพาะๆ ขนมสำหรับงานนี้ หรืออาหารสำหรับงานนี้
๙  หลังจากเสร็จพิธีเรือแล้วมีกิจกรรมอะไรต่อไป
๑๐ ขอข้อมูลขนมที่ทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับกระบวนพยุหยาตรา ครับ  ถ้ามีพิธีนี้ถึงทำขึ้นมาครับ

มาถึงคำถามของคุณ หนุ่มสยาม
อ้างถึง
พอจะเข้าใจแนวคิดว่า คงจะหมายถึงในแต่ละพระราชพิธีต่าง ๆ มีการทำขนมอะไรสำหรับการนั้น ๆ ใช่หรือไม่ คงคิดไปถึงตัวอย่างเช่น พระราชพิธีตรุษ พวกข้าราชการก็จะทำเกาเหลา หรือ เทศกาลเลี้ยงขนมเบื้องก็จะแห่กันละเลงแป้ง แบบนี้ตรงกับแนวคิดที่จะทำวิทยานิพนธ์ใช่ไหม  ฮืม

จะเห็นได้ว่าเป็นเส้นทางที่ไกลพอสมควร จากบทบาทขุนนางชั้นเจ้าพระยา  และเศรษฐีในสมัยรัชกาลที่ ๕  ว่าทำอะไรในกระบวนพยุหยาตรา   มาจนถึงการทำขนมเป็นพิเศษ สำหรับกระบวนพยุหยาตรา
อ่านคำถามแรกของคุณ bpnu  ดิฉันตีความว่าคุณอยากจะถามว่าเจ้าพระยาและเศรษฐีคหบดีมีหน้าที่ไปพายเรือแจวเรือในกระบวนพยุหยาตรา  หรือนั่งประจำตำแหน่งในเรือลำไหน  แต่ก็ไม่รู้ว่านี่คือคำถามที่คุณต้องการหรือไม่
แต่มาลงเอยว่า ขอทราบว่ามีขนมอะไรที่ทำในโอกาสพิเศษคือเมื่อมีแห่กระบวนเรือหรือเปล่า    ไม่ได้เกี่ยวกับบทบาทขุนนาง  เพราะท่านทั้งหลายที่ว่านี้คงไม่ได้ลงมือทำขนมเอง
บันทึกการเข้า
bpnu
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 13:53

ครับ คือว่าผมกำลังทำวิทยานิพนธ์คณะสถาปัตย์ครับ ผมทำโรงแรมบูติกโดยใช้อาคารราชนาวิสภาเป็นที่ตั่ง ผมนำเรื่องพระราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารค มาเป็นแนวทางการตกแต่งครับ แล้วอาจารย์ท่าบอกว่าให้ผมไปหากิจกรรมพิเศษๆที่เกี่ยวกับเรือราชพิธีมาให้ผู้ที่เข้ามาพักได้ทำด้วย    ผมก็นึกไม่ออกว่าจะทำอะไรดีเลยได้หว่านคำถามไปดู ผมก็ตั่งจุดไม่ค่อยถูกเท่าไหร่ แล้วพอดีคุณเทาชมพู พูดถึงกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ผมเลยให้มีที่สอนทำอาหารที่อยู่ในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานในโรงแรมครับ โดยกุล่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ขอขอบคุณพี่ๆทุกคนมากนะครับมีอะไรแนะนำได้ครับผม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 14:15

ไม่เคยเห็นวิทยานิพนธ์คณะสถาปัตยฯเสียด้วยซี
แต่ถ้าคุณจะเอากระบวนพยุหยาตรามาเป็นแนวทางตกแต่งบูติคโฮเต็ลในวิทยานิพนธ์      การนำอาหารคาวหวานในกาพย์เห่เรือรัชกาลที่ 2 มาเป็นจุดเด่นของกระบวนเรือ ก็น่าจะเหมาะกับแนวทางของสถานที่   ดีกว่าไปทำกระบวนเรือรบ  หรือเรือทอดกฐิน
นอกจากมีที่สอนทำอาหาร ก็มีตัวอย่างอาหารไทยโชว์ด้วยคงจะดี

ใช้กูเกิ้ลหากาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน  มีหลายเว็บค่ะ 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 ต.ค. 13, 15:03

ครับ คือว่าผมกำลังทำวิทยานิพนธ์คณะสถาปัตย์ครับ ผมทำโรงแรมบูติกโดยใช้อาคารราชนาวิสภาเป็นที่ตั่ง ผมนำเรื่องพระราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารค มาเป็นแนวทางการตกแต่งครับ แล้วอาจารย์ท่าบอกว่าให้ผมไปหากิจกรรมพิเศษๆที่เกี่ยวกับเรือราชพิธีมาให้ผู้ที่เข้ามาพักได้ทำด้วย    ผมก็นึกไม่ออกว่าจะทำอะไรดีเลยได้หว่านคำถามไปดู ผมก็ตั่งจุดไม่ค่อยถูกเท่าไหร่ แล้วพอดีคุณเทาชมพู พูดถึงกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ผมเลยให้มีที่สอนทำอาหารที่อยู่ในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานในโรงแรมครับ โดยกุล่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ขอขอบคุณพี่ๆทุกคนมากนะครับมีอะไรแนะนำได้ครับผม

เกริ่นนำเสียแต่ตอนเปิดกระทู้คงหมดเรื่อง คงกลัวชิมิ.....

ถ้าทำเกี่ยวกับโรงแรม คงต้องเน้นไปที่กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน คงเหมาะที่สุดแล้วตามที่ อ.เทาชมพูได้เกริ่นนำไว้ เหมาะสมดี ครั้นจะให้แขกที่มาฟังหรือแต่งกาพย์เห่เรือ คงไม่ใช่เรื่อง

หากจะทำเป็นแนวนี้ ก็คงต้องผสานกับชีวิต สังคมวัฒนธรรม สิ่งก่อสร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยามาประกอบด้วยคงจะดี
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง