เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 141870 พืชพันธุ์แปลกประหลาด (2)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 01 ก.ค. 20, 08:27

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 01 ก.ค. 20, 09:02

ยิงฟันยิ้ม

ลำพังธรรมชาติเองอาจไม่มีอะไรแปลกประหลาดพิสดาร แต่ด้วยน้ำมือของมนุษย์จะเพราะความจำเป็นหรือความเชื่อก็ตาม อาจแปรเปลี่ยนในต้นไม้ดูแปลกประหลาดไป "ต้นเหรียญเงิน" ที่สกอตแลนด์ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง

ดูเหมือนจะเป็นความเชื่อที่แปลก ๆ จนทำให้ในป่าลึกของประเทศแห่งนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีจุดเด่นอยู่ที่ต้นไม้ประหลาด เป็นความเชื่อของชาวบ้านว่าเงินสามารถเติบโตบนต้นไม้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๗๐๐ และผู้คนต่างก็พากันยัดเหรียญลงไปตามส่วนต่าง ๆ ของลำต้นมันเผื่อว่ามันจะนำมาซึ่งโชคและโอกาสดี ๆ เข้ามาในชีวิตของพวกเขา

ในปัจจุบันเราจะได้พบกับต้นไม้ที่เต็มไปด้วยเหรียญเก่าแก่มากมาย เรียงรายราวกับเป็นเกล็ดของลำต้น เราสามารถพบต้นไม้ประหลาดเหล่านี้ได้ในสกอตแลนด์และส่วนอื่นของสหราชอาณาจักร ในส่วนของเขตแดน Peak ไปจนถึง Scottish Highlands เหรียญทั้งหลายที่ถูกยัดเข้าไปเติบโตไปพร้อมกับต้นไม้ที่ห่อหุ้มพวกมันเข้าไว้ด้วยกันทุกวัน ไม่นานเหรียญจำนวนมากก็กลายเป็นเกราะเหล็กที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับต้นไม้อีกด้วย บางส่วนของต้นไม้ที่ตายแล้ว ยังเหลือตอที่มีเหรียญปกคลุมอยู่ ชาวบ้านในแถบนี้ยังให้ความเคารพและเชื่อว่าเป็นที่สิงห์สถิตของเทพเจ้าและสิ่งลึกลับที่พวกเขาไม่สามารถมองเห็นได้ เมื่อเหรียญของพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของลำต้น เชื่อว่าเทพเจ้าจะคอยปกปักคุ้มครองให้ตนเองมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ การนำเอาเหรียญเหล่านี้แทรกลงไปตามลำต้น จะทำกันในช่วงวันสำคัญไม่ว่าจะเป็นวันคริสมาสต์ วันที่มีการจัดพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ไปจนถึงวันสำคัญทางศาสนาอื่น ๆ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 01 ส.ค. 20, 18:12

ขนุนเป็นผลไม้ประจำ เกรละ (Kerala) รัฐแห่งผลไม้เมืองร้อน ทางใต้ของอินเดีย ผู้ผลิตขนุนจำนวนมากที่สุดในโลก

แน่นอนขนุนยักษ์ก็มีอยู่ที่นั่น
 ยิงฟันยิ้ม

ภาพจาก https://www.facebook.com/231396983650896/posts/1122351194555466/


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 02 ก.พ. 21, 13:48

นาย จตุรงค์ ชมภูษา หนุ่มวัย ๓๑ ปี ศิษย์เก่าคณะเกษตรฯ ม.นเรศวร ลาออกงานประจำ หันมาทำแปลงเกษตรข้าวไรซ์เบอรี่ ใช้เวลา ๓ ปี คัดแยกพันธุ์ข้าว สามารถปลูก "ข้าวสีชมพู" สำเร็จ ตั้งชื่อ Pink Lady อนาคตจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว


แท้จริงแล้วข้าวในนาแปลงนี้คือ "ข่าวสรรพสี"

ศาสตราจารย์อภิชาติ วรรณวิจิตร ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ชี้แจงทำความเข้าใจ ประเด็นที่มีความเข้าใจผิดกันว่า นาข้าวสีชมพูที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นข้าวกลายพันธุ์ แท้จริงแล้ว เป็นผลงานวิจัย ข้าวสรรพสี ร่วมกัน ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ร่วมกันพัฒนาพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ภายใต้ทุนสนับสนุนจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และได้จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ไปแล้ว



ข้าวสรรพสีเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง พันธุ์พ่อ ‘ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว’ กับ พันธุ์แม่ ‘ข้าวก่ำหอมนิล’ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน



https://dna.kps.ku.ac.th/index.php/news-articles-rice-rsc-rgdu-knowledge/29-2015-03-27-02-04-15/264-rainbow-rice

แปลงวิจัยการปลูกข้าวสรรพสี ณ ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง บ้านซาง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ภาพจาก เฟซบุ๊กศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 06 มี.ค. 21, 17:22

โลกของมนุษย์กับแมลงและสัตว์บางชนิดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เนื่องจากสัตว์ดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ในช่วงคลื่นแสงอัลตราไวโอเลต (แสงยูวี)

เครก เบอร์โรวส์ (Craig Burrows) ช่างภาพชาวอเมริกัน เผยให้เราเห็นโลกในสายตาของสัตว์ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า ultraviolet-induced visible fluorescence photography (UVIVF) กระบวนการดังกล่าวเป็นการถ่ายรูปโดยใช้แสงอัลตราไวโอเลตในช่วงคลื่น UV-A (320-400 nm) ฉายไปที่วัตถุเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรืองแสง จากนั้นใช้ฟิลเตอร์ที่กำจัดแสงยูวีให้ถ่ายได้เฉพาะแสงช่วงที่มนุษย์มองเห็น ผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่แมลงและสัตว์หลายชนิดมองเห็น

ภาพดอกไม้ที่ถ่ายโดย เครก เบอร์โรวส์ อาจทำให้หลายท่านคิดถึงดาวแพนดอรา ในภาพยนตร์เรื่อง อวตาร (Avatar)




กลีบที่มีสีสดใสตัดกับพื้นหลังสีดำ เหมือนกากเพชรแวววาว หรือหิ่งห้อยกะพริบแสง กระจัดกระจายเป็นประกายทั่วช่อดอกไม้ ดุจดอกไม้จากต่างดาว ฉะนั้น



บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 10 มี.ค. 21, 22:56

^
^
งามแต๊ๆ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 10 มี.ค. 21, 22:58

ร่วมสมทบ 1 ช่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 10 มี.ค. 21, 23:39

มะม่วง ม่วงจริงๆ
ไม่ทราบที่มาครับ ค้นในกูเกิลแล้ว ปรากฏพรึ่บเต็มหน้าจอเลย มีแต่เชิงพาณิชย์ทั้งนั้น จนหาอ่านส่วนที่เป็นสาระไม่เจอ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 10 มี.ค. 21, 23:49

คลิปนี้ เสียงเคี้ยวเปรี้ยวไปถึงไขสันหลัง คนท้อง..ถ้าได้ดูได้ฟังนะ..วิ่งพล่านตลาดแตก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 11 มี.ค. 21, 08:42

มะม่วง ม่วง เรื่องนี้เคยตั้งวงวิสัชนากันยาวยืดที่ พันทิป

แถมปรัชญามะม่วงไว้ให้ครุ่นคิด  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 15 มี.ค. 21, 02:52

เทียนทะเล ราชาแห่งบอนไซ (ไม่ทราบว่าใครตั้งฉายา แต่คิดว่าจีนกับญี่ปุ่นคงไม่ยอมรับฉายานี้ซักเท่าไร)




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 15 มี.ค. 21, 03:02

เทียนทะเลในสภาพธรรมชาติ ถูกคุกคามอย่างหนักจากการขุดขายไปทำบอนไซ
เราไม่มีกฎหมายคุ้มครองเทียนทะเลเป็นการเฉพาะ, ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นไม้หวงห้าม และอาจยกระดับถึงไซเตสในโอกาสต่อไป
เครดิตรูป มติชน 23 พค 2559 , มติชน 27 ตค 2560 , ข่าวสด 7 ธค 2563 (จากบนลงล่าง)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 15 มี.ค. 21, 03:14

มักขึ้นตามหาดหิน เกาะกลางทะเล
ถูกลักลอบขุดได้ง่าย เพราะใช้เรือเข้าถึงได้สะดวก ขนย้ายก็สบาย ไม่ต้องแบกข้ามดอย
เครดิตรูป 77ข่าวเด็ด 24 กค 2563 , กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 19 มิย 2563 (2รูปตรงกลาง) , ThaiPBS 18 สค 2563 (เรียงจากบนลงล่าง)





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 15 มี.ค. 21, 09:27

เทียนทะเลในสภาพธรรมชาติ ถูกคุกคามอย่างหนักจากการขุดขายไปทำบอนไซ
เราไม่มีกฎหมายคุ้มครองเทียนทะเลเป็นการเฉพาะ, ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นไม้หวงห้าม และอาจยกระดับถึงไซเตสในโอกาสต่อไป

มีคำสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งคุ้มครองเทียนทะเลเรียบร้อยแล้ว




บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 18 พ.ค. 21, 04:01

การค้นหาพืชที่มีความสามารถดูดซับโลหะ เพื่อบำบัดพิษของเหมืองร้าง และถ้าพืชนั้นมีความสามารถสูงมากพอ ยังสามารถสกัดเอาโลหะได้ด้วย
https://pantip.com/topic/40706254



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 20 คำสั่ง