นาย จตุรงค์ ชมภูษา หนุ่มวัย ๓๑ ปี ศิษย์เก่าคณะเกษตรฯ ม.นเรศวร ลาออกงานประจำ หันมาทำแปลงเกษตรข้าวไรซ์เบอรี่ ใช้เวลา ๓ ปี คัดแยกพันธุ์ข้าว สามารถปลูก "ข้าวสีชมพู" สำเร็จ ตั้งชื่อ Pink Lady อนาคตจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
แท้จริงแล้วข้าวในนาแปลงนี้คือ "ข่าวสรรพสี"ศาสตราจารย์อภิชาติ วรรณวิจิตร ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ชี้แจงทำความเข้าใจ ประเด็นที่มีความเข้าใจผิดกันว่า นาข้าวสีชมพูที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นข้าวกลายพันธุ์ แท้จริงแล้ว เป็นผลงานวิจัย ข้าวสรรพสี ร่วมกัน ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ร่วมกันพัฒนาพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ภายใต้ทุนสนับสนุนจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และได้จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ไปแล้ว
ข้าวสรรพสีเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง พันธุ์พ่อ ‘ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว’ กับ พันธุ์แม่ ‘ข้าวก่ำหอมนิล’ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
https://dna.kps.ku.ac.th/index.php/news-articles-rice-rsc-rgdu-knowledge/29-2015-03-27-02-04-15/264-rainbow-riceแปลงวิจัยการปลูกข้าวสรรพสี ณ ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง บ้านซาง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ภาพจาก
เฟซบุ๊กศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว