เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 12020 มหาอำมาตย์เอก พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 27 ก.ย. 13, 09:57

เปิดเพลงนำกระทู้ไว้ก่อนค่ะ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 13:09

คุณ Crazy HOrse แห่งเรือนไทยเคยเล่าถึงท่านเอาไว้ในกระทู้เก่า เมื่อปี 07

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2180.0
ขอลอกมาให้อ่านกันค่ะ

พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) นอกจากจะเป็นเสนาบดีที่มีบทบาทในช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ยังมีผลงานในทางการประพันธ์อีกด้วย

ส่วนหนึ่งของผลงานเหล่านี้คือการประพันธ์เพลง ร่วมกับท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ โดยพระยาโกมารกุลมนตรีเป็นผู้ประพันธ์คำร้อง และท่านผู้หญิงพวงร้อยประพันธ์ทำนองเพลง

เพลงที่พระยาโกมารกุลมนตรีประพันธ์นั้น นอกจากจะมีความสวยงามทางภาษาแล้วยังมีเสียงวรรณยุกต์ที่เข้ากับทำนองเพลงเป็นอย่างดี ทำให้มีความไพเราะเป็นอย่างมาก

เท่าที่ค้นหาได้ มีอยู่ 3 เพลง คือ
- จันทร์เอ๋ย
- เงาไม้
- ตาแสนกลม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 13:11

(ต่อ)
จากที่คุณม้าโพสต์ไว้

 เพลง จันทร์เอ๋ย

ประพันธ์ขึ้นในปี ๒๔๘๒ เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่องปิดทองหลังพระ มีคำร้องดังนี้

จันทร์เอ๋ยเคยสว่างไยจางแสง
หรือจันทร์แกล้งเย้าว่าน้องอกหมองไหม้
ลมเจ้าเอ๋ยเคยโชยชื่นชื่นหัวใจ
เป็นอะไรจึงสงัดไม่พัดเลย

ดาวเอ๋ยดาวพราวฟ้าไกลเห็นไหวยิบ
ดาวกระพริบตาเยาะเราหรือดาวเอ๋ย
จั๊กกระจั่นสนั่นเพรียกเรียกคู่เชย
เหมือนจะเย้ยว่าเราไม่มีใครปอง

ฟังคุณรัดเกล้า อามระดิษนำมาขับร้องใหม่ร่วมกับ BSO ได้ที่นี่ครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 13:12

(ต่อ)
เพลง เงาไม้

ประพันธ์ขึ้นในปี ๒๔๘๑ เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่องลูกทุ่ง มีคำร้องดังนี้ครับ

แสงจันทร์วันนี้นวล คล้ายชวนให้น้องเที่ยว
จะให้เลี้ยวไปแห่งไหน
ชลใสดูในน้ำ เงาดำนั้นเงาใด
อ๋อ ไม้ริมฝั่งชล

สวยแจ่มแสงเดือน
หมู่ปลาเกลื่อนดูเป็นทิว
หรรษ์รมย์ลมริ้ว
จอดเรืออาศัยเงาไม้ฝั่งชล

ฟังคุณรัดเกล้า อามระดิษนำมาขับร้องใหม่ร่วมกับ BSO ได้ที่นี่ครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 13:16

(ต่อ)
เพลง ตาแสนกลม

ประพันธ์ขึ้นในปี ๒๔๘๒ เพื่อประกอบละครเรื่องจุดไต้ตำตอ มีคำร้องดังนี้ครับ

ตาแสนกลมแต่คมนักเจียวเจ้า
เหลื่อมแหลมเงาเป็นประกายวาม
แหลมเกินศรแหลมหล่อนชายคร้าม
สุกดาวงามแม้มาเทียบเปรียบแพ้ตาเจ้าเอย

เรียบเรียงจาก http://th.wikipedia.org ครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 13:18

คุณนริศ อารีย์ขับร้องเพลง ตาแสนกลม ไว้ด้วย หาฟังยาก เลยนำมาลงให้ฟังกันด้วยค่ะ

บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 16:27

เพลงจันทร์เอ๋ยนี่ชอบมากเลยค่ะ จำได้ว่าเคยมีการเอากลับมาขับร้องทำดนตรีใหม่แล้วประกอบละครสักเรื่อง แต่จำไม่ได้ว่าละครเรื่องอะไร น่าจะเป็นละครหม่อมน้อย ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล ไม่แน่ใจว่าซอยปรารถนา 2500 หรือเปล่า
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ก.ย. 13, 14:11

จะลองค้นให้นะคะ

ได้ยินชื่อพระยาโกมารกุลมนตรีครั้งแรก ไม่ได้เกี่ยวกับตำแหน่งการงานของท่าน   แต่ได้ยินเมื่อฟังเพลงของท่านผู้หญิงม.ล.พวงร้อย หลายเพลงเป็นเพลงโปรด    พบว่าหนึ่งในผู้ประพันธ์เนื้อร้องชื่อพระยาโกมารกุลมนตรี  ยังนึกแปลกใจว่าทำไมไม่เคยได้ยินชื่อท่านรวมอยู่ในสาขาดนตรีไทยอย่างคุณพระเจนดุริยางค์ หรือหลวงประดิษฐไพเราะ

ต่อมา อินทรเนตรก็สอดส่องไปหาประวัติของท่านมาให้   อ่านแล้วก็นึกทึ่งในสติปัญญาของเนติบัณฑิตอังกฤษจากสยามท่านนี้  นอกจากนี้เส้นทางราชการของท่านก็เริ่มต้นห่างไกลจากศิลปะอยู่มาก

         ประวัติของสกุล ณ นคร เล่าไว้ว่า  มหาอำมาตย์เอก พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ จุลศักราช 1253 ตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม พุทธศักราช 2434 เป็นบุตรชายคนเดียวของนายพลพ่าย (ชวน โกมารกุล ณ นคร) และคุณจวง บุนนาค
             หลังจากที่ได้เข้าศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนสุขุมาลัย (พ.ศ. 2444) และที่โรงเรียนอุดมวิทยายน วัดอนงคาราม ท่านได้ขึ้นไปเชียงใหม่กับท่านเจ้าพระยาพลเทพ ฯ ซึ่งเป็นอาของท่าน และได้เริ่มฝึกราชการที่พระคลังมณฑลพายัพ
            เมื่อกลับจากเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2449 ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งครั้งนั้นยังอยู่ที่ตึกสายสวลีย์ คือที่โรงเลี้ยงเด็ก ถนนบำรุงเมือง ในปัจจุบันและในปี พ.ศ. 2451 เมื่อมีอายุ 17 ปี ท่านได้เข้าฝึกราชการในกรมตรวจและกรมสารบาญชี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ต่อมาใน พ.ศ. 2452 ได้เป็นเสมียนในกรมตรวจและกรมสารบาญชี รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 25 บาท


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 ก.ย. 13, 11:54

      คนสมัยหนึ่งร้อยปีก่อน เป็นผู้ใหญ่เร็วกว่าสมัยนี้มาก  จะเห็นได้ว่าพระยาโกมารกุลฯเมื่อครั้งเป็นนายชื่น หนุ่มวัย 17  ก็เข้าฝึกงานในกระทรวงแล้ว  พออายุ 18  ก็บรรจุเป็นเสมียนในกรมตรวจและกรมสารบาญชี  เรียกว่าเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว มีเงินเดือนถึงเดือนละ 25 บาท ในยุคที่ข้าวแกงจานละสตางค์เดียว
       ปีต่อมาเมื่อท่านอายุได้ 19  กระทรวงพระคลังมหาสมบัติส่งท่านไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ในชั้นต้นได้เข้าศึกษาที่ Travis’ Commercial School, Southampton   ต่อมาได้ย้ายไปศึกษาที่ Pitman’s School, London   ท่านได้ศึกษาวิชากฎหมายในสำนักศึกษา Gray’s Inn, London ซึ่งเป็นสำนักกฎหมายมีชื่อเสียงที่สุดในอังกฤษ   ได้สำเร็จวิชากฎหมายเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษแห่งสำนักนั้น เมื่อ พ.ศ. 2460  อายุได้ 26 ปี  ถือว่าเก่งอย่างน่าอัศจรรย์ทีเดียว
       พอเรียนจบ พระยาโกมารกุลมนตรีก็เดินทางกลับสยาม  คราวนี้ย้ายจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติไปเป็นพนักงานอัยการ ตามความรู้ทางกฎหมาย  สมัยนั้นกรมอัยการสังกัดอยู่กระทรวงยุติธรรม   สองปีต่อมา ในพ.ศ. 2462 จึงโอนกลับไปรับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติตามเดิม
      จากนั้นตำแหน่งราชการก็ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆตามที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาการอย่างสูงผู้หนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 6  นอกเหนือจากตำแหน่งราชการโดยตรง  ก็มีตำแหน่งสำคัญอื่นๆเช่นเป็นเลขานุการสภากรรมการกำกับตรวจตราข้าว (เนื่องจากอุทกภัยในปี พ.ศ. 2460 ซึ่งเป็นเหตุให้ข้าวมีราคาแพง) เป็นเลขานุการและที่ปรึกษากฎหมายสภาเผยแผ่พาณิชย์ กรรมการในสภากรรมการรถไฟ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า อธิบดีกรมเงินตรา นายกกรรมการธนาคารสยามกัมมาจล จำกัด ฯลฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 ก.ย. 13, 13:45

      ล่วงมาถึงรัชกาลที่ 7  เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2469 พระยาโกมารกุลได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมบาญชีกลาง ซึ่งถือกันว่าเป็นกรมชั้นหนึ่งในราชการบริหารประเทศไทยครั้งนั้น    ตำแหน่งอธิบดีกรมบาญชีกลางยังถือกันว่าเป็นบันไดที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอีกด้วย
    ข้อนี้ก็เป็นความจริงต่อมา  ภายหลังที่ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมบาญชีกลางอยู่ประมาณ 3 ปี ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2472 ในขณะที่มีอายุเพียง 38 ปี ซึ่งทั้งนี้เป็นข้อพิสูจน์ความสามารถของท่านอย่างชัดแจ้ง และหลังจากนั้นเพียงไม่ถึงหนึ่งเดือนก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์มงกุฎสยาม
     ด้วยความสามารถในการปฏิบัติราชการ   ปีต่อมา (1 เมษายน พ.ศ. 2473) ก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังสมบัติ ในขณะที่มีอายุเพียง 38 ปี 7 เดือนเศษ นับว่าเป็นเสนาบดีที่มีอายุน้อยที่สุดในสมัยนั้น ท่านได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งเสนาบดีจนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2475 จึงได้กราบถวายบังคมลาออก รับพระราชทานบำนาญต่อมา  ด้วยอายุเพียง 41 ปี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 ก.ย. 13, 13:46

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 ก.ย. 13, 14:47

    หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475   พระยาโกมารกุลมนตรีได้กลับเข้ารับตำแหน่งในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอีกครั้งหนึ่ง คือดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ระหว่าง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
จากนั้น  ตำแหน่งเปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ  ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งนี้ต่อมาระหว่าง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 ต.ค. 13, 10:39

พระยาโกมารกุลมนตรีสมรสกับคุณหญิงโสภาพรรณ  ธิดาพระยาประภากรวงศ์ (ว่อง  บุนนาค) มารดาชื่อ เรียบ (หรือเลียบ บุนนาค) เป็นธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)    คุณหญิงโสภาพรรณเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ แรกเกิดสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานชื่อว่า "เสาวภา " ต่อมาภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนให้เป็น "โสภาพรรณ " เมื่อเยาว์วัย  ท่านไปอยู่กับท่านเจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ ๕ เพื่ออบรมมารยาทชาววังในวังหลวง

คุณหญิงโสภาพรรณได้เข้ารับการศึกษาหลายโรงเรียน ได้แก่โรงเรียนศึกษานารี (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) เพราะอยู่ใกล้บ้าน ต่อมาศึกษาที่โรงเรียนราชินีปากคลองตลาด  เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนซางตาครูซคอนแวนด์จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงติดตามท่านบิดาซึ่งเป็นราชทูตประจำประเทศสหรัฐอเมริกา (ต่อจากหม่อมเจ้าไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย) ไปศึกษาต่อที่วอชิงตัน ดีซี ได้ประกาศนียบัตรจากโรงเรียน Holten Arm School สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้ไปเรียนที่ Sacred Heart School และเข้าเป็นพยาบาลอาสาสมัคร

เมื่ออายุ ๒๒ ปี  คุณหญิงโสภาพรรณสมรสกับพระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑  ย้ายครอบครัวมาอยู่กับเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ผู้เป็นอาของสามี ที่บริเวณคลองบ้านสมเด็จ วงเวียนเล็ก ธนบุรี ระหว่างที่พระยาโกมารกุลมนตรีเป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง ต้องออกตรวจราชการคลังจังหวัดต่างๆ หลายแห่ง คุณหญิงโสภาพรรณได้ติดตามไปด้วยทุกครั้ง เช่น ที่มณฑลปัตตานีและนครศรีธรรมราช มณฑลราชบุรี มณฑลพายัพ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์  ทั้งๆท่านมีบุตรที่ต้องดูแลถึง ๑๐ คน

คุณหญิงโสภาพรรณถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ อายุ ๘๒ ปี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 04 ต.ค. 13, 10:52

       ความสามารถพิเศษประการหนึ่งของพระยาโกมารกุลมนตรี ที่หาได้ยากมากในข้าราชการที่เติบโตขึ้นมาทางความรู้สาขาบัญชีและกฎหมาย คือการประพันธ์    ท่านมีใจรักทางด้านภาษาและหนังสือ เขียนบทความแสดงข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ท่านเชี่ยวชาญถึงขั้นแต่งบทละครพูดชวนหัว เรื่องสั้น ๆ ชนิดองก์เดียวจบไว้หลายเรื่อง
       นอกจากนี้ยังมีกวีนิพนธ์ด้วย ท่านได้แต่งโคลงกลอนไว้เป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏใน “ประมวลโวหาร”
       พระยาโกมารกุลมนตรี เป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และในพระพุทธโอวาท  เมื่อ พ.ศ. 2467 ได้เป็นปัจจัยให้ท่านสร้างหนังสือแสดงคำอธิบายของพระพุทธโอวาทโดยเลือกธรรมบางข้อมาผูกขึ้นเป็นโคลงทาย 19 บท แล้วส่งโคลงทายเหล่านั้นไปยังบรรพชิตและคฤหัสถ์ ขอให้ตอบโคลงทาย   เมื่อได้รับคำตอบและคำอธิบายวิสัชนาของโคลงทายเหล่านั้นแล้ว ท่านก็ได้รวบรวมจัดพิมพ์เป็นเล่มเรียกว่า “โคลงทาย และวิสัชนา” แจกจ่ายไปยังบรรดาผู้ที่ชอบพอคุ้นเคย เป็นวิทยาทาน
      “โคลงทาย และวิสัชนา” ภายหลังได้แต่งเพิ่มเติมขึ้นอีก 14 บท และได้พิมพ์ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2503 รวมเป็นโคลงทายทั้งสิ้น 33 บทด้วยกัน
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ต.ค. 13, 08:29

ข้าพเจ้าชอบฟังเพลง "ตาแสนกลม" มากกกกกกกกกก ชอบมาตั้งแต่เด็กๆ ดีใจที่ได้เข้ามาอ่านประวัติในครั้งนี้ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง