เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 22245 เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 16:28

ผู้ที่ครองวังสราญรมย์ในพ.ศ.นั้นคือ
พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์

วิกี้บอกว่า

ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ประทับชั่วคราว ของเจ้านายเมื่อแรกออกจากวังหลวง ก่อนที่วังประทับถาวรจะก่อสร้างแล้วเสร็จ อาทิเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชทรงประทับเมื่อ พ.ศ. 2419 - 2424 ระหว่างก่อสร้างวังบูรพาภิรมย์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 17:02


คุณหนุ่มเคยเห็นภาพที่ว่าบ้างไหม แบบเนี้ยะ แบบรูปข้างล่างเนี้ย ช่วยสงเคราะห์หามาลงให้ด้วยเถิด


ม่ายเคยเห็นครับ

แหม ... นึกว่าเป็นที่เดียวกัน เสาโรมัน พร้อมด้วยผนังแบบเหลี่ยม กับกิงกาลกวัวและอาคาร (กรมโยธาธิการเก่า) บนพื้นที่ของวังใต้ของกรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์



ภาพทางซ้าย กิงกาลกะอัวและคณะ ถ่ายหน้า พระราชวังอิโอลานี




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 18:41

อ้างถึง
เจ้าชายน้อยที่ประทับที่โต๊ะเสวย  ติดกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว น่าจะเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า………………
ภาณุรังสีสว่างวงศ์ครับ

สมเด็จเจ้าฟ้าประสูติเมื่อพ.ศ. 2402   รับเสด็จกิงกาลกวัว พ.ศ. 2424 พระชันษา 22 ปี  ยังพอเรียกว่า A young prince ได้
แต่ความหมายเห็นจะต้องแปลว่า เจ้าชายหนุ่ม   ไม่ใช่เจ้าชายที่ทรงพระเยาว์เสียแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 18:43

หรือประมาณนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 19:06

มันก็น่าโดนถามจริงๆนะครับ กิงกาลากวัวกับบิ๊กผู้ติดตามสองคน เป็นฝรั่งที่ติดยี่ห้อฮาวายเอียนทั้งคู่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 20:14


คุณเพ็ญน่ารักเสมอ จุ๊บ ๆ
ไม่เอาแอนนิเมชั่นมาประกอบลีลา ไม่ได้แล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 20:18

มันก็น่าโดนถามจริงๆนะครับ กิงกาลากวัวกับบิ๊กผู้ติดตามสองคน เป็นฝรั่งที่ติดยี่ห้อฮาวายเอียนทั้งคู่

ซ้าย Colonel Charles Hastings Judd  ขวา William N. Armstrong


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 20:27

แถมให้อีกรูปค่ะ
ปี 1881 เดียวกันกับที่เสด็จมาสยาม    พระเจ้ากาลกวัว เสด็จไปเยือนอังกฤษ  มีคอลอแนนยูดค์ตามเสด็จด้วย  ในภาพนี้ทรงเป็นแขกที่คฤหาสน์นอร์มัลเฮิร์สต์ ของเซอร์โทมัสและเลดี้บราสซีย์  ใกล้เมืองเฮสติ้งส์ ประเทศอังกฤษ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 11:43

มาคั่นโปรแกรมหน้าม่าน  แนะนำพระเจ้ากาลกวัวให้คนไทยรุ่นปัจจุบันรู้จักกันบ้าง

พระเจ้ากาลกวัว ไม่ได้เป็นพระราชโอรสของกษัตริย์พระองค์ก่อนของฮาวาย  แต่เป็นบุตรของ high chief ของราชอาณาจักร  มีแม่เป็น high chiefess  คำนี้วิกิแปลผิดว่าสังฆราช    ที่จริงคำนี้เป็นตำแหน่งของหัวหน้าชนชั้นสูงสุดในสังคมฮาวาย ที่ไม่ใช่กษัตริย์   พอจะเทียบได้กับท่านลอร์ดและเลดี้ของอังกฤษ     เมื่อพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนสวรรคตไปโดยไม่มีรัชทายาท พระองค์ก็เลยได้รับเลือกเป็นกษัตริย์
พระเจ้ากาลกวัวได้รับการศึกษาแบบตะวันตก  พูดอังกฤษคล่อง   สร้างมิตรภาพที่แน่นแฟ้นกับนักธุรกิจอเมริกันที่มาลงทุนทำไร่อ้อยในฮาวาย    หนึ่งในนั้นก็คือคอลอแนนยูดด์ ที่ได้รับตำแหน่งเป็นทั้งที่ปรึกษาและกรมวัง (chamberlain) ของพระองค์    พระเจ้ากาลกวัวได้รับสมญาจากประชาชนว่า "พระราชาเจ้าสำราญ" หรือ The Merry Monarch  เพราะพระองค์โปรดดนตรี  เต้นรำ  งานปาร์ตี้และความบันเทิงต่างๆ
พระเจ้ากาลกวัวคงจะโปรดการเดินทางมิใช่น้อย เห็นได้จากเสด็จออกนอกประเทศไปไกลๆหลายครั้ง  ไปอเมริกาก็สองหรือสามครั้ง    ก่อนหน้ามาสยาม ในปี 1874 พระองค์ไปเซ็นสนธิสัญญากับอเมริกาเรื่องการค้าขาย  เป็นผลให้อุตสาหกรรมน้ำตาลของฮาวายบูมขึ้นมา   อาณาจักรก็เลยมั่งคั่งเงินทองไหลมาเทมาในช่วงนั้น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 11:47

พระรูปของควีนคาปิโอลานิ (Kapiolani) พระราชินีของพระเจ้ากาลกวัว
ไม่ได้ตามเสด็จมาสยามด้วย     จึงไม่มีการเอ่ยเอาไว้เลย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 12:02

รายได้มหาศาลที่ไหลเข้าท้องพระคลัง บวกกับพระเจ้าคาลกวัวโปรดศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบยุโรปเพราะเคยเสด็จไปยุโรปมาแล้ว ทำให้พระองค์ทรงทุ่มเงินถึง 350,000 ดอลล่าร์สร้างพระราชวังโอ่อ่า ชื่อ ไอโอลานี่ หรือ Iolani Palace ขึ้นในปี 1882    ซึ่งยังอยู่มาจนทุกวันนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 12:12

บั้นปลายชีวิตของพระเจ้ากาลกวัวเป็นเรื่องน่าเศร้า ในค.ศ. 1887  6 ปีหลังจากเสด็จมาเยือนสยาม  พระองค์ก็ถูกปฏิวัติโดยคณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า The Hawaiian League   ยึดอำนาจและบังคับให้พระองค์ลงพระนามรับรองธรรมนูญใหม่เรียกชื่อว่า Bayonet Constitution”  พระเจ้ากาลกวัวจำต้องลงพระนาม ยอมถูกจำกัดอำนาจ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัชสมัย 

เดือนพฤศจิกายน ปี 1890 (พ.ศ.2433)  ราชาผู้นิราศจากบัลลังก์และอาณาจักรเสด็จออกจากฮาวายเป็นครั้งสุดท้าย  เดินทางไปคาลิฟอร์เนียเพื่อรักษาอาการประชวร    พระองค์เสด็จสวรรคต ณ โรงแรมแห่งหนึ่งในซานฟรานซิสโกเมื่อวันที่ 20 มกราคม ปี 1891  หรือพ.ศ. 2434
พระปัจฉิมดำรัส  หรือคำพูดสุดท้ายก่อนตาย ก็คือ
" บอกประชาชนของข้าพเจ้าด้วยว่า ข้าพเจ้าพยายาม(ทำทุกอย่าง)แล้ว"
“Tell my people I tried.”


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.114 วินาที กับ 19 คำสั่ง