เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 34327 ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
ตูมตั้งบังใบ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 10:53

ยังสงสัยว่าทำไมพระบรมสารีริกธาตุรวมถึงพระธาตุของบรรดาพระสาวกที่ค้นพบในดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ถึงไม่มีลักษณะเป็นเหมือนอัญมณีแบบที่ปรากฎในดินแดนแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 11:06

ได้อ่านเทียบภาษามคธที่คุณหนุ่มเอามาลงแล้ว แสดงว่าตาเดวิดแปลคาดเคลื่อน สุกติติ หายไปทั้งคำเลยครับ

"สุกิติ" สุ = ดี งาม   กิติ  บาลีว่า กิตติ = คำสรรเสริญ

ตาเดวิดแกแปลว่า  the Distinguished one
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ก.ย. 13, 13:20 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 11:20

แผนที่นี้แสดงว่าเมืองปิปราห์วะ อยู่ใกล้ๆลุมพินี สถานที่ประสูตินั่นเอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 11:23

ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และของมีค่าที่บรรจุอยู่ในสถูป


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 11:31

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 11:38

นักโบราณคดีชาวอินเดีย สันนิษฐานว่า ผอบศิลานี้น่าจะอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑ ซึ่งการขุดค้นได้พบตราดินเผา ประทับจารึกซึ่งมีใจความว่า "ที่นี่เป็นวัดของภิกษุแห่งกรุงกบิลพัสดุ์"

จึงสันนิฐานว่า เมือง Phprahawa ก็เป็นเมืองกบิลพัสดุ์เก่านั่นเอง

การค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ ขุดพบ ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๒ นั้นพบเมื่อปี ๒๕๑๕ โดยพบอยู่ลึกกว่าที่ขุดเดิมเล็กน้อยโดนมีข้อสันนิษฐานว่า

ผอบที่ค้นพบลึกสุด (พบครั้งที่ ๒) เป็นส่วนของโทณะพราหมณ์ที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนมอบให้กษัตริย์นำไปสร้างพระสถูปต่าง ๆ ซึ่งก็คือองค์นี้

ส่วนการค้นพบครั้งที่ ๑ เป็นกลุ่มพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้รวบรวมจากสถูปต่าง ๆ ที่ร้างนำมารวมบรรจุไว้ที่แห่งนี้ (ซึ่งอยู่ชั้นบน ทำให้พบก่อน - ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 11:52

ผมเข้าใจผิด ปล่อยไก่ตัวเบ้อเร่อ ขอบพระคุณท่านอาจารย์ทั้งหลายที่กรุณาแก้ไขครับ ตกลงคำว่า สุกิติเป็นคำขยายศากยวงศ์ ไม่ได้เป็นชื่อเฉพาะของศากยวงศ์สายนี้อย่างที่ผมเข้าใจแต่แรก ถ้าอย่างนั้นที่แปลๆ มาก็คล้ายๆ กันใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 11:55

ขอผมกลับไปเริ่มต้นที่สารคดีในคลิ๊ปของจขกท.ก่อนนะครับ

เรื่องนี้เกิดจากชาร์ลส์ อัลเลน นักประวัติศาสตร์ในเรื่องโบราณคดีของอินเดียผู้มีชื่อเสียง ได้สนใจที่จะค้นคว้าหาความจริงครั้งที่นายวิลเลี่ยม เปปเป้ ค้นพบเมื่อสมัยอินเดียยังคงเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่๕ของไทย นายเปปเป้ผู้นี้เป็นนักโบราณคดีระดับสมัครเล่น เมื่อได้ไปเป็นผู้จัดการของบริษัทที่ดินทางภาคเหนือของอินเดีย เขาได้พบเนินดินที่น่าสนใจ จึงให้คนงานขุดลงไปเจอซากโบราณสถาน ลึกลงไปในระดับหกเมตรจากระดับพื้นดินนั้น เขาก็ได้พบหีบศิลา ภายในบรรจุของมีค่าประเภทแก้วแหวนเงินทองโบราณนับแล้วรวม๑๖๐๐ชิ้น ซึ่งโปรยปรายไว้บูชาภาชนะคล้ายผอบของไทยสี่ห้าใบที่วางรวมกันอยู่ เมื่อเปิดใบที่มีอักขระโบราณจารึกไว้ เขาพบว่าในนั้นมีอัฐิและเถ้าอังคารบรรจุอยู่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 12:02

เปปเป้ไม่ทราบว่าจารึกนั้นมีความหมายอย่างไร เขาจึงคัดลอกอักขระดังกล่าวส่งไปให้เจ้าพนักงานโบราณคดีท้องถิ่น ดอกเตอร์ แอนตัน ฟูเรอร์ ชาวเยอรมันที่รับราชการในรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญในเรื่องพุทธศาสนคดีอย่างยิ่งผู้หนึ่งแห่งยุค จากจดหมายโต้ตอบหลังจากได้อ่านอักขระที่หลานปู่ของนายเปปเป้ยังคงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีนั้น แสดงว่าทั้งคู่เชื่อโดยบริสุทธ์ใจว่าคือพระบรมสารีริกธาตุ

แต่หลังจากที่เรื่องนี้เป็นข่าวขึ้นมาไม่นาน ฟูเรอร์ก็จำใจต้องรีบลาออกจากราชการ เพราะปรากฏข้อกล่าวหาว่าเขาอาศัยตำแหน่งหน้าที่ ปลอมแปลงโบราณวัตถุ พระไตรปิฏก รวมทั้งพระบรมสารีริกธาตุ(ซึ่งตอนนั้นพบตามสถูปเจดีย์ต่างๆหลายแห่งมาก จนบริติชมิวเซียมมีเป็นห่อใหญ่ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงเห็น) ส่วนหนึ่งหลอกขายไปให้ชาวพม่า เรื่องการค้นพบของนายเปปเป้ซึ่งรับรองโดยดอกเตอร์ฟูเรอร์ เซียนๆในวงการจึงส่ายหัวดิก ท่านอุปราชซึ่งรับเรื่องไว้แล้วก็กระอักกระอ่วนเป็นยิ่งนัก เพราะไม่มีปัญญาจะตัดสินอะไรจริงอะไรเท็จ และคนอังกฤษก็ไม่สนใจพระบรมสารีริกธาตุมากไปกว่าเพชรพลอยของมีค่าที่บรรจุร่วมกันอยู่ในพระสถูป เมื่อพระภิกษุพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงแนะนำให้ถวายพระเจ้าอยู่หัวของไทย ท่านเห็นทางออกที่สุดสวย จึงรับลูกทันที

หลังเรื่องนี้แล้ว คนอังกฤษก็ไม่สนใจเรื่องนี้อีก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 12:07

แถมนอกเรื่องนิดนึง ตอนที่โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยายมราชไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาจากอินเดียนั้น ก็เนื่องด้วยท่านเจ้าคุณเป็นพระมหาเปรียญเก่า เมื่อไปพบกับพระภิกษุพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ที่นั่น ทราบว่าทรงแอบหยิบพระบรมสารีริกธาตุใส่ย่ามมาสองสามชื้นตอนที่เจ้าหน้าที่อังกฤษนำมาอวด ทรงกะว่าถ้าอังกฤษไม่ยอมถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่พระเจ้าอยู่หัวตามที่ทรงแนะนำ ท่านก็จะเอาที่ท่านเม้มไว้ทูลเกล้าถวาย พระเก่าพอเจอพระใหม่ทำอย่างนั้นเข้าก็เต้นผาง ทูลว่าท่านต้องปาราชิกแล้ว(เพราะลักทรัพย์เขาเกินกว่า๕มาสก) รีบสึกเถ้อะ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ท่านทรงเซ็งเรื่องนี้มาก ผ้าเหลืองร้อนๆรุ่มๆอยู่หลายปีเมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพก็จำต้องสึกในที่สุด เพราะท่านเจ้าคุณท่านออกข่าวว่าถ้าไม่สึกเองท่านจะจัดการสึกให้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 12:09

ขออนุญาตแทรกตรงนี้นิดนึง  ยิ้มเท่ห์

จารึกที่ปรากฏบนพระผอบอ่านเป็นภาษาสันสกฤต ออกเสียงว่า

Sukiti bhatinam sa-puta-dalanam iyam salila-nidhane Budhasa bhagavate sakiydnam.


เวลาล่วงเลยไป ๒,๔๔๐ ปี นายวิลเลียม แคลคสตัน เปปเป ได้ขุดพบสถูปโบราณซึ่งภายในบรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุของราชวงศ์ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ โดยบนผอบมีอักษรพราหมณ์จารึกไว้ โดยถอดความได้ว่า

“อิยะ สะลิละ นิธะเน พุธะสะ ภะคะวะตะสะ สากิยานะ สุกิติภาตีนํ สะภะคินิกานะ สะปุตะทาลานะ”  

แปลความว่า

“ที่บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านี้ เป็นของศากยราชสุกิติ กับพระภาตาพร้อมทั้งพระภคินี พระโอรสและพระชายา สร้างขึ้นอุทิศถวายไว้”


จาก เว็บวัดสุนันทวนาราม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 12:15

Sukiti bhatinam sa-puta-dalanam iyam salila-nidhane Budhasa bhagavate sakiydnam.
“อิยะ สะลิละ นิธะเน พุธะสะ ภะคะวะตะสะ สากิยานะ สุกิติภาตีนํ สะภะคินิกานะ สะปุตะทาลานะ”


คนละเรื่องเดียวกันไปเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 12:19

ที่จริงอ่านเกือบเหมือนกัน (มี สะภะคินิกานะ เพิ่มขึ้นมา)  อาจเป็นเพราะว่าผอบเป็นรูปทรงกลม ทำให้เริ่มต้นประโยคคนละที่

Sukiti bhatinam sa-puta-dalanam / iyam salila-nidhane Budhasa bhagavate sakiydnam.

                                             อิยะ สะลิละ นิธะเน พุธะสะ ภะคะวะตะสะ สากิยานะ / สุกิติภาตีนํ สะภะคินิกานะ สะปุตะทาลานะ


เมื่อพิจารณาคำแปลแล้ว เวอร์ชันคำอ่านอักษรไทย น่าจะตรงกับลำดับข้อความมากกว่า  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 13:37

การแกะภาษาออกมา ต้นฉบับเป็นแบบนี้ครับ

ที่มา http://www.piprahwajewels.co.uk/page4.html


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 17 ก.ย. 13, 13:49

      จาก ปฐมสมโพธิกถา

      พระสังคีติกาจารย์จึงนิพนธ์พระคาถาประมวลพระธาตุทั้งปวงไว้ในภายหลังว่า อุณฺหิสํ จตุโร ฑาฒา เป็นอาทิ อรรถาธิบายความว่า พระบรมธาตุทั้งหลายคือพระอุณหิศ พระเขี้ยวแก้ว ๔ พระรากขวัญ ๒ ทั้ง ๗ พระองค์นี้ ตั้งอยู่ทั้งแท่งบมิได้ทำลาย แลพระสารีริกธาตุทั้งหลายอันเศษนั้นทำลายทั้งสิ้น ปรากฏเป็น ๓ สัณฐาน อย่างใหญ่นั้นมีประมาณเท่าเมล็ดถั่วแตก อย่างกลางนั้นมีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก     อย่างน้อยนั้นประมาณเท่าเมล็ดพรรณผักกาด ถ้าจะกำหนดโดยสี ขนาดใหญ่นั้นมีพรรณเหลืองคล้ายสีทอง ขนาดกลางนั้นมีพรรณดังสีแก้วผลึก ขนาดน้อยนั้นมีพรรณดังสีดอกพิกุลเป็น ๓ อย่าง  ถ้าจะประมวลพระธาตุทั้งสิ้นก็ตวงได้ ๘ โทณะ แลโทณะหนึ่งตวงได้สองทะนานสิริเป็น ๑๖ ทะนานด้วยกัน พระธาตุขนาดใหญ่นั้นตวงได้ ๕ ทะนาน ขนาดกลางนั้นก็ตวงได้ ๕ ทะนานเท่ากัน แต่ขนาดน้อยนั้นตวงได้ ๖ ทะนาน

          แลพระธาตุบมิได้ทำลาย ๗ พระองค์นั้น พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนฝ่ายขวากับพระรากขวัญเบื้องบน ขึ้นไปประดิษฐานในพระจุฬามณีเจดีย์ ณ ดาวดึงสเทวโลก พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำฝ่ายขวาก็ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองกาลึงคราษฐ์ กาลบัดนี้ไปสถิตอยู่ในลังกาทวีป พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนฝ่ายซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราษฐ์ พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำฝ่ายซ้ายไปประดิษฐานอยู่ในนาคพิภพ พระรากขวัญเบื้องซ้ายกับพระอุณหิศ ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสเจดีย์ ณ พรหมโลก พระทนต์ทั้ง ๓๖ แลพระเกศาโลมาแลพระนขาทั้ง ๒๐ นั้นเทพยดานำไปองค์ละองค์สู่จักรวาลต่างๆ ต่อๆ กันไป แลพระปริขารธาตุทั้งหลายนั้น พระกายพันธน์ไปสถิตอยู่ ณ เมืองปาตลีบุตร ผ้าอุทกสาฎกไปสถิตอยู่ ณ เมืองปัญจาลราษฐ์ พระจัมมขันธ์ไปสถิตอยู่ ณ เมืองโกสลราษฐ์ แลสีพระทนต์ไปสถิตอยู่ ณ เมืองมิถิลา ผ้ากรองน้ำไปสถิตอยู่ ณ วิเทหราษฐ์ มีดกับกล่องเข็มไปสถิตอยู่ ณ เมืองอินทปัตถ ฉลองพระบาทแลถลกบาตรไปสถิตอยู่ ณ บ้านอุสิสพราหมณคาม เครื่องลาดไปสถิตอยู่ ณ เมืองมกุฏนคร ไตรจีวรไปสถิตอยู่ ณ เมืองภัทรราษฐ์ บาตรทรงสถิตในเมืองปาตลีบุตร บัดนี้ตกไปอยู่ลังกาทวีป นิสีทนสันถัตไปสถิตอยู่ ณ กุรุราษฐ์

          แล้วจึงกล่าวประฌามคาถาในที่สุด แปลเนื้อความว่า ข้าพระพุทธเจ้าถวายวันทนาการซึ่งพระธาตุทั้งหลายคือพระพุทธสรีรธาตุ แลปริกขารธาตุทั้งปวง อันเทพยดามนุษย์กระทำสักการบูชา

                                             ธาตุวิภัชนปริวรรต ปริจเฉทที่ ๒๗ จบ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง