เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 34493 ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 08:47

อ้างถึง
ตูมตั้งบังใบ
ยังสงสัยว่าทำไมพระบรมสารีริกธาตุรวมถึงพระธาตุของบรรดาพระสาวกที่ค้นพบในดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ถึงไม่มีลักษณะเป็นเหมือนอัญมณีแบบที่ปรากฎในดินแดนแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ

ยังมีประเด็นที่ไม่มีใครตอบคุณตูมตั้งบังใบ (ก่อนจะเห็นคำว่าครับ ผมนึกว่าเป็นสาววัยแรกแย้มซะอีก) ไม่มีอะไรจะดีเท่าอรรถาธิบายของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รับสั่งประทานหม่อมราชวงศ์ สุมนชาติ สวัสดิกุล ในเวปที่คุณhoboโยงไว้ตอนต้น

 “…..เรื่องพระธาตุยังไม่จบ มีตำนานเกิดขึ้นที่ลังกาว่า เมื่อพระเจ้าอโศกจะไปเอาพระธาตุที่รามคามพระยานาคหวงไว้นั้น ต่อมาพระยานาคราชเกรงว่าจะมีผู้มาลักเอาไปเสีย จึงเชิญไปไว้เมืองนาคใต้บาดาล อยู่มามีพระอรหันต์องค์หนึ่งในเกาะลังกา ให้สามเณรองค์หนึ่งนัยว่ามีอิทธิฤทธิ์มากไปหาพระยานาคราชถึงเมืองบาดาล ไปบอกให้รู้ว่าพระพุทธศาสนามาเจริญอยู่ในลังกาทวีป อยากจะได้พระบรมธาตุส่วนที่อยู่ที่พระยานาคราชไปบูชา ก็ด้วยอิทธิฤทธิ์ของสามเณรนั้น ปรากฏว่าพระยานาคยอมรับว่าจะยอมให้พระบรมธาตุส่วนส่วนที่ได้แก่ตน จึงเชิญพระบรมธาตุขึ้นมาจากเมืองบาดาล มาวางไว้ที่หาดทรายเกาะลังกา เพราะพระธาตุตกไปถึงเมืองบาดาลในมือพญานาค เป็นเหตุให้พระธาตุส่วนที่อยู่ที่รามคามนี้เป็นศิลาไม่ใช่กระดูกคน บอกไว้ในตำราว่าให้พึงสังเกตก็มีลักษณะต่างกันถึงห้าอย่าง แต่จำไม่ได้หมดว่าสีเหมือนแก้วผลึก เหมือนดอกพิกุลแห้ง เหมือนทองอุไร ฯลฯ เพราะฉะนั้นพระบรมธาตุที่ออกจากลังกามายังประเทศต่างๆ เช่นเมืองไทยเรา ที่ได้รับพระธาตุมาจากลังกานั้น เป็นพระธาตุกรวดทรายทั้งสิ้น ไม่ใช่กระดูกคนอย่างที่อินเดีย แต่ก็เชื่อคำและตำราที่กล่าวอันเป็นของลังกามาแต่สมัยสุโขทัย ที่กรุงอยุธยาได้มา แม้ที่บรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่ขุดได้และให้ญี่ปุ่นไปนั้น ที่จะเป็นกระดูกคนหามีไม่ ที่หลวงธำรงฯ ได้มาก็เป็นกระดูกคน

ตีความว่า พระพุทธศาสนาในเมืองไทยที่ถือว่ารับมาจากอินเดีย ก็ภายหลังรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราชนับพันปี แล้วก็ผ่านมาจากลังกา ที่ซึ่งอิทธิอภินิหารต่างๆได้ถูกเพิ่มเติมลงไปในคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งทรงตรัสเองว่าธรรมะแท้ๆที่ทรงนำมาสอนพระสาวกให้ล่วงจากทุกข์ได้นั้น มีแก่นเพียงใบไม้หนึ่งกำมือในพระหัตถ์เมื่อเทียบกับใบไม้ในป่าทั้งหมด

ใบไม้หนึ่งกำมือมันจะสักเท่าไหร่ แต่มนุษย์ส่วนใหญ่จะชอบทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ใบไม้ในป่าจึงถูกเติมลงไปหลายกระบุงโกย พระพุทธศาสนาจึงเต็มไปด้วยเปลือกและกระพี้เพื่อเจริญศรัทธาของคนที่ยังนับถือเจ้าเข้าผี อภินิหารต่างๆต้องถูกเติมลงไปให้ถูกจริตคนเหล่านั้น เพื่อขยายผลให้ได้พุทธศาสนิกชนในเชิงปริมาณ โดยเรื่องคุณภาพไว้ว่ากันทีหลัง
ด้วยเหตุเหล่านี้เอง พระบรมสารีริกธาตุในเมืองไทยจึงเป็นพระธาตุกรวดทรายอัญมณีทั้งสิ้น ตั้งแต่แรกเริ่มยอมรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 09:02

อ้างถึง
ที่หลวงธำรงฯ ได้มาก็เป็นกระดูกคน

ขยายความตรงนี้หน่อย

เมื่อคณะราษฎรทำการปฏิวัติรัฐประหารเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ  พันเอกหลวงพิบูลสงคราม(หรือจอมพล ป.) เมื่อได้ทำลายล้างคณะสี่เสือร่วมขบวนการเดียวกันขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้แล้ว ก็คิดสร้างกุศลเพื่อล้างบาปโดยเสนอคณะรัฐมนตรีให้สร้างวัดขึ้นบริเวณใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม(นายทหารฝ่ายรัฐบาลที่เสียชีวิตจากการปะทะกับฝ่ายกบฏบวรเดชที่ทุ่งบางเขน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ นิกเนมว่าอนุสาวรีย์ปราบกบฏ) กำหนดชื่อว่า“วัดประชาธิปไตย”หวังให้เป็นอนุสรณ์ ระหว่างการก่อสร้างได้เกิดความคิดใหม่ ส่งนาวาเอกหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์  เดินทางไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย ซึ่งรัฐบาลอินเดียของอังกฤษก็ยินดีแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดได้ ณ มหาสถูปธรรมราชิกะ ในเมืองสารนาถ ซึ่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ตอนนั้นใกล้สงครามโลกญี่ปุ่นจะบุกแล้วต้องเอาใจสยามหน่อย
  
พระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวมีลักษณะเป็นอัฐิธาตุกระดูกของมนุษย์ธรรมดา แต่บริเวณที่ขุดพบเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถาน คือเป็นที่พระพุทธองค์แสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ มีเสาอโศกของพระเจ้าอโศกมหาราชแสดงหลักฐานของผู้สร้างมหาสถูปธรรมราชิกะซึ่งบรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุนั้น

เมื่อได้พระบรมสารีริกธาตุมา จึงมีผู้เสนอให้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดพระศรีมหาธาตุ และได้เป็นพระอารามหลวงชั้นวรมหาวิหาร เมื่อวันที่๓๐มิถุนายนพ.ศ.๒๔๘๕


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 09:12

แต่ไม่ทราบว่าจะเป็นเพราะพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มานั้นมิได้เป็นพระธาตุกรวดทรายอัญมณีอันถูกจริตหรือกระไร จึงดูรัฐบาลไม่ได้โปรโมตเรื่องนี้เท่าที่ควร นอกจากจะสร้างพระเจดีย์เล็กบรรจุไว้ภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ ที่ผนังโดยรอบมีช่องบรรจุอัฐิอังคารของสมาชิกคณะราษฎร์ทั้งที่เสียชีวิตแล้ว และเผื่อไว้สำหรับผู้ที่รอการเสียชีวิต(บัดนี้คงครบถ้วน) ซึ่งทั้งหมดเคยเป็นนักการเมืองพรรคเดียวกัน อันนี้ก็อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งซึ่งสร้างความตะขิดตะขวงใจให้แก่พุทธศาสนิกชนคนไทยเป็นอย่างมาก

พระบรมสารีริกธาตุแท้ๆจากประเทศอินเดียที่วัดพระศรีมหาธาตุจึงมีผู้นิยมไปกราบไหว้บูชาน้อยกว่าพระธาตุเจดีย์ดังๆทั้งหลายทั้งปวงในเมืองไทย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 11:40


         หลังจากนั้นได้ทรงสร้างพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรพระปฐมเจดีย์โดยเฉพาะ ซึ่งใน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลังจากสวรรคตแล้วกระทรวงวังได้ให้ย้ายพระที่นั่งองค์นี้มาปลูกรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
         เป็นที่น่ายินดีว่าพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยจะได้กลับคืนไปสู่ที่เดิมอีกแล้ว   สืบเนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังสนามจันทร์ ในปี 2550 ผู้ดูแลพระราชวังได้กราบบังคมทูลขอให้มีการอัญเชิญพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กลับมาประดิษฐาน ณ พระราชวังสนามจันทร์ จึงมีพระราชดำริให้สำนักพระราชวังส่งหนังสือมายังกรมศิลปากรในการอัญเชิญพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยกลับมาประดิษฐาน ณ พระราชวังสนามจันทร์ดังเดิม ดังนั้น กรมศิลปากรจึงรับสนองพระราชดำริ โดยหลังจากการบวงสรวงแล้วเสร็จ จะอัญเชิญองค์พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยไปยังสำนักช่างสิบหมู่ อ.ศาลายา จ.นครปฐม เพื่อบูรณะซ่อมแซม
         นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากรให้สัมภาษณ์ว่า
       “สภาพทั่วไปถือว่าชำรุดทรุดโทรมมาก หลังคารวมทั้งโครงสร้างที่เป็นเนื้อไม้ข้างในผุกร่อนไปกว่า 80% รวมถึงลวดลายต่างๆ ก็มีความเสียหายมาก จึงต้องมีการทำโครงสร้างใหม่ เปลี่ยนแท่นฐาน ถอดแบบลวดลาย และลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์ ใช้งบประมาณกว่า 10 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินงานประมาณ 1 ปี 6 เดือน จากนั้นจะอัญเชิญไปประดิษฐานยังพระที่นั่งพิมานปฐม ในพระราชวังสนามจันทร์ พร้อมทั้งศึกษาองค์ความรู้ของพระที่นั่ง ขั้นตอน และกระบวนการเคลื่อนย้ายไว้เป็นหลักฐานให้ประชาชนได้ศึกษาต่อไป”


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 17:21

เข้ามาแจ้งว่าผมยังหาต้นเรื่องของผมไม่เจอเลยครับ แต่ได้เจอความที่คุณออกหลวงมงคล เขียนไว้ในพันทิป “ข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับรัชกาลท่ ๕ ที่คุณไม่เคยรู้...”  เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรปครั้งที่๒

จากจุดหมายแรกที่เรือพระที่นั่งซักเซนจะทำการจอดนั่นคือท่าเรือเมืองลังกา หรือศรีลังกาในปัจจุบัน

แจ้งให้ทราบครับว่า การเสด็จประพาสเมืองศรีลังกานั้น พระองค์ได้เคยเสด็จแล้วหนหนึ่ง ในครั้งนั้นทรงเสด็จประพาสทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้ว ณ เมืองลังกา และมีเหตุการณ์ทำให้ไม่สบายพระทัย เรียกว่าพระองค์ทรงกริ้วก็ไม่ผิดนัก จากหลักฐานที่ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทร์ ความว่าชาวเมืองลังกาไม่ให้เกียรติพระองค์ในฐานะกษัติรย์ (เรื่องในอดีตนะครับ ถือเป็นเพียงประวัติศาสตร์ อ่านเป็นความรู้ อย่าโมโหนะครับ เพราะผมโมโหแทนไปก่อนหน้านี้แล้ว)

การเสด็จศรีลังกาครั้งนี้ นักวิชาการหรือผู้ที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยด้วยต่างก็คิดว่า หากพระองค์เสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีอย่างการเสด็จครั้งที่ 1 พระองค์คงไม่เลือกแวะประเทศนี้ เพียงแต่เป็นหมายของเรือพระที่นั่งซักเซน ทำให้ไม่สามารถเลือกได้


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในพระราชหัตถเลขา "ไกลบ้าน" พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี) เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง ปีมะแม รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ พุทธศักราช ๒๔๕๐ เมื่อถึง "โกลัมโบ" ก็ดูทรงสำราญพระทัยอยู่

วันอังคารที่ ๙ เมษายน

เวลาบ่าย ๔ โมง เรือเข้าในเบรกวอเตอ มีเรือรบอังกฤษสลุดลำหนึ่ง เรือยังไม่ทันจอด พวกดำน้ำหัวมันเหลืองเหมือนพวกเอเดน สิเกรตารีเจ้าเมืองกับกงสุลเยอรมันลงมาหา เอาเรือเจ้าเมืองลงมารับไปขึ้นท่า มีพระมารับประมาณ ๑๒ องค์ สวดมหาการุณิโก ได้ยืนฟังจนจบแล้วเลยไปขึ้นรถ ตรงไปกวีนซเฮาส์ทีเดียว เจ้าเมืองคนนี้ชื่อเซอเฮนรีอาเทอเบลก เดิมเปนเจ้าเมืองฮ่องกง เคยรับลูกโตเมื่อกลับจากยุโรป ท่านผู้หญิงต้อนรับดีจริง ๆ จะชวนให้นอนบนกวีนซเฮาส์เสียให้ได้ เพราะเขาจัดไว้เรียบร้อยแล้ว.....


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ก.ย. 13, 20:38 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 17:29

วันพุฒที่ ๑๐ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖

หญิงน้อย

วันนี้เรือออกพ่อนอนหลับ ต่อออกมาพ้นแล้วเรือแคลงมากจึงรู้สึก เขาว่าเมื่อ ๓ โมงเศษมีพระลงมาหาคือท่านสุมังคละ และสุภูติ กับพวกคฤหัสถ์อื่น ๆ อีกมากด้วยกัน กรมสมมตนำหนังสือต่าง ๆ มาให้ดู พวกพระทันตธาตุลงชื่อกันมาเชิญให้ขึ้นไปแลเรี่ยรายต่าง ๆ ท่านสุภูติแต่งคาถาทำนองถวายพรพระ เปนคำให้พรแก้เจ็บไข้ลงมาว่าจะมาสวดให้หายเจ็บไข้ คาถานั้นแต่งออกจะดี ๆ คิดจะส่งถวายพรมหลวงวชิรญาณทอดพระเนตร คราวนี้ไม่ได้พบใครแต่ขากลับเห็นจะต้องพบ

วันนี้ได้ให้เจ้าพระยาสุรวงษ์นำหนังสือกับของไปให้เลดีเบลก พ่อได้สมุดเซอเฮนรีให้ ๒ เล่ม คือที่งามของลังกาเล่ม ๑ ไคด์เมืองอนุราธเล่ม ๑

กลางคืนคลื่นก็ไม่มี แต่เรือโคลงเคลงเปนไกวเปล เพราะออกที่กว้างมากไม่มีอะไรบัง และออกจะเฉียงลมหน่อย ๆ ด้วย กรมประจักษ์พูดมคธเม้กตาพวกลังกา ๖ ชั่วโมงอิ่มอกอิ่มใจสบายมาก ว่าให้อยู่กับพวกนั้นสามวันก็เอา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ก.ย. 13, 20:39 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 18:08

ตัวหนังสือเล็กจัง ทำไมจึงต้องทำให้อ่านได้ยากลำบากขนาดน้าน


อ้างถึง
เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง ปีมะแม รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ พุทธศักราช ๒๔๕๐ เมื่อถึง "โกลัมโบ" ก็ดูทรงสำราญพระทัยอยู่
ตกลงคุณเพ็ญติดใจประเด็นไหนครับ

ประเด็นว่า คราวเสด็จครั้งแรก พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตร หรือไม่ได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วที่อยู่ภายในสถูป
หรือ ประเด็นว่าพระองค์ท่านยังคงติดพระทัยคนลังกาในการรับเสด็จครั้งที่แล้ว ครั้งที่สองนี้ หากเสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีก็ไม่อยากจะแวะที่นั่นอีก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 18:33

ตกลงคุณเพ็ญติดใจประเด็นไหนครับ

ประเด็นว่า คราวเสด็จครั้งแรก พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตร หรือไม่ได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วที่อยู่ภายในสถูป
หรือ ประเด็นว่าพระองค์ท่านยังคงติดพระทัยคนลังกาในการรับเสด็จครั้งที่แล้ว ครั้งที่สองนี้ หากเสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีก็ไม่อยากจะแวะที่นั่นอีก

มีความเห็นดังนี้

๑. รัชกาลที่ห้าได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วแน่นอน ซึ่งทรงมีพระราชวินิจฉัยดังนี้
 
เมื่อจะกล่าวตามคนต่างประเทศเขากล่าว ที่เขาได้พิจารณาวาดเขียนจำลองถ้วนถี่ เขาว่า ทำด้วยงาช้างซึ่งเสียสี เป็นของพระเจ้าวิกรมพาหุคิดทำขึ้น ไม่เป็นสัณฐานพันธุ์มนุษย์ เพราะสิ่งที่จริงแท้นั้น โปรตุเกสได้ทำลายเสียที่เมืองคัวดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ตามความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่า ถึงพระทันตธาตุซึ่งว่าโปรตุเกสทำลายเสียนั้นจะเชื่อว่าแท้ก็ไม่ได้ ด้วยพาไปซ่อนเร้นหมกฝังเสียเป็นหลายครั้งมาแล้ว

๒. ในการเสด็จครั้งหลังนี้ รัชกาลที่ห้าทรงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี คงไม่ติดพระทัยเรื่องเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ก.ย. 13, 20:39 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 19:15

ตอบข้อนี้ก่อน แม้จะไม่ใช่ผมที่แสดงความเห็นไว้ แต่ก็ยังไม่สายไปที่จะแสดง
อ้างถึง
๒. ในการเสด็จครั้งหลังนี้ รัชกาลที่ห้าทรงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี คงไม่ติดพระทัยเรื่องเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว

ก่อนการเสด็จครั้งแรก ทรงเตรียมพระทัยล่วงหน้านานพอสมควรที่จะแวะคอลัมโบ เพื่อจะเสด็จเมืองแกนดีเพื่อนมัสการพระเขี้ยวแก้ว เพราะอยากพิสูจน์ตามความเห็นของพระองค์ที่คุณเพ็ญเอาลงลงข้างบนนี้แหละ การไปเมือแกนดีไม่ใช่ไปง่ายๆเช้าไปเย็นกลับ แต่ต้องประทับค้างคืนในโรงแรมที่นั่นคืนหนึ่ง  ดังนั้นเป็นธรรมดาที่ประสานไปถึงขนาดนี้ แต่เอาเข้าจริงคนเฝ้ากับยึกยักไม่ยอมเปิดพระสถูปให้ทอดพระเนตรองค์พระธาตุ ก็เป็นธรรมดาที่จะทรงกริ้วมาก ขนาดเสด็จกลับเลยโดยไม่พระราชทานเครื่องบูชาที่เตรียมเอาไปจากเมืองไทย

ดังนั้นทำไมจะเป็นไปไม่ได้หากจะมีพระราชประสงค์ที่จะไม่กลับไปอีก(ถ้าเลือกได้) เผอิญเลือกไม่ได้ เพราะครั้งที่สองท่านเสด็จไปรักษาพระองค์ ผู้ติดตามโดยเสด็จไม่เยอะ ไม่คุ้มจะนำเรือพระที่นั่งมหาจักรีไป หากเช่าเหมาชั้นหนึ่งของเรือโดยสารของสายการเดินเรือที่วิ่งเป็นปกติดีกว่า และกำหนดเส้นทางของเขาจากสิงคโปร ก็จะเทียบท่าที่โคลัมโบตามปกติ เพื่อรับส่งผู้โดยสารอื่นๆ

ขณะนั้นยังทรงพระประชวรอยู่ไม่ค่อยสบายพระวรกาย แต่มีพระสงฆ์ลังกาขึ้นมาบนเรือสวดถวายพระพรให้ทรงหายโดยไว ก็ทรงพระเกษมสำราญ ก็เท่านั้นเอง 
 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 19:22

อ้างถึง
๑. รัชกาลที่ห้าได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วแน่นอน ซึ่งทรงมีพระราชวินิจฉัยดังนี้
 
เมื่อจะกล่าวตามคนต่างประเทศเขากล่าว ที่เขาได้พิจารณาวาดเขียนจำลองถ้วนถี่ เขาว่า ทำด้วยงาช้างซึ่งเสียสี เป็นของพระเจ้าวิกรมพาหุคิดทำขึ้น ไม่เป็นสัณฐานพันธุ์มนุษย์ เพราะสิ่งที่จริงแท้นั้น โปรตุเกสได้ทำลายเสียที่เมืองคัวดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ตามความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่า ถึงพระทันตธาตุซึ่งว่าโปรตุเกสทำลายเสียนั้นจะเชื่อว่าแท้ก็ไม่ได้ ด้วยพาไปซ่อนเร้นหมกฝังเสียเป็นหลายครั้งมาแล้ว
ในประโยคไหนของพระบรมราชวินิจฉัยครับ ที่ทรงกล่าวว่า ทรงได้ทอดพระเนตรพระทันตธาตุ ไม่ว่าจะเป็นองค์ไหนก็ตาม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 19:44

ในประโยคไหนของพระบรมราชวินิจฉัยครับ ที่ทรงกล่าวว่า ทรงได้ทอดพระเนตรพระทันตธาตุ ไม่ว่าจะเป็นองค์ไหนก็ตาม

กล่าวต่อไปว่า พระทันตธาตุนั้นร้อยอยู่ในห่วงลวดซึ่งปักอยู่ในกลางดอกอุบลทำด้วยทองคำ มีพระเจดีย์ครอบเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นในที่สุดเป็นกล่องประดับเพชรพลอยงามดี องค์นอกที่สุดมีสังวาลหลายอย่าง สังเกตได้แต่ว่าเป็นอย่างพม่านั้นสายหนึ่งสวมอยู่ สัณฐานพระทันตธาตุก็ไม่ผิดอันใดกับที่จำลองนัก แต่จะเป็นด้วยเก่า หรือด้วยจะเป็นสีดอกพิกุลแห้ง จึงได้มีสีคล้ำมัวเหมือนงาที่ทำเครื่องมืออันใช้เก่า ๆ แต่ไม่เป็นสีเดียวเสมอกัน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ก.ย. 13, 20:40 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 19:55

มีประเด็นครับ แต่บังเอิญต้นเรื่องของผมไม่สามารถหาได้ทางอินเทอเน็ทนอกจากที่ยกมาแล้ว ดังนั้นต้องขอเวลาค้นหนังสือในบ้านก่อน ไม่ทราบว่าไปเก็บไว้ที่ไหน

แต่ว่าคุณเพ็ญยังมีความสุขกับการใช้อักษรตัวจิ๋วๆนี่ดีหรือครับ มันไม่เป็นการอนุเคราะห์คนอ่านที่ล่วงสู่วัยชราภาพเช่นผมเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 20:07

ทำไมฟ้อนท์ในจอของดิฉันปกติล่ะคะ    ส่วนที่คุณเพ็ญชมพูอ้างถึง ยังเป็นอักษรตัวใหญ่ด้วยซ้ำไปค่ะ
คุณ Navarat.C  กด Ctrl  ตามด้วย +  เพื่อขยายฟ้อนท์หรือยังคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 20:11

ก็ปกติแหละครับ ปกติแบบเล็กก็มีใหญ่ก็มี แต่ข้อความสำคัญเล็กหมด

ผมลองทำตามที่แนะนำแล้วไม่ได้ผลครับ อาจยังทำไม่ถูกก็ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 19 ก.ย. 13, 20:16

ดิฉันลองขยาย size ตัวอักษรของคุณเพ็ญชมพูจาก 11 เป็น 16

กล่าวต่อไปว่า พระทันตธาตุนั้นร้อยอยู่ในห่วงลวดซึ่งปักอยู่ในกลางดอกอุบลทำด้วยทองคำ มีพระเจดีย์ครอบเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นในที่สุดเป็นกล่องประดับเพชรพลอยงามดี องค์นอกที่สุดมีสังวาลหลายอย่าง สังเกตได้แต่ว่าเป็นอย่างพม่านั้นสายหนึ่งสวมอยู่ สัณฐานพระทันตธาตุก็ไม่ผิดอันใดกับที่จำลองนัก แต่จะเป็นด้วยเก่า หรือด้วยจะเป็นสีดอกพิกุลแห้ง จึงได้มีสีคล้ำมัวเหมือนงาที่ทำเครื่องมืออันใช้เก่า ๆ แต่ไม่เป็นสีเดียวเสมอกัน

ต่อไปคุณเพ็ญชมพูลองขยายข้อความจาก 11 เป็น 16 ได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง