เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11]
  พิมพ์  
อ่าน: 92964 ภาษาไทยในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 31 ก.ค. 19, 19:04

เป็นเรื่องปกติที่ จนท.ทางการทูตจะเรียนรู้การใช้ภาษาของประเทศที่ตนไปประจำการ เพื่อให้ตนเองสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความคล่องตัวและมีความสุขมากขึ้น และเพื่อเป็นการแสดงออกถึงการมีมิตรไมตรีต่อบุคคลและคณะบุคคลในวาระต่างๆ    แต่เป็นเรื่องไม่ปกติที่บุคคลที่เป็น จนท.ระดับสูงของสถานทูตหรือในระดับเอกอัครราชทูตฯจะเรียนรู้ภาษาของประเทศที่ตนไปประจำการ ลึกลงไปถึงระดับการเขียน การสะกดคำที่ให้ความหมายต่างกัน และการเลือกใช้คำที่เหมาะสม

ภาษาไทยมิใช่เป็นภาษาที่ใช้อยู่เฉพาะแต่ในประเทศไทย หากแต่เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารได้ในระดับหนึ่งกับผู้คนที่อยู่ในประเทศรอบบ้านเรา ก็ประมาณกึ่งหนึ่งของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะกับผู้คนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลุ่มขายปลีก      ใช้กันมากเพียงใด ?  ก็มากพอที่จะมีการทำพจนานุกรมระหว่างภาษาไทยกับภาษาถิ่น พิมพ์วางขายกันนานมาแล้ว (30+/- ปี)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 01 ส.ค. 19, 10:02

เป็นเรื่องไม่ปกติที่บุคคลที่เป็น จนท.ระดับสูงของสถานทูตหรือในระดับเอกอัครราชทูตฯจะเรียนรู้ภาษาของประเทศที่ตนไปประจำการ ลึกลงไปถึงระดับการเขียน การสะกดคำที่ให้ความหมายต่างกัน และการเลือกใช้คำที่เหมาะสม

ในกรณีนี้อาจถือเป็นเรื่องปรกติ  ยิงฟันยิ้ม

พระเอกนางเอกในคลิปของสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เนื่องในวันภาษาไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ คือ คุณปีเตอร์ เฮย์มอนด์ อัครราชทูตที่ปรึกษา และคุณดุษฎีภรรยาซึ่งเป็นคนไทย

คุณปีเตอร์เดินทางมาไทย ทำงานเป็นมิชชันนารีและใช้ชีวิตร่วมกับคนท้องถิ่นหลายปี ได้เริ่มหัดพูดภาษาไทยด้วย ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลง การพูดภาษาไทยได้จะทำให้คุณปีเตอร์มองหาเพื่อนคนไทย เมื่อเดินทางกลับไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยทัฟส์ สหรัฐอเมริกา ทำให้ได้พบภรรยาซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่การทูตซึ่งลาราชการไปศึกษาต่อ การพูดภาษาไทยได้ยังทำให้คุณปีเตอร์อยากมีอาชีพด้านการต่างประเทศอีกด้วย

https://th.usembassy.gov/th/match-made-in-heaven-th/
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 01 ส.ค. 19, 17:40

อ้อ เป็นเช่นนี้เอง  ยิงฟันยิ้ม    แสดงว่าเขามีความสนใจและได้เรียนรู้แบบลึกลงไปมากเลยทีเดียว   

เรี่องของไม้ม้วนและไม้มลายนี้ ก็ยังมีคนไทยอยู่ไม่น้อยที่สะกดผิดๆถูกๆกันอยู่    แต่ก่อนนั้นนักเรียนจะต้องท่องและจดจำโคลงกลอนเรื่องของไม้ม้วน 20 ม้วน  ไม่ทราบว่าในสมัยนี้ยังคงกระทำกันอยู่หรือไม่ ?

เคยได้ยินว่าเรื่องของการอ่านออกเสียงเป็น "ซ" ของคำใช้ "ทร" ก็มีโคลงกลอนว่าไว้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 01 ส.ค. 19, 17:42

ลืมไปครับ    กับคำที่สะกดด้วย "คร" ก็ดูจะมีอยู่เช่นกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 02 ส.ค. 19, 19:02

เรื่องการออกเสียง ร และ ล นั้น จะออกเสียงแบบกระดกลิ้นหรือจะออกเป็นแบบลิ้นแข็งก็ยังให้ความหมายของคำได้ ยังอยู่ในวิสัยที่รู้ว่าพูดถึงอะไร    แต่หากไม่มีเสียงควบกล้ำของ ร หรือ ล ในคำต่างๆไปเลย แบบนี้ ต้องนึกหรือเดาเอาเลยว่าพูดถึงอะไร

ในกรณีของการออกเสียง ร และ ล ไม่ชัดเจนให้ต่างกันนั้น  เป็นสิ่งที่เราได้ยินจนคุ้นหู ก็พอจะเข้าใจได้ว่าขาดการฝึกพูดออกเสียงหรือการเอาใจใส่มาตั้งแต่เยาว์วัยและขาดการแก้ไขตลอดช่วงของการศึกษาภาคบังคับ   แต่เมื่อเช้าสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาในสาขาที่มุ่งหวังจะไปทำงานในด้าน mass communication ก็ควรจะมีการพยายามแก้ไขให้เป็นไปตามหลักภาษา มิควรจะให้เป็นผลิตผลชนิดที่ขาดหายไปทั้ง ร และ ล
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 02 ส.ค. 19, 19:54

การขาดหายไปทั้ง ร และ ล นี้ ยังส่งผลไปถึงการใช้ภาษาอื่นที่ใช้อักษรละติน(อักษรโรมัน)ของเราอีกด้วย   

ในโลกทางเศรษฐกิจที่ไร้พรมแดน   เมื่อการสื่อสารเกือบทั้งหมดอยู่บนฐานของการใช้ภาษาที่ใช้อักษรละติน(อักษรโรมัน) ซึ่งมีตัวอักษร R และ L ซึ่งออกเสียงไม่ต่างกันมากนักกับ ร และ ล    ก็ลองสังเกตดูครับ เราก็มีการใช้ภาษาอังกฤษที่ออกเสียงแบบไม่มีอักษร R และ L เลย  ต่างชาติก็เลยเป็นงง นั่งนิ่งพยายามฟังเนื้อความโดยรวมว่าจะว่าอย่างไร   ขนาดการประกาศที่สนามบินยังงง ทั้งที่รู้ว่ากำลังพูดเรื่องเกี่ยวกับอะไร
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 03 ส.ค. 19, 18:55

เมื่อผนวกความนิยมในการใช้คำทับศัพท์อย่างมากหลายในสาระที่สื่อสารกันผ่านทางสื่อสาธารณะ  ซึ่ง..ด้วยที่คำศัพท์ภาษาต่างด้าวเหล่านั้นมีหลายคำที่จะต้องมีการออกเสียงตัวสะกดเป็นเสียงเสมือน ช หรือ ซ ท้ายคำ หรืออื่นๆ   เมื่อการออกเสียงตัวสะกดที่ไม่เป็นไปอย่างใกล้เคียง ก็เล่นเอาเป็นงง ต้องเดาเอา หรือฟังกันไม่รู้เรื่องกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะคำที่เป็นคำศัพท์เฉพาะทาง หรือเป็นศัพท์ทางเทคนิค 

อาทิ เคด(case), ค๊อด(course), บั๊ด(bus), บีทีเอ็ด(BTS), ฯลฯ         ไฟ้(flight), ที(three, tree), ซาตีด(street), ลิบ(lift), ฯลฯ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 04 ส.ค. 19, 10:36

สังเกตว่า ร. เรือกลายเสียงเป็น ล.ลิง ในหมู่คนไทยจำนวนมาก   
แม้แต่บุคคลสำคัญในวงการต่างๆ มีน้อยคนออกเสียง ร เรือได้ชัดเจน   ส่วนใหญ่ออกเสียงเป็น ล ลิงโดยไม่รู้ตัว
ถ้าเป็นหนุ่มสาวแล้วยิ่งออกไม่ได้กันเกือบ 100%
ส่วนเสียงควบกล้ำหายไป 

ส่วนการออกเสียงตัวอักษร  L  S  T  TH Z  ท้ายคำไม่ได้ เพราะภาษาไทยเรามีเสียงตัวสะกดแค่ 8 เสียง คือ ง น ม ย ว และ ก ด บ
L   จึงกลายเป็น น บ้าง ว บ้าง  เช่น  feel   เป็น ฟิน  field  เป็น ฟิว  mall เป็น มอน
Police  เป็น โปลิด

ส่วนคำควบกล้ำที่หายไป ก็เช่น class เป็น ค้าด  Flight เป็น ไฟ้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 04 ส.ค. 19, 19:31

เอา MV ของฝรั่งสอนภาษาไทยผ่านเพลง มาให้ฟังคั่นรายการค่ะ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 04 ส.ค. 19, 19:32

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้เดินทางโดยสายการบินภายในประเทศ ซึ่งนานๆก็สักครั้งหนึ่ง  ในครั้งนี้ได้สัมผัสกับการใช้ภาษาที่น่าทึ่งมาก เป็นการผนวกการออกเสียงที่ขาดเสียง ร, ล, r, l, s, t, th, ch, ... ที่เปล่งอยู่ในเสียงประกาศต่างๆทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษและทั้งในสนามบินและบนเครื่อง  ซึ่งเมื่อผนวกเข้ากับการพูดแบบกระชับและรวดเร็ว(ใกล้ละล่ำละลัก)ที่ระดับเสียงและการพูดแบบต่อเนื่อง(ที่ขาดการเว้นวรรค)จนจบกระบวนความ     อืม์ ยอมรับเลยว่าฟังเกือบไม่ออก    สำหรับในส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นจับความได้จากคำที่ฟังออกเอามาประมวลรวมกัน

ภาษาไทยและอังกฤษในลักษณะดังกล่าวนี้ จะเกิดมาจากอิทธิพลแบบ "บนลงล่าง หรือ ล่างขึันบน" เช่นใดก็ไม่รู้ ดูจะไม่ต่างกันไปมากนักในด้านของระดับการศึกษา  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 05 ส.ค. 19, 19:57

เพลงที่ โจนัส แอนเดอร์สัน ร้องนั้น น่าจะมีมูลเหตุของการแต่งส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของการใช้ภาษาไทย (เนื้อร้อง/ทำนอง คุณสินทรัพย์ เอี่ยมเพ็ญแข) ในทำนองว่า ขนาดฝรั่งก็ยังสามารถออกเสียงภาษาไทยได้อย่างถูกต้องและชัดเจนเลย แล้วพวกเราล่ะ ?

ผมมีความสนใจในเพลงที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มแพลงพื้นบ้านที่ฟังง่าย และมีท่วงทำนองที่ไม่สลับซับซ้อน    คุณ โจนัส เป็นคนสวีเดน แล้วก็บังเอิญว่าผมไปถูกโฉลกกับการฟังเพลงของวง BAO (Benny Anderson Orkester) ซึ่งเป็นวงที่นักแต่งเพลงของวง ABBA เป็นหัวหน้าวงและเป็นผู้สร้างสรรค์เพลงต่างๆ ผมก็จึงไม่รู้สึกแปลกใจมากนักที่คุณ โจนัส จะออกเสียงภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยจับความได้ว่า คนสวีเดนมีการออกเสียงตัว  r หลายรูปแบบตั้งแต่ปลายปากจนลึกไปถึงลำคอ (แบบฝรั่งเศส) รวมทั้งเสียงควบกล้ำต่างๆ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 06 ส.ค. 19, 09:32

เอาเพลงของโจนัส มาฝากคนเมืองเหนืออีกเพลงค่ะ



สังเกตว่าโจนัสออกเสียงวรรณยุกต์ไทยได้ไม่ผิดพลาด     เสียงวรรณยุกต์ไทยหรือ Thai intonation ทำเอาฝรั่งตกม้าตายมาเยอะแล้ว    เพราะเสียงสูงต่ำของคำของเขาไม่ได้ตายตัวอย่างของไทย   มาเจอ "ใครขายไข่ไก่" เข้า ขนาดอาจารย์ทางภาษายังออกเสียงไม่ได้เลยค่ะ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 06 ส.ค. 19, 19:38

ผมเกิดมีข้อสังเกตเล็กๆอยู่นิดนึงว่า  จำได้ว่า โจนัสเคยแนะนำชื่อของตนเองในรายการหนึ่งในลักษณะออกเสียงยาวว่า โจนาซ   เมื่อมีการสะกดว่า โจนัส ก็จะทำให้เสียงลากนั้นหดสั้นลง แต่ก็ได้เสียงที่ใกล้เคียงที่เขาเรียกชื่อของตนเองมากที่สุด แต่หากจะสะกดว่า โจนาส เมื่ออ่านก็จะออกเป็นอีกเสียงหนึ่ง     

ก็เลยเกิดนึกแปลกใจขึ้นมาว่า บรรดาคำที่เป็นชื่อเรียกเฉพาะนั้น เมื่อจะถอดเป็นภาษาไทย เราควรจะถอดให้เป็นคำที่เขียนแล้วอ่านออกเสียงได้ใกล้เคียงกับคำต้นทาง หรือจะต้องถอดให้เป็นไปตามหลักอักษรที่กำหนดไว้เท่านั้น อย่างใหนจะดีกว่ากัน ?   อาทิ Peter ควรจะเป็น ปีเต้อ หรือ ปิเตอร์ (ซึ่งออกเสียง ปิเตอ)  อเล็กซานเดอร์ ควรจะเป็น อเล็กซานเด้อ หรือ อเล็กซานเดอร์ (ซึ่งออกเสียง อะเล็กซานเดอ)   

คำว่า ก๊าซ หรือ กาซ จะมีวรรณยุกต์กำกับหรือไม่ก็ออกเสียงอ่านเหมือนกัน (คำใดสะกดผิด /ถูก ?  หรือขึ้นอยู่กับว่าเขียนเมื่อ พ.ศ. ใด)  เช่นเดียวกับ แก็ส หรือ แกส    แล้วที่ถูกต้องจะต้องสะกดเช่นใด  หรือว่าหากจะให้เป็นแบบอังกฤษก็แบบหนึ่ง เป็นแบบอเมริกันก็อีกแบบหนึ่ง    อย่างไรก็ตาม ผู้คนดูต่างๆดูจะนิยมการสะกดว่า ก๊าซ

เรื่องเหล่านี้ก็รู้อยู่ว่าได้มีการถกกันมามากมาย แต่ทั้งหลายเหล่านั้นมันเป็นบริบทเชิงปรัชญาทางวิชาการ   ซึ่งดูจะทำให้ในโลกกว้างของเด็กและผู้ที่มีโอกาสน้อยจะได้มีโอกาสเรียนรู้และได้ก้าวเข้าไปทำอะไรๆที่สอดคล้องไปกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริงก็ดูจะถูกจำกัดลง  ด้วยเพราะว่าสื่อของการให้ความรู้ที่สามารถลงไปถึงผู้คนห่างไกลปืนเที่ยงและระดับรากหญ้าจริงๆก็ยังอยู่ในรูปของตัวอักษร หนังสือ และข้อความที่ปรากฎตามสื่อออนไลน์ต่างๆ   

เอาอย่างไรดีระหว่าง correct กับ right หรือ justify
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 08 ส.ค. 19, 20:27

เพลง ลมทะเล ของสุนทราภรณ์ เป็นเพลงปราบเซียน สำหรับคนที่ออกเสียง ร  ล และควบกล้ำ
ใครออกเสียงไม่ถูกต้อง รับรองตกม้าตายตั้งแต่ก่อนจบเพลงค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง