เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
อ่าน: 92903 ภาษาไทยในยุค AEC
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 26 ส.ค. 18, 18:52

ใครที่รณรงค์ไม่ให้ใช้ "นะค่ะ" ต้องพยายามกันต่อไป...

https://mgronline.com/entertainment/detail/9610000084988


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 31 ส.ค. 18, 13:24

ข้อความข้างล่างนี้  ส่วนที่วงกลมไว้ คือส่วนที่ไม่มีการพิสูจน์อักษร     นักข่าวส่งมาอย่างใด ก็นำลงอย่างนั้น
ส่วนที่ขีดเส้นใต้ คือข้อความที่พิมพ์ผิด  และอ่านไม่รู้เรื่อง
๑)ความคิด ซึ่งการกระทำรุนแรงในลักษณะนี้ เป็นการะสะท้อนสังคม
ความคิดเกี่ยวกับการข่มขืน เป็นการสะท้อนสังคมได้อย่างไรไม่ทราบ  ฮืม
๒)ทำให้เกิดความเข้าใจว่า การกระทำรุนแรงที่เกิดขึ้น ก็เพราะผู้เป็นเหยือไม่สามารถปกป้องดูแลตนเองได้
ก็เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว  เพราะถ้าเหยื่อสามารถปกป้องดูแลตนเองได้    การข่มขืนก็ไม่เกิด  หรือเกิดได้ก็แค่ความพยายามจะข่มขืน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 02 ก.ย. 18, 20:18

สื่อยุคนี้ไม่รู้จักความแตกต่างระหว่าง "รม" กับ "ลม" เสียแล้วหรือ?


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 15:01

เป็นเรื่องแปลกมากครับอาจารย์

ในหมู่พวกเล่นเกมส์ออนไลน์ มันใช้ "ร" และ "ล" สลับกันครับ ยกตัวอย่าง เช่น
"ช่วยที มอน(สเตอร์) ลุม" คือเขากำลังถูกสัตว์ร้ายในเกมส์หลายๆตัวเข้าทำร้ายพร้อมๆกัน ซึ่งที่ถูกต้อง "ถูกรุม"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 16:04

ดิฉันสังเกตว่า ร เกือบจะหายไปจากยุคปัจจุบัน ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก พูด ร  ออกมาเป็น ล ไปหมด
ลองสังเกตเวลานักข่าวสัมภาษณ์ชาวบ้าน  หรือแม้แต่ผู้รับเชิญมาออกรายการ     เราจะได้ยินเสียงพูด  ลายการ
ลีบล้อน  ลวยกันใหญ่  ลอดตายแล้ว ฯลฯ  โดยไม่มีใครรู้สึกสะดุดหู
ถ้าคนเขาสะกดคำตามเสียงที่เขาพูดหรือได้ยิน   ก็เป็นได้ว่า ล  จะออกมาแทน ร  ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 27 ก.ย. 18, 11:58

หนังสือพิมพ์ใหญ่ๆ  ในยุคก่อนหน้า AEC  ไม่ใช้ภาษาไทยแบบนี้
เดี๋ยวนี้น่าจะเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว

https://mgronline.com/entertainment/detail/9610000095406

แหกไปถึงไส้ “น้ำเพชร” ซ้อมเต้นสุดเอ็กซ์ เตรียมไปประกวด Miss Global ลุ้นกันหน้าใหม่จะได้มงไหม?

จัดว่าเด็ด “น้ำเพชร” หอบหน้าใหม่ ไปประกวด Miss Global Charlity Queen ประเทศไต้หวัน ซ้อมเต้นแหกไปถึงไส้ มั่นใจหน้าใหม่พาชิงมง

ลงทุนไปให้โรงพยาบาลนานะประเทศเกาหลีเฉาะหน้าไปเป็นล้านเพื่อเตรียมเอาหน้าใหม่สวยๆ ไปประกวด Miss Global Charlity Queen ที่ประเทศไต้หวัน การประกวดระดับอินเตอร์ที่มีสาวงามจากทั่วโลกกว่า 50 ประเทศเข้าร่วมชิงมงกุฎ งานนี้น้ำเพชรก็เลยจัดหนัก หน้าสวยแล้วหุ่นก็ต้องปั๊ว ทั้งฟิตร่างกายทั้งซ้อมเต้นเพื่อนำไปแสดงโชว์ เห็นท่าแหกขาแล้วแซ่บมากฟาดคู่แข่งตายหมดแน่ ซึ่ง "น้ำเพชร ฏีญาร์ภา" ก็ได้เปิดเผยถึงการไปประกวดครั้งนี้ว่า
ฯลฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 19 ก.พ. 19, 15:19

สมัยนี้ ไม่มีบรรณาธิการพิสูจน์อักษรแล้วหรือคะ?

เฮี้ย  ---> เฮี้ยน?  หรือ เ-ี้ย ที่ใช้ ห หีบ สะกด?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 19 ก.พ. 19, 15:20

ใครจะช่วยแก้ไขได้บ้าง?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 19 ก.พ. 19, 15:21

มีอีกค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 19 ก.พ. 19, 21:11

อาจารย์ถามว่า "ใครจะช่วยแก้ไขได้บ้าง ?"

ในความเห็นนอกตำราของผม
   เมื่ออยู่ในระดับอนุบาล  เป้าหมายน่าจะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ในเรื่องของการออกเสียงตัวอักษรให้ถูกต้อง และชัดเจน
   เมื่ออยู่ในระดับประถมต้น  เป้าหมายน่าจะเป็นเรื่องของความรู้จักหมวดหมู่ของอักขระต่างๆในภาษาเขียนของไทย การนำมาประสมให้เป็นคำสะกดที่ถูกต้อง และลายมือ
   เมื่ออยู่ในระดับประถมปลาย  เป้าหมายน่าจะเป็นเรื่องของการรู้จัก และการใช้คำที่เหมาะสมกับกาลเทศะต่างๆ
   เมื่ออยู่ในระดับมัธยมต้น  เป้าหมายน่าจะเป็นเรื่องของการรู้จักภาษาไทยในเชิงของการใช้ภาษาและสำนวนที่เห็นว่าดีที่ปรากฎมาในอดีตจากในวรรณเรื่องราวในวรรณคดี บทความ .....
   เมื่ออยู่ในระดับมัธยมปลาย  เป้าหมายน่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาทักษะในการเขียน การเรียงความ การจับความ การย่อความ ฯลฯ

  ในระดับมหาวิทยาลัย  นอกจากในเรื่องวิชาการทางอัษรศาสตร์แล้ว ก็น่าจะเป็นเรื่องของการใช้ภาษาให้ถูกต้องทั้งการพูด การเขียน การสื่อสาร ตรรกะและความลึกซึ้งในภาษาที่สื่อสารออกมา
   เมื่อเข้าทำงาน เจ้าของงานก็ควรจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้คัดกรองเอาที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการใช้ภาษาที่ถูกต้อง นอกเหนือไปจากเรื่องทางกายภาพและอื่นๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 24 ก.พ. 19, 19:29

มีวลีใหม่วลีหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อใดก็ไม่ทราบ ดูจะเป็นที่นิยมกันอยู่ไม่น้อย เป็นภาษาพูดที่มีลักษณะเป็น Question tag  ซึ่งแตกต่างไปจากของภาษาฝรั่งตรงที่ของเราเป็นเพียงวลีเดียวที่ใช้ได้ในทุกเรื่อง 

  "ใช่หรือไม่"  ซึ่งแต่ก่อนเรานิยมจะใช้วลีว่า "ใช่หรือเปล่า" หรือ "ใช่ใหม"   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 25 ก.พ. 19, 20:06

มีเรื่องหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นและกำลังมีพัฒนาการ   

เราเอาภาษาไทยที่ว่าเป็นสำเนียงภาคกลางไปสอนหนังสือเด็กๆตามชายแดนรอบๆบ้านเรา ให้พูด ให้เขียน ให้อ่านภาษาไทย  แล้วก็ให้บังเอิญว่า ตามแนวชายแดนเหล่านั้นก็จะมีพวกชาวต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติ เช่น อเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวียน และอัฟริกา... ที่พูดไทยได้หลากหลายสำเนียง อ่านออกเขียนได้บ้าง  พวกเขาเหล่านั้นเข้ามาอยู่ทั้งในรูปแบบของสมาคมการให้ความช่วยเหลือ บำเพ็ญประโยชน์ ย้ายถิ่นฐาน ... ภาษาไทยที่ไปพูดในการทำงาน ไปสอนหรือช่วยสอน เหล่านั้น มีทั้งที่ขาดและเกิน โดยเฉพาะตัว ร.เรือ ล.ลิง และคำควบกล้ำ....  เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับภาษาไทยชายขอบรุ่นใหม่ ซึ่งกำลังแพร่ขยายเข้ามาในตัวเมืองในพื้นที่ชายแดนต่างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 27 ก.พ. 19, 20:34

การเขียนก็กำลังเปลี่ยนแปลง  เรื่องนี้เราคงได้เห็นการเขียนอักขระไทยในยุคนี้ที่เป็นแบบหัวม้วนโตๆ ไม่ได้มีการเน้นการเขียนให้ส่วนอื่นใดของตัวอักษรที่จะต้องลากลงมาจนจรดกับเส้นบรรทัด  ก็จึงไม่แปลกนักที่เราจะเห็นตัวอักษรไทยมีแต่หัวกลมๆเด่นออกมาดังเช่น ตัว ส.เสือ ใกล้กับเครื่องหมายอุณาโลม หรือเป็นตัว ร. เรือ เขียนกลับทาง   

นี่ขนาดเรามีครูสอนภาษาไทยเป็นการเฉพาะประจำชั้นและประจำโรงเรียนต่างๆในกรุงเทพฯ เรายังเห็นภาพนี้ที่ไปเน้นกับการเน้นที่หัวตัวอักษร ซึ่งดูจะเป็นการไปห่วงเรื่องการเขียนแบบลายมือของแต่ละคนเสียมากกว่า  ต่างกับที่แต่ก่อนนั้นที่ดูจะเน้นไปที่การเขียนให้เป็นตัวอักษรแบบที่เป็นมาตรฐานของภาษาไทย     ก็ยังสงสัยอยู่ว่า แล้วการเขียนภาษาไทยในพื้นที่ชายแดนต่อจากนี้ไปจะออกไปในทางใด แถวเขตต่อกับพม่าก็อาจได้เห็นลายมือการเขียนใกล้ไปทางพม่า ใกล้ไปทางทางเขมรและทางลาวก็อาจจะเป็นเช่นนั้น 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 29 ก.ค. 19, 15:51

สุขสันต์วันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒

กับเจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกันประจำประเทศไทย
 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 30 ก.ค. 19, 19:43

ในความเห็นของผม   
clip ที่คุณเพ็ญชมพูนำมาแสดงนี้ ดูจะเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงตรรกะและกรอบแนวคิดของรัฐต่างชาติในด้านที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐต่างชาติต่างๆที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมในเรื่องทางด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม   

 

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง