เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 93010 ภาษาไทยในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 29 ก.ย. 13, 20:44

ยังคงมีข้อสังเกตอื่นๆอีก แต่จะขอลงด้วยอีก 2 ข้อสังเกตครับ

เรื่องแรก คำหลายคำและชื่อนามต่างๆ คงจะหายไปมากเลยทีเดียว   ขอยกตัวอย่าง เช่น ชื่อเรือชนิดต่างๆ หรือ ชื่อกับข้าวต่างๆ (ในปัจจุบันก็เหลือกับข้าวที่วางขายกันหรือสั่งกินกันไม่กี่อย่างแล้ว) หรือ ชื่อของใช้ต่างๆ    เนื่องจากวิถีชีวิตและสภาพทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป   

เรื่องที่สอง ภาษาเขียนกับภาษาพูด จะมีความแตกต่างที่เด่นชัดใน คือ เขียนอย่างหนึ่งแต่อ่านออกเสียงอย่างหนึ่ง หรือกลับกัน พูดออกเสียงอย่างหนึ่งแต่ต้องเขียนตามหลักภาษาอีกอย่างหนึ่ง    เด็กรุ่นหลังคงจะยุ่งยากในการจำน่าดูเลยทีเดียว 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 29 ก.ย. 13, 21:00

ภาษาอินเทอร์เน็ตนี่แหละค่ะ จะมาเป็นตัวบงการและควบคุมภาษาไทย    ถ้าคุณตั้งเปิดเข้าไปในเว็บต่างๆที่คุยกันได้   จะเห็นภาษาปัจจุบันไม่เหมือนภาษาเมื่อ 10 กว่าปีก่อนอีกแล้ว   เกิดขึ้นเร็วและตายจากไปเร็ว  พร้อมกับมีคำใหม่ๆเข้ามาแทนที่
ครับ---> คับ--->ครัฟ
ใช่ไหม--->ใช่มั้ย---->ชิมิ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 29 ก.ย. 13, 21:26

ปล.

ข้อเขียนในกระทู้นี้เป็นเพียงการฉายภาพที่ผมเห็นว่าเป็นพลวัติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาปัจจุบันกาล ซึ่งจะเป็นกลายเป็นดอกผลี่พอจะเดาได้ว่าจะเป็นเช่นใดในอนาคต

เคยคิดอยู่ว่า เมื่อเกิด AEC ขึ้นมา จะมีการเคลื่อนย้ายในเรื่องต่างๆมากมาย (โดยเฉพาะคน) แล้วไทยเราก็หลีกเลี่ยงสภาพการเป็นศูนย์กลางนี้ไม่ได้  เรามีคนอยู่รอบบ้านที่อยากจะเข้ามาทำงานหรือเคลื่อนย้ายผ่านไทย คนเหล่านี้ก็หัดเรียนภาษาไทยอยู่แล้ว แล้วก็ยังมีคนที่ใช้ภาษาในตระกูลภาษาไทยอยู่อีกเป็นจำนวนมาก  สภาพเช่นนี้ น่าจะมีนักวิชาการทางภาษาลองศึกษาดูโอกาสและลักษณะของภาษาที่จะทำให้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในการสื่อสารของอาเซียนก็น่าจะดี  

ผมเคยทราบนานมาแล้วว่า ได้มีความพยายามจะพัฒนาภาษาอาเซียนขึ้นมา ซึ่งดูเหมือนจะไปอิงๆทางตระกูลภาษายาวี ซึ่งหากดูจำนวนประชากรแล้ว ก็แน่นอนว่าเขามีมากกว่าแน่ๆ แต่หากดูในเชิงที่อิงกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว ตระกูลภาษาไทยดูเหมือนจะมีคนใช้อยู่ในหลายประเทศ ก็ครึ่งหนึ่งของประเทศอาเซียนเลยทีเดียว  ในปัจจุบันนี้ อาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางราชการ บางทีอาจจะต้องมีการส่งเสริมการใช้ภาษาที่สองสำหรับบุคลากรที่เป็นกำลังขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจ   หน้าตาของภาษาก็อาจจะเป็นการผสมผสานการใช้ภาษาดังตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเป็นข้อสังเกตในกระทู้นี้

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 15 พ.ย. 14, 09:50

ขออนุญาตกู้กระทู้นี้ขึ้นมา ด้วยมีปรากฏการณ์ทางภาษาที่น่าสนใจ ๒ ประการเกิดขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน

ขอเรียกว่า "ปรากฏการณ์ภาษาถิ่นในยุค AEC"  ปรากฏการณ์แรกขอให้ชื่อว่า "น้องล่าเหนี่ยวไก่" เพิ่งเกิดขึ้นยังอุ่น ๆ อยู่เลย ปรากฏการณ์ที่สองชื่อว่า "น้องหยองบีเอ็มเอ็กซ์" เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง

น้องล่าเป็นคนใต้ ดังในโลกออนไลน์ด้วยการใช้ภาษาใต้ต่อว่า (หรือด่าดี  ยิ้มเท่ห์) คนที่ขโมยเอาข้าวเหนียวไก่ที่เอาไว้ในตะกร้าหน้ารถมอเตอร์ไซค์ไปรับประทาน ลงเป็นคลิปในยูทูบ ผู้คนในโลกออนไลน์เข้าชมกันเป็นแสน จนน้องล่าดังออกมาในโลกภายนอก



น้องหยองเป็นฝรั่งลูกครึ่งอีสาน ดังด้วยการให้สัมภาษณ์ทางทีวีด้วยภาษาอีสานก่อนและหลังการได้รับเหรียญทองกีฬาแข่งขันจักรยานในเอเชียนเกมส์ที่เกาหลีใต้



ทำไมน้องล่าซึ่งเป็นเด็กสาวชาวบ้านธรรมดาจึงดังในชั่วข้ามคืน และน้องหยองซึ่งเป็นนักกีฬาเหรียญทองจึงดังล้ำหน้ากว่านักกีฬาเหรียญทองคนอื่น นั่นเป็นเพราะว่าคนไทยปัจจุบันมีความรู้สึกแปลก และเล็งเห็นบางอย่างที่น่าสนใจในภาษาถิ่น   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 15 พ.ย. 14, 10:46

คลิปน้องล่า  ในไลน์ก็ส่งกันให้ว่อนเหมือนกัน

คำอุทานของน้องล่าที่เธอแทรกไว้เป็นระยะๆ    ตอนนี้แพร่กระจายในโซเชียลเน็ตเวิร์ค    เพราะมันเป็นคำที่พิมพ์ได้โดยไม่ติดระบบกรองคำในเว็บต่างๆ  และเป็นคำที่นำมาใช้ได้ในหลายสถานการณ์ โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์ที่ต้องการระบายความไม่สบอารมณ์ทางการบ้านการเมือง ในประเด็นร้อนต่างๆ

ไม่มีใครบอกว่าน้องล่าพูดเพราะ หรือแม้แต่ชมเชยว่าน้องล่าดีหรือเก่งอย่างน้องอแมนด้า    แต่คลิปนี้ดูแล้วขำและเอ็นดูในความจริงใจของเธอ ตลอดจนตอนจบที่เธอยังอุตส่าห์อารมณ์ดีส่งท้ายอารมณ์เสียในตอนต้น
นี่แหละคนไทย  ทำได้ตามใจคือไทยแท้  กับเป็น Land of Smile
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 16 พ.ย. 14, 13:02

เรื่องคำสบถของน้องล่าสำหรับคนใต้อาจจะมีความรุนแรงพอ ๆ คำสบถภาษาถิ่นกรุงเทพฯของน้องดัฟฟี่ นิสิตจุฬาฯ ลูกครึ่งไทย-อเมริกันในคลิปข้างล่างนี้ (มีผู้เข้าชมเป็นหลักแสนเหมือนกัน)

ใครหนอไปสอนน้องพูด  ยิงฟันยิ้ม

http://youtube.com/watch?v=PUFeaGWIa3c#ws
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 16 พ.ย. 14, 13:29

น้องคุยกับพวกไหน ก็พวกนั้นแหละ   เพื่อนๆด้วยกัน

ยุคนี้คำสบถกำลังอินเทรนด์    ไปห้างสรรพสินค้า   เจอเด็กนักเรียนมัธยมต้นหน้าตาใสๆน่ารักน่าเอ็นดูทั้งกลุ่ม   คำเรียกตัวเองเหมือนพ่อขุนรามใช้ในศิลาจารึก   เรียกเพื่อนด้วยคำแปลมาจาก animal   เหมือนน้องดัฟฟี่เรียก   
ไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นคำหยาบ     
ก็ต้องทำใจว่าหนูๆเมื่อไม่มีเจตนา ก็ไม่ผิด 
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 16 พ.ย. 14, 16:54

อ่านกระทู้นี้มาถึงเรื่องควบกล้ำ ร เรือ ล ลิง ทำให้ดิฉันนึกถึงหนังโฆษณาครีมกำจัดขนใต้วงแขนยี่ห้อหนึ่ง ที่มีสองสาวคุยกัน จำไม่ได้ทุกคำพูดหรอกนะคะ

จำได้ว่าบทสนทนามีประมาณนี้ค่ะ

สาวหนึ่งพูดกับเพื่อนว่า"ยังใช้แหนบอยู่อีกหรือ" (น้ำเสียง สีหน้าแสดงออกชัดว่าเพื่อน'เอ้าท์'มากๆ) "เปลี่ยนมาใช้(ชื่อยีห้อ..)คีมกำจัดขนสิ"

ได้ยินแค่นี้  ดิฉันก๊ากเลยค่ะ ยิงฟันยิ้ม  โห! วิธีนี้ของหล่อนน่ากลัวยิ่งนัก  เจ้าของสินค้ากับเอเจนซี่ที่ทำโฆษณาชิ้นนี้ไม่รู้สึกสะดุดหูบ้างหรือไง

ปล่อยโฆษณาชิ้นออกมาได้ไงไม่ทราบ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 16 พ.ย. 14, 18:41

ผมกำลังเข้าไปสู่สภาพไล่ตามไม่กับทันโลกยุคใหม่ และกำลังล้าหลังไปมากขึ้นเรื่อยๆ    ได้ยินคนเขาคุยกันในห้างสรรพสินค้า เห็นหน้าตาก็เป็นคนไทยวัยหนุ่มสาว  แต่ได้ยินเสียง สำเนียง รูปประโยค หรือโครงสร้างภาษา บางทีก็ยังไม่แน่ใจเลยว่านั่นพูดภาษาไทยกันหรือเปล่า

ตอนนี้ ยิ่งเมื่อความชรามาเยือน  เมื่อหูก็กำลังพัฒนาไปสู่ความตึง  เมื่อภาษาและสำนวนใหม่ๆกำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโลก digital media และ social network   และเมื่อเริ่มมีการคลุกคละกันของสังคม ภาษา และสำนวน ในโลกปัจจุบัน       ผู้เฒ่าในโลกยุค AEC เช่นผม ก็คงจะเริ่มมีคำพูดติดปาก (อาทิ) ว่า  ฮะ ว่าไงนะ, พูดอีกที (อีกครั้ง) ครับ/ค่ะ, พูดช้าๆหน่อยหนู, ช่วยอธิบายหน่อย ฯลฯ 

วลีตามที่ได้ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น น่าจะจัดได้เป็นอีกหนึ่งวลีมาตรฐานสำหรับผู้สูงอายุของไทยในโลกยุด AEC 

   
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 15:39

อีกเรื่องที่ได้พบมานานแล้วคือ การใช้ภาษาต่างประเทศแบบฟุ่มเฟือย ทั้ง ๆ ที่ก็มีคำภาษาไทยเดิมที่มีความหมายตรงตัวอยู่แล้ว หมู่นี้ที่เห็นบ่อย ๆ ก็คือคำว่า "แผน"


ซึ่งจะตรงกับคำว่า "Plan" ในภาษาอังกฤษ มักจะเห็นได้บ่อย ๆ ในกระดานสนทนาทั่ว ๆ ไปครับ เช่น  มีแพลนจะไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ , วางแพลนจะทำอย่างนั้นอย่างนี้



หรือบางที ก็ใช้คำให้ฟุ่มเฟือยทั้ง ๆ ที่คำที่ใช้ในภาษาไทยก็ตรงตัวอยู่แล้วเช่น  ...ออกแบบ ดีไซน์....    ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะใช้คำให้ฟุ่มเฟือยไปทำไม ในเมื่อออกแบบ กับ Design ถ้าแปลออกมาแล้ว ก็ความหมายเดียวกัน
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 20:36

เรื่องการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กนักเรียนยุคนี้ แม้ว่าคนไทยจะพูดภาษาอังกฤษได้เยอะขึ้น มีความรู้ด้านภาษามากขึ้น แต่ในความเห็นส่วนตัว ก็ยังคิดว่าน่าเป็นห่วงอยู่ค่ะ
ขอแสดงความคิดเห็นในฐานะนักเรียนสายศิลป์ภาษา ผิดถูกประการใดขออภัยไว้ด้วยนะคะ มุมมองอาจจะไม่ลึกซึ้งและรอบคอบเท่าที่ควร

ถ้าจะให้เด็กไทยแข่งกันทำข้อสอบภาษาอังกฤษ รับรองได้เลยว่า คะแนนพุ่งปรี๊ดแน่ๆ แต่ถ้าจะให้มาแสดงทักษะการพูด ไม่ต้องถึงกับให้สมบูรณ์แบบ น้อยคนที่จะสามารถพูดได้อย่างมั่นใจ ออกเสียงหรือมีสำเนียงคล้ายกับเจ้าของภาษา ทั้งๆ ที่เราเรียนวิชานี้กันมาตั้งแต่อนุบาล
การมีพื้นฐานที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก บางครั้งเราเรียนกับอาจารย์เจ้าของภาษาตอนมัธยมปลาย แต่ก่อนหน้านั้นไม่เคยเรียนกับครูฝรั่งเลย มันก็เป็นเรื่องยากที่จะฝึกพูด ฝึกใช้ ให้ดีได้เท่าๆ กับคนที่เคยผ่าน English Program มาก่อน แต่ถึงอย่างนั้น เด็กส่วนมากก็ยังไม่ได้ใส่ใจทักษะการพูดเท่าที่ควร เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปใช้ในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย

อีกเรื่องหนึ่งคือ เวลาที่เด็กพูดภาษาอังกฤษได้ชัด โดยเฉพาะการออกเสียง r แบบอเมริกัน หรือเอาลิ้นออกมาเวลาออกเสียงตัว th มักมีเพื่อนล้ออยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการหยอกล้อขำๆ หรือเสียดสี ผู้พูดก็ต้องเสียความมั่นใจเป็นธรรมดา ทำให้ไม่กล้าออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษชัดๆ เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่น

การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษไม่ค่อยเอื้อกับการพัฒนาทักษะการพูดของเด็กไทยสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะโรงเรียนในต่างจังหวัด ถ้าหากไม่ใช่ English Program น้อยมากที่เด็กในห้องจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว

จริงๆ เด็กไทยที่เก่งและมีความสามารถด้านภาษาก็มีไม่น้อย แต่เท่าที่เคยเจอมา (ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิด) ถ้าไม่ใช่เด็กโรงเรียนนานาชาติ, English Program, ลูกครึ่ง, หรือเด็กที่พ่อแม่ปลูกฝังภาษาอังกฤษผ่านสื่อ เช่น ภาพยนตร์ เพลง หนังสือ เป็นต้น ก็น้อยมากที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีคุณภาพได้ เพราะการเรียนการสอนในห้อง เน้นแกรมม่าร์เยอะมากค่ะ ไม่ใช่ว่าแกรมม่าไม่สำคัญ แต่เด็กๆ ไม่รู้ว่านอกจากข้อสอบแล้ว แกรมม่าจะเอาไปใช้การพูด การเขียนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 20:39

เสียง ร ปัจจุบันหายไปจากลิ้นคนไทยเกือบร้อยละร้อย กลายเป็นเสียง ล   ทำนองเดียวกับ เสียง  ฎ ฏ ที่เคยแตกต่างจาก ด ต  ก็กลายเป็นเสียง ด ต    ศ ษ ก็กลายเป็นเสียงเดียวกับ ส     แต่ดิฉันคิดว่าเสียง ล ยังอยู่นะคะ   หรือว่าคุณตั้งฟังแล้ว เสียง ล  ก็เปลี่ยนเหมือนกัน
ที่เห็นว่า ล เปลี่ยนแน่ๆ คือเปลี่ยนในตัวสะกดท้ายคำ ที่เราเอามาจากภาษาต่างประเทศ กลายเป็นเสียง  ว   เช่น field = ฟิลดฺ  กลายเป็น ฟิว 

โอ้ ความรู้ใหม่ ไม่ทราบว่าเมื่อก่อน เสียงของ ฎ ฏ ต่างจาก ด ต ยังไงเหรอคะ ไม่เคยรู้มาก่อนเลย  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 20:46

การสะกดด้วยตัวอักษรต่างกัน เป็นร่องรอยให้รู้ว่าแต่เดิมมาการออกเสียงพยัญชนะต่างกันค่ะ
แต่จะให้ออกเสียงยังไงก็จนปัญญา
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 20:49

การสะกดด้วยตัวอักษรต่างกัน เป็นร่องรอยให้รู้ว่าแต่เดิมมาการออกเสียงพยัญชนะต่างกันค่ะ
แต่จะให้ออกเสียงยังไงก็จนปัญญา

อูย… ขอโทษด้วยนะคะ ถามอะไรตื้นเขินเหลือเกิน  อายจัง
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 22:51

ครูก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้ค่ะ แทบพูดได้ว่าส่วนใหญ่ไม่ออกเสียงควบกล้ำ ร เรือ ล ลิง เด็กเล็กๆอย่างเด็กอนุบาลจะพูดชัดได้ไง ในเมื่อเริ่มต้นก็ได้ยินมาแบบผิดๆ

ส่วนครูสอนภาษาอังกฤษบางคนก็ยังออกเสียงตัว H เป็นเฮด  F เป็นเอ็บ  L เป็นแอน  S เป็นเอ็ด 

ดิฉันเคยได้เด็กประถมคนหนึ่งของโรงเรียนชื่อดัง อ่านคำว่าElephant โดยเสียงว่า อี-ลา-เฟ้น ดิฉันแก้ให้ เด็กก็ว่าหนูอ่านตามคุณครู ในเมื่อเด็กยืนยันแบบนั้นดิฉันก็จนใจ จะบอกว่าคุณครูหนูอ่านผิด  ก็จะเป็นการหักหน้าคุณครู หรือไม่อีกทีเด็กก็ฟังผิดเอง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง