เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 92968 ภาษาไทยในยุค AEC
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 25 ก.ย. 13, 22:54

ถ้ารวบรวมคำผิดจากหนังสือพิมพ์ละก็  ตั้งกระทู้ได้อีกยาวเชียวค่ะ

อ้างถึง
ผมเกรงว่า การที่ปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เละเทะไปเรื่อย ๆ สุดท้ายภาษาไทยก็จะกลายเป็นภาษาคาราโอเกะไปแทนครับ
จริงค่ะ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 18:59

ตัวอย่างการใช้ภาษาไทยที่สั้น รวบรัด อ่านปราดเดียวเข้าใจได้


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 21:42

ตัวอย่างการใช้ภาษาไทยที่สั้น รวบรัด อ่านปราดเดียวเข้าใจได้

แหม กะเพรา  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 21:47

ไม่ทันดู   ในรูปสะกดผิดจริงๆด้วย
ดีนะครูเพ็ญไม่เข้ามา  ไม่งั้นคนโพสต์โดนคัดลายมือ 10 ครั้ง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 22:01

ใช่เลยครับ
  
สังเกตดูดีๆจะสัมผัสได้ว่า การใช้ภาษาไทยของเราค่อนข้างจะเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของการบังคับ การข่มขู่ และการห้ามมากกว่าการเชื้อเชิญ ดูเป็นสังคมที่เริ่มปราศจากความเป็นมิตรระหว่างผู้คนมากขึ้นทุกขณะ   อาจจะพอกล่าวได้ว่าในอีกมุมหนึ่งว่า เป็นการใช้ในสภาพของจิตใจและความคิดแบบทัศนคติลบ มิใช่ในทัศนคติที่เป็นบวก
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 26 ก.ย. 13, 22:47

แล้วเราก็มีศัพท์ใหม่ๆเกิดขึ้นมามาก ซึ่งผมเห็นว่ามันก็เป็นธรรมชาติของภาษาที่จะต้องมีคำใหม่ๆเกิดขึ้นมาตามยุคสมัยของสังคม คำเหล่านี้เกืดมาแล้วก็หายไปเป็นปรกติ 

แต่ขณะนี้กำลังมีคำศัพท์หลายคำที่มีความหมายใหม่เพิ่มเติม และได้ถูกใช้แทนคำศัพท์อื่นๆที่ให้ความหมายในทำนองเดียวกัน  รู้สึกว่าคำเหล่านั้นจะอยู่ยงคงกระพันเสียด้วย เช่น คำว่า ประมาณ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย   ขี่จักรยาน ก็กลายเป็นขับจักรยาน  ระบายสี(ภาพในสมุด)ก็เป็นทาสี 

รวมทั้งคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่แปลเป็นไทยโดยการเปิดพจนานุกรม แล้วเลือกความหมายที่ไม่ตรงมาใช้   เมื่อเร็วๆนี้ ได้ยินคำบรรยายสารคดีเรื่องหนึ่ง แปลคำว่า dating ในความหมายของการตรวจวัดหาอายุ เป็น ไปหาวันที่ ตรงๆเลย

ในทำนองเดียวกันก็เริ่มสัมผัสได้ว่า คำไทยที่มีคำขยายติดท้าย (เช่น ใหญ่โต เล็กน้อย แดงจัด เหลืองอ่อน)   คำเหล่านี้กำลังเหลือเพียงพยางค์เดียว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 09:37

ใช่เลยครับ
  
สังเกตดูดีๆจะสัมผัสได้ว่า การใช้ภาษาไทยของเราค่อนข้างจะเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของการบังคับ การข่มขู่ และการห้ามมากกว่าการเชื้อเชิญ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 10:34

ตัวอย่างการตีความต่อไปนี้   ดิฉันไม่ได้มุ่งจะวิจารณ์เนื้อหาหรือตัวรางวัล  แต่จะยกเป็นตัวอย่างการตีความภาษาที่ดิ้นได้ ตามที่คุณตั้งเกริ่นไว้ในกระทู้    เพราะฉะนั้นก็ขอยกเว้นชื่อรางวัลเอาไว้ก่อน  ใครสนใจก็ไปค้นหาต่อเอาเองนะคะ

หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกและการตัดสินรางวัลวรรณกรรมรางวัลหนึ่งมีกติกาข้อหนึ่งว่า  วรรณกรรมที่เข้าประกวด ต้องเป็นประเภทบทกวี  หากเป็นฉันทลักษณ์แบบแผน ต้องมีขนาดความยาว 6-12 บท    

แต่บทกวีที่ได้รางวัล มีความยาว 14 บทครึ่ง

หลังจากประกาศผลแล้ว มีคนโวยขึ้นมาว่ารางวัลที่ชนะเลิศ ผิดหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้    คณะกรรมการออกมาแถลงว่า  มีกรรมการหลายท่านไม่เห็นด้วยกับกติกาดั้งเดิม ที่ระบุให้บทกวีฉันทลักษณ์ มีความยาว 6-12 บท   จึงพิจารณากันว่า จะเปลี่ยนกติกาหรือไม่ ที่ประชุมเห็นว่าไม่เปลี่ยน เพราะถ้าต้องมาแก้กฎกติกามันจะล่าช้ายุ่งยาก  จึงให้ใช้ข้อกติกาเดิมโดยอนุโลม แต่ให้เป็นดุลพินิจของกรรมการกลั่นกรอง(คือกรรมการเบื้องต้น)ว่าจะอนุโลมแค่ไหนเพียงใด
  
เพราะฉะนั้นกรรมการชุดแรกก็เลยอนุโลมว่า บทกวีที่ยาวเกินข้อกติกานั้น ไม่ผิดกติกา    ผ่านเข้ารอบไปได้  เมื่อถึงกรรมการชุดตัดสิน  กรรมการเห็นว่าผ่านกรรมการชุดต้นมาแล้ว  ไม่ต้องมาดูเรื่องกฎกติกากันอีก    ก็พิจารณาแต่คุณสมบัติอื่นๆ แล้วก็ตัดสินว่าบทนี้ดีที่สุด   ให้ชนะเลิศไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 10:40

เพราะฉะนั้น   ก็พอจะลำดับได้ดังนี้ 
๑  คณะกรรมการปัจจุบันไม่เห็นด้วยว่าต้องมากำหนดกติกาความยาวของงานที่ส่งประกวด ให้อยู่ในกรอบ 6-12 บทอย่างในกติกาเดิม
๒  จะแก้กฎก็แก้ไม่ทัน  หรือแก้ไม่ได้จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
๓  จึงเติมเข้าไปว่า กรรมการเบื้องต้นสามารถอนุโลมได้  หากว่ามันไม่เป็นตามกติกา
๔  ขอบเขตการอนุโลม ก็มีแบบไม่จำกัด  แล้วแต่กรรมการจะอนุโลมกันแบบไหนอย่างไร  เป็นดุลยพินิจของกรรมการ
๕  ด้วยเหตุนี้   ผลงานที่ไม่อยู่ในขอบเขตกติกา  จึงถือว่าไม่ผิดถ้ากรรมการอนุโลมว่าใช้ได้ 
๖  ทำให้งานที่ไม่อยู่ในขอบเขตกติกาเดิม  ได้รับการตัดสินให้ชนะเลิศ

คุณตั้งคงจะเห็นว่า การใช้คำว่า "อนุโลม" คำเดียว  ก็ทำให้คำว่า กติกา ไร้ความหมายไปในพริบตา   อย่างถูกต้องตามกติกาเสียด้วยซีคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 19:52

เมื่อกี้ดูข่าวจัสติน บีเบอร์จะมาออกคอนเสิร์ตในไทย    นักข่าวไปสัมภาษณ์หนูๆทั้งหลายที่จะมาฟัง   หลายคนบอกว่า ฟังเพลงของจัสติน  ช่วยฝึกภาษา"อังกิด" ให้ดีขึ้น
กี่คนๆที่ให้สัมภาษณ์ ก็ "อังกิด" หมด    ไม่มีใครออกเสียงควบกล้ำว่า "อังกริด" เลยสักคนเดียว   สงสัยว่าเด็กนักเรียนไทยรู้หรือเปล่าว่าอังกฤษ ไม่ได้อ่านว่า "อังกิด"
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 20:26

ครับผม  บางสถานีวิทยุ แม้กระทั่งสถานีของทางราชการเอง และรวมทั้งสถานีของมหาวิทยาลัยที่ใช้ฝึกนิสิตนักศึกษาก็ยังได้ยินคำที่ขาด ร  ล  และไม่ออกเสียงคำควบกล้ำ จากปากของแทบจะทุกคน ตลอดทั้งวัน   แถมด้วยคำภาษาอังกฤษที่ออกเสียงตามตัวสะกดไม่เหมือนที่ชาวบ้านเขาออกเสียงกันอีกด้วย

อีกไม่นานเราก็คงจะถูกจัดให้เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยแบบโบราณ   ยิงฟันยิ้ม

บ่อยครั้งมากที่ผมฟังพนักงานที่ให้บริการไม่ออก ต้องขอให้เขาพูดรอบสอง แล้วก็ต้องพยักหน้าหรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนเรื่อง ไม่มีขอให้พูดซ้ำเป็นรอบที่สาม หากขอเป็นครั้งที่สาม ก็มีโอกาสจะเจอของดีอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ทำหน้าเขียวใส่  โกรธเอา  ถูกตราหน้าเป็นไอ้โง่ หรือไม่เขาจะยิ่งตอบแบบเราไม่รู้เรื่องมากขึ้น (ดีไม่ดีมีภาษาต่างชาติปนออกมาด้วย) หรือเดินหนีไปเลย

เป็นธรรมดาสำหรับผมไปเสียแล้วที่จะฟังเด็กเขาคุยกันออกทุกคำ แต่ไม่รู้เรื่องว่าเขาคุยอะไรกัน   ไปตลาดนัดบางครั้งยังรู้สึกคล้ายกับว่าเดินอยู่ในต่างประเทศ เหมือนกับผู้คนเขาไม่ได้พูดภาษาไทยกัน    ต่างกับไปเดินในต่างจังหวัด ยังฟังอะไรๆเป็นภาษาไทยอยู่เหมือนเดิม แปลกดี   คล้ายกับพลวัติในเมืองหลวงมันเร็วกว่าต่างจังหวัดมาก จนแซงหน้าไปอยู่ที่ใหนก็ไม่รู้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 21:10

คุณตั้งคงจะเห็นว่า การใช้คำว่า "อนุโลม" คำเดียว  ก็ทำให้คำว่า กติกา ไร้ความหมายไปในพริบตา   อย่างถูกต้องตามกติกาเสียด้วยซีคะ

ต่อไปภายหน้า นอกเหนือไปจากการตีความโดยอ้างอิงคำแปลหรือความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิสถานโดยไม่คำนึงถีงสภาพแวดล้อมหรือองคาพยพของการใช้ศัพท์คำนั้นๆแล้ว   เราก็คงจะได้เห็นการนำศัพท์ต่างๆมาใช้ในความหมายแบบห้วนๆเฉพาะตัวของมันเอง 

ผมเห็นว่า เรื่องที่ขาดไปในการอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่างๆนั้น คือ ขอบเขตของความหมาย     คำศัพท์ต่างๆนั้นมักจะแสดงตัวอย่างของการใช้ซึ่งเราอาจจะเลือกใช้ตัวอย่างการใช้ที่แสดงถึงขอบเขตของความหมาย หรือไม่ก็ต้องอธิบายประโยคตังอย่างนั้นๆว่ามันมีขอบเขตอยู่เพียงใด

เมื่อถึงขนาดยกความหมายตามพจนานุกรมไปใช้อ้างกันในสภาแล้ว   บางทีท่านรอยอินอาจจะกำลังพยายามสังคายนาคำศัพท์ โดยเฉพาะในเรื่องขอบเขตของความหมายของคำต่างๆ (และออกพจนานุกรมใหม่) อยู่ก็ได้     
 
อะไรคือความต่างระหว่าง พจนานุกรม กับ ปทานุกรม ครับ ?    คำใหนตรงกับคำว่า dictionary ครับ ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 21:20

พจนานุกรม = dictionary ค่ะ
รอยอินให้ความหมายของ ปทานุกรมว่า
ปทานุกรม   น. หนังสือสําหรับค้นคว้าความหมายของคําที่เรียงตามลําดับบท.
คำว่า ปทานุกรม  พอแปลเป็นภาษาอังกฤษ ก็แปลได้ทั้ง  dictionary ; lexicon ; glossary ; wordbook  ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 21:34

คุณตั้งคงจำการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีนี้ได้

เรื่องมีอยู่ว่าศาลจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ว่านายเนวิน ชิดชอบ จำเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 50,000 บาท ไม่ปรากฏว่า จำเลยเคยได้รับโทษ จำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 , 30 กับให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ และมติชน เป็นเวลาติดต่อกัน 7 วัน และขณะนี้นายเนวิน ชิดชอบได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ กรณีดังกล่าวนี้ทำให้เกิดประเด็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเนวิน ชิดชอบ น่าจะสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 (4) หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่ศาลตัดสินให้ลงโทษจำคุกนายเนวิน โดยให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี  ถือว่าการรอการลงโทษมิใช่เป็นการต้องคำพิพากษาให้จำคุก เมื่อนายเนวิน ชิดชอบ ถูกศาลจังหวัดบุรีรัมย์พิพากษาลงโทษ จำคุก 6 เดือน แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี เช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่านายเนวิน ชิดชอบ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก ตามความหมายของ รัฐธรรมนูญ มาตรา 216 (4)
โดยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังไม่สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 (4)

http://www.kodmhai.com/vinit/2542/Vnit-36.html
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 21:58

ครับ หลายๆเรื่องที่เกิดขึ้นมาก็คงจะพอจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า  การใช้ภาษาไทยในภายหน้าอาจจะต้องมีการแปลเป็นไทยกำกับอยู่ด้วย หรือไม่ก็ ก่อนจะที่จะกล่าว เขียน หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ จะต้องแสดงคำจำกัดความไว้แต่ต้นหรืออยู่ในภาคผนวก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง