เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 92906 ภาษาไทยในยุค AEC
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 23 ก.ย. 13, 20:41

เท่าทีพอจะรู้นะครับ   ญี่ปุ่นมีระบบตัวอักษรที่ใช้แทนตัวอักษรภาษาต่างชาติ แต่การออกเสียงของตัวอักษรเหล่านั้น ต่างไปจากเสียงแท้จริงของอักษรตัวนั้น เช่นตัว t จะออกเป็น โตะ ดังนั้น หากชื่อท่านใดที่ลงท้ายสะกดตัวท้ายด้วยตัว t ชื่อของท่านก็จะถูกแถมด้วย โตะ ต่อท้าย  

ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่แทบไม่มีตัวสะกด มี ん หรือ ン  เป็นตัวสะกดแม่กงอยู่ตัวเดียวเท่านั้น  อักษรญี่ปุ่นทุกตัวผสมสระเสียงสั้นสำเร็จรูปมาแล้ว (อะ อิ อุ เอะ โอะ)  ดังนั้นคำที่มีตัวสะกดทุกตัวที่มาจากภาษาต่างประเทศจึงจะถูกผสมด้วยสระเสมอ

STOP จึงต้องเป็น satoppu(สะโต๊ปปุ)  NAVARAT จึงต้องเป็น Navaratto (นะวะรัตโตะ) ด้วยประการฉะนี้แล

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 23 ก.ย. 13, 20:54

ก็ยังงงๆอยู่นิดหน่อย เพราะนึกไม่ออกว่า ญี่ปุ่นมีชื่อไหนที่สะกดด้วยเสียง L  นึกออกแต่ R ค่ะ  คุณตั้งบอกว่า "การออกเสียงแบบตัว ร ก็เป็นเสียงตัว ล หมด  "  งั้น Arigato  ก็ออกเสียง" อาลิงาโต" งั้นหรือคะ

ชื่อสระเสียงยาวอย่าง "เพ็ญชมพู" คำท้าย ญี่ปุ่นออกเสียงสั้นหรือยาวคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 23 ก.ย. 13, 21:16

๑. เสียง ร แบบญี่ปุ่นพื้นฐานมี ๕ ตัวคือ  ら  り  る  れ  ろ ระ ริ รุ เระ โระ หากอยากฟังการออกเสียง คุณเทาชมพูให้ คุณกุ๊ก ช่วยได้

๒. ชื่อเพ็ญชมพูเขียนด้วยอักษรคะตะคะนะออกมาประมาณนี้ ペンチョムプウ Penchomupuu  คำว่า พู ต้องการเสียงยาวก็ใส่สระซ้อนเข้าไปอีกตัวหนึ่ง プウ - พุอุ = พู



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 23 ก.ย. 13, 21:36

คล้ายๆกับว่า คำทั้งหลายจะลงท้ายด้วยเสียงสระ     (คล้ายๆภาษาตระกูล Spanish ที่ชอบจะลงท้ายด้วยสระเช่นกัน)


แถมพกข้อสังเกตเรื่องหนึ่งครับ   ภาษาญี่ปุ่นและเยอรมันนั้น เราต้องฟังให้จบประโยดเสียก่อนจึงจะเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร ทำให้เห็นภาพของคนเถียงกันแบบพูดสวนกันไม่ค่อยจะมี ก็เพราะต้องฟังให้จบจึงจะรู้เรื่อง     ประเทศทั้งสองนี้มีอะไรๆเหมือนกันอยู่หลายอย่างมากทีเดียว โดยเฉพาะตรรกะความคิดลึกๆต่างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 23 ก.ย. 13, 21:36

คุณ sigree ได้พูดถึงอิทธิพลของภาษาไทย แล้วได้ยกตัวอยางกรณีภาษายาวีขึ้นมา

นี่ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่เราคงได้มีโอกาสเห็น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแพร่กระจายและอิทธิพลของการใช้ภาษาไทยในภูมิภาคนี้

โดยสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สถานะทางเศรษฐกิจ และระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทย  ทำให้ประเทศไทยหนีไม่พ้นที่จะต้องกลายเป็น Hub ในแทบจะทุกเรื่อง ทั้งในเชิงของ hub ลักษณะศูนย์กลางของการเคลื่อนย้าย และ hub ในลักษณะของพื้นที่กลางของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม   ด้วยสภาพเช่นนี้ ก็ย่อมทำให้ผู้ที่เก้ี่ยวข้องทั้งหลายต้องเรียนรู้และใช้ภาษาไทย ก็จะเกิดมีสภาพของภาษาไทยอย่างหนึ่งดังที่ได้กล่าวถึงมาแล้วในตอนต้น  

สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นหรือยัง ?  กำลังเกิดอยู่และแบบเข้มข้นด้วย  ที่น่าสนใจ คือ เกิดมานานแล้วด้วยครับ ผมได้มีโอกาสพบเห็นด้วยตนเองและได้เคยพูดคุยกับคนที่พยายามเรียนการพูดภาษาไทยตั้งแต่ยุคเวียดนามและรวมทั้งพม่าได้เริ่มเปิดประเทศอย่างจริงจัง ในเมืองหลวงของเขาเลย  ได้เห็นทั้ง Dictionary  และเทปสอนภาษา รวมทั้งการยอมรับการใช้เงินบาทไทยด้วย   แม้ในยุนนานเองก็มีนักศึกษานิยมเลือกเรียนวิชาเอกภาษาไทยอยู่เป็นจำนวนมาก

ผมเลยเห็นภาพที่จะมีคนรู้จัก เข้าใจ และอาจจะเลือกใช้ภาษาไทยในการสื่อสารระหว่างกันสำหรับคนระดับรากหญ้าต่างชาติต่างภาษากันและกับนักท่องเที่ยว มากกว่าที่จะใช้ภาษาอังกฤษที่ไม่มีพื้นฐานมากพอ  ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุอีกประการหนึ่ง คือ ภาษาในตระกูลภาษาไทยมีการใช้กันเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ทั้งในจีนตอนใต้ ลาว ตอนเหนือของเวียดนาม พม่าตอนบน  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 24 ก.ย. 13, 21:47

อีกภาพหนึ่งของภาษาไทยในอนาคตอันใกล้นี้ คือ จะดิ้นได้มากกว่าในปัจจุบันนี้มาก

การดิ้นในความหมายของของภาษาไทยได้เกิดขึ้นมานานแล้ว เดิมก็เป็นเฉพาะเรื่องระหว่างบุคคล  แต่ที่ได้เริ่มมีผลกระทบต่อความถูกหรือผิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางสังคม ทางความรับผิดชอบและทางกฏหมายนั้น ผมคิดว่าได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณสัก 30 ปีมาแล้วเมื่อรัฐแรกเริ่มกระบวนการปฏิรูปที่ดิน   คำว่า เกษตรกร ดูจะเป็นคำแรกๆที่ต้องนำมาถกกันว่ามีความหมายอย่างไร ต่อมาก็คำว่า เกษตรกรรม    จนในปัจจุบันนี้มีมากมายหลายเรื่อง ทั้งตัวคำศัพท์เองและประโยคที่เขียนหรือในการพูดกล่าว จนแทบจะกลายเป็นเรื่องปรกติ เราจะได้ยินบ่อยมากในแวดวงทางการเมือง จนลามไปถึงในเรื่องของกฏหมาย กฎ ระเบียบ กติกา สัญญา ฯลฯ 

อาจจะกล่าวได้ว่า เมื่อใดที่ผู้ใช้ขาดธรรมาภิบาล เมื่อนั้นก็จะมีการแถ แถก และอธิบายความหมายในการใช้ของเขาแบบศรีธนญชัย 


   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 24 ก.ย. 13, 21:57

หลังๆนี้ได้ยินเรื่องการตีความถ้อยคำในกฎหมายถี่ขึ้นมากค่ะ   โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเมือง  
บางทีก็เลยงง ไม่รู้ว่ากฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆนั้นดิ้นได้  หรือว่าภาษาดิ้นได้  หรือคนใช้ภาษาเป็นคนดิ้นได้เก่ง

ไปเจอเว็บนี้เข้า
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=398

   การใช้ถ้อยคำหรือภาษากฎหมายที่ไม่ชัดเจนและตายตัว ก่อให้เกิดการตีความแบบศรีธนญชัย หรือตีความที่ก่อให้เกิดผลประหลาด ตัวอย่างที่ท่านมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้เคยให้ไว้เช่น "การทรมานทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้"
ในเชิงภาษาต้องอ่านว่า
1) การทรมานด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้
2) การทารุณกรรมด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้
3) การลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้
และ หากตีความว่า "การทรมานหรือการทารุณกรรมด้วยวิธีการไม่โหดร้ายหรือไม่ไร้มนุษยธรรมย่อมทำได้"
ย่อมเป็นการตีความที่ก่อให้เกิดผลประหลาด และไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 25 ก.ย. 13, 19:26

นั่นนะซีครับ

เคยได้ยินมาว่า กฏหมายไทยอยู่ในรูปแบบ Franco-German คือ ว่าไปตามตัวอักษรที่เขียนไว้    ทั้งสองภาษานั่นให้ความหมายที่ดิ้นได้ยากมาก  แต่เสร็จพี่ไทย ตะแบงไปได้อย่างสบายๆเลย

ผมเห็นว่า กฏหมายทั้งหลายที่ออกมาใช้บังคับกันนั้น เป็นการเขียนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสังคมที่มีธรรมมาภิบาล มีจริยธรรม และมีศีลธรรมอันดีเป็นปรกติ จึงมุ่งผลไปที่การกำจัดหรือจัดการกับสิ่งที่ไม่ดีในสังคมที่มีธรรมะ  เมื่อสังคมเริ่มมีฝ่ายอธรรมมากขึ้น ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่ฝ่ายอธรรมก็จะต้องหาทางบิดเบือน แถ ตะแบงเพื่อให้เกิดเป็นประโยชน์กับการกระทำของตน   

ผมเลยมองไปว่า คนนั่นแหละครับที่ไปทำให้ภาษามันดิ้นได้  และมันเกิดขึ้นก็เพราะการมีอัตตาในระดับที่สูง  และก็เป็นการแสดงให้เห็นประการหนึ่งว่า สังคมมันเปลี่ยนไปจากสังคมแบบธรรมะ เคลื่อนเข้าไปสู่สังคมแบบอธรรมมากขึ้นทุกที
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 25 ก.ย. 13, 20:07

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 25 ก.ย. 13, 21:04

เห็นมีการตีความรัฐธรรมนูญกันหลายหน  ตีความกฎหมายใหม่กันก็มาก      ดิฉันไม่รู้หรอกว่าเรื่องไหนถูกเรื่องไหนผิดเพราะว่าพูดกันคนละทางสองทาง  แม้แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญก็ตีความไม่ตรงกัน
รู้แต่ว่าไม่มียุคไหนตีความกันมากเท่ายุคนี้เลยค่ะ

ภาษาจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม   เดี๋ยวนี้การออกเสียง  ฉ  ช เป็นเสียง ch sh ในเพลงภาษาไทย  ก็กลายเป็นแบบแผนกันไปแล้ว   เพลงบางเพลงฟังตั้งแต่ต้นจนจบ  ไม่รู้ว่าร้องว่าอะไร  เพราะการออกเสียงแตกต่างไปจากเพลงรุ่นเก่า  แต่ก็เป็นที่ยอมรับของคนฟังรุ่นใหม่อย่างดี  ฟังกันรู้เรื่อง
แสดงว่าการออกเสียงภาษาไทยกรุงเทพ เปลี่ยนไปจากเดิมต่อหน้าต่อตาเรานี่แหละ  ไม่ต้องรอให้ประชาคมอาเซียนมาเปลี่ยนค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 25 ก.ย. 13, 22:05

เล่าประสบการณ์ให้ฟังเรื่องนึงครับ  ได้มาจากการทำงานในระบบ UN ซึ่งเป็นสังคมที่การเจรจาต่อรองกันในแทบจะทุกเรื่อง ทุกเวลา และทุกโอกาส     เผื่ออาจจะเป็นประโยชน์ครับ

มีข้อเท็จจริงพื้นฐานดังนี้ครับ
   - หลักคิดในการใช้ภาษาของภาษาต่างๆนั้น เรื่องหนึ่ง คือ ให้พยายามลดการใช้คำซ้ำๆให้มากที่สุด จึงจะจัดว่าเป็นภาษาที่ดี
   - ในภาษาที่ใช้อักษรภาพ (จีน ญี่ปุ่น)  เขาจะแปลความหมายของคำภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวใดตัวหนึ่งหรือชุดของตัวอักษรสองสามตัว ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ แบบให้ความหมายที่ตรงกัน และแบบเพื่อใช้ทดแทนเสียงคำนั้นๆ
   - ในภาษาละตินมีระบบไวยากรณ์ และการผันคำที่ค่อนข้างจะยุ่งยากและสลับซับซ้อน

เรื่องก็เกิดดังนี้ครับ
ในระหว่างการเจรจาตกลงในเรื่องใดๆโดยทั่วไป  เขานิยมใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง การบันทึกการประชุมและการยกร่างมติหรือความตกลงใดๆก็เป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นจึงจะนำมาเขียนให้เป็นภาษาอังกฤษที่ดี ก่อนที่จะถูกแปลเป็นภาษาแต่ละภาษาที่ถูกกำหนดให้เป็นภาษาทางการของ UN (ซึ่งคำแปลของแต่ละภาษาจะต้องมีความหมายตรงกัน แทบจะเป็นคำต่อคำ)   สิ่งที่เกิดขึ้น คือ
  - ในภาษาอังกฤษนั้น อาจจะมีการเปลี่ยนการใช้คำอีกคำหนึ่งในความหมายที่เหมือนกัน  สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คำที่เอามาใหม่นั้น ในภาษาจีนอาจจะแปลด้วยอักษรต่างชุดกันกับคำเดิม ซึ่งจะให้ความหมาย (อย่างลึกซึ้ง) ต่างกันไป     เรื่องนี้เป็นประเด็นปัญหาของจีนอย่างหนึ่ง
  - ในระหว่างการเจรจา พวกคนที่ใช้ภาษาละติน (กลุ่ม GRULAC = Group of Latin America and Caribbean) มักจะใช้ความรู้สึกในเรื่องของเวลาในภาษาของเขาในการกล่าวถึงในเรื่องใดๆ  

ความขัดแย้งในระบบของภาษาเล็กๆน้อยๆที่ยกมานี้ ได้ทำให้ภาษาที่ปรากฎในข้อตกลงหรือข้อมติในระบบการเจรจาแบบพหุภาคีต่างๆ กลายเป็นภาษาที่ไม่อ่านให้เข้าใจแบบลึกซึ้งได้ค่อนข้างยาก เพราะยากที่จะปรับแต่งให้สวยงามได้นั่นเอง

หากสภาพของภาษาไทยจะมีชิวิตดิ้นได้มากขึ้นมากในอนาคต ก็คงจะทำให้ต่างคนต่างก็จะต้องใช้วิธิศรีธนญชัยในการเจรจาและเขียนบันทึกตวามตกลงต่างๆ ภาษาไทยที่สามารถจะเขียนให้สละสลวยสวยงามได้ก็คงจะมีอันเป็นไป  คงจะต้องระวังการเว้นวรรคให้ดีทั้งการพูดและการเขียน คงต้องระวังพวกคำว่า และ หรือ  และแม้กระทั่งการจะเอาเวลาและสถานที่มานำหรือตามหลังในประโยคใดๆ ก็อาจทำให้เกิดการตีความหมายที่ต่างกันได้    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 25 ก.ย. 13, 22:12

เห็นมีการตีความรัฐธรรมนูญกันหลายหน  ตีความกฎหมายใหม่กันก็มาก      ดิฉันไม่รู้หรอกว่าเรื่องไหนถูกเรื่องไหนผิดเพราะว่าพูดกันคนละทางสองทาง  แม้แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญก็ตีความไม่ตรงกัน
รู้แต่ว่าไม่มียุคไหนตีความกันมากเท่ายุคนี้เลยค่ะ
ภาษาจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม   เดี๋ยวนี้การออกเสียง  ฉ  ช เป็นเสียง ch sh ในเพลงภาษาไทย  ก็กลายเป็นแบบแผนกันไปแล้ว   เพลงบางเพลงฟังตั้งแต่ต้นจนจบ  ไม่รู้ว่าร้องว่าอะไร  เพราะการออกเสียงแตกต่างไปจากเพลงรุ่นเก่า  แต่ก็เป็นที่ยอมรับของคนฟังรุ่นใหม่อย่างดี  ฟังกันรู้เรื่อง
แสดงว่าการออกเสียงภาษาไทยกรุงเทพ เปลี่ยนไปจากเดิมต่อหน้าต่อตาเรานี่แหละ  ไม่ต้องรอให้ประชาคมอาเซียนมาเปลี่ยนค่ะ

ครับ
ผมเห็นว่าในขณะนี้มันกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนถ่าย อาจจะยังคงมีการปรับ มีแปรไปแปรมาอยู่  แต่จะปรากฏอยู่อย่างถาวรก็เมื่อ AEC ได้มีการพลวัติอย่างเต็มรูป
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 25 ก.ย. 13, 22:17

ขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยของคนรุ่นใหม่นะครับ

 จากที่สังเกตมาจากในเว็บบอร์ดต่าง ๆ รู้สึกว่า เดี๋ยวนี้ การใช้สรรพนามแทนตัวเอง ดูจะไม่ค่อยได้รับความสำคัญเท่าไร การใช้สรรพนามที่สุภาพและเป็นกลาง ๆ เช่น ผม , ดิฉัน  ไม่ค่อยจะเห็นแล้วในเด็กรุ่นใหม่ ๆ (ที่ยังเรียนหนังสืออยู่ทั้งระดับประถม มัธยม หรือ อุดมศึกษา)

ส่วนใหญ่ที่เห็น จะใช้คำว่า  เรา  และใช้สรรพนามเรียกบุคคลอื่นว่า  เพื่อน ๆ

กลายเป็นว่า ในโลกสังคมออนไลน์ แทบจะแยกไม่ออกแล้วว่าใครเป็นใคร (ซึ่งมันก็ไม่ได้มีคำจำกัดความมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะแยกเพศ หรือ อายุ หรือสถานะแบบไหน)

ตรงนี้ผมมองว่า พื้นฐานของภาษาไทยก็จะอ่อนด้อยลงไปเรื่อย ๆ ไม่ต่างจากเรื่องการออกเสียงตัวสะกดที่กำลังถกกันอยู่นี่ล่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 25 ก.ย. 13, 22:18

      ดิฉันเห็นด้วยกับทฤษฎีที่ว่าตราบใดภาษายังมีคนใช้อยู่ มันก็ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งหลักภาษาและวิธีใช้ภาษาไปเรื่อยๆตามสภาพสังคม        ภาษาที่หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวคือภาษาที่ตายแล้ว  หมายความว่าไม่มีใครใช้อีก      ปัจจุบันภาษาทางอินเทอร์เน็ตก็เป็นภาษาอีกแบบหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการกดคีย์บอร์ด     คำยาวๆยากๆเสียเวลาจิ้ม  ย่อมไม่เป็นที่นิยม  คำจึงสั้นลง  การสื่อสารแบบเป็นประโยคสมบูรณ์ ก็ไม่เอื้อต่อเนื้อที่แคบๆในการส่งสาร  เช่นเวลาเล่น line   ใครหน้าไหนจะอยากพิมพ์ว่า "ขอเชิญไปรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน"   ก็กลายเป็นว่า " เที่ยง กิน  ป่ะ" แค่นี้รู้เรื่องแล้ว     ด้วยเหตุนี้  ภาษาทางการจึงลดลงไม่เหลืออีกในการสื่อสารในโลกเสมือน  ไม่ว่าจะใช้มือถือ ไอแพด  หรือโน้ตบุ๊คก็ตาม จะออกมาแบบเดียวกัน
     ภาษากฎหมายในอนาคตเป็นไง  ประโยคก็คงสั้นลง  กระชับ รัดกุม   มองในแง่ดีก็ดี เพราะอาจจะตีความให้ดิ้นได้ยาก   แต่ถ้าศรีธนนชัยมาตีความ คำสั้นๆนี่แหละดิ้นเก่งนัก เพราะคนตีความเขาดิ้นเป็น
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 25 ก.ย. 13, 22:26

     ดิฉันเห็นด้วยกับทฤษฎีที่ว่าตราบใดภาษายังมีคนใช้อยู่ มันก็ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งหลักภาษาและวิธีใช้ภาษาไปเรื่อยๆตามสภาพสังคม        ภาษาที่หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวคือภาษาที่ตายแล้ว  หมายความว่าไม่มีใครใช้อีก      ปัจจุบันภาษาทางอินเทอร์เน็ตก็เป็นภาษาอีกแบบหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการกดคีย์บอร์ด     คำยาวๆยากๆเสียเวลาจิ้ม  ย่อมไม่เป็นที่นิยม  คำจึงสั้นลง  การสื่อสารแบบเป็นประโยคสมบูรณ์ ก็ไม่เอื้อต่อเนื้อที่แคบๆในการส่งสาร  เช่นเวลาเล่น line   ใครหน้าไหนจะอยากพิมพ์ว่า "ขอเชิญไปรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน"   ก็กลายเป็นว่า " เที่ยง กินข้าว  ป่ะ" แค่นี้รู้เรื่องแล้ว     ด้วยเหตุนี้  ภาษาทางการจึงลดลงไม่เหลืออีกในการสื่อสารในโลกเสมือน  ไม่ว่าจะใช้มือถือ ไอแพด  หรือโน้ตบุ๊คก็ตาม
     ภาษากฎหมายในอนาคตเป็นไง  ประโยคก็คงสั้นลง  กระชับ รัดกุม   มองในแง่ดีก็ดี เพราะอาจจะตีความให้ดิ้นได้ยาก   แต่ถ้าศรีธนนชัยมาตีความ คำสั้นๆนี่แหละดิ้นเก่งนัก เพราะคนตีความเขาดิ้นเป็น

เห็นด้วยครับ

ขอเสริมครับว่า  แต่การที่เราไม่ได้ใช้ไปนาน ๆ จะกลายเป็นว่าจะใช้กันไม่ถูกต้องนะครับ

ส่วนตัวผมเคยเจอเด็กมาขอข้อมูลบริษัท  โทรศัพท์มาหา ประโยคแรกที่ได้ยินคือ  "คือเราอยากจะขอข้อมูล............"

ซึ่งผมมองว่า ถ้าในชีวิตจริง ที่ต้องติดต่อธุระอย่างเป็นทางการ น่าจะใช้ระดับของภาษาให้ถูกต้องกว่าก็จะเป็นการดีมากครับ

เหมือนที่เคยอ่านกระทู้ในเว็บบอร์ดยอดนิยมของเมืองไทย เคยเห็นฝ่ายบุคคลหลาย ๆ ที่บ่นเหมือนกันว่า เด็กรุ่นใหม่ ไม่เข้าใจข้อควาที่ประกาศหรืออย่างไร

เช่นบอกว่า ตำแหน่งนี้ ต้องมีคุณสมบัติแบบนี้ อย่างนี้

กลายเป็นว่า ผู้สมัครเองไม่มีคุณสมบัติ แต่อยากจะสมัคร ก็เลยโทรศัพท์ หรือส่งเมล์มาถามว่า ไม่มีคุณสมบัติแบบนี้แต่จะสมัครได้ไหม ก็กลายเป็นอย่างนั้นไป


นอกจากนี้

เรื่องของการสะกดคำ ที่ผิดกันเยอะมาก ทั้งในหนังสือพิมพ์ (ที่เดี๋ยวนี้ น่าจะไม่มีตำแหน่งพิสูจน์อักษรแล้ว) หรือนิตยสาร ก็หลุดออกมามาก

เช่นคำที่เห็นบ่อย ๆ คือ  อัฒจันทร์  เขียนผิดกันจนชินกลายเป็น อัฒจรรย์ ไปเสียอย่างนั้น ก็เห็นอยู่ประจำ


ผมเกรงว่า การที่ปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เละเทะไปเรื่อย ๆ สุดท้ายภาษาไทยก็จะกลายเป็นภาษาคาราโอเกะไปแทนครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง