เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 92945 ภาษาไทยในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


 เมื่อ 11 ก.ย. 13, 20:04

หลังจากที่ตนเองไม่ได้ลงไปสัมผัสคลุกคลีกับผู้คนและสังคมท้องถิ่นในระดับหมู่บ้านมาประมาณสิบปีก่อนปี 2550  แล้วก็ได้ลงไปสัมผัสคลุกคลีอีกหลังจากปี 2550 จนถึงปัจจุบัน

เมื่อได้เอาสัมผัสเก่าๆมาประมวล ผนวกเข้ากับสัมผัสใหม่ๆ  ผมคิดว่าได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จนคิดว่าพอจะมองเห็นภาพของภาษาไทยในยุค AEC ในสองสามเรื่องที่สำคัญๆ 

เรื่องแรก คือ การออกเสียง ร ในคำควบกล้ำคงเกือบจะไม่ได้ยินอีก และคงจะเปลี่ยนไปเป็นเสียง ล แทนเกือบทั้งหมด    สำหรับคำควบกล้ำ ล นั้น อาจจะเข้าขั้นหายเลย
เรื่องที่สอง คือ dialect ของภาษากลาง (แบบกรุงเทพฯ) คงจะเปลี่ยนไป และเกิด dialect ใหม่
เรื่องทีสาม คือ คำศัพท์ ประโยค

จะค่อยๆขยายความครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.ย. 13, 20:13

รีบเข้ามาจัดเก้าอี้แถวหน้าให้ขาประจำค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.ย. 13, 20:45

การออกเสียงควบกล้ำ ร นั้น จะว่าไปก็ได้เกิดมานานมากแล้ว แต่ดูจะไม่สาหัสเท่าในปัจจุบัน เพราะแต่ก่อนนั้นดูจะเป็นเพียงออกเสียงเป็น ล แทน  

แต่ก่อนนั้น อย่างน้อยเราก็ยังได้ยินการออกเสียงที่ถูกต้องจากผู้ใหญ่ ผู้บริหาร และบรรดาสื่อต่างๆ มากกว่าในปัจจุบันค่อนข้างมาก  
ในปัจจุบันนี้หาเสียง ร ได้ยากมากทั้งในสื่อหลักของรัฐ ในสื่อวิทยุโทรัศน์ ทั้งในการถ่ายทอดการประชุมต่างๆ และรวมทั้งบรรดาผู้ที่อยู่ในวงวิชาการ   ที่หนักหนาสาหัสก็คือ แม้กระทั่ง ล ก็ยังหายไปหมดเลย

การขาดหายไปของเสียง ร และ ล ในการออกเสียงภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างชาติอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ชอบเอามาใช้แทรกหรือใช้ร่วมในข้อความที่สนทนากัน ยิ่งทำให้ต้องเดาเอาเลยว่าพูดถึงเรื่องอะไร  

ลองพยายามนึกถึงภาษาไทยที่พูดกันแบบไม่มี ร และ ล ก็แล้วกัน  เราฟังกันออก เข้าใจได้ก็เพราะมันเป็นการพูดในวงของข้อสนเทศที่กำลังนำมาถกกัน หากคนใดคนหนึ่งพูดแวบออกนอกเรื่อง หลายๆครั้งกลายเป็นฟังไม่ออก      

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.ย. 13, 21:38

การมีอยู่ของอักขระทั้งสองตัวนี้ในภาษาไทย มันก็จะยังคงปรากฎอยู่ในชุดอักษร 44 ตัวที่ใช้อยู่ในภาษาไทยตลอดไป แต่ต่อไปในภายภาคหน้าอาจถูกแปรสภาพของการใช้ไปเป็นเพียงอักษรทีอยู่ในการสะกดคำแต่จะออกเสียงหรือไม่ออกเสียงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ผมเอาเรื่องการออกเสียง ร และ ล ขึ้มานำเรื่อง เพื่อจะนำพาไปสู่เรื่องของสภาพแวดล้อมทีกำลังทำให้ภาษาไทยในองค์รวมเปลี่ยนไป ทั้งในเชิงของสำเนียง ศัพท์ การใช้คำ ฯลฯ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ก.ย. 13, 22:01

เสียง ร ปัจจุบันหายไปจากลิ้นคนไทยเกือบร้อยละร้อย กลายเป็นเสียง ล   ทำนองเดียวกับ เสียง  ฎ ฏ ที่เคยแตกต่างจาก ด ต  ก็กลายเป็นเสียง ด ต    ศ ษ ก็กลายเป็นเสียงเดียวกับ ส     แต่ดิฉันคิดว่าเสียง ล ยังอยู่นะคะ   หรือว่าคุณตั้งฟังแล้ว เสียง ล  ก็เปลี่ยนเหมือนกัน
ที่เห็นว่า ล เปลี่ยนแน่ๆ คือเปลี่ยนในตัวสะกดท้ายคำ ที่เราเอามาจากภาษาต่างประเทศ กลายเป็นเสียง  ว   เช่น field = ฟิลดฺ  กลายเป็น ฟิว 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ก.ย. 13, 22:02

การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของภาษาของกลุ่มชนชาติใดๆนั้น ผมเห็นว่า โดยปรกติแล้วมันเป็นการพัฒนาที่มาจากสภาพแวดล้อมและอิทธิพลภายในของวงสังคมของชนชาตินั้นๆ (มีลักษณะเป็นระบบปิด_close system_) จะได้รับอิทธิพลจากภายนอกวงค่อนข้างน้อยมาก

ที่ผ่านมาแต่ก่อนนั้น พัฒนาการของภาษาไทยเราก็เป็นเช่นนั้น แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ผมเห็นว่ามันมิใช่เสียแล้ว พัฒนาการของภาษาไทยกำลังเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบเปิด (open system)  แล้วผมเห็นอะไรบ้าง ?

เข้าเรื่องจริงจังพรุ่งนี้ครับ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ก.ย. 13, 22:25

เสียง ร ปัจจุบันหายไปจากลิ้นคนไทยเกือบร้อยละร้อย กลายเป็นเสียง ล   ทำนองเดียวกับ เสียง  ฎ ฏ ที่เคยแตกต่างจาก ด ต  ก็กลายเป็นเสียง ด ต    ศ ษ ก็กลายเป็นเสียงเดียวกับ ส     แต่ดิฉันคิดว่าเสียง ล ยังอยู่นะคะ   หรือว่าคุณตั้งฟังแล้ว เสียง ล  ก็เปลี่ยนเหมือนกัน
ที่เห็นว่า ล เปลี่ยนแน่ๆ คือเปลี่ยนในตัวสะกดท้ายคำ ที่เราเอามาจากภาษาต่างประเทศ กลายเป็นเสียง  ว   เช่น field = ฟิลดฺ  กลายเป็น ฟิว 

ผมเห็นว่าเสียง ล ในคำควบกล้ำนั้นก็หายไปมาก ยิ่งที่ฟังจากสือทางเสียงทั้งหลาย ทั้งตัวคนที่ทำอาชีพสื่อ ผู้ที่ให้สัภาษณ์/ออกความเห็น และรวมทั้งจากบรรดาเสียงที่ถ่ายทอดสดหรือแห้ง จะหา ล แทบไม่พบ (ปูกป่า จับปา ก้ำกืน ปดป่อย ฯลฯ)

เป็นภาษาไทย ขาด ร หรือ ล ไป ก็ยังฟังออก  แต่ใช้ภาษาอังกฤษทับศัพท์นี่ซิครับ (ก๊าดเลด = glassless, เฟ้นฟาย = french fries, ฟิดดาย = freeze dry)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 18:44

ผมอาจจะผิดที่เลือกใช้คำว่า ระบบปิด และ ระบบเปิด เพื่อบรรยายสภาพแวดล้อมที่มีอิทธพลในกระบวนพัฒนาการทางภาษาที่เกิดขึ้น 
ในอีกมุมหนึ่งก็คือ ผมเห็นว่า พัฒนาการของภาษานั้น ตามปรกติมันน่าจะเป็นลักษณะของการกระจายออกไปจากแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของการเปลี่ยนแปลงหรือการนำเสนอ (disseminate) มากกว่าจะเป็นไปในลักษณะของการเข้ามาปนเปื้อนจนต้องเปลี่ยนไป (assimilate)

ผมได้สัมผัสและเห็นภาพของ assimilation นี่แหละครับ ที่มันกำลังเกิดขึ้นกับภาษาไทยของเราอย่างเข้มข้น รุนแรง และรวดเร็วมากๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 19:21

สภาพของสังคมและสิ่งแวดล้อมของสังคมคนไทยที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันนี้มีอะไรบ้าง
(ไม่เรียงเรื่องให้สวยงามนะครับ)

แรงงานไทยออกไปรับจ้างอยู่ในต่างประเทศ ทำให้มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานทดแทนแรงงานไทยที่ขาดหายไป

ด้วยสภาพที่ประเทศไทยเรามีความสงบ ไม่มีภาวะความขัดแย้งที่รุนแรง (ในอดีต) ดังที่ประเทศรอบบ้านเราเขามีกัน  ผลก็คือ ทำให้เราสามารถดำเนินการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆได้อย่างล้ำหน้าเพื่อนบ้านเรา ยังผลให้มีการยกระดับฝีมือแรงงานทิ้งห่างจากเพื่อนบ้านไปไกล แรงงานของเราจึงเป็นแรงงานที่มีฝีมือเป็นที่ต้องการของต่างชาติ  เมื่อขาดแรงงานภายใน เราก็เลยมีแรงงานระฝีมือต่ำจากประเทศพื่อนบ้านเข้ามาแทนที่ ซึ่งเพื่อให้มีโอกาสได้รับการจ้าง แรงงานต่างด้าวต่างๆจึงต้องพยายามเรียนภาษาไทย เพื่อให้พอจะสามารถสื่อสารกับนายจ้าง/ผู้คุมงานคนไทยได้   
เขาเหล่านี้ เรียนภาษาไทยจากใหน ?  ที่ผมเคยเห็นและสัมผัสมา คือ เรียนจากคู่มือเรียนภาษาไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งผมเคยเห็นคู่มือเหล่านี้ทั้งในพม่า เขมร และเวียดนาม (โดยเฉพาะในเขตเมืองหลวง)  ส่วนอีกอย่างหนึ่งคือ ชาวบ้านตามชายแดน หรือที่อยู่ใกล้ๆชายแดนนั้น ก็เรียนจากคนที่พอพูดภาษาไทยได้ ซึ่งก็พูดไม่ชัดบ้าง ออกเสียงไม่ชัดบ้าง ใช้คำผิดคำถูกบ้าง

การพูดภาษาไทยแบบมวยวัดนี้ ได้เข้ามาเบียดแทรกแบบฝังรากอยู่ในคนไทยไปมากแล้ว โดยเฉพาะในด้านของสำเนียง    โดย แรงงานผู้หญิงที่เป็นญาติโยมของแรงงานชายเหล่านั้น เข้ามารับจ้างเป็นคนใช้ เป็นคนขายของหน้าร้าน เป็น ฯลฯ (เหล่านี้แหละครับ)   เรื่องก็เกิดขึ้นจากการที่ผู้จ้างให้ช่วยเลี้ยงลูกบ้าง เป็นพี่เลียงเด็กบ้าง  เด็กมันก็ซึมซาบเอาสำเนียงและการออกเสียงที่ไม่ชัดฝังเอาไว้ในสมอง เหมือนกับการ burn chip ฝังโปรแกรมสำหรับการทำงานของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ 
 



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 19:49

เรื่องการจำแบบ burn chip นี้ น่ากลัวครับ

ผมได้เคยถูกเชิญไปเป็นแขก รับฟังงานวิจัยของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น เป็นบริษัทเก่าแก่ เอ่ยชื่อก็ร้องอ๋อเลยทีเดียว  เรื่องที่บริษัทให้เงินทำวิจัยนั้น แทบจะกล่าวได้ว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องของสินค้าที่เขาผลิตจำหน่ายเลย คนที่ทำการวิจัยเป็นแพทย์ของบริษัทนี้ ทำการวิจัยเรื่องเกี่ยวกับความจดจำของสมองคน  ประเด็นครอบคลุมเรื่องที่วิจัย ที่จำได้คือ ทำไมคนญี่ปุ่นจึงออกเสียงตัวสะกดที่ลงท้ายด้วย น ไม่ได้ เช่น one ออกเสียงเป็น วัง หรือ ทำไมคนญี่ปุ่นจึงไม่สามารถออกเสียงคำภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง   ผลการวิจัยที่ทำมาหลายปี สรุปได้ว่า หากจะแก้ไข จะต้องแก้ที่พ่อแม่ต้องพูดให้ชัด เพราะเสียงต่างๆมันถูกฝังใว้อย่างลึกในสมองของเด็กแบบแก้ได้ยากในภายหลัง

เช่นกัน หากพี่เลี้ยงเด็กไทยที่พูดไม่ชัด พูดอยู่กับเด็กตลอดเวลา ออกเสียงไม่ชัดเจน ฯลฯ  (สำเนียงมอญบ้าง พม่าบ้าง ลาวบ้าง เขมรบ้าง....) คงจะไม่ต้องสงสัยเลย และคงพอจะเดาออกว่า ในอีก 20 ปีต่อมา สำเนียงภาษาไทยจะเป็นเช่นใด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 20:27

เลยเถิดเรื่องการวิจัยของบริษัทเอกชนของญี่ปุ่นไปอีกหน่อยครับ

ได้เล่าเรื่องบริษัทผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์ ทำการวิจัยเรื่่องเกี่ยวกับความจำของสมอง ซึ่งเป็นเรื่องทางแพทย์  ดูไม่เกี่ยวโยงกันเลย.....?

ก็มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายสำคัญของญี่ปุ่นเช่นกัน ทำการวิจัยเรื่องการกระโดดของกบ เกี่ยวอะไรกับเรื่องรถบ้างครับ .....?   บริษัทผู้ผลิตรถรายนี้ ต่อมาทำการวิจัยเกี่ยวกับฟางข้าว  พอจะเดาออกใหมครับว่า จะเอาไปทำอะไร.....?



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 20:30


คงจะไม่ต้องสงสัยเลย และคงพอจะเดาออกว่า ในอีก 20 ปีต่อมา สำเนียงภาษาไทยจะเป็นเช่นใด
ภาษาไทยก็จะถูกปับปุงเปี่ยนแปงไปอีกมากละค่ะ   เด็กๆอาจฟังเลาพูดไม่ลู้เลื่องก็เป็นได้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 21:11

ภาษาพูดที่คุณเทาชมพูเขียนมานั้น มันเกิดขึ้นและแทบจะสัมผัสเป็นปรกติอยู่แล้วในปัจจุบัน  ที่น่าตกใจ คือ มันอยู่ในรั้วการศึกษาทุกระดับอีกด้วย 

ปัจจุบันนี้ ก็มีบ่อยๆที่ต้องฟังย้ำจึงจะฟังออกและรู้เรื่อง ไปต่างจังหวัด บางทียังฟังภาษาไทยที่เด็กเสิร์ฟหรือเด็กปั้มพูดด้วยไม่รู้เรื่องก็มี

ในอนาคต เด็กรุ่นหลังอาจจะต้องมีความเข้าใจและใช้ความจำในสามแบบ คือ ออกเสียงแบบถูกต้อง ออกเสียงแบบทั่วไป และคำสะกดเขียนที่ถูกต้อง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 ก.ย. 13, 19:19

ในพื้นที่ภาคเหนือของเราก็มีสภาพแวดล้อมที่สับสนไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุที่เกิดมาประจวบเหมาะกันพอดีในช่วงเวลาปัจจุบัน

สภาพแวดล้อมที่สำคัญ คือ เกิดการประสานงากันระหว่างสังคมที่มีการพัฒนาอยู่บนพื้นที่ป่าเขาสูง กับ สังคมดั้งเดิมในพื้นที่ราบลุ่ม

ขออภัยที่ต่อไปผมจะขอใช้คำว่า ชาวเขา กับ ชาวบ้าน/ชาวเมือง

ย้อนไปไกลสมัยผมยังเป็นเด็กประถมอยู่ ได้รับรู้ข้อมูลที่ผู้ใหญ่เขาบอกให้รู้ว่า ชาวเขาในประเทศไทย มีอยู่ประมาณ 40 เผ่า ผมจำชื่อไม่ได้หมด ปัจจุบันเหลือแต่อะข่า (อีก้อ) ที่ทางราชการกล่าวถึงเป็นหลัก เผ่าอื่นๆหายไปใหนหมดก็ไม่รู้ (มูเซอดำ มูเซอแดง ยางขาว ยางแดง ลั๊วะ ขมุ ลีซอ เย้า ฯลฯ)
 
ด้วยโครงการลดการปลูกฝิ่นและการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ทำให้มีพัฒนาการในหลายๆด้าน ทั้งจากฝ่ายต่างๆของไทยและชาวต่างชาติ
   - เกิดมีการสอนภาษาไทยเพื่อให่อ่านออกเขียนได้ โดยใช้สำเนียงเสียงภาษาของกรุงเทพฯ (โดยครู ตชด.)
   - เกิดมี missionary เข้าไปเผยแพร่ศาสนา สอนหนังสือ สอนภาษาอังกฤษ และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่
   - เกิดมีองค์กรเอกชนต่างชาติเข้าไปช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ มีการสอนภาษาอังกฤษ
   - เกิดมีการเปลี่ยนจากชาวเขาไปเป็นชาวไทยภูเขา ต่อมาก็มีเอกสาร/บัตรประจำตน ต่อมาก็กลายเป็นบัตรประจำตัวสีฟ้า (ไปใหนมาใหนได้ในเขตจังหวัด) สุดท้ายเมื่อครบระยะเวลาตามเงื่อนไขก็จะได้บัตรประชาชนแบบที่เรามีกัน กลายเป็นคนไทย 100%
   - ราชการฝ่ายรักษาป่าภายใต้กฎหมายต่างๆ ก็พยายามผลักดันให้ออกจากผืนป่า เขาเหล่านั้นจึงลงมาอยู่ในพื้นราบรับจ้างทำงานทั่วไป มักจะอยู่เป็นกลุ่มแยกจากชาวบ้าน แล้วก็มี missionary ตามลงมาช่วยเหลือต่อ
   - ลูกหลานเด็กหนุ่มทั้งหลายก็พยายามเรียนต่อเพื่อจะได้มีงานการทำเหมือนกับชาวเมืองโดยทั่วไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ก.ย. 13, 19:36

ผลที่ตามมาจากความประจวบเหมาะนี้ คือ ภาษาเหนืออันเป็นภาษาถิ่นเริ่มหายไป มีการใช้ภาษาไทยภาคกลางแพร่หลาย แต่มีหลากหลายสำเนียง ทั้งสำเนียงแบบใช้วรรณยุกต์สับสน แบบสำเนียงที่ขาดหรือมีตัวสะกดของแม่ต่างๆผิดแผกไป   เขาเหล่านั้นอ่านภาษาไทยออกและเขียนได้ แต่ผิดถูกเป็นไปตามที่เขาเข้าใจ รวมทั้งการใช้วรรณยุกต์

พวกเด็กลงมาเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัด ก็ไปรับเอาภาษาที่ออกเสียงไม่ถูกต้อง (เช่น ร และ ล) ฝังเข้าไปอีก

คงไม่ต้องเล่าถึงผลว่าจะเป็นเช่นไรนะครับ ลองไปสัมผัสกันดูบ้างเมื่อมีโอกาสไปเที่ยวพักผ่อน 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง