เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 92905 ภาษาไทยในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 19 พ.ย. 14, 18:55

เรื่องของการออกเสียงนี้  ในระยะต้นของการเปิดทำนบ AEC ให้เกิดการเคลื่อนไหลของสังคมมาผสมผสานกัน เราคงจะได้พบกับหลายหลากการออกเสียงและสำเนียงของคำภาษาอังกฤษคำเดียวกัน น่าจะถึง 10 แบบเลยทีเดียว     เพราะภาษาอังกฤษที่แต่ละประเทศของอาเซียนถูกฝังกันมานั้น มีทั้งบนฐานของสำเนียงแบบฝรั่งเศส แบบอังกฤษ แบบสเปน แบบดัชท์ แล้วก็แบบที่พัฒนาขึ้นมาตามสังคม (เช่น แบบมาเลเซีย-สิงคโปร์)  แล้วก็อีกแล้วหนึ่ง คือ จากการที่มีชาวต่างชาติมาเป็นครูสอนภาษา ซึ่งก็จะทำให้มีสำเนียงอื่นมาผสมผสานอีกด้วย (เช่น เยอรมัน กรีก ลาติน และเผลอๆจะมี Afrikaan อีกด้วย) 

ทั้งเสียง สำเนียง และสำนวน คงจะฟุ้งกระจายกันอยู่พักหนึ่งก่อนที่จะเกิดความลงตัว และได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลในหมู่ชาติอาเซียน

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 19 พ.ย. 14, 19:11

นึกขึ้นได้อีกสองเรื่องของภาษาไทยที่น่าจะเปลี่ยนไป

เรื่องแรก คือ ชื่อเล่นของเด็กทั้งหลาย     ณ วันนี้ เราจะได้ยินชื่อเล่นของเด็กที่เป็นสองพยางค์ ต่างกับสมัยก่อนนั้นซึ่งจะเน้นไปทางพยางค์เดียว   นอกจากนั้นแล้วก็ยังเป็นชื่อเล่นที่นึกตั้งขึ้นมาตามความคล้องจองของคำมากกว่าที่จะเอาคำหรือคำศัพท์เดิมมาใช้

เรื่องที่สอง คือ คำว่า พ่อ กับ แม่ นั้น ในสังคมเมืองใหญ่ๆดูเหมือนว่าจะไม่นิยมใช้กันเสียแล้ว  จะได้ยินคำว่า ปาป๊า และ มาม้า หรือ มามี้  เสียมากกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 19 พ.ย. 14, 19:55

เมื่อก่อนชื่อเล่นของเด็ก เป็นวิสามานยนาม เช่น  ติ๋ว แต๋ว   ปุ๊   อุ้ย    ส่วนใหญ่ไม่มีความหมายชื่อ    ที่มีความหมายก็เช่น จ้อย  ตั้ว ต้อย  อ๊อด 
เดี๋ยวนี้คงไม่มีเด็กคลอดปี 2557 มีชื่อพวกนี้อีกแล้ว    มีแต่ชื่อสามานยนาม    น้องต้นกล้า  น้องมัดหมี่   น้องไหมพรม
ที่โดดเด่นกว่านี้คือเด็กไทยชื่อเป็น common noun ของฝรั่ง เช่น golf   apple  cherry  ice    ที่ฝรั่งเองก็ไม่มีเด็กชื่อพวกนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 28 เม.ย. 15, 15:01

ต่อไปนี้ในยุค AEC คนที่เราติดต่อด้วยแม้จะพูดไทยแต่อาจไม่ใช่คนไทย ทักษะในการเขียนภาษาไทยอาจจะด้อยลงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดังกรณีข้างล่างนี้

เรื่องนี้ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นเรื่องจริง   ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

ยืนยันโดย มติชน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 12:11

ฟังข่าวแผ่นดินไหวที่เนปาล แต่ก่อน เนปาล อ่านว่า เน - ปาน พอมาถึงยุค AEC อ่านเป็น เน - ปาว ไปเสียแล้ว

ต่อไป ลูกตาล อาจจะเป็น ลูกตาว  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 20:26

หาก "ลูกตาล" อ่านเป็น "ลูกตาว" เมื่อใด   ก็คงจะต้องมีสร้อยห้อยท้ายคำทั้งสองนี้  เพราะว่า "ลูกตาล" เป็นเรื่องของน้ำตาล (ของหวาน) เป็นพืชตามท้องทุ่งท้องนาในพื้นที่ราบลุ่ม ออกผลเป็นทะลายคล้ายมะพร้าว    แต่ "ลูกตาว" เป็นเรื่องผลไม้รสจืดที่ต้องกินกับของหวาน เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ในป่าในเขา ออกผลเป็นทะลายเช่นกัน แต่คล้ายทะลายหมาก (ที่กินกับพลู) ก็ที่เขาเอามาทำเป็นลูกชิดนั่นแล

เลยพาลทำให้นึกถึง "ลูกชก" ที่มีทะลายยาวเป็นวา ลูกกลมๆคล้ายลูกของ "ต้นเป้ง" พบมากแถวพังงา แต่กว่าจะออกผล ก็เมื่อมันมีอายุล่วงเข้า 45 ปีแล้ว (คนถิ่นเขาว่าอย่างนั้น)
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 30 เม.ย. 15, 09:01

ตัวสะกด ล เป็นตัวสะกดในแม่กน ควรออกเสียง น
แต่เด็กสมัยใหม่บางคนจะคิดว่า จะออกเสียงด้วยการกระดกลิ้นหน่อย ให้เหมือนเป็นคำที่ลงท้ายด้วยตัว L
พอฟังเป็นเสียงไทย จึงเหมือน ออกเสียง ว ไป
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 30 เม.ย. 15, 16:30

ปัญหาคือเสียง L ที่เป็นตัวจะกด ไม่มีในภาษาไทยครับ เมื่อไม่มี เราจะจับเข้ากับเสียงที่เราคุ้นเคย บางคนเป็นแม่กน บางคนเป็นแม่เกอว มองจากเจ้าของภาษาเขา ผมว่าก็ผิดทั้งคู่แหละครับ เพียงแต่ว่าการออกเสียงเป็นแม่กน ยังมีหลักให้ยึดอยู่ตรงที่ว่าเราเขียนเนปาลโดยรักษารูปศัพท์เดิมไว้ แล้วเสียงตัวสะกด ล ลิง ภาษาไทยเราออกเสียงเป็นแม่กน
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 30 เม.ย. 15, 16:53

เด็กไทยปัจจุบัน ออกเสียงตัวสะกด L  เป็น ว  ค่ะ  เช่น field เป็น ฟิว 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 30 เม.ย. 15, 18:16

ส่วนคำว่า fault ที่แปลว่า รอยเลื่อน อันเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่กำลังมีการกล่าวถึงในขณะนี้นั้น ก็มีการออกเสียงที่สะกดด้วยทั้ง น, ว และ ..ลท์ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 30 เม.ย. 15, 19:28

จะโบ้ยไปโทษใคร ก็คงจะไม่ถูกต้องนัก   ผมเห็นว่ามันเป็นผลมาจากระบบการเรียนรู้ของปุถุชนในสังคม  และมันก็ไม่มีใครผิดหรือใครถูก

การออกเสียงคำศัพท์ใดๆของภาษาใดๆ รวมทั้งสำเนียงการพูดของภาษาถิ่นใดๆนั้น อาจจะพอกล่าวได้ว่ามันฝังรากลึกมาตั้งแต่วัยเด็กอ่อน (baby) ไปจนถึงเด็กเล็ก (child) แต่มันก็สามารถปรับแก้หรือเปลี่ยนแปลงได้หากไม่เกินวัยในระดับหนึ่ง  โดยนัยนี้ ก็คือ เป็นการเรียนรู้และเลียนแบบผ่านอวัยวะทางโสต

เมื่อเข้าสู่วัยเรียน สาระแห่งความรู้อันพึงมีที่ครูบาอาจารย์ได้พยายามถ่ายทอด มันมีมากขึ้นจนจดจำไม่ทัน ไปถึงระดับที่จะต้องท่องเอา แถมยังถูกทดสอบความรู้อีกด้วย  ก็เลยต้องใช้วิธีการบันทึกด้วยการเขียน ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องราว เสียง และสำเนียงต่างๆ   

ดังนั้น เมื่อครูออกเสียงเช่นใด แถมยังเป็นสำเนียง/เสียงของฝรั่งจากหลากแหล่ง   เด็กก็อาจจะจดบันทึกเสียง/สำเนียงนั้นๆด้วยความเข้าใจของตนเองว่ามันทดแทนเสียง/สำเนียงนั้นๆตามที่ครูได้เปล่งเสียงออกมา ซึ่งเมื่อ replay ก็อาจได้เสียง/สำเนียงนั้นๆเหมือนเดิม 

แต่เมื่อครูเป็นผู้เขียนการออกเสียงนั้นๆให้เด็กจดบันทึกไว้ (แถมอาจจะออกเป็นข้อสอบอีกด้วย) รวมทั้งการสะกดคำแทนเสียงนั้นๆก็ต้องเป็นไปตามพื้นฐานระบบราชบัญฑิตฯ  ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสียง/สำเนียงใดๆก็ตาม เราก็เลยได้เสียง/สำเนียงที่เกือบจะเป็นมาตรถฐานแบบไทยไปอีกแบบหนึ่ง

ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายใดๆ เมื่อสิงค์โปร์ยังมี Singlish ได้  เมื่อไทยโดยสภาพก็เป็นศูนย์ของอาเซียนได้ ทำใมเราจะมี Thailish หรือ T-lish ไม่ได้   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 30 เม.ย. 15, 19:43

ที่น่าตกใจ ณ ปัจจุบันนี้ ก็คือ บรรดาชื่อสถานที่ต่างๆของประเทศไทย กำลังถูกเรียกขาน (ออกเสียง)โดยผู้คนและสื่อในชื่อที่เขียนสะกดในอีกแบบหนึ่ง หรืออ่านออกเสียงไปในอีกแบบหนึ่ง  ลองติดตามฟังข่าวทางสื่อที่ใช้เสียงต่างๆก็จะได้ยินเองครับ 

มันส่อถึงเรื่องอะไรต่อมิอะไรต่างๆหลายๆเรื่องเลยทีเดียว 
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 23:38

โอ้ ความรู้ใหม่ ไม่ทราบว่าเมื่อก่อน เสียงของ ฎ ฏ ต่างจาก ด ต ยังไงเหรอคะ ไม่เคยรู้มาก่อนเลย

เอื้องหลวง  17 พ.ย. 14, 19:39

=======

กรุณาไปดูที่ http://staff.buu.ac.th/~subhrang/208321/psconsons.htm


ด้วยความรู้ทางภาษาศาสตร์อันน้อยนิด ขอสารภาพค่ะว่าอ่านแล้วก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ถึงกับต้องเสิร์ชหาคำแปลของคำว่า สถิล ธนิต
ดูจากตาราง อักษร ต และ ฏ ดูเหมือนจะไม่ได้ออกเสียงต่างกันมากเลยนะคะ
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 12:05

ขอบคุณคุณ share เช่นกันค่ะ ที่ช่วยไขข้อกระจ่างให้ ได้ความรู้ประดับสมองไปอีกหนึ่งเรื่อง
น่านำไปค้นคว้าต่อนะคะ ว่าอักษรเหล่านี้เคยออกเสียงยังไง แล้วทำไมกลายพันธ์ุเป็นเสียงเดียวกันหมด
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 22:15

ด กับ ฎ, ต กับ ฏ แต่ละคู่ออกเสียงเหมือนกันในภาษาไทย เรารักษาพยัญชนะไว้ตามอย่างที่มาคืออินเดีย

ลองอ่านกระทู้นี้นะครับ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2868.0
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 19 คำสั่ง