เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 92896 ภาษาไทยในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 21:42

ขอบคุณ คุณนวรัตน์ ครับ

ทำให้นึกถึงหนังเพลงเก่าๆอีกหลายเรื่องขึ้นมาทันที่เลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 22:12

ในที่สุดนางเอกก็ออกเสียงภาษาอังกฤษชัดเจนจนได้

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 ก.ย. 13, 20:45

ผมรู้สึกจากการได้ยินได้ฟังของผมเอง พบว่า
สำเนียงของภาษาไทยกลางโดยทั่วๆไปในปัจจุบันนี้ มีอยู่สามแบบ คือ สำเนียงแบบคนกรุงเทพฯ สำเนียงแบบคนไทยภาคกลางโดยทั่วไป และสำเนียงแบบคนต่างชาติพูด    ซึ่งกำลังสัมผัสได้ว่า สำเนียงแบบคนไทยภาคกลางกำลังได้ยินขยายวงกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยรุ่น   ส่วนสำเนียงแบบคนกรุงเทพฯกำลังได้ยินน้อยลงไป

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 20 ก.ย. 13, 21:13

หายไป ตจว. มาครับ

เรื่องสำเนียงพูดของคนไทยในภาคกลางเท่าที่สัมผัสมานั้น
 
ผมเห็นว่า สำเนียงของคนกรุงเทพฯมีลักษณะเฉพาะ  ซึ่งจะพัฒนามาจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเมื่อใดก็ไม่ทราบ มีลักษณะการออกเสียงแบบเน้นคำแต่ละคำในประโยคที่พูดค่อนข้างจะชัดเจน คล้ายกับการออกคำสั่ง

ผมเห็นว่า สำเนียงของคนภาคกลางในจังหวัดอื่นๆ เป็นสำเนียงแบบดั้งเดิมที่คนไทยในภาคกลางพูดกันมานานมากแล้ว มีลักษณะการออกเสียงแบบที่เราเรียกกันว่าเหน่อ ซึ่งมีอยู่ 2 สำเนียงหลัก คือ สำเนียงแบบคนในที่ราบลุ่มภาคกลางด้านตะวันตก และสำเนียงแบบคนในพื้นที่ขอบที่ราบลุ่มด้านตะวันออก
  ด้านตะวันตกเป็นเสียงเหน่อแบบที่เรามักจะนำมาล้อเลียนกัน คือ แบบคนสุพรรณบุรี (ซึ่งผมเห็นว่ายังไม่เท่ากับสำเนียงพูดของคนใน อ.เลาขวัญ จ.กาญนบุรี  ขนาดไปพูดกับคนใต้ คนใต้ยังพูดตอบกลับมาด้วยภาษาใต้เลยทีเดียว)     ที่จริงแล้วหากฟังดูดีๆ จะเห็นว่าคนพื้นบ้านในจังหวัดต่างๆทั้งภาคกลางของเราพูดด้วยสำเนียงแบบนี้ทั้งนั้น สำเนียงเข้มข้นหนักแน่นต่างกันไป ก็มีอาทิ ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี  พอขึ้นไปแถบเหนือสิงห์บุรี ไปทางนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สำเนียงเหน่อในลักษณะนี้จะเบาบางลงจนแทบจะสังเกตไม่ได้
  ด้านตะวันออกเป็นเสียงเหน่อแบบคนระยอง จันทบุรี ตราด ที่เราเอามาพูดล้อเลียนกัน  สำเนียงนี้ได้ยินทั้งภาคตะวันออก และรวมไปถึงโคราชด้วย

ที่ผมเห็นในปัจจุบันนี้ คือ คนต่างจังหวัดเข้ามาทำงาน ทำธุรกิจ และอาศัยอยู่ในเมืองในภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่ๆมีการขยายตัวทางด้านเศรษกิจอย่างต่อเนื่อง
เลยทำให้ผมพอจะเห็นภาพทิศทางของสำเนียงในภาษาไทยในอนาคต



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 20 ก.ย. 13, 21:19

คนนครปฐม (น่าจะรวมไปถึงภาคกลางรวมสุพรรณบุรีด้วย) มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่มีในสำเนียงคนกรุงเทพ   อาจารย์นักภาษาเคยบอกว่า เป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 6   เพิ่มจาก 5 เสียงคือสามัญ เอก โท ตรี จัตวา ที่เรารู้จักกันจากแบบเรียน   
เสียงนี้บอกไม่ถูกว่าเป็นยังไง แต่น่าจะอยู่ระหว่างเสียงเอกกับเสียงโท      เขาใช้เสียงนี้แทนเสียงวรรณยุกต์เอกของสำเนียงกรุงเทพค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 20 ก.ย. 13, 21:46

ครับ แม้จะออกเสียงเลียนแบบเขาได้ แต่ก็ไม่สามารถจะเขียนเป็นคำให้อ่านออกเสียงดังนั้นได้     

หรือว่า ? การออกเสียงตามอักขระวิธีที่เป็นกฎเกณฑ์ทางวิชาการที่เราเรียนกันมานั้น เป็นการออกเสียงที่ไม่ถูกต้องตามเสียงที่คนแต่เก่าก่อนโน่นเขาออกเสียงกัน ? 
 
ที่จริงแล้ว ผมได้เห็นการเขียนภาษาไทยของชาวบ้านตามแบบที่เขาออกเสียง แรกๆที่เห็นก็เมื่อสมัยทำงานอยู่ในถิ่นทุรกันดาร (เช่น รถเครื่อง เขียนเป็น รถเครื้อง) ตอนนี้เริ่มเห็นตามบิลส่งของ และตามโน๊ตเตื่อนความจำที่เขียนไว้บนกระดานบ้างแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 20 ก.ย. 13, 22:06

หรือว่า ? การออกเสียงตามอักขระวิธีที่เป็นกฎเกณฑ์ทางวิชาการที่เราเรียนกันมานั้น เป็นการออกเสียงที่ไม่ถูกต้องตามเสียงที่คนแต่เก่าก่อนโน่นเขาออกเสียงกัน ? 
ดิฉันขอเรียกว่าไม่ครอบคลุมค่ะ    เรามีสัญลักษณ์แสดงอักขระน้อยกว่าเสียงที่มีอยู่ในความเป็นจริง      ยกตัวอย่างง่ายๆ  ถ้าพูดว่า "จริงๆนะ" โดยลากเสียงคำว่า "นะ" ให้ยาว     วรรณยุกต์ที่กฎเกณฑ์ทางวิชาการอนุญาตให้ใช้สะกดคำนี้  มีเพียงวรรณยุกต์โท   คือคำว่า "น้า"   
แต่เวลาพูด  เราไม่ได้ออกเสียงว่า "จริงๆน้า" ซึ่งจะกลายเป็นพูดถึงน้องสาวของแม่     เราออกเสียงสูงกว่านั้น   ควรเขียนว่า "จริงๆน๊า"    แต่หลักการผันวรรณยุกต์ไม่อนุญาตให้ใช้ไม้ตรีกับอักษรต่ำ     คำว่า "น๊า" จึงกลายเป็นการสะกดผิด    ก็ต้องกลับมา" จริงๆน้า"  ทั้งๆไม่ได้ออกเสียงว่า "น้า"
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 20 ก.ย. 13, 23:46

หายไป ตจว. มาครับ

เรื่องสำเนียงพูดของคนไทยในภาคกลางเท่าที่สัมผัสมานั้น
  
ผมเห็นว่า สำเนียงของคนกรุงเทพฯมีลักษณะเฉพาะ  ซึ่งจะพัฒนามาจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเมื่อใดก็ไม่ทราบ มีลักษณะการออกเสียงแบบเน้นคำแต่ละคำในประโยคที่พูดค่อนข้างจะชัดเจน คล้ายกับการออกคำสั่ง

ผมเห็นว่า สำเนียงของคนภาคกลางในจังหวัดอื่นๆ เป็นสำเนียงแบบดั้งเดิมที่คนไทยในภาคกลางพูดกันมานานมากแล้ว มีลักษณะการออกเสียงแบบที่เราเรียกกันว่าเหน่อ ซึ่งมีอยู่ 2 สำเนียงหลัก คือ สำเนียงแบบคนในที่ราบลุ่มภาคกลางด้านตะวันตก และสำเนียงแบบคนในพื้นที่ขอบที่ราบลุ่มด้านตะวันออก
  ด้านตะวันตกเป็นเสียงเหน่อแบบที่เรามักจะนำมาล้อเลียนกัน คือ แบบคนสุพรรณบุรี (ซึ่งผมเห็นว่ายังไม่เท่ากับสำเนียงพูดของคนใน อ.เลาขวัญ จ.กาญนบุรี  ขนาดไปพูดกับคนใต้ คนใต้ยังพูดตอบกลับมาด้วยภาษาใต้เลยทีเดียว)     ที่จริงแล้วหากฟังดูดีๆ จะเห็นว่าคนพื้นบ้านในจังหวัดต่างๆทั้งภาคกลางของเราพูดด้วยสำเนียงแบบนี้ทั้งนั้น สำเนียงเข้มข้นหนักแน่นต่างกันไป ก็มีอาทิ ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี  พอขึ้นไปแถบเหนือสิงห์บุรี ไปทางนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สำเนียงเหน่อในลักษณะนี้จะเบาบางลงจนแทบจะสังเกตไม่ได้
  ด้านตะวันออกเป็นเสียงเหน่อแบบคนระยอง จันทบุรี ตราด ที่เราเอามาพูดล้อเลียนกัน  สำเนียงนี้ได้ยินทั้งภาคตะวันออก และรวมไปถึงโคราชด้วย

ที่ผมเห็นในปัจจุบันนี้ คือ คนต่างจังหวัดเข้ามาทำงาน ทำธุรกิจ และอาศัยอยู่ในเมืองในภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่ๆมีการขยายตัวทางด้านเศรษกิจอย่างต่อเนื่อง
เลยทำให้ผมพอจะเห็นภาพทิศทางของสำเนียงในภาษาไทยในอนาคต


เหน่อกรุงเทพ มาจากคนจีนอพยพที่พูดไทยไม่ชัดครับ และน่าจะเป็นกันมานานแล้ว

นอกจากนี้ ในจังหวัดอย่าง เพชรบุรี ก็ยังมีสำเนียงของตัวเองอีกต่างหาก ที่จะใช้ลักษณะเหมือนการพูดไม่เต็มเสียง ซึ่งก็ไม่เหมือนกับทาง ราชบุรี หรือ กาญจนบุรี แต่อย่างใดเหมือนกันครับ แต่ปัจจุบันอาจจะหายไปบ้างพอสมควร

อย่างเช่น ถ้าจะพูดว่า ไม่ได้  ถ้าเป็นคนรุ่นเก่า เวลาพูดออกมา คนถิ่นอื่นก็จะฟังเป็น ได้ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันมาเยอะแล้ว เพราะคนเพชรบุรี จะพูดว่า (ไม่)ได้  คำว่าไม่ จะพูดออกมาไม่เต็มเสียง และค่อนข้างเร็ว


ผมเดาว่า ภาษาไทยแต่ละสำเนียงที่ต่างกันไป ไม่ใช่เฉพาะสำเนียงพื้นถิ่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเผ่าพันธุ์ของแต่ละชุมชน ก็จะมีภาษาเดิมของตัวเองอยู่แล้วด้วย เมื่อใช้ลักษณะการพูดของแต่เดิมที่ติดตัวมา มาพูดภาษากลางในถิ่นนั้น ย่อมทำให้เสียงที่ได้ยิ่งเพี้ยนเข้าไปอีก อย่างนี้เป็นต้น


อีกประการก็คือ ในแถบภาคตะวันออก โดยเฉพาะในส่วนของ จันทบุรี ก็ไม่ได้มีแค่ ภาษาไทยเท่านั้น แต่ก็ยังมีภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองเดิม อย่างเผ่าชอง อยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งภาษาที่พูดก็จะเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่านี้ ไม่เหมือน และไม่คล้ายกับภาษาไทยแต่อย่างใดครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 22 ก.ย. 13, 21:02

ครับ แท้จริงแล้ว สำเนียงถิ่นของแต่ละจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดก็มีความแตกต่างกันไป  สำเนียงของเพชรบุรีนั้น ผมกลับเห็นว่าละม้ายไปทางเมืองชายทะเลของภาคตะวันออก ต่างไปจากกลุ่มจังหวัดทางด้านตะวันตก (ราชบุรี ฯลฯ)

ส่วนสำเนียงที่เกิดจากการผสมระหว่างภาษาของคนชาติพันธุ์อื่นกับไทยกลางนั้น ผมกลับเห็นว่าเป็นเรื่องของการออกเสียงคำไม่ชัด

เอ ?  คำว่า สำเนียง กับ dialect เป็นเรื่องเดียวกันหรือเปล่า ฮืม   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 22 ก.ย. 13, 21:26

dialect คือภาษาถิ่นค่ะ  รวมถึงการใช้สำเนียงตามธรรมชาติของเจ้าของภาษานั้นด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 22 ก.ย. 13, 21:34

จากการเดินทางไปทำงานในพื้นที่ท้องถิ่นทุรกันดารในหลายๆจังหวัดของผม ผมได้มีโอกาสใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านชาวถิ่นค่อนข้างจะหลากหลายมาก  ได้พบว่าภาษาและสำเนียงถิ่นนั้น หลายพื้นที่มีเอกลักษณ์บางอย่างเฉพาะตัวที่สามารถแยกลงไปได้ถึงระดับกลุ่มหมู่บ้านแลยทีเดียว เอามาล้อเลียนกันได้ (เช่นเดียวกับ ระยอง ฮิสั้น จันทบุรี ฮิยาว)  ตอนนี้นึกไม่ออกแล้วก็ลืมอีกด้วย นึกออกเป็นบางที

ปัจจุบันนี้ ผมก็ยังสนุกที่จะคุยกับพนักงานหรือแรงงาน แล้วก็เดาบ้านเกิดว่าอยู่ที่ใหน เมื่อใช้องค์ประกอบบางอย่าง บางทียังเดาไปถึงย่านที่อยู่ได้ด้วย  มิใช่เก่งฉกาจใดๆหรอกครับ สร้างมิตรโดยอาศัยประสบการณ์เท่านั้น

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 22 ก.ย. 13, 21:57

ขอบพระคุณครับ

วันนี้เป็นวัน Car free day  ได้ยินเสียงทางวิทยุทั้งหลายออกเสียงการเรียกวันนี้เหมือนๆกัน คือ  สองคำแรกเป็นเสียงสั้นต่อเนื่องแล้วลากเสียงยาวกับคำสุดท้าย

นี่ก็คงจะเป็นอีกลักษณะของหนึ่งของการออกเสียงคำภาษาอังกฤษที่เอามาพูดปนอยู่ในการสนทนาที่เราจะได้ยินในกาลข้างหน้า  คำภาษาอังกฤษสองพยางค์ ย่นย่อลงเหลือพยางค์เดียว คำสามพยางค์ขึ้นไป ออกเสียงสองพยางค์แรกแบบสั้นๆและเร็ว ไปลากเสียงให้ยาวกับพยางค์หลัง 

ที่จริงอาจจะจะเป็นไปตามเทรนด์ของสื่อที่ใช้ในการอ่านข่าว ที่ดูจะนิยมลากเสียงของคำท้ายประโยคให้ยาวขึ้น
บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 22 ก.ย. 13, 23:56

เล่าเรื่องให้ฟัง Bahasa Patani ยุคปัจจุบัน กับอิทธิพลของภาษาไทย

1)เพื่อนผมเล่าว่าไปเจอหญิงชรา 2 คนคุยกันที่โรงพยาบาล  คุยกันไม่รู้เรื่อง
คนหนึ่งมาจากมาเลย์ อีกคนคนปาตานี เป็นญาติกัน  กำลังคุยเรื่องโรคภัย  โดยเริ่มจากชาวมาเลย์ที่บ่นเป็นภาษามาเลย์ว่า
เดี๋ยวนี้คนป่วยเป็น Cancer เยอะขึ้น

หญิงชราชาว ปาตานีไม่รู้ว่า Cancer คืออะไรเลยถาม  ถามไปถามมา งง

จนเพื่อนผมไปนั่งคุยจึงอธิบายหญิงชาว ปาตานีว่า Cancer คือ มะเร็ง..........คนปาตานีใช่ศัพท์สมัยใหม่ตามไทย

2)ผมเชิญอาจาร์ยทางมาเลย์ มาบรรยายเรื่องเรือน ตรังกานูเมื่อหลายเดือนก่อน
มีคน ปาตานีท่านหนึ่งยกมือ  แล้วถามเรื่องที่ บรรยาย เป็นภาษามลายู

อาจาร์ยทางมาเลย์ฟังแล้ว งง ทั้งๆที่ไม่มีศัพท์ไทยเลย  ล่ามที่ไปด้วยชำนาญด้านภาษาแปลก่อนจะบอกผมหลังงานว่า

คนที่ถามใช่ศัพท์มลายูก็จริง  แต่เรียบเรียงประโยคตามไวยกรณ์ภาษาไทยแบบคนปาตานียุคปัจจุบัน  ทำให้อาจาร์ยทางมาเลย์ไม่เข้าใจ

3)วันก่อนผมคุยกับ อาจาร์ยผู้เชี่ยวชาญทางภาษามลายู เรื่องการเขียนเสียงท้องถิ่นที่ไม่มีในภาษามลายูกลาง  เช่นเสียง ออ แอ อือ

น่าสนใจคือ  เสียงภาษามลายูไม่มีเสียง อือ  แต่ปัจจุบันคนพื้นที่ใช่ภาษาที่มีเสียง อือ เช่นซื่อ  บือราเฮง  บือราเปะ  ตือระ ฯลฯ

เมื่อพูดคุยจึงทราบว่าคำเสือง อือ ในเสียงท้องถิ่น เวลาเป็นมลายูกลางจะเป็นเสียง เออร์  เช่นท้องถิ่น บือซาร์ มลายูกลาง เบอร์ซาร์

เชื่อว่าเสียง อือ เกิดจากการเข้ามาของไทยในเรื่องการจัดการ  หูคนไทยได้ยินและแยกเสียง เออร์ไม่ได้  หลายคำเขียนเป็นสระ อือ

ผลคือ  ปัจจุบัน ปาตานี มีทั้งเสืยง เออร์ และ อือ  เสียงที่ไม่มีในภาษามลายูกลางหรือ อินโดฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 23 ก.ย. 13, 13:33

เรียนถามคุณตั้ง
เคยได้ยินมาว่า ภาษาญี่ปุ่นไม่มีเสียง ล หรือ L ในภาษาอังกฤษ   เสียง r .ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงกึ่งๆ ระหว่าง R และ L
ถ้างั้น ถ้าคนญี่ปุ่นจะออกเสียงอังกฤษ อย่าง raw/law   rock/lock  row/low  เขาก็ออกเสียงเหมือนกันงั้นหรือคะ

เดี๋ยวนี้คนไทยรุ่นใหม่ แยกเสียงระหว่าง ร กับ ล ไม่ค่อยจะได้แล้ว    ลา กับ รา   รบ กับ ลบ   รัก กับ ลัก  ออกเสียงเหมือนกันไปหมด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 23 ก.ย. 13, 20:18

ผมคงไม่มีความสามารถที่จะตอบได้ครับ ผมรู้จักเฉพาะตัวคันจิอยู่ไม่กี่ตัวที่สามารถอ่านและออกเสียงได้ ส่วนมากจะออกเสียงไม่ได้เพียงแต่พอจะรู้ความหมายเท่านั้นเพื่อความอยู่รอดและความปลอดภัยในการไปอยู่ในสถานที่ต่างๆและใช้ในการขับรถท่องเที่ยว 
ผมเคยได้หนังสือเก่ามาเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือที่บอกเล่าถึงที่มาของการเขียนตัวคันจิแต่ละตัวว่าเป็นตัวแทนของภาพอะไรบ้าง และให้ความหมายอะไร รวมทั้งตัวคันจิที่มีอักษรพื้นฐานสองถึงสี่ตัวผสมอยู่ภายในตัวนั้นๆด้วย ก็เลยทำให้พอเข้าใจและเดาอะไรได้บ้าง

เท่าที่ได้สังเกตนะครับ  ในภาษาญี่ปุ่นมีการออกเสียงตัว ร หรือ ล แต่จะเป็นการออกเสียงเป็นพยัญชนะนำเสียงเท่านั้น ที่น่าแปลกก็คือ เมื่อถอดเสียงเขียนเป็นภาษาอังกฤษ จะนำด้วยตัว R เท่านั้น (Ryukan, Ryukyu, Arigato)   ซึ่งก็แปลกต่อไปอีก (หากเราเทียบเสียงตัว ร ให้เป็นตัว R) การออกเสียงแบบตัว ร ก็เป็นเสียงตัว ล หมด   คิดว่าในภาษาญี่ปุ่นไม่มีคำควบกล้ำที่ต้องใช้เสียงของตัว ร หรือตัว ล ด้วยครับ

เท่าทีพอจะรู้นะครับ   ญี่ปุ่นมีระบบตัวอักษรที่ใช้แทนตัวอักษรภาษาต่างชาติ แต่การออกเสียงของตัวอักษรเหล่านั้น ต่างไปจากเสียงแท้จริงของอักษรตัวนั้น เช่นตัว t จะออกเป็น โตะ ดังนั้น หากชื่อท่านใดที่ลงท้ายสะกดตัวท้ายด้วยตัว t ชื่อของท่านก็จะถูกแถมด้วย โตะ ต่อท้าย   สำหรับตัวอกษร l และ r ถูกออกเสียงว่า หรุ

เซ็นเซเพ็ญ ช่วยเข้ามาแก้ให้ถูกต้องด้วยครับ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง