naitang
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 13 ก.ย. 13, 20:37
|
|
ในยุค AEC เป็นธรรมชาติที่จะต้องมีภาษาอังกฤษเข้ามาป้วนเปี้ยนผสมอยู่ในภาษาพูดมากขึ้น ลองมาดูสภาพนะครับ
สถานศึกษาต่างๆ ต่างก็พยายามจัดครูสอนภาษาอังกฤษด้วยคนที่พูดภาษาอังกฤษ แต่จะด้วยทุนน้อยหรือจำกัดด้วยความสามารถเข้าถึงตัวบุคลากรใดๆก็ตาม ปรากฎว่าเราได้ครูสอนภาษาอังกฤษชาวต่างชาติที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่เป็นจำนวนมาก หลากหลายประเทศเลยครับ มีครูเหล่านี้เป็นจำนวนมากที่เป็นนักท่องเที่ยว อาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีวุฒิของความเป็นครูเลยก็ได้ และที่น่ากลัวคือ ตัวเองแข็งแรงในภาษาที่ตนเองสอนหรือไม่ และที่น่ากลัวไปกว่านั้นอีก ครูคนไทยที่เป็นหัวหน้าสายนั้นก็ยังสนทนาไม่ได้กับครูต่างชาติ แถมปล่อยให้ครูต่างชาติจัดการหลักสูตรไปเองเลย
ต่อไปเราก็จะมีเด็กไทยที่ออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างหลากหลายไม่เหมือนกัน ที่จะแย่ก็คือ เมื่อครูต่างชาติหมุนเวียนเปลี่ยนไป เด็กก็จะได้รับรู้ภาษาอังกฤษแบบคละสำเนียง คละการออกเสียง ไม่มีรูปแบบ ต่อไปคนฟังหรือคู่สนทนาคงจะต้องเงื่ยหูเดาเอา เดี๋ยวเป็นอังกฤษแบบอเมริกัน แบบอังกฤษ แบบเวลส์ แบบออสเตรเลีย แบบฟิลิปปินส์ก็มี แบบกรีกก็มี แบบเม็กซิกันก็มี ฯลฯ ปนเปกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 13 ก.ย. 13, 21:00
|
|
สำหรับภาคอิสานและภาคใต้นั้น ผมสัมผัสน้อยมากในรอบเกือบจะยี่สิบปีที่ผ่านมา จึงมิอาจเห็นภาพที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ชัดเจน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 14 ก.ย. 13, 11:48
|
|
คุณตั้งกลับมาแล้ว ...เรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมรับ AEC คงเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศเราล่ะคะ
แต่เดิมการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนทั่วไปก็ไม่ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน
การเรียนภาษาความจริงเป็นทักษะทางธรรมชาติ คนที่ได้ฟังภาษานั้นๆอย่างต่อเนื่องเป็นธรรมชาติ จะเรียนรู้ภาษาอย่างรวดเร็วแต่เราไม่มีครูที่จะพูดภาษาอังกฤษให้เด็กฟังอย่างต่อเนื่องจนเด็กสามารถจับหลักของภาษาได้
เราเริ่มจากการอ่านที่กระท่อนกระแท่น สำเนียงไม่ชัดเจน แล้วก็เรียนไวยากรณ์แบบท่องจำในใจ เด็กไม่เคยได้ยินเสียงก็จะออกเสียงไม่ถูก ก็เลยขาดความเชื่อมั่น ทั้งหมดนี้ก็เพราะเราสอนภาษา แต่ทฤษฎี จากการท่องจำ ทั้งสิ้น
ปัจจุบันผู้ปกครองที่มีฐานะที่จะเลือกโรงเรียนให้ลูกหลานได้เต็มที่ เขาจะส่งไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์กัน เพราะสิ่งแวดล้อมจะช่วยเด็กในเรื่องการเรียนภาษามากกว่า...เด็กเหล่านี้เก่งภาษาอังกฤษและภาษาอื่น แต่จะอ่อนภาษาไทย กลายเป็นพูดภาษาไทยที่ลึกซึ้งไม่ได้ ไม่เข้าใจ นานเข้าเขาก็จะอึดอัดแล้ว ถอยออกไปจากสังคมไทย ไปรวมกลุ่มกับเด็กแบบเดียวกัน ไม่สนใจสังคมไทยอีกเลย แล้วมุ่งไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ไปทำงาน ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ แล้วประเทศไทยจะได้อะไรจากบุคคลรุ่นใหม่เหล่านี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีทรัพยากรอยู่ในมือมากกว่า เด็กในชนบท แต่มีชีวิต ความคิดห่างไกล้จากความเป็นไทยมากขึ้นทุกที
ในที่สุดก็ต้องกลับไปดูที่การจัดระบบการศึกษาที่นับวันจะสับสน วุ่นวาย จนคนที่มีอาชีพครูจริงๆ ยังออกปากบ่นว่า เหนื่อยเหลือเกินกับการเป็นครูในเมืองไทย
ส่วนการจ้างคนต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษ นั้นเป็นปัญหามานานมากแล้ว อย่างที่คุณตั้งเอ่ยไว้นั่นแหละค่ะ และจะยังคงเป็นเช่นนั้นอีกนาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 14 ก.ย. 13, 19:53
|
|
ครับ ภาพมันก็เป็นดังที่คุณพวงแก้วว่าไว้
เมื่อมีการใช้ภาษาอังกฤษผสมผสานอยู่ในการสนทนามากขึ้น ก็เกิดมีคำใหม่เกิดขึ้น เช่น โอ (เค) ใหม, สองวิ(นาที), ชิวๆ ฯลฯ ผมเห็นว่านอกจากจะเป็นคำตามสมัยนิยมแล้ว คำที่ยกมาเช่นดังตัวอย่างนี้ ก็คงจะยังใช้กันไปอีกนานเลยทีเดียว
เมื่อ AEC ได้เกิดขึ้นสักระยะหนึ่งแล้ว ผมว่าคงมีอีกหลายคำภาษาอังกฤษแบบไทยที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะคำที่นักท่องเที่ยวต้องใช้กันเป็นประจำ เช่น โรงแรม_hotel_ซึงต่อไปอาจจะเหลือเพียง โฮ เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 14 ก.ย. 13, 20:33
|
|
อีกสภาพหนึ่งที่ผมได้สังเกตมานานสักระยะหนึ่งแล้ว ได้แก่ การออกเสียงคำต่างๆที่กำลังเปลี่ยนไป ที่เห็นได้ชัดมาก คือ การออกเสียงคำว่า ค่ะ ของเด็กผู้หญิง ก็เปลี่ยนเป็นเสียงใกล้ๆ เคอะ หรือจะกำลังเข้าสู่สภาพสะกดอย่างหนึ่ง ออกเสียงอีกอย่างหนึ่ง มีอีกครับ ยังนึกไม่ออก ทั้งนี้ ผมไม่หมายรวมถึงการออกเสียงคำที่คนในภูมิภาคต่างๆเขาพูดกันเป็นปรกติ เช่น แก้ว เก้า ที่ออกเสียงสั้นก็มี ออกเสียงยาวก็มี หรือ ภูเก็ต ที่ออกเสียงใกล้จะเป็น ภูแก็ต ก็ดี
อีกเรื่องหนึ่ง ตัวอักษรที่ใช้สะกดท้ายคำที่เขียนแทนภาษาต่างประเทศ ถูกออกเสียงเปลี่ยนไป เช่น เสียง ส ก็กลายเป็น ด เลยเป็นผลทำให้การพูดหรือการออกเสียงภาษาอังกฤษผิดเพี่้ยนไป เช่น รถบัส(ซ...) กลายเป็น รถบั๊ด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 14 ก.ย. 13, 20:36
|
|
อีกสภาพหนึ่งที่ผมได้สังเกตมานานสักระยะหนึ่งแล้ว ได้แก่ การออกเสียงคำต่างๆที่กำลังเปลี่ยนไป ที่เห็นได้ชัดมาก คือ การออกเสียงคำว่า ค่ะ ของเด็กผู้หญิง ก็เปลี่ยนเป็นเสียงใกล้ๆ เคอะ หรือจะกำลังเข้าสู่สภาพสะกดอย่างหนึ่ง ออกเสียงอีกอย่างหนึ่ง มีอีกครับ ยังนึกไม่ออก ทั้งนี้ ผมไม่หมายรวมถึงการออกเสียงคำที่คนในภูมิภาคต่างๆเขาพูดกันเป็นปรกติ เช่น แก้ว เก้า ที่ออกเสียงสั้นก็มี ออกเสียงยาวก็มี หรือ ภูเก็ต ที่ออกเสียงใกล้จะเป็น ภูแก็ต ก็ดี
อีกเรื่องหนึ่ง ตัวอักษรที่ใช้สะกดท้ายคำที่เขียนแทนภาษาต่างประเทศ ถูกออกเสียงเปลี่ยนไป เช่น เสียง ส ก็กลายเป็น ด เลยเป็นผลทำให้การพูดหรือการออกเสียงภาษาอังกฤษผิดเพี่้ยนไป เช่น รถบัส(ซ...) กลายเป็น รถบั๊ด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 14 ก.ย. 13, 21:26
|
|
การเพี้ยนเสียงคำจากภาษาต่างประเทศ ญี่ปุ่นก็คงมีอยู่ไม่น้อย คุณตั้งคงพอจะเทียบได้ว่าเสียงบางเสียงของต่างชาติ ลิ้นญี่ปุ่นก็ออกเสียงไม่ได้จริงๆ ก็ต้องลากให้เข้ากับเสียงของเขาที่มีอยู่แล้ว ตัวสะกดของเรามีเสียงแค่ ง น ม ย ว และ ก ด บ พอเจอตัวสะกดออกเสียง s l z บัซเลยกลายเป็นบั๊ด ใครตั้งชื่อลูกชายว่าน้องบอล ก็มักจะถูกออกเสียงว่า บอน ไปเสียแทน น้องจิลก็เป็นน้องจิน น้องบิลเป็นน้องบิน ถ้าน้องจอย น้องแจ๊ค น้องเจมส์ละก็พอไหว ลิ้นคนไทยออกเสียงได้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 14 ก.ย. 13, 22:21
|
|
อืม์ ใช่ครับ กลับมาลองยกตัวอย่างคำว่า รถบัส หากเราเขียนเสียใหม่ว่า รถบัซ มันก็จะเป็นการบังคับให้เราต้องอ่านออกเสียงได้ใกล้เคียงขึ้นใหมครับ แฮ่ๆ แหกกฎเกณฑ์กติกาเรื่องตัวสะกดของเราออกไปเลย  แต่ธรรมชาติของภาษามันก็ต้องมี evolution เป็นไปได้ใหมครับ ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 14 ก.ย. 13, 22:34
|
|
รถบัซ ถ้าเป็นสมาชิกเรือนไทย ดิฉันว่าออกเสียง ส หรือ s ได้ทุกคนค่ะ แต่ถ้าเป็นชาวบ้านที่ไม่คุ้นกับเสียง s ยังไงก็ออกไม่ได้ คำว่า Police ก็ยังออกเสียงว่า โปลิด กันอยู่ทุกวันนี้ จนเป็นเสียงที่ถูกไปแล้ว ไม่มีคนไทยออกเสียงว่า โพลีซซซซซซซ
เสียงภาษาอังกฤษบางเสียงไม่มีในภาษาไทย อย่างเสียง th เราก็ออกเป็น ด บ้าง ท บ้าง เท่าที่จะใกล้กับเสียงพยัญชนะของเราได้ จนต้องปลงเสียแล้วว่า ภาษาในประเทศหนึ่งยังไงก็ต้องกลายเสียงเมื่อออกโดยคนในอีกประเทศหนึ่ง แต่มันก็น่าสนุก ที่จะติดตามคุณตั้งแกะรอยไปว่า AEC ก่อให้เกิดภาษาใหม่ยังไงแบบไหนบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 15 ก.ย. 13, 17:04
|
|
การออกเสียงในภาษาใดๆก็ตาม ผู้เรียนต้องได้ยินภาษนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะจากเจ้าของภาษาที่ออกเสียงได้ถูกต้อง สมองจะบันทึกและเมื่อต้องออกเสียงก็จะชัดเจน เอวโโยอัตโนมัติ เหมือนการฟังเพลงซ้ำๆ ในที่สุดเราก็จะร้องเพลงนั้นๆได้
แต่ถ้าผู้ร้องต้นแบบออกเสียงเพี้ยน เช่น ฉ เป็น ช ฉันเป็นช้าน เดี๋ยวนี้ฟังเด็กรุ่นใหม่ร้องเพลงแล้ว เหนื่อย เพราะบางทีฟังไม่รู้เรื่องจริงๆ เขารับเอาเสียงที่เพี้ยนนั้นมาเป็นความทันสมัย ก็จบกัน
ในอนาคตถ้าเราไม่ตระหนักถึงการออกเสียงที่ถูกต้องก็คงจะถูกกลืน ขนาดรุ่นๆพวกเรา ยังบอกได้ว่าเสียงที่ได้ยินสมัยเราเด็กๆ กับเสียงที่ได้ยินปัจจุบันมีความแตกต่างกันชัดเจนขนาดนี้ รุ่นต่อจากเราคงจะมีความเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นตามการหมุนของสังคมที่เข้ามาทับซ้อนกันมากขึ้น ก็เป็นเรื่องของอนาคตล่ะคะ นักภาษาศาสตร์คงจะบันทึกเอาไว้แล้ว
ภาษาไม่เคยหยุดนิ่ง แต่เปลี่ยนไปอย่างช้าๆ ตามสิ่งที่เข้ามาในสังคม สิ่งไหนแข็งแรงกว่าก็ ครอบงำสิ่งที่อ่อนแอกว่า ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 15 ก.ย. 13, 20:44
|
|
คิดต่อไปในอีกมุมหนึ่ง
การออกเสียงของมนุษย์นั้นเราสามารถจะฝึกได้ เด็กเล็กได้รับการฝึกมาทั้งจากการฟังด้วยตัวเองแล้วพยายามเลียนแบบ จากการถูกสอนโดยพ่อแม่ ซึ่งต่อมาก็ถูกปรับแต่งเสียงให้ชัดเจนโดยครู และจากการเปล่งเสียงปละปรับแต่งด้วยตนเอง ผมไม่ทราบว่าการฝึกออกเสียงให้ถูกต้องได้โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์เครื่องมือที่วุ่นวายนั้น เราสามารถจะทำได้ถึงประมาณอายุเท่าไร ซึ่งก็เชื่อว่าทำได้ถึงวัยเบ็ญจเพศแน่นอน ดังนั้นในวงการศึกษา เราจึงสามารถเข้มงวดได้ทุกระดับจนถึงอุดมศึกษา แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาภาระไปโยนให้กับอาจารย์ภาควิชาภาษา เพราะในวิชาอื่นๆทั้งหมดและในทุกสาขาวิชาต่างก็ต้องมีการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษในการสอนกันอยู่แล้ว ประเด็นอยู่ที่อาจารย์นั่นแหละที่ออกเสียงไม่ถูกบ้าง ไม่ชัดบ้าง ลูกศิษย์ก็ลอกเลียนตาม ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่สำหรับการออกเสียงศัพท์ทางเทคนิค ผิดเพี่ยนไปแล้วเดาเอาได้ยากมาก ไม่เหมือนกับศัพท์ที่ใช้ตามปรกติในชีวิตประจำวันที่เดาได้ไม่ยาก
ที่ได้กล่าวถึงสื่อมาแล้ว ในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันนี้ คนไทยเกือบจะทั้งหมดดูทีวีจากระบบดาวเทียม คนที่ใช้เวลาเฝ้าดูมากที่สุดก็จะเป็นเด็กและคนในวัยหนุ่มสาว ซึ่งด้วยระบบนี้ การลอกเลียนจากสื่อและพิธีกรเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ดังนั้น หากเพียงคนในแวดวงนี้ทั้งระบบ (สอน เรียน ทำงาน) ได้ช่วยกันทำให้มันถูกต้อง ก็จะช่วยทำให้การใช้ภาษา การออกเสียง ฯลฯ เป็นไปอย่างค่อนข้างจะถูกต้องอย่างที่มันควรจะเป็น
เลยเถิดข้ามเส้นเขตแดนประเทศออกไป คนรอบบ้านเราก็ดูทีวีของเรา เรียนรู้การออกเสียง การใช้ภาษาจากทีวีเหล่านี้ แล้วเขาเหล่านั้นก็เข้ามาทำงาน มาดูแลลูกเด็กเล็กแดงของคนไทยเรา ภาษาไทยก็คงหนีไม่พ้นที่จะเปลี่ยนไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 15 ก.ย. 13, 21:10
|
|
ผมไม่ทราบเหมือนกันว่า ในอนาคต จะมีการพัฒนาอักขระหรือวิธีการเขียนสำหรับคำที่ไม่ใช่ภาษาไทย เพื่อให้มีการออกเสียงได้ใกล้เคียงหรือไม่ ในภาษาญี่ปุ่นมีการใช้อักษร Katakana สำหรับคำจากภาษาอื่น เพราะว่าการจะเอาเสียงจากตัวอักษรจีน (Kanji) มาเรียงกันเพื่อให้เป็นการออกเสียงคำของภาษาอื่นนั้น จะกลายเป็นต้องท่องจำชุดของตัวอักษร Kanji หลายตัวเพียงเพื่อบอกถึงคำๆหนึ่งในภาษาอื่น แถมเสียงก็ไม่ตรงอีกด้วย (แม้ว่า Katakana เองก็ออกเสียงไม่ตรงตามคำในภาษาอื่นเช่นกัน มีแต่ใกล้เคียงมากๆ) เซนเซทั้งหลายครับ ผิดถูกว่ากล่าวได้เลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 15 ก.ย. 13, 21:17
|
|
เอา"Why can't the English learn to speak?" มาปลอบใจคุณตั้งว่าคนอังกฤษก็มีปัญหานี้มาแต่โบราณแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 15 ก.ย. 13, 21:29
|
|
....แต่ถ้าผู้ร้องต้นแบบออกเสียงเพี้ยน เช่น ฉ เป็น ช ฉันเป็นช้าน เดี๋ยวนี้ฟังเด็กรุ่นใหม่ร้องเพลงแล้ว เหนื่อย เพราะบางทีฟังไม่รู้เรื่องจริงๆ เขารับเอาเสียงที่เพี้ยนนั้นมาเป็นความทันสมัย ก็จบกัน...
ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะกลายเป็นสิ่งที่ได้เจอะเจอในอนาคต อีกหน่อยมาตรฐานอาจจะเป็น ช้านล๊ากเธอ ก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 15 ก.ย. 13, 21:35
|
|
ในภาษาญี่ปุ่นมีการใช้อักษร Katakana สำหรับคำจากภาษาอื่น เพราะว่าการจะเอาเสียงจากตัวอักษรจีน (Kanji) มาเรียงกันเพื่อให้เป็นการออกเสียงคำของภาษาอื่นนั้น จะกลายเป็นต้องท่องจำชุดของตัวอักษร Kanji หลายตัวเพียงเพื่อบอกถึงคำๆหนึ่งในภาษาอื่น แถมเสียงก็ไม่ตรงอีกด้วย (แม้ว่า Katakana เองก็ออกเสียงไม่ตรงตามคำในภาษาอื่นเช่นกัน มีแต่ใกล้เคียงมากๆ) เซนเซทั้งหลายครับ ผิดถูกว่ากล่าวได้เลยครับ
อักษรคะตะคะนะออกเสียงเหมือนกับอักษรฮิระงะนะ เทียบกันตัวต่อตัวเลย มีไว้เพียงเพื่อให้ทราบว่าคำนั้นมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้นเอง ว่ากันตามจริงก็เกินความจำเป็นไป 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|