เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 11
  พิมพ์  
อ่าน: 92956 ภาษาไทยในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 25 พ.ค. 15, 18:32

ไป ตจว.ในครั้งนี้ ก็ได้สัมผัสกับภาษาไทยที่ภาษาต้นแบบอ่านออกเสียงอย่างหนึ่ง ถอดเสียงเขียนออกมาเป็นภาษาไทยตามหลักวิชาอย่างหนึ่ง ออกเสียงในการพูดคุยกันอย่างหนึ่ง ซึ่งสะกดเป็นภาษาตามเสียงภาษาไทยที่เปล่งเสียงออกมาในอีกรูปหนึ่ง

ผมแทบจะหัวเราะก๊ากออกมาเลย ก็ในขณะที่นั่งทานอาหารอยู่ในร้านแห่งหนึ่ง  ได้ยินเด็กบริกรคนหนึ่งตะโกนบอกเพื่อนเด็กบริกรอีกคนหนึ่งว่า เอา สะไป๊ ด้วย  เพื่อนก็ตะโกนกลับออกมาว่า สะไป๊ใหน สะป๊าย หรือ สะไป๊      คงไม่ต้องอธิบายความต่อนะครับ 

ลักษณะของภาษาไทยเช่นนี้ เราคงได้ยินอยู่เป็นประจำอยู่แล้วในขณะปัจจุบันนี้ ไม่เว้นแม้แต่สื่อของทางราชการและเอกชน แต่เราก็ยังพอจะได้ยินการออกเสียงทึ่ถูกต้องอยู่บ้าง   

ในสภาพสังคมต่อไปข้างหน้า ไทยเราก็จะมีผู้คนจากรอบบ้านและต่างชาติอื่นๆเข้ามาทำงานในระบบเศรษฐกิจของเรามากขึ้นและอาจจะล้นหลาม พวกเขาเหล่านั้นแหละที่จะช่วยกันย้ำและกลบกลืนความถูกต้องของภาษาไทยไป ให้เปลี่ยนไปอยู่ในอีกรูปแบบหนึ่งทั้งการออกเสียง สำเนียง สำนวน และการสะกดคำต่างๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 25 พ.ค. 15, 19:40

ภาษา ก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไปตามยุคสมัย  เป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง แต่การเปลี่ยนไปโดยขาดซึ่งสำนึกของอัตลักษณ์นั้น คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก 

ก็จะขออ้างถึงภาษาอังกฤษที่ตนเองไม่สันทัดว่า   ในภาษาของเขานี้ ความต่างๆๆก็เพียงอยู่ในกรอบของสำเนียง สำนวน เป็นหลักใหญ่ ส่วนเรื่องศัพท์และตัวสะกดนั้นมีค่อนข้างน้อย จะว่าไปก็แยกออกเป็นเพียงสองกลุ่ม คือ แบบอังกฤษ หรือ แบบอเมริกา อาทิ กรณีในเรื่องเดียวกันที่ใช้กันคนละคำศัพท์ก็เช่น lift กับ elevator หรือ dynamo กับ generator   หรือ ในเรื่องเดียวกันแต่สะกดต่างกันก็เช่น tire กับ tyre หรือ defense/offense กับ defence/offence      ส่วนภาษาที่แปลกออกไปจากพื้นฐานจริงมักจะจัดออกเป็นกลุ่มที่เรียกว่า slang เช่น night กับ nite

สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันนี้ ผมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนไปในรูปแบบที่ลงไปถึงรากของภาษาเอาเลยทีเดียว เช่น หากสังเกตนะครับ จะพบว่า คำว่า ครับ ที่เขียนตามป้ายใน ตจว.หลายๆแห่ง มักจะพบสะกดว่า คับ (ผมเห็นแว๊บๆด้วยว่า สะกด คัพ ก็มี)   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 25 พ.ค. 15, 20:04

อ้างถึง
สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันนี้ ผมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนไปในรูปแบบที่ลงไปถึงรากของภาษาเอาเลยทีเดียว เช่น หากสังเกตนะครับ จะพบว่า คำว่า ครับ ที่เขียนตามป้ายใน ตจว.หลายๆแห่ง มักจะพบสะกดว่า คับ (ผมเห็นแว๊บๆด้วยว่า สะกด คัพ ก็มี)
ถ้าคุณตั้งเล่น LINE  จะพบว่าสติ๊กเกอร์สะกดว่า ครัช  ก็มีค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 25 พ.ค. 15, 20:30

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 25 มิ.ย. 15, 20:50

เกิดมีข้อสงสัย  ฮืม

เราได้พยายามสอนหลักภาษาไทยกันมาช้านาน โดยเฉพาะเรื่องของการเขียนการสะกดผิดหรือสะกดถูก คู่ไปกับเรื่องของการออกเสียงที่ถูกต้องของคำสะกดนั้นๆ     
แต่สำเนียงและการออกเสียงคำเดียวกันของคนภาคกลางกับของคนในภูมิภาคนั้นมันต่างกัน อาทิ คำว่า "ถามว่า" คนภาคกลางก็จะออกเสียงอย่างถูกต้องตามหลักภาษาไทยที่เป็นตำรา  คนภาคใต้จะออกเสียงเป็น "ท้ามหว่า"   และคนในภาคตะวันออกและตะวันตกจะออกเสียงเป็น "ถ่ามว้า" (ซึ่งใกล้จะเป็นเสียงมาตรฐานที่เราได้ยินกันทุกวันและทุกแห่งหน)   ฤๅ หลักภาษาไทยจะเป็นจริงเฉพาะที่ ฮืม

ก็นึกไม่ออกว่า เมื่อเข้ายุค AEC ไปแล้ว ไปในคนอีกรุ่นหนึ่ง หลักภาษาและการออกเสียงของภาษาไทย จะแปรเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด   
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 25 มิ.ย. 15, 22:48

อ้างถึง
สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันนี้ ผมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนไปในรูปแบบที่ลงไปถึงรากของภาษาเอาเลยทีเดียว เช่น หากสังเกตนะครับ จะพบว่า คำว่า ครับ ที่เขียนตามป้ายใน ตจว.หลายๆแห่ง มักจะพบสะกดว่า คับ (ผมเห็นแว๊บๆด้วยว่า สะกด คัพ ก็มี)
ถ้าคุณตั้งเล่น LINE  จะพบว่าสติ๊กเกอร์สะกดว่า ครัช  ก็มีค่ะ
ผมคิดว่า สติ๊กเกอร์ ซึ่งประกอบด้วยรูปกร๊าฟฟิกและคำพูด เป็นเพียงสัญลักษณ์สื่ออารมณ์ ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็คงค่อยเลือนหายไป คำว่า ครัช คงมาจาก ครับ แต่บีบส่วนบนของ บ ใบไม้ให้ตีบ เพื่อให้สะดุดอารมณ์เท่านั้นเอง  ภาษาพูดสื่อสารทั่วไป ก็ยังใช้ สวัสดีครับ ขอบคุณครับ เสียใจด้วยนะครับ อยู่ (ทีวีมีช่องมากขึ้น รายการมีมากขึ้น พิธีกรมีมากขึ้น จึงได้ยินคำว่า หวัดดีค่ะ หวัดดีครับ ทักทายผู้ชมผู้ฟังตอนเริ่มรายการจนเป็นธรรมดาไปแล้ว) อยากให้เอาคำว่า สวัสดี กลับมา  ท่านเจ้าคุณอุปกิตฯอุตส่าห์คิดคำทักทายแบบไทยๆ ความหมายงดงามมาให้ใช้ เมื่อประกอบกิริยาพนมมือ ค้อมศีรษะน้อยหนึ่ง ก็คือเอกลักษณ์คนไทยที่รู้จักกันทั่วโลก
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 10:00

คำแสลงบางคำเกิดจาก การพิมพ์ Keyboard ผิดพลาดด้วยครับ แต่ผลที่ออกมาคงเป็นที่ชื่นชอบเลยใช้กันอย่างแพร่หลายต่อๆมา เช่นคำว่า เมพ และ เมพขิงๆ ในหมู่นักเล่นเกมส์ Online คำนี้หมายถึง เทพ คือเป็นผู้เล่นที่มีฝีมือสูง เ-ม-พ ก็มาจากการที่ แป้นพิมพ์ "ม" และ "ท" อยู่ชิดกัน จึงทำให้พิมพ์ผิด ส่วน ขิงๆ ก็คือ จิงๆ (ตัดตัว ร ออก เพื่อให้พิมพ์ได้ไวขึ้น) และ "ข" กับ "จ" ก็อยู่ในแป้นพิมพ์ติดๆกัน เช่นกันครับ คำสักษณะนี้มีอยู่หลายคำครับ 

บางคำอาจเขียนเป็นภาษาอังกฤษ แต่จริงๆเป็นคำไทยที่เกิดจากความพยายามใช้รูปร่างของอักษรโรมัน เพื่อสะกดเป็นคำไทย เช่น คำว่า InW = เทพ iisv = แรง xsoe = หรอย เป็นต้นครับ

บางคำ เกิดจากความพยายามลดทอนคำหยาบคาย ให้หยาบคายน้อยลง เช่น (ขออภัยครับ) สัตว์ คนเล่นเกมส์ก็จะเลี่ยงไปพูดว่า "แสด" แทน บางทีก็ลายเสียงยาวๆ เป็น "แสรรรรด" คำว่า อะไรวะ ก็จะกลายเป็น "อะไรฟระ" มึง ก็จะกลายเปิน "เมิง" เป็นต้นครับ

บางคำใช้เสียงแทนความหมายไปเลยเช่น 555 = หัวเราะ เป็นต้น (คำนี้ นักเล่นเกมส์ชาวต่างชาติก็เริ่มเข้าใจแล้วหละครับ ว่าหมายถึงอะไร)     

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 10:05

ตัวอย่างภาษาสติ๊กเกอร์ไลน์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 10:11

ภาษาสติ๊กเกอร์ไลน์ (ต่อ)


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 19:29

ผมได้มีโอกาสสัมผัสกับเรื่องที่กำลังเกิดขึ้น กำลังขยายวง และพร้อมที่จะกลายเป็นสภาพที่ถาวร   ในญี่ปุ่นครับ

คนญี่ปุ่นนิยมสื่อสารกันด้วยการพิมพ์ข้อความส่งทางโทรศัพท์ พอพิมพ์เสร็จก็กดแป้นให้คำที่พิมพ์นั้นเปลี่ยนไปเป็นตัวอักษรจีน ทำกันจนกระทั่งเริ่มจะเขียนตัวคันจิไม่เป็นกันแล้ว ส่วนเรื่องอ่านนั้นไม่ค่อยจะเป็นปัญหา (แต่ก็ได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว) 

กรณีที่เกิดขึ้นก็คือ การเขียนตัวคันจินั้น มันมีขั้นตอนของการลากเส้น ตั้งแต่เส้นแรกต่อเนื่องไปเส้นที่สอง สาม สี่ ฯลฯ การตวัดเส้นเหล่านี้มีการเรียงลำดับที่เป็นกฎเกณฑ์ ลากขึ้นหรือลากลง และไปทางซ้ายหรือทางขวา ที่เราเห็นเป็นเส้นยุ่งเหยิงนั้นบ้างก็นับเป็นการตวัดเส้นเดียว  คราวนี้ หากไม่แน่ใจในความหมายของตัวอักษรนั้น ก็ต้องเปิดพจนานุกรม  อ้าว..เจ้ากรรมเอ๋ย จะเปิดพจนานุกรมหาคำนั้น ก็จะต้องรู้ว่าการเขียนคำนั้น มีการตวัดเส้นกี่ครั้ง เพราะพจนานุกรมจะแยกคำออกไปเป็นหมวดหมู่ตามจำนวนการตวัดเส้น   

คราวนี้ เมื่อเริ่มลืมวิธีการตวัดเส้นให้เป็นคำคันจิ เพราะเทคโนโลยีทำให้หมด (เพียงกดแป้นมันก็จะเปลี่ยนจากการเขียนคะตาคานะหรือฮิรางานะไปเป็นคันจิได้เลย) จะเปิดพจนานุกรมก็จึงทำไม่ได้ เพราะเหตุดังที่เล่ามา    ก็เลยมีภาพที่ได้เห็นเป็นประจำ คือ มีการถามกันเรื่องตัวเขียนคันจินี้มีกี่ตวัด (stroke)

ไม่ทราบว่าเรื่องลักษณะนี้จะพัฒนาไปเป็นอย่างไรในภายหน้า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 29 ก.ค. 18, 11:08

วันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑

เจ้าหน้าที่ของสถานทูตอเมริกันประจำประเทศไทยร่วมกันทดสอบความสามารถภาษาไทยด้วยวลีปราบเซียน

เขาว่าภาษาไทยไม่ยาก

จริงไหม
 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 29 ก.ค. 18, 13:13

อ้างถึง
สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันนี้ ผมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนไปในรูปแบบที่ลงไปถึงรากของภาษาเอาเลยทีเดียว เช่น หากสังเกตนะครับ จะพบว่า คำว่า ครับ ที่เขียนตามป้ายใน ตจว.หลายๆแห่ง มักจะพบสะกดว่า คับ (ผมเห็นแว๊บๆด้วยว่า สะกด คัพ ก็มี)
ถ้าคุณตั้งเล่น LINE  จะพบว่าสติ๊กเกอร์สะกดว่า ครัช  ก็มีค่ะ
ผมคิดว่า สติ๊กเกอร์ ซึ่งประกอบด้วยรูปกร๊าฟฟิกและคำพูด เป็นเพียงสัญลักษณ์สื่ออารมณ์ ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็คงค่อยเลือนหายไป คำว่า ครัช คงมาจาก ครับ แต่บีบส่วนบนของ บ ใบไม้ให้ตีบ เพื่อให้สะดุดอารมณ์เท่านั้นเอง  ภาษาพูดสื่อสารทั่วไป ก็ยังใช้ สวัสดีครับ ขอบคุณครับ เสียใจด้วยนะครับ อยู่ (ทีวีมีช่องมากขึ้น รายการมีมากขึ้น พิธีกรมีมากขึ้น จึงได้ยินคำว่า หวัดดีค่ะ หวัดดีครับ ทักทายผู้ชมผู้ฟังตอนเริ่มรายการจนเป็นธรรมดาไปแล้ว) อยากให้เอาคำว่า สวัสดี กลับมา  ท่านเจ้าคุณอุปกิตฯอุตส่าห์คิดคำทักทายแบบไทยๆ ความหมายงดงามมาให้ใช้ เมื่อประกอบกิริยาพนมมือ ค้อมศีรษะน้อยหนึ่ง ก็คือเอกลักษณ์คนไทยที่รู้จักกันทั่วโลก
เห็นด้วยค่ะ พิธีกรสมัยนี้บางคนภาษาไทยค่อนข้างแย่ บางคนพูดไม่ชัดมีปัญหาเวลาพูดคำควบกล้ำ บางคนก็คิดคำขึ้นใหม่ตามความพอใจ
มีพิธีกรคนหนึ่งชอบพูดก่อนจบรายการว่า"ลาไปแล้ว"เข้าใจว่าพยายามจะคิดอะไรแหวกแนว แต่ไม่เข้าท่า ฟังเหมือนคนต่างชาติที่ภาษาไทยไม่ดีพอพูดภาษาไทย เดี๋ยวนี้ชักได้ยินบ่อย พิธีกรคนอื่นๆคงนึกว่าเท่เลยเลียนแบบบ้าง เพื่อนดิฉันนั่งดูทีวีอยู่ด้วยกัน เจอพิธีกรพูด"ลาไปแล้ว พบกันใหม่ตอนหน้า" เพื่อนดิฉันพูดต่อทันทีเลยว่า "ลาไปแล้ว แล้วที่พูดอยู่นี่คงเป็นม้า"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 01 ส.ค. 18, 14:14

 รูดซิบปาก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 01 ส.ค. 18, 15:03

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 01 ส.ค. 18, 15:44

ผมคิดว่า จริงๆ ทุกคนทราบว่า อย่างไรใช้ "คะ" อย่างไรใช้ "ค่ะ" เพราะว่าเวลาพูด ก็ไม่ปรากฎว่ามีการพูดผิด หรือออกเสียงผิด

เพียงแต่เวลาเขียนเป็นอักษร มักเขียนกันผิดเท่านั้นแหละครับ แต่ทำไมถึงเขียนผิด ผมเดาว่า คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การผันวรรณยุกต์ มีความคล้ายคลึงกับเสียงดนตรี โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด๊ กล่าวคือ ไล่เสียงจากเสียงต่ำสุด ไปจนถึงบันใดเสียงที่สูงที่สุด

เมื่อ เสียง "คะ" สูงกว่า "ค่ะ" คนจำนวนหนึ่งจึงเผลอเขียนเอาเสียงที่ต่ำกว่าไว้ลำดับแรก คือเสียง "ค่ะ" แต่เวลาเขียน ลำดับแรกต้องเป็นรูปสามัญ ก็เลยเขียน "คะ" แล้วเข้าใจว่า "คะ" ออกเสียงว่า "ค่ะ"

และดัวยตรรกนี้ ลำดับที่สองที่เสียงสูงกว่าจึงเป็น "คะ" แต่ลำดับสองต้องมีวรรณยุกต์ ไม้เอก จึงเผลอเขียนว่า "ค่ะ" แต่เข้าใจว่า "ค่ะ" ออกเสียงว่า "คะ"

งงจังเลยคะ (ออกเสียงว่า งง-จัง-เลย-ค่ะ)

 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง