เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127134 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 420  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 10:10

คุณเพ๊ญ ๆๆ เขามีแบบ ลิปส์ปาล์ม ทาปากด้วย  ขยิบตา ขยิบตา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 421  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 15:00

ขอเชิญคุณ simese พาเพื่อนฝูงย้อนกลับไปชมสะพานสุขตาที่บางปู กับคุณล้วน ควันธรรม
ถ้าคุณเพ็ญชมพูจะเอาซอสศรีราชาไปจิ้มอาหารว่างที่นั่นด้วยก็ไม่ผิดกติกาอันใด


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 422  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 15:09

ขอเชิญคุณ simese พาเพื่อนฝูงย้อนกลับไปชมสะพานสุขตาที่บางปู กับคุณล้วน ควันธรรม
ถ้าคุณเพ็ญชมพูจะเอาซอสศรีราชาไปจิ้มอาหารว่างที่นั่นด้วยก็ไม่ผิดกติกาอันใด


ขอบคุณครับ จะเห็นว่าสะพานสุขตา สร้างด้วยไม้ คลาสสิกมาก ๆ เลย ยิ่งมีนกนางนวลโผบิน ได้บรรยากาศสุด ๆ

http://www.oknation.net/blog/anontaseeha/2012/07/08/entry-1


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 423  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 15:21

จากลิ้งค์โอเคเนชั่นข้างบนนี้ค่ะ
รูปวงดนตรีน่าจะถ่ายประมาณ 2505  เพราะวงสตริงคอมโบ หรือเรียกกันว่าวงชาโด้เกิดขึ้นในยุคนั้นค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 424  เมื่อ 27 ก.ย. 13, 15:23

แต่รูปนี้น่าจะทศวรรษ 2490s   ดูจากแฟชั่นกระโปรงผู้หญิง และกางเกงทรงลุงของผู้ชาย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 425  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 10:21

ค้นหาคำตอบเรื่องคลองบริเวณจุฬาลงกรณ์ มาให้ อา Navarat.C แล้วนะครับ
๑. คลองนางใบ้ จากคลองสวนหลวงวิ่งมายังศาลเทพารักษ์ (จุดเหลือง)

๒. คลองสะพานสูง ด้านทิศเหนือ จากด้านหอพักนิสิต (มาบุญครอง) ลงมาชนที่ตั้งโรงพักพลตระเวนย่อยหัวลำโพง

๓. คลองอุเทน ด้านตะวันออก วิ่งจากโรงพักพลตระเวนย่อยหัวลำโพง ผ่านหน้าคณะสถาปัตยกรรม ไปออกคลองอรชร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 426  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 10:53

รับทราบครับ

เออ แล้วทำไมจึงชื่อคลองอุเทน แล้วมีวิทยาลัยช่างก่อสร้างอุเทนถวายมาตั้งสถาบันขึ้นแถวนั้น ความหมายคืออะไร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 427  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 11:09

รับทราบครับ

เออ แล้วทำไมจึงชื่อคลองอุเทน แล้วมีวิทยาลัยช่างก่อสร้างอุเทนถวายมาตั้งสถาบันขึ้นแถวนั้น ความหมายคืออะไร

คลองอุเทนนั้น เรียกมาก่อนหรือว่าเรียกตามชื่อ "สะพานอุเทน" ประมาณนี้ครับ โดยที่เกี่ยวเนื่องกับสะพานอุเทน

ชื่อ อุเทน เป็นเทวดาดีดพิณ โดยกรมสรรพากรเป็นผู้ใช้ตราประจำกรม ทั้งนี้กรมสรรพากรได้มีการสร้างสะพานข้ามคลองนี้

เพื่อน้อมเกล้าน้อมถวายรัชกาลที่ ๖ เพื่อความเจริญของบ้านเมือง ที่ตัวสะพานทำเป็นตราพระอุเทนดีดพิณ อันเป็นตรากรมสรรพากรครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 428  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 11:13

อ้อ ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 429  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 11:26

ชื่อ อุเทน เป็นเทวดาดีดพิณ โดยกรมสรรพากรเป็นผู้ใช้ตราประจำกรม ทั้งนี้กรมสรรพากรได้มีการสร้างสะพานข้ามคลองนี้

อุเทน ไม่ใช่ชื่อเทวดาดอก แต่เป็นชื่อกษัตริย์แห่งกรุงโกสัมพี มีประวัติอยู่ในหนังสือธรรมบทแปล ภาค ๕ เป็นบทตอนหนึ่ง ซึ่งรวมอยู่ในเรื่อง พระนางสามาวดี ซึ่งนายประพัฒน์ ตรีณรงค์ แห่งกรมศิลปากร ได้เขียนไว้ในหนังสือ ศิลปากร ว่า

พระอุเทนธิราชเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปลันตาปะแห่งกรุงโกสัมพี เมื่อยังอยู่ในพระครรภ์ นกหัสดีลิงค์ได้โอบเอาพระราชมารดาไปปล่อยไว้ที่คาคบไม้ใหญ่ในป่า และได้ประสูติที่นั่นยามรุ่งอรุณ จึงมีพระนามว่า อุเทน แปลว่า รุ่งอรุณที่ปราศจากเมฆหมอก ต่อมาอัลลกัปปดาบส นำไปทำนุบำรุงและ สอนมนต์ชื่อหัสดีกันต์และพิณสามสาย เมื่อดีดพิณและสาธยายมนต์ สามารถทำให้ช้างหนี หรือช้างเข้ามาหาก็ได้ เมื่อพระเจ้าปลันตาปะ สวรรคตพระเจ้าอุเทนทรงนำกองทัพช้างเข้าสู่กรุงโกสัมพี และได้เสด็จขึ้นครองราชย์ นับแต่บัดนั้น

ข้อมูลจาก เว็บกรมสรรพากร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 430  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 11:43

คลองอุเทนนั้น เรียกมาก่อนหรือว่าเรียกตามชื่อ "สะพานอุเทน" ประมาณนี้ครับ โดยที่เกี่ยวเนื่องกับสะพานอุเทน

ชื่อสะพานมีมาก่อนชื่อคลอง มีประวัติดังที่คุณหนุ่มเคยเล่าไว้ดังนี้



หลังจากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ เสด็จสู่สวรรคตในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ ได้หนึ่งปี ได้มีคณะข้าราชการเสมียนพนักงานกรมสรรพากรใน โดยมีพระยารัชฎากรโกศลเป็นหัวหน้า ได้พร้อมใจกันสละทรัพย์รวบรวมเงินได้ถึง ๘,๐๑๕ บาท ๔๐ สตางค์ มีกำหนดการจะนำไปสร้างสะพานอุทิศส่วนกุศลถวายแด่รัชกาลที่ ๕
 
ท่านเจ้าพระยายมราชได้ทูลเกล้าฯ เสนอชื่อของสะพานให้ทรงเลือกถึง ๔ ชื่อ คือ สะพานอุเทนอุทิศ สะพานสรรพากรในอุทิศ สะพานบริวารถวาย สะพานเบญจมราชูทิศ ปรากฎว่าไม่ทรงโปรดทั้ง ๔ ชื่อนั้นเลย แต่ทรงพระราชทานชื่อให้ใหม่ เป็นพระราชกระแสรับสั่งลงมาว่า "ส่วนสะพานของกรมสรรพากรในนั้นให้ชื่อว่า อุเทนถวาย ดูจะกะทัดรัดดี"

นาม "อุเทนถวาย" จึงเป็นนามพระราชทาน และเมื่อเปรียบเทียบกับชื่อ ๔ ชื่อ ที่ทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงเลือกนั้น "อุเทนถวาย" เหตุที่กรมสรรพากรได้นำพระรูปพระเจ้าอุเทนธิราชดีดพิณ มาเป็นเครื่องหมายประจำกรมก็เพราะพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการใช้พิณ และมีมนต์เรียกช้างได้ จึงใช้เป็นสัญลักษณ์ให้มีความหมายเรียกชวนประชาชนให้นำภาษีอากรมาบำรุงรัฐและตามประวัติของกรมสรรพากรยังมีตราพระเจ้าอุเทนธิราชดีดพิณใช้เป็นเครื่องหมายอยู่ ๒ แบบ

ข้าราชการกรมสรรพากรใน ได้ร่วมกันจัดพิธีเปิดสะพานอุเทนถวายเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ หลังจากได้ทำการก่อสร้างสะพานจนเสร็จเรียบร้อย และถ้าจะนับจากวันที่ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามก็เป็นเวลาเกือบ ๒ ปี มีบันทึกถึงพิธีจัดงานไว้ว่าตอนเช้ามีพิธีถวายภัตตาหารพระสงฆ์ เวลาบ่ายพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ตอนเย็นรัชกาลที่ ๖ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งผ่านสะพานเพื่อเป็นสิริมงคลแก่เหล่าข้าราชการทั้งปวงที่ร่วมใจกันจัดสร้างสะพานถวาย

หลังจากเสด็จพระราชดำเนินผ่านสะพานแล้ว ได้มีพระบรมราชโองการให้เปิดไฟฟ้าแสงสว่างประจำถนนหัวลำโพงนอกกับถนนปทุมวันที่ได้ติดตั้งแสร็จพร้อมเปิดใช้งานได้ในวันนี้ด้วย

สะพานอุเทนถวาย เป็นสะพานข้ามคลองเล็กๆตั้งอยู่ที่หัวมุมรั้วของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพอดี มิได้ตั้งติดกับโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายทีเดียวนัก คือยังมีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาคั่นอยู่ลักษณะของสะพานเป็นโครงเหล็ก มีลูกกรงเป็นเหล็กหล่อมีลวดลายงดงามแบบเดียวกับสะพานอื่น ๆที่ได้สร้างในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕

สะพานอุเทนถวาย ได้ถูกรื้อถอนไปเช่นเดียวกับสะพาน "เฉลิม" บางสะพานเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๕ ในยุคกรุงเทพฯ พัฒนา ซึ่งได้มีการถมคลองรื้อสะพานเพื่อขยายถนนให้กว้างขึ้นให้รับกับความเจริญเติบโตของบ้านเมือง แม้ว่าสะพานอุเทนถวายจะไม่มีให้เห็นแล้ว แต่ชื่อของ อุเทนถวายยังคงอยู่คู่กับสถานศึกษาที่มีชื่อว่า "โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย" พัฒนามาเป็น "วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตอุเทนถวาย" พัฒนามาเป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย" และในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็น "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย"

และถ้าเทียบตำแหน่งของสะพานและตึกที่เห็นหลังภาพ เป็นตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  ดังนั้นสะพานนี้ก็อยู่ตรงประตูรั้วจุฬาบริเวณประตูทางเข้าหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 431  เมื่อ 23 ก.พ. 14, 20:46

รูปนี้ น่าจะเรียกว่ายุคคุณทวดได้ เพราะคุณปู่คุณย่าทั้งหลายน่าจะยังวัยเด็กหรืออย่างมากก็วัยรุ่น
ก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  วงดนตรีไทยที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในสังคมมากที่สุดคือวงบิ๊กแบนด์สุนทราภรณ์   มีนักร้องมากมายล้วนแต่มีเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จัก   เพลงสุนทราภรณ์แพร่เสียงอยู่ตามวิทยุ และแพร่ภาพพร้อมเสียงทางทีวี   เป็นรายการสุดท้ายของคืนวันใดวันหนึ่งในเจ็ดวันนี่แหละ ทางช่อง 4 บางขุนพรหม

นักร้องสุนทราภรณ์ดังๆในภาพข้างล่างนี้ ส่วนใหญ่ขึ้นไปขับกล่อมบนสวรรค์กันหลายปีแล้วค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 432  เมื่อ 26 ก.พ. 14, 10:37

คุณยาย  โมชิกา  ลงรูปนี้ไว้ในบอร์ดไร้สังกัด
โมชิกา คือนักเขียนผู้ใช้นามปากกา "จันทรำไพ"
ยายโมรู้จักสนิทกับมนันยาเป็นอย่างดีเห็นถ่ายรูปด้วยกันที่เมืองนอก
รูปนี้ในงานรับน้องใหม่ มีลุงต่วยนั่งอยู่ด้วย
   เหตุเกิดปีไหนไม่บอกไว้

เมื่อพูดถึงสะพานอุเทนถวาย นึกถึงรูปนี้ที่เกิดใกล้ๆกัน



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 433  เมื่อ 26 ก.พ. 14, 11:12

คุณจันทรำไพเคยเรียนคณะสถาปัตยฯ จุฬา   รุ่นไหนไม่ทราบแต่ก่อนคุณ visitna น่าจะแบบไม่เห็นฝุ่น     สมัยเธอแทบจะไม่มีผู้หญิงเรียกถาปัดกันเลย
คิดว่าประมาณพ.ศ. 2500 ต้นๆค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 434  เมื่อ 26 ก.พ. 14, 13:13

เพิ่งทราบว่า คุณยาย Mochica เป็นน้องสาว นายผี ขวัญใจคุณชูพงศ์

ตามคุณยายเล่าไว้ใน พันทิป ว่า

ยายไม่รู้จัก "นายผี" น่ะ
เคยเห็นหน้าหนเดียว  ตอนที่ยายยังตัวกระจิ๋วหลิว
...แค่นั้นเอง

ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกันเท่าไร

อาจมีคล้ายๆกันก็ตรงที่
ยายเข้ากับพวก "ในป่า"  แถวๆถิ่น ละติน
...แค่นั้นเอง



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง