เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127583 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 05:51

มองจากฝั่งนานาใต้ไปตามถนน มีอาบอบนวดชื่อดังฝรั่งถ่ายภาพไว้ เลยไปเห็นตัวโรงแรมชวลิตและป้ายใหญ่ของโรงแรมแมนฮัตตันที่ตั้งอยู่ในซอยถัดไป นี่ก็สร้างรับทหารอเมริกันเหมือนกัน
ที่ว่างก่อนถึงโรงแรมชวลิตคงเป็นของธนาคารกสิกรไทยแล้ว ต่อมาได้สร้างตึกของธนาคารขึ้น ชั้นบนๆเป็นที่ทำการของบริษัทหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 09:16

ไปถึงจังหวัดตราดสุดถนนสุขุมวิท ทางตันแล้ว .. กลับมาเริ่มต้นใหม่

ถนนสุขุวิทหน้าพิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร สมุทรปราการ สมัยที่ยังไม่ได้ก่อสร้างทางยกระดับถนนกาญจนาภิเษก
ที่วงกลมไว้ในภาพ คือจุดบรรจบของถนนทางรถไฟสายเก่าหรือทางรถไฟสายปากน้ำที่มาบรรจบกับถนนสุขุมวิท และขนานกันไปจนถึงเมืองสมุทรปราการ จะเห็นว่าถนนจะโค้งออกทางซ้าย
โค้งนี้หละครับที่เรียกว่า "โค้งเกริก" จนทุกวันนี้ สถิติคนข้ามถนนถูกรถชนตายมั่ง ไม่ตายมั่ง ไม่น้อยหน้าโค้งบางปิ้งกับโค้งโพธิ์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 10:43

ถามลุงไก่ว่า "ซอสพริกศรีราชา" สำหรับไข่เจียว สำหรับฮ้อยจ้อ หรือ ออส่วน มีอะไรเกี่ยวข้องกับอำเภอศรีราชาไหม ลุงไก่
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 13:57

ถามลุงไก่ว่า "ซอสพริกศรีราชา" สำหรับไข่เจียว สำหรับฮ้อยจ้อ หรือ ออส่วน มีอะไรเกี่ยวข้องกับอำเภอศรีราชาไหม ลุงไก่

ซอสพริกศรีาชาก็มีต้นกำเนิดจากที่ศรีราชาสิครับ เหมือนข้าวหลามหนองมนนั่นแหละ มีถิ่นกำเนิดที่ตลาดหนองมน

ถนนสุขุมวิทบริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร สมุทรปราการ ระหว่างการก่อสร้างทางยกระดับถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก



บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 16:14

ไปถึงจังหวัดตราดสุดถนนสุขุมวิท ทางตันแล้ว .. กลับมาเริ่มต้นใหม่

ถนนสุขุวิทหน้าพิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร สมุทรปราการ สมัยที่ยังไม่ได้ก่อสร้างทางยกระดับถนนกาญจนาภิเษก
ที่วงกลมไว้ในภาพ คือจุดบรรจบของถนนทางรถไฟสายเก่าหรือทางรถไฟสายปากน้ำที่มาบรรจบกับถนนสุขุมวิท และขนานกันไปจนถึงเมืองสมุทรปราการ จะเห็นว่าถนนจะโค้งออกทางซ้าย
โค้งนี้หละครับที่เรียกว่า "โค้งเกริก" จนทุกวันนี้ สถิติคนข้ามถนนถูกรถชนตายมั่ง ไม่ตายมั่ง ไม่น้อยหน้าโค้งบางปิ้งกับโค้งโพธิ์

ชื่อโค้งเกริก เพราะอาจารย์เกริก มังคละพฤกษ์มาตั้งวิทยาลัยเกริกที่นี่ บรรยากาศของวิทยาลัยกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมที่เคยเป็นสวนแและลำคลองดีมาก มีบริเวณอยู่ตรงริมหัวโค้งพอดี ทำให้นักเรียนเสี่ยงอันตรายตอนข้ามถนน จึงมีการสร้างสะพานลอยให้นักเรียนเดินข้าม ต่อมาถูกรื็้้้้้้้อไปตอนสร้างแยกต่างระดับสุขุมวิท
แต่เดิมคนรุ่นเก่าเรียกโ้ค้งนี้ว่า โค้งจระเข้ เขาว่ามีศาลหัวจระเข้อยู่แถวนี้ และมีสถานีจระเข้ของรถไฟปากน้ำ
ป.ล. เรียนคุณลุงไก่ว่าไม่ทราบเลยครับเจ้าของหินสวยน้ำใสเรียนสถ.ลาดกระบังรุ่นไหน
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 16:37

ที่จุดตัดถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ตัดถนนสุขุมวิท มีโรงงานประกอบรถยนต์ยี่ห้อดัง 2 โรงตั้งเยื้องเป็นแนวทะแยงผ่านจุดตัด  หนึ่งคือโตโยต้าอยู่แนวตต/น อีกหนึ่งคือเบ๊นซ ของเสี่ยเล็กธนบุรีพานิชย์แนวตอ/ต ทั้งสองเจ้าถูกเฉือนที่แถวขอบๆเพื่อทำ Off ramp ทั้งคู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 16:40

มาช่วยคุณลุงไก่ยกมือตอบอาจารย์หนุ่มสยาม  เรื่องประวัติซอสศรีราชา  เล่าโดยลูกหลานในตระกูลเจ้าของ

แต่เริ่มเดิมทีเขาเรียกว่า น้ำพริกศรีราชา เป็นน้ำจิ้มอาหารต่าง ๆ รวมทั้งเอาไว้ใส่ในก๋วยเตี๋ยวผัด อย่างราดหน้า ผัดซีอิ๊ว

คนแรกที่ได้คิดทำน้ำพริกนี้ขึ้นมาชื่อ กิมซัว ทิมกระจ่าง เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่ตั้งรกรากอยู่ในศรีราชา ญาติเราที่ศักดิ์เป็นป้าเรียกว่า ก๋งกิมซัว แต่ตามลำดับแล้ว เขาเป็นเหล่าก๋งของป้า เพราะเป็น ก๋งของย่าเรา

นายกิมซัวมีอาชีพค้าขาย ออกเดินเรือค้าขายอยู่ในภาคตะวันออก ตอนหนุ่ม ๆ เคยเดินทางไปค้าขายยังเขมร และได้เข้าไปทำการค้าในวังของเจ้าเขมรด้วย เห็นว่าเคยได้หม่อมในวังเจ้าเขมรองค์หนึ่งด้วย (ท่ีบ้านเขานินทาบรรพบุรุษกันอย่างนี้เลย)

สมัยนั้นทั้งเขมรและเวียดนามตกภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ในกัมพูชาจึงมีคนเวียดนามที่คนฝรั่งเศสอพยพมาอยู่เยอะ นายกิมซัวไปเห็นคนญวนเอาพริกหมักน้ำส้มสายชูมาบดละเอียดแล้วกลายเป็นน้ำพริกที่เนื้อเนียนเข้ากันดี เห็นแล้วติดใจเลยไปดูคนเวียดนามเขาทำน้ำพริกชนิดนี้ ตอนกลับมาศรีราชาก็นำกรรมวิธีการทำน้ำพริกมาดัดแปลงให้ถูกปากคนในครอบครัวที่เมืองไทย กลายเป็นอาหารประจำบ้านไป

นอกจากนี้ยังได้ดัดแปลงอาหารญวนที่น้ำเอาแผ่นแป้งก๋วยเตี๋ยวมาห่อผักชนิดต่าง ๆ แล้วมีน้ำจิ้มเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ ราด กลายมาเป็น ก๋วยเตี๋ยวบก อาหารประจำครอบครัว ที่ต่อมามีคนเอามาดัดแปลงแก้ไข ไปในรูปแบบต่าง ๆ

แต่เนื่องจากศรีราชาเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ คนไปมาหาสู่กันบ่อย ๆ คนส่วนใหญ่ก็จะติดใจกับน้ำพริกสูตรนายกิมซัว ทำให้มีคนมาขอไว้เพื่อเอาไปกินที่บ้าน หลังจากนั้นต่อมา ลูก ๆ หลาน ๆ ก็เห็นว่าน่าจะทำเป็นธุรกิจได้ จึงตั้งหลักทำน้ำพริกกันในเขตบริเวณบ้าน เริ่มมีการหมักน้ำพริกปริมาณมาก ๆ ในโอ่ง จากอาหารประจำบ้าน จึงกลายเป็นธุรกิจในครัวเรือน

ต่อมาก็เห็นลู่ทางการค้าขึ้นในบรรดาลูกหลาน ก็จะแบ่งเป็นสองสาย สายหนึ่งทำขายในชื่อว่า น้ำพริกศรีราชา ตราภูเขาทอง เพื่อเป็นเกียรติกับบรรพบุรุษคือ ก๋งกิมซัว (กิมซัว ภาษาจีนแต้จิ๋วแปลว่า ภูเขาสีทอง) และใช้ฉลากเป็นรูปภูเขาทองวัดสระเกศ ในสมัยก่อนยังไม่มีกฎหมายจดทะเบียนการค้า ทำให้เอาโบราณสถานมาเป็นตราการค้าได้ ส่วนอีกสายหนึ่ง มีญาติเราชื่อ ย่าถนอม ทิมกระจ่าง (ต้องไปสืบก่อนว่าญาติฝ่ายไหน) เอาไปทำเป็นการค้าภายใต้ชื่อ ศรีราชาพานิช

ขวดแบบใหม่ เดี๋ยวนี้หาซื้อขวดแบบเก่าที่เป็นทรงเหล้ากลมไม่ได้แล้ว

สำหรับซอสศรีราชาตราภูเขาทองนั้น ในยุคแรกที่วางขายนั้น จะบรรจุอยู่ในขวดขนาดเท่าเหล้าขวดกลม มีความเผ็ดสามระดับ และมีภาษาจีนกำกับ ต่อมา ก็ได้เริ่มเอาไปวางขายที่อเมริกา เริ่มแรกที่ซาน ฟรานซิสโกก่อน จนติดตลาดในร้านของชำและซุเปอร์มาร์เก็ตเอเชียในแคลิฟอร์เนีย จนกระทั่งมีบริษัทผลิตเครื่องปรุงเอเชียของอเมริกาได้พยายามผลิตซ้อสศรีราชาเพื่อแข่งกับสินค้านำเข้า จนปัจจุบันซ้อสยี่ห้อนั้นติดตลาด ในชื่อของ Sriracha Hot Sauce ที่มีตราไก่เป็นสัญลักษณ์

ส่วนซอสศรีราชาพานิช ถูกซื้อกิจการโดยบริษัทไทยเทพรส ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เดิมคือซีอิ๊วกับซอสปรุงรสยี่ห้อภูเขาทองอยู่แล้ว แต่ชื่อก็ยังเรียกว่าศรีราชาพานิชอยู่ แต่ตราภูเขาทองของบริษัทนี้เป็นรูปภูเขาสีทอง ไม่ใช่ภูเขาทองวัดสระเกศ

ตอนนี้ซอสศรีราชาก็มีหลากหลายยี่ห้อมากขึ้น รสชาติเพี้ยนบ้าง ปะปนกันไป แต่สำหรับคนที่อยากรู้ว่ารสชาติดั้งเดิมเป็นยังไงให้ลองหาตราภูเขาทองมากิน แต่หาค่อนข้างยากหน่อย ส่วนศรีราชาพานิชที่ขายไปนั้น ญาติที่เขาทำตราภูเขาทองบอกว่ารสชาติเพี้ยนแล้ว ส่วนยี่ห้ออื่น เราไม่เคยกิน มีความพยายามที่จะทำซอสศรีราชาเป็นสินค้าโอท็อป แต่ก็ไม่รอด เพราะคนทำไม่รู้สูตร และซอสศรีราชาไม่เคยทำเป็นโรงงานในตัวอำเภอศรีราชาเลย ตัวโรงงานที่ทำเคยมีอยู่แถววงเวียนใหญ่ (เมื่อก่อนเราไปวิ่งเล่นบ่อย ๆ) แล้วก็ย้ายไปราชบุรี (เพราะผลิตโอ่งไว้หมักพริก – อันนี้เราคิดเอง)

สุดท้าย แล้วเรามาเกี่ยวกับน้ำพริกศรีราชาได้ยังไงเหรอ นายกิมซัวมีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ นางเพิ่ม นายกิมซัวนั้นให้ไปแต่งงานกับขุนจักกะพากพานิชกิจ (ต้นตระกูลจักกะพาก) ซึ่งเป็นพ่อหม้าย เนื่องจากน้องสาวนายกิมซัวซึ่งเป็นภรรยาเสียชีวิต หลังจากนั้นนางเพิ่มก็มีบุตรสามคน คนสุดท้องคือย่าเรา ย่าราตรีเป็นลูกนอกพินัยกรรม คือพี่ ๆ ได้ส่วนแบ่งไปหมดแล้ว ย่าราตรีเลยได้ทรัพย์สินที่เพิ่งหาได้หลังจากแบ่งพินัยกรรม (ซึ่งออกมาเยอะกว่าเพื่อน)

สังเกตว่าตราภูเขาทองเป็นรูปภูเขาทองวัดสระเกศ ภาษาอังกฤษเรียก Grand Mountain

ส่วนเรื่องทำน้ำพริกเป็นกิจกรรมในครัวเรือนของทางตระกูลทิมกระจ่าง แต่ย่าค่อนข้างสนิทกับแม่ (ทวดเพิ่ม) และก็ญาติฝ่ายแม่ เราก็เลยคุ้นเคยกับญาติฝั่งนู้นไปด้วย ปัจจุบันที่บ้านเราจะเรียกกันว่าน้ำพริกศรีราชา และจะบอกให้คนอื่นเรียกว่าน้ำพริกตามชื่อเดิม เราก็อนุรักษ์นิยมโดยการเรียกน้ำพริกไปด้วยเลย แต่หัวเรื่องเราเขียนว่าซอสพริกศรีราชา ซึ่งคนจะรู้จักในชื่อนี้มากกว่า จะได้ไม่งง

มันจะมีอีกหลายยี่ห้อ ซอสยี่ห้อโกศล ยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ เราไม่ได้ถามญาติเลยว่าเป็นญาติกันหรือเปล่า แต่รู้สึกว่าไม่น่าจะใช่ เพราะเห็นพูดแค่สองยี่ห้อนี้เองอะ


http://paworn.wordpress.com/2012/01/23/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2/
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 17:57

อ้างถึง
ป.ล. เรียนคุณลุงไก่ว่าไม่ทราบเลยครับเจ้าของหินสวยน้ำใสเรียนสถ.ลาดกระบังรุ่นไหน
จำได้ว่าลุงไก่ถามถึงคือเจ้าของหินสวยฟ้าใสนะครับ

ส่วนเจ้าของหินสวยน้ำใสเป็นสถาปนิกจุฬาทั้งคู่ ภรรยาน่ะรุ่นพ้ม สามีน่ะรุ่นพี่ก่อนหนึ่งปี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 18:00

อ้างถึง
อ้างถึง
อ้างถึง
ระยะทางจากทองหล่อ(สุขุมวิท ๕๕) ถึงพระโขนง  สมัยก่อนชาวย่านนั้นเดินกันชิลๆ ค่ะ  พระโขนงมีตลาดใหญ่  มีโรงหนังพระโขนงรามากับพระโขนงเธียเตอร์


จำได้อย่างหนึ่งว่า พระโขนงมีศูนย์การค้าใหญ่ และมีห้างสรรพสินค้าไดมารูของญี่ปุ่นมาตั้งสาขาอยู่ด้วย ห้างนี้ไม่ทราบเป็นอย่างไร เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจประเภทนี้ในเมืองไทยแท้ๆ แต่ไม่สำเร็จสักที่นึง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 18:36

กลับไปแถวนานาใต้ใหม่ เลยขึ้นมาประมาณซอย๘ จะมีหาบเร่ ๘-๑๖ นั่งขายประจำ G.I.ผิวหมึกคนนี้กำลังควักกระเป๋าซื้อทองหยิบของป้าแก

สมัยนี้หาบเร่อย่างป้ายังจะพอเห็นได้มั้ยน้อ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 18:52

เคยเห็นหาบเร่ไข่ปิ้ง  แต่คนหาบไม่ใช่ป้าแก่ๆ อีกแล้ว     เป็นผู้ชายที่ล่ำสันแข็งแรงมาแทนที่
ด้วยความร้อน และแออัดตามถนนหนทาง   ป้าคงเดินทั้งวันไม่ไหว


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 20:07

ที่จุดตัดถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ตัดถนนสุขุมวิท มีโรงงานประกอบรถยนต์ยี่ห้อดัง 2 โรงตั้งเยื้องเป็นแนวทะแยงผ่านจุดตัด  หนึ่งคือโตโยต้าอยู่แนวตต/น อีกหนึ่งคือเบ๊นซ ของเสี่ยเล็กธนบุรีพานิชย์แนวตอ/ต ทั้งสองเจ้าถูกเฉือนที่แถวขอบๆเพื่อทำ Off ramp ทั้งคู่

คุณเล็ก-ประไพ วิริยะประไพกิจ เจ้าของโรงงานบ๊นซ์ธนบุรีประกอบรถยนต์ ท่านเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียรด้วย คนส่วนใหญ่จะทราบเพียงว่าท่านเป็นเจ้าของเมืองโบราณที่บางปูเท่านั้น ท่านฟ้องศาลปกครองให้ระงับการก่อสร้างทางยกระดับ กลัวว่าแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มจะทำให้โครงสร้างองค์ช้างสามเศียรเสียหาย ทางเจ้าของงานต้องปรับแก้แบบก่อสร้างใหม่เ็ป็นเสาเข็มเจาะแทน งานช้าไปเกือบหนึ่งปี และผมก็ถูกบังคับให้ไปทำเสาเข็มเจาะ เพราะพวกคนที่เก่งกว่าเขาไม่อยากจะไปทำ

ตอนนั้นด้านหลังโรงานโตโยต้ายังเป็นป่าจากอยู่เลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 22:20

ย้อนกลับมาที่สุขุมวิทตอนต้นอีกครั้งค่ะ    ยังป้วนเปี้ยนอยู่แถวนี้
 
ที่มาของชื่อซอยบางซอย   http://www.thaigoodview.com/node/87906
        - ซอยนานา (สุขุมวิท ซอย ๔) เป็นชื่อซอยที่มีคนแขกอาศัยอยู่เยอะ ส่วนที่มาของชื่อก็มาจากนามสกุลของ เล็ก นานา อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร   เขาผู้นี้เป็นเจ้าของที่ดินหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร จนได้รับฉายาว่า "ราชาที่ดินกรุงเทพมหานคร"   จากการที่มีที่ดินมากจึงทำให้ซอยหนึ่งในถนนสุขุมวิทได้รับการตั้งชื่อตามนามสกุลตนเอง
       -  ซอยพร้อมพงษ์ (ซอยสุขุมวิท ๓๙) มีประวัติมาจากตระกูลของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช (พร้อม สนิทวงศ์ ) ต้นสกุล "สนิทวงศ์" มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ครั้งเมื่อท่านรับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ - ๖ ได้ซื้อที่ดินบริเวณนี้ และปลูกบ้านไว้เป็นที่พักผ่อนของครอบครัว    พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราชมีพระโอรสธิดาที่เกิดจากหม่อมต่างๆ ทั้งสิ้น 14 องค์ ซึ่งซอยต่างๆ ในละแวกนี้จึงมาจากชื่อพระโอรสธิดา และในส่วนของชื่อซอยพร้อมพงษ์ก็เป็นชื่อของพระโอรสองค์เล็ก ซึ่งน่าจะไปพ้องเสียงกับคำว่า พร้อมพงศ์ ซึ่งเป็นชื่อพระบิดา จึงได้ใช้ชื่อ พร้อมพงษ์ เป็นชื่อซอยหลัก และใช้ชื่อพร้อมต่างๆ เป็นชื่อของซอยรอง ส่วนซอยพร้อมมิตรนั้นไม่ได้เป็นญาติกัน แต่เป็นการตั้งชื่อให้เป็นไปในทางเดียวกันนั้นเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 22:27

มีภาพซอยพร้อมพงค์ในอดีตมาให้ดูด้วยครับ ต้องก่อน๒๕๑๑ เพราะกรุงเทพยังมีสามล้ออยู่เลย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 22:35

น่าอยู่จริงๆ   บรรยากาศเงียบสงบ  ตามบ้านมีต้นไม้ร่มรื่น   
ดูจากรั้ว  ความเป็นอยู่ในยุคนั้นคงมีกินมีใช้ไม่ฝืดเคือง    เจ้าของบ้านจึงปักรั้วไว้หลวมๆ   แสดงว่าแถวนี้ไม่มีโจรไม่มีขโมยให้ต้องป้องกันกันเลยนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง