เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127124 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 12:08

ถัดจากบางปิ้งไป ก็จะถึงคลองด่าน ในสมัย 2480-2499 การเดินทางระหว่างบางปะกง - กรุงเทพ ใช้เส้นทางสุขุมวิทสายเก่านี้ การเดินทางใช้เวลาสองสามวัน และรถโดยสารจะมาหยุดพักครึ่งทางที่คลองด่านนี้. ที่คลองด่านมีวัดบางเหี้ยตั้งอยู่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสมานมัสการหลวงพ่อปาน ผู้สร้างเขี้ยวเสืออันโด่งดัง

เผลอหน่อยเดียวไปถึงระยองแล้ว ยังไม่ได้แวะพัทยา บางละมุง สัตหีบเลย

ที่คุณณลกล่าวว่าการเดินทางต้องใช้เวลาถึงสองวันและต้องแวะพักที่คลองด่านก่อนนั้น ผมเข้าใจว่าคงเป็นการเดินทางด้วยเรือไปตามคลองสำโรงเพื่อไปเมืองบางปะกงและเมืองแปดริ้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องแล่นเรือออกไปทางปากน้ำเจ้าพระยา ลัดเลาะไปตามชายฝั่ง ซึ่งมีคลื่นลมแรง เป็นอันตรายกับเรือเล็ก

ถาวร สุวรรณ อดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เพื่อนสนิทของ สนิท เอกชัย (เรือใบ) ชาวชลบุรี เขียนบันทึกไว้ในหนังสือ "ฝ่าทะเลน้ำหมึก" ไว้ดังนี้

โดยปกติแล้วผมมักจะเข้ากรุงเทพฯ (หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบ พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๘๙) อยู่ค่อนข้างบ่อยเฉพาะวันเสาร์หรือไม่ก็วันอาทิตย์ ออกจากชลบุรีตีสี่ (รถเมล์) เสียเวลารอแพขนานยนต์ที่ท่าข้ามบางปะกง แล้วจึงจะเดินทางต่อเข้าไปจอดที่สามแยก (คงจะหมายถึงแยกเฉลิมบุรีหรือแยกต้นประดู่-ลุงไก่) ผมจะไปดูละครเวทีที่เฉลิมนคร หรืออีกทีก็เฉลิมไทยรอบเที่ยง พอละครเลิกก็กลับมาขึ้นรถที่สามแยก ถึงบ้านก็ราวสองทุ่ม หรือบางทีก็ไปที่พิมพ์ไทย-สยามนิกร ซึ่งอยู่ที่ถนนสีลม ต้องเดินข้ามคลองด้วยสะพานไม้ ผมจะนั่งรถราง ...
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 12:15

ภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดระยอง

อาจารย์ NAVARAT C. แวะผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดก่อนเข้าเมืองระยอง ผมก็ต้องตามหลังไปแวะมั่ง กับอดีตหม้อข้าวที่เคยหล่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่รอดมาถึงทุกวันนี้

โรงงานระยองโอเลฟินส์ริมถนนสุขุมวิทที่ชุดของผมเข้าไปบุกเบิกตั้งแต่ยังเป็นทุ่งกว้างสลับเนินดิน มีแต่แสงแดดกับฝุ่นและโคลนยามเมื่อฝนตกลงมา ต้องนั่งหลบฝนกันตามท่อคอนกรีตมั่ง ตู้ยามมั่ง






บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 15:21

ยังอู้ๆอยู่แถวระยองก็พอได้ครับ
กลับไปในเมืองแวะดูถนนยมจินดากัน สมัยลุงไก่ไปบุกเบิกระยองกับสมัยนี้เห็นจะไม่ค่อยเปลี่ยนเท่าไหร่ ถ้าดูจากภาพนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 15:39

เดี๋ยวนี้คนราย๊องเขาอนุรักษ์ไว้ดี น่าไปเดินเที่ยวฮิ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 15:42

ไม่รู้รูปของใครต่อใครฮิ ขอเอามาโชว์อย่าว่ากันนะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 15:43

สองรูปสุดท้ายแล้วฮิ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 17:57

ภาพถนนยมจินดาในเมืองระยอง บอกตามตรงผมไม่รู้จักเลย คงจะมาพัฒนาการหลังจากที่ผมจากระยองกลับมาทำงานที่กรุงเทพฯ แล้ว

ช่วงที่ทำงานอยู่ที่ระยอง ในวันหยุดถ้าไม่กลับบ้านที่กรุงเทพฯ ก็จะขับรถไปตามถนนเลียบชายทะเลไปเรื่อยๆ จากบ้านเพไปจนถึงหาดแม่พิมพ์ที่อำเภอแกลงระยอง

บางครั้งก็ต่อไปยังเขตจันทบุรี  แล้วก็กลับมาระยองทางถนนสุขุมวิท

ตามถนนเส้นที่ม่วงในภาพแผนที่ วิวทิวทัศน์สองข้างทางสวยดี



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 19:07

ถัดจากบางปิ้งไป ก็จะถึงคลองด่าน ในสมัย 2480-2499 การเดินทางระหว่างบางปะกง - กรุงเทพ ใช้เส้นทางสุขุมวิทสายเก่านี้ การเดินทางใช้เวลาสองสามวัน และรถโดยสารจะมาหยุดพักครึ่งทางที่คลองด่านนี้. ที่คลองด่านมีวัดบางเหี้ยตั้งอยู่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสมานมัสการหลวงพ่อปาน ผู้สร้างเขี้ยวเสืออันโด่งดัง

เผลอหน่อยเดียวไปถึงระยองแล้ว ยังไม่ได้แวะพัทยา บางละมุง สัตหีบเลย

ที่คุณณลกล่าวว่าการเดินทางต้องใช้เวลาถึงสองวันและต้องแวะพักที่คลองด่านก่อนนั้น ผมเข้าใจว่าคงเป็นการเดินทางด้วยเรือไปตามคลองสำโรงเพื่อไปเมืองบางปะกงและเมืองแปดริ้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องแล่นเรือออกไปทางปากน้ำเจ้าพระยา ลัดเลาะไปตามชายฝั่ง ซึ่งมีคลื่นลมแรง เป็นอันตรายกับเรือเล็ก

ถาวร สุวรรณ อดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เพื่อนสนิทของ สนิท เอกชัย (เรือใบ) ชาวชลบุรี เขียนบันทึกไว้ในหนังสือ "ฝ่าทะเลน้ำหมึก" ไว้ดังนี้

โดยปกติแล้วผมมักจะเข้ากรุงเทพฯ (หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบ พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๘๙) อยู่ค่อนข้างบ่อยเฉพาะวันเสาร์หรือไม่ก็วันอาทิตย์ ออกจากชลบุรีตีสี่ (รถเมล์) เสียเวลารอแพขนานยนต์ที่ท่าข้ามบางปะกง แล้วจึงจะเดินทางต่อเข้าไปจอดที่สามแยก (คงจะหมายถึงแยกเฉลิมบุรีหรือแยกต้นประดู่-ลุงไก่) ผมจะไปดูละครเวทีที่เฉลิมนคร หรืออีกทีก็เฉลิมไทยรอบเที่ยง พอละครเลิกก็กลับมาขึ้นรถที่สามแยก ถึงบ้านก็ราวสองทุ่ม หรือบางทีก็ไปที่พิมพ์ไทย-สยามนิกร ซึ่งอยู่ที่ถนนสีลม ต้องเดินข้ามคลองด้วยสะพานไม้ ผมจะนั่งรถราง ...


ถามทางบ้านมาแล้วครับ คือเป็นแบบนี้

ประมาณปี พ.ศ. 249 กว่า ๆ ทางครอบครัวเห็นลู่ทางการเดินทางระหว่าง ท่าไข่ - กรุงเทพ มีการขนส่งไข่เป็ดจำนวนมาก โดยใช้เส้นทางสุขุมวิทสายเก่าผ่านบางปู ไปยังกรุงเทพได้ จึงได้ต่อรถบรรทุกหัวโต ด้านหลังให้คนนั่งได้ แล้วจ้างคนขับรถวิ่งระหว่าง บางปะกง ไปหัวลำโพง วิ่งวันละเที่ยว

ออกรถประมาณบ่ายโมง ถึงหัวลำโพงประมาณบ่ายสี่ บ่ายห้าโมงเป็นต้น โดยจะพักรถแวะทานข้าวกันที่คลองด่าน รถที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารใช้ชื่อ "ศรีสอ้าน" ภายหลังย้ายท่ารถไปแถววัดดวงแข

หลังจากนั้นเมื่อมีการจัดระเบียบการเดินรถในเขตกรุงเทพ จึงไม่ได้วิ่งรถสายนี้ แต่กลับไปวิ่งรับผู้โดยสารระหว่าง แปดริ้ว-เมืองชล แทนครับ

โดยพ้นคลองด่านไป ก็จะเจอ "คลองผีขุด" และ "คลองสอง" และ "ท่าไข่"
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 19:56

และแล้ว ถนนสุขุมวิทที่คุณทวดเคยเห็นก็มาถึงท่อนสุดท้าย
   
ขับรถไปตามสุขุมวิทไปเรื่อยๆ ก็ถึง “จันทบุรี” เป็นจังหวัดที่มีผลไม้อร่อยๆ มากที่สุด ที่มีชื่อมากก็คือ ทุเรียน เงาะ สละ ระกำหวาน ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีพลอยสีสวยๆ อีกมากมาย สุขุมวิทก็ทำให้ “เมืองจันท์” เจริญขึ้นเรื่อยไป

ถ้าขับตะบึงต่อไปอีกก็ถึง “ตราด” มีที่พักตากอากาศดีๆหลายแห่ง และเป็นจุดสำคัญที่จะต่อไปยังกาะสวยๆ อีกหลายเกาะ เช่น “เกาะช้าง” “เกาะกระดาษ” “เกาะกรูด” “เกาะแรด” ฯลฯ ทุกๆ เกาะมีที่พักตากอากาศดีๆ ทั้งนั้น

สุขุมวิทก็ยังมีต่อไปจนถึง “หาดเล็ก” ซึ่งสุดชายแดนไทย-เขมร

และในเวลานั้นใครจะรู้ว่าเวลานี้ ถนนสุขุมวิทจะกว้างออกไปเป็นถนน 6 เลน มีรถลอยฟ้า รถใต้ดินอีก แต่รถก็ยังติดกันมากเหลือเกิน ทำให้เสียเงินค่าน้ำมันปีละหลายหมื่นล้านออกนอกประเทศ (จะแก้ไขอย่างไรดี ช่วยกันคิดด้วยครับ) ผืนนาที่เป็นทุ่งรวงทอง กระต๊อบชาวนาและควาย (เพื่อนแท้ของชาวนา) ก็หายไป กลายเป็นร้านค้า ที่ทำการสูง 30-40 ชั้น คอนโดฯ สูงๆ ก็เกลื่อนไปหมด ไม่น่าอยู่เหมือนเมื่อก่อนเลย และในเวลาต่อๆไปอีก “สุขุมวิท” ที่รักของเราจะเป็นอย่างไร ช่วยกันคิดช่วยกันแก้ไขกันหน่อยครับ

                        อุดมศรี บุรณศิริ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 20:27

ขอแวะที่สวนสน  บ้านเพ ตอนวีคเอนด์สักครั้งนะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 22:31

ย้อนกลับไปหาประวัติของถนนสุขุมวิท จากวิกิพีเดีย ซึ่งไม่รู้ว่าถูกต้องหรือผิดพลาดตรงไหนบ้าง  ถ้าผู้รู้พบข้อผิดพลาด กรุณาแก้ไขให้ด้วยนะคะ

ถนนสุขุมวิท มีวงเล็บว่า (Thanon Sukhumvit)   ไม่ยักเรียกว่า Sukhumvit Street   อาจเป็นเพราะมันยาวมาก บางส่วนก็น่าจะเรียกว่า Highway มากกว่า street
ในประวัติบอกว่า ระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายกรุงเทพมหานคร-หาดเล็ก เป็นเส้นทางคมนาคมหลักเส้นหนึ่งของประเทศไทย เริ่มนับหลักกิโลเมตรที่ 0 จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง โดยได้เริ่มต้นเรียกชื่อถนนสุขุมวิทตั้งแต่กรุงเทพมหานครบริเวณเพลินจิตหลังจากข้ามทางรถไฟสายปากน้ำ ตัดผ่านเขตคลองเตย เขตพระโขนง และเขตบางนา ก่อนเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ ผ่านเข้าสู่จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และไปสิ้นสุดที่จังหวัดตราด ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 (ช่วงตัวเมืองตราดถึงด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่) ได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ทำให้ถนนสุขุมวิทมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 89 กิโลเมตร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 12 ก.ย. 13, 22:34

ถนนสายนี้แต่ก่อนมีชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" เพราะปลายถนนนี้ไปถึงตัวเมืองสมุทรปราการ เปิดใช้งานเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2479 ต่อมาถนนสายนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนสุขุมวิท" ตามราชทินนามของพระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ พระพิศาลสุขุมวิทเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 5 และเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา พระพิศาลสุขุมวิทได้ทุ่มเทในการก่อสร้างทางหลวงสำคัญของประเทศเป็นอย่างยิ่ง คณะรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ตราด ว่า ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493

ถนนสุขุมวิทช่วงต้น ๆ สายที่ผ่านกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตธุรกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตามซอยต่าง ๆ ตลอดแนวถนนสุขุมวิทในช่วงนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งบันเทิงใหญ่ของเมืองอีกด้วย และที่สำคัญถนนสุขุมวิทยังมีแนวระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บท ซึ่งก็คือรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทด้วย โดยวิ่งเหนือถนนสุขุมวิทตั้งแต่สถานีเพลินจิตถึงสถานีแบริ่งหรือสุดเขตกรุงเทพมหานคร และในปัจจุบันได้มีการสร้างส่วนต่อขยายระยะที่ 2 ระหว่างแบริ่ง - สมุทรปราการ โดยส่วนต่อขยายดังกล่าวจะยกระดับถนนสุขุมวิทตลอดเส้นทาง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2559


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 13 ก.ย. 13, 07:39

อ้างถึง
ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 (ช่วงตัวเมืองตราดถึงด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด) ได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ทำให้ถนนสุขุมวิทมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 89 กิโลเมตร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 13 ก.ย. 13, 07:41

ชายแดนระหว่างประเทศไทยกับเขมรครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 13 ก.ย. 13, 08:44

จากประกาศคำแก้ไขชื่อถนนสุขุมวิทนี้ แสดงให้เห็นว่า ในการประกาศครั้งแรกนั้นใช้ชื่อ "ถนนสุขุวิทย์" มี ย การันต์ ซึ่งต่อมาพบว่าเป็นความผิดพลาดในราชทินนามจึงมีการประกาศแก้ไขใหม่ โดยเริ่มประกาศ พ.ศ. ๒๔๙๓ และมีการแก้ไขใน พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นเวลา ๑๐ ปี


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 20 คำสั่ง