เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127570 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 12:41

ท่านอาจารย์เทาชมพูไปเร็วจัง ผมยังงุ่มง่ามอยู่กับคุณหมอศานติกับคุณหนุ่มรัตนสยามเลย
ถ้าเรื่องหมาละก็ รู้ว่ายาว
ป๋มรอป๋าได้ค้าบ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 12:46

ภาพนี้คือปากน้ำ เจอเข้าโดยบังเอิญในกูเกิ้ลค่ะ
เห็นแล้วก็อดนึกถึงชานเมืองกรุงเทพแถวสุขุมวิทไม่ได้

ภาพที่อาจารย์ฯ นำมาลง คือบริเวณหมายเลข ๗ ครับ เชิงสะพานข้ามคลองมหาวงศ์ ใกล้กับสถานีรถไฟมหาวงศ์
ผมยังเสียดายอยู่ทุกวันนี้ที่ไม่ได้ถ่ายภาพซากสถานีเก่าไว้ ที่ยังมีตัวอาคารสถานี หอถังน้ำสำหรับใช้เติมลงในหัวรถจักรอยู่ ปัจจุบันกลายเป็นท่าทรายไปแล้ว

มาพบภาพในอินเตอร์เน๊ตพอดี เลยขอเพิ่มเติมภาพซะเลย ภาพซ้ายเป็นภาพถนนสุขุมวิทฝั่งขาเข้ากรุงเทพ ภาพขวาเป็นภาพฝั่งขาเข้าสมุทรปราการ สะพานที่เห็นคือสะพานข้ามคลองมหาวงศ์




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 13:13

อ้างถึง
ถ้าเรื่องหมาละก็ รู้ว่ายาว
ป๋มรอป๋าได้ค้าบ
กาโต้ของผมมันรออยู่ไหนไม่ทราบ อาจเกิดเป็นคนแล้วตามที่ผมสั่งมันไว้ก่อนตาย แต่บอกมันไปแล้วว่าผมจะไม่ตามมันไปนะ ทางใครทางมัน

ว่าแล้วก็ไปทางสุขุมวิทของจารย์ดมศรีต่อ เดี๋ยวจะห่างกลุ่มหน้าเกินไป ท่านผ่านปากน้ำไปโน่นแล้ว

ขั้นต่อมาทางการก็ตัดถนนสุขุมวิท(ที่เรียกกันว่าตัดถนนนั้นที่จริงคือการสร้างถนนต่อไปนั่นเอง)จนถึงจังหวัดสมุทรปราการ

ต่อมาในช่วงนี้ก็เกิดซอยอโศก (ซอย 21) ไปถึงคลองแสนแสบเท่านั้น ซอยอโศกเป็นซอยเล็กๆ ธรรมดา มีบ้าน ดร.เสริม วินิจฉัยกุล อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง อยู่ติดกับบ้านคุณพระตุลย์ฯ และ พล.ร.ต. ประจวบและคุณหมออัมพิกา พลกล้า (สร้างทีหลัง) กับคุณ(ท่านผู้หญิง) พึงใจ ศรลัมพ์
เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ซอยเสียแล้ว กลายเป็นถนนใหญ่ จราจรหนาแน่น สองข้างถนนก็เป็นอาคารใหญ่สูงๆ เต็มไปหมด ส่วนมากเป็นอาคารพาณิชย์ แต่ขาดแคลนที่จอดรถ ฉะนั้นร้านค้าที่ไม่มีที่จอดรถมักอยู่ไม่ได้

ซอย 23 (ซอยประสานมิตร) สุดซอยเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประสานมิตร เดี๋ยวนี้เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจน์ มีทางเข้าออกหลายทาง ออกทางถนนเพชรบุรีตัดใหม่ก็ได้ ออกทาง”อโศก” ก็ได้ มีนักศึกษามากมาย เจริญมากก่อนถึง ร.ร. เป็นบ้านของ พ.ต.อ. พุฒ บูรณสมภพ อัศวินแหวนเพชร ของ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ และภรรยาของคุณพุฒ ก็เป็นอาจารย์ในโรงเรียนนั้นด้วย ปากซอยประสานมิตรเป็นบ้านหลบภัยสงครามมาจากซอยรองเมืองของคุณพิจิตต ฐิติเวส ซึ่งเป็นดาวดวงหนึ่งในกลุ่มจักรยานกลุ่มใหญ่ของสุขุมวิทเช่นกัน

ปากซอย 22 ริมถนนสุขุมวิท เป็นกรมอุตุนิยมของทหารเรือ ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นสวน “เบญจศิริ” อันสวยงามแล้ว และมี “แอมโพเรียม” เกิดเพิ่มขึ้นอีกด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 13:22

ซอย 26 วอยอารี มีบ้านของ ศ.มรว. แหลมฉาน หัสดินทร และ ศ.เฉลิม รัตนทัศนีย์ อดีตอาจารย์คณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ และบ้านของพระยาบูรณศิริพงษ์ (ประโมทย์ บูรณศิริ) ซึ่งในบ้านนั้นมีงาช้างใหญ่แกะสลักซ้อนกันถึง 3 ชั้น และระบายสีให้เห็นความลึกตื้นของแต่ละชั้น เป็นของเก่าโบราณมาก

ซอย 39 ซอยพร้อมพงษ์ ในซอยนี้มีที่ของครอบครัว ม.ล. พร้อมจิตร ทำให้เกิดซอยแยกชื่อพร้อมหลายซอย เช่น ซอยแยก “พร้อมศรี” “พร้อมใจ” “พร้อมจิตร” ฯลฯ และปากซอยนี้มีร้านอาหารและร้านข้าวต้มอร่อยๆ ซึ่งมีผู้นิยมกันมาก โดยเฉพาะในเวลา 24 น. ล่วงไป (ในสมัยนั้น)


ครูดมศรีลืมซอย๒๔ หรือซอยเกษมไป ในซอยนั้นมีซอยแยกชื่อเมธีนิเวศ หรือพวกบ้านพิชัยญาติที่หัวหิน เป็นบุนนาคสายสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย สืบราชทินนามมาถึงเจ้าพระยาพิชัยญาติ(ดั่น บุนนาค) ท่านขายบ้านแถวสุรวงศ์มาซื้อที่ที่สุขุมวิทนี้ให้ลูกหลานแบ่งกันอยู่หลายสิบหลัง อุ่นหนาฝาคั่งมาก เดินนิดเดียวก็ถึงเอมโพเรี่ยม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 13:30

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2483-2489 รถยนต์ในกรุงเทพฯ ก็มีเพียงหกพันกว่าคันเท่านั้น รถของท่านอดีตนายกรัฐมนตรี คุณหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ทะเบียน 6666 เวลานั้นน้ำมันแพงมากและไม่ใคร่มีด้วย เลยต้องมีการปันส่วนน้ำมันคันละ 10 ลิตรต่อเดือน ราคาน้ำมันเวลานั้นราคาราว 2-3 บาทเท่านั้นเอง แต่ในตลาดมืด 20 ลิตรต่อ 300 บาท คนจึงหันมาขี่จักรยานกันมาก

ถนนสุขุมวิทตอนเย็น ตั้งแต่ซอย 1 จนถึงซอย 49 (ซอยกลาง) จะมีการขี่จักรยานสวยๆ และคนขี่ก็สวยมากๆด้วย ฉายกันเป็นกลุ่มๆ ส่วนมากแต่งตัวกันสวยหยดย้อย และมีบอร์ดี้การ์ด ขี่ตามกันเป็นพรวน(น่าสนุกมากนะ) เหล่าดาราในกลุ่มนั้นก็มี คุณพร้อมจิตร สนิทวงศ์ คุณพร้อมศรี พิบูลย์สงคราม จากซอยไชยยศ คุณ(หมอ)วิภาวี พยุงเวช  คุณ(หมอ)อัมพิกา ศรลัมพ์ และคุณ(ท่านผู้หญิง)พึงใจ ศรลัมพ์ จากซอยอโศก และ คุณพิจิตต์ ฐิติเวส จากซอยประสานมิตร รถจักรยานส่วนมาก็เป็นจากอังกฤษ เช่นยี่ห้อ “รัชวิชเวิต” “ซันบีม” “ฮัมเบอร์”  “ราเล่ห์”  “เฮอร์คิวลิส" ฯลฯ  บางคันแพงๆ ล้อมีเบรกคุม และมีเกียร์ กับที่วัดความเร็วด้วย ในสมัยนั้นรถจักรยานก็ต้องมีทะเบียน คนขี่ก็ต้องมีใบอนุญาตให้ขับขี่ด้วย และต้องไม่ต่อทะเบียนและใบขับขี่ทุกปี น่าเบื่อจัง เพราะมีคนเข้าคิวกันเป็นร้อยๆ
 
พอสิ้นสงครามน้ำมันก็ถูกลง รถยนต์ก็วิ่งมากขึ้น กลุ่มจักรยานสาวสวยก็หมดไป กลายเป็นนั่งรถยนต์เพียวแทนกัน เลยมีรถยนต์หายกันบ่อยๆ พอสงครามสงบ พวกนักเรียนนอกเสรีไทยก็กลับเข้ามา เลยมีการเต้นรำที่สวนอัมพรกันทุกอาทิตย์ ผู้ที่ไปเต้นรำที่สวนอัมพรนั้นส่วนมากรู้จักกัน ผู้ชายบางคนแต่งสากล บางคนแต่ง”ทักซิโด้” ส่วนผู้หญิงส่วนมากประโปรงยาวสีสวยๆ ในการเต้นรำแต่ละครั้งจะขาดเสียมิได้ของกลุ่มดาวจรัสแสงของ”สุขุมวิท”

เวลานั้นในกรุงเทพฯ ห้ามขายอาหารในเขตเทศบาลเกิน 24.00 น. ฉะนั้นพวกชอบเที่ยวกลางคืนและเต้นรำต้องย้ายที่กินข้าวต้มตอนดึก จากตลาดประตูน้ำไปอยู่ที่ปากซอยพร้อมพงษ์ (นอกเขตเทศบาลแล้ว) ดังนั้น สุขุมวิทตอนดึกจึงมี “ทักซิโด้” และ กระโปรงยาวชุดหยดย้อยสีต่าง ๆ เฉิดฉายเกลื่อนสุขุมวิท แถวซอยพร้อมพงษ์ สนุกสนานกันมาก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 13:33

^
^
รู้สึกท่านวิ่งรถเร็ว คงเติมน้ำมันก๊าดโซลีน เร่งคันเริ่งเต็มฝีเท้า  ยิงฟันยิ้ม

มาหยุดรอกินสเต็กโชคชัย ที่ตึกโชคชัย ตึกสูงที่สุดบนนถนนสุขุมวิทก่อนไหม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 13:45

จอดตรงนี้ละกัน
ซอย 49 (ซอยกลาง) ลึกเข้าไปเป็นบ้านของ พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ ยมนาค และอาจารย์ต่อพงษ์ ยมนาค อดีตคณบดี คณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ และใกล้กันนั้นผมมีที่อยู่ 200 ตารางวา จึงลองสร้างบ้านแฝดคู่แรกของกรุงเทพฯ ทำได้เป็นบ้าน 4 หลัง และมีที่พอเป็นสวนที่จอดรถไว้ทุกหลัง พวกโรงพยาบาล “สมิติเวช” มาสร้างขึ้นข้างๆ ที่ของผมที่เป็นบ้านแฝดสองคู่สี่หลัง ทำให้จอแจผมเลยขายไปหมดเลย

ซอย 56 (ซอยนภาศัพท์) ปากซอย 36 ที่ติดกับถนนสุขุมวิทชื่อ “ซอยนภาศัพท์ เพราะสกุลนภาศัพท์มีที่อยู่ในซอยนี้มาก แต่พอเลยเข้าไปออกถนนพระราม 4 กลับมีชื่อ “ซอยแสนสบาย” (แปลกดีนะ)

ซอย 55 (ซอยทองหล่อ) เป็นซอยแคบๆ เพราะมีคูขนานไปด้วย ถนนแย่มาก ผมไปสร้างบ้านหลังหนึ่งในเวลา 4 เดือน แหนบรถผมหักไป 2 ครั้ง แต่ก็เป็นบ้านที่ทำให้ผมมีอาชีพเพิ่มขึ้นอีกคือ เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างที่ไม่ต้องลงทุนเลย แต่ก็ทำได้ดีตลอดมาถึง 19 ปี สร้างบ้านได้ประมาณ 200 หลัง ซอยทองหล่อเดี๋ยวนี้เป็นถนนใหญ่ไปแล้ว มีร้านค้าใหญ่ๆ เต็ม 2 ข้างทาง จราจรก็หนาแน่น มีทางแยกออกไปซอยอื่นอีกมาก

ซอย 63 หรือซอยเอกมัย ยาวออกไปชนคลองแสนแสบเลย มีบ้านอดีตนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์ อยู่ด้วย ซอยแยกเอกมัย 15 ออกไปชนคงอง “เป้ง” ซึ่งในครั้งนั้นคลองกว้าง 12.00 ม. แต่เดี๋ยวนี้เทศบาลทำเป็นลำรางระบายน้ำเป็นกำแพงคอนกรีตทั้งสองข้าง แต่กว่างเพียง 4.00 เมตรเท่านั้น (เป็นไปได้อย่างไร?) เดี๋ยวนี้ซอย 63 นี้กลายเป็นถนนเอกมัย ข้ามคลองแสนแสบไปเชื่อมกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ มีรถเมล์ให้ความสะดวกด้วย และมีซอยแยกเชื่อมซอยทองหล่อ อีกทางก็แยกไปเชื่อมกับซอย 71 เป็นการช่วยการจราจรของถนนใหญ่ให้เบาบางลงบ้าง

เมื่อข้ามสะพานพระโขนงไปก็ไปถึงจังหวัดสมุทรปราการ ก่อนถึงจังหวัดสมุทปราการเล็กน้อยต้องผ่านบ้าน พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ซึ่งเคยเป็น “หัวหน้าคณะปฏิรูป” ของรัฐบาลของเราในสมัยหนึ่ง เมื่อสุขุมวิทถึง  สมุทปราการก็ทำให้จังหวัดรุ่งเรืองเจริญขึ้นทันที รถรางกรุงเทพ-ปากน้ำก็เลิกไป เพราะติดต่อทางถนนสุขุมวิทรวดเร็วและสะดวกกว่า แต่เวลานี้จึงได้คิดว่า ถ้ารถรางยังไม่เลิกหรือจะมีใหม่คงจะช่วยการจราจรดีขึ้นมาก


จารย์ดมศรีลืมซอยสุขุมวิท๓๔ หรือซอยสุภางค์ที่บ้านน้าผมอยู่ที่นั่นได้อย่างไร ปากซอยนี้มีสถาบันชวาลาอันเก่าแก่ตั้งอยู่จวบจนปัจจุบัน เมื่อก่อนเป็นบ้านใหญ่สองชั้น ผมมองจากบ้านน้าเข้าไปหลังบ้านเขา เห็นผู้หญิงเดินๆนั่งๆกันขวักไขว่ พี่ผมบอกพวกเธอเป็นหมอนวด ผมยังคิดว่าโรงพยาบาลนี้แปลกกว่าที่อื่น แต่ไม่นานต่อมาก็หายโง่

หลังบ้านน้าเป็นทุ่งนา มองไปสุดลูกหูลูกตา แต่จะมีรถไฟ(จารย์ดมศรีเรียกรถราง)วิ่งผ่านไปผ่านมาเป็นระยะๆ ได้ยินเสียงชัดเจนเหมือนอยู่ใกล้ๆ
ตรงข้ามซอยสุภางค์เป็นซอยช่องลม สุขุมวิท ๕๑ มีโรงงานทำเค็กและขนมปังทันสมัยใหญ่เบ่อเรื่มตั้งอยู่ ชื่อไซเลอร์ เบเกอรี่ (Seiler's Bakery)ฝรั่งมาจอดรถซื้อกันเยอะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 14:01

สมัยก่อนเท่าที่จำได้ ถนนสุขุมวิทจะมีตึกที่สูงที่สุดในย่านนี้ รู้สึกจะสูงเพียง ๒๔ ชั้นเท่านั้นก็นับว่าสูงที่สุดในกว่า ๔๐ ปีที่ผ่านมา

ตึกโชคชัยออกแบบโดย อ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ

ข้อความจากลุงบ๊อบเล่าเรื่องตึกโชคชัยว่า

เรื่องของโชคชัยสเต๊กเฮ้าส์ เป็นตำนานมานานมาก กล่าวคือ ในช่วงที่เกิดสงครามเวียตนาม มีการสร้างตึกโชคชัยที่สุขุมวิท ด้วยความสูง 26 ชั้น ซึ่งสูงที่สุดในประเทศไทย ก่อนหน้านั้นอย่างเก่งแค่ 7 ชั้น 9 ชั้น แถวเยาวราช พอปี 2511 ก็เปิดดำเนินการ โดยให้รัฐบาลอเมริกันเช่าไป 23 ชั้น เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของสำนักงานภาคพื้นแปซิฟิค โดยมีหน้าที่เพื่อสนับสนุนสงครามเวียตนาม หน่วยงานหลักในตึกโชคชัย คือหน่วยข่าวกรองหรือที่เรารู้จักกันดีวย่า CIA สายลับเดินกันเต็มตึก รวมทั้งศูนย์วิทยุเพื่อการรับส่งข่าวสาร ดังนั้นหลังคาจึงเต็มไปด้วยเสาอากาศวิทยุ และที่เหลืออีกสามชั้นทางเจ้าของตึกก็เก็บไว้ใช้เปิดสำนักงานและมีการเปิด ร้านอาหารเพื่อรองรับเจ้าหน้าที่ในตึก โดยขั้นแรกเปิดร้าน Eddie Coffee Shop ที่ชั้น 25 โดยลูกค้าเป็นพวกทำงานในอาคารทั้งหมด กิจการไปด้วยดี ไปได้สวย ไปด้วยเชลส์

แต่พออเมริกันแพ้สงครามมีการถอนทหารออก ปี 2514 จึงปรับปรุงร้าน Eddie Coffee Shop ใหม่หมด ทำเป็นร้านเคาบอยตะวันตก เปิดใหม่เป็นร้าน Chokchai Steak House เป็นที่ฮือฮามาก และที่ทำให้สเต๊กส์ที่นี่ขายดี ราคาจะถูกกว่าตามโรงแรมใหญ่ พวกเนื้อวัวเป็นวัวที่เขาเลี้ยงเองที่ฟาร์มโชคชัย ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพได้ ตอมาจึงเปิดชั้น 26 ซึ่งเป็นชั้นดาดฟ้า เปิดภัตตาคารเป็นแบบโอเพ่นแอร์ จำลองบรรยากาศแบบฮาวายมาไว้บนยอดตึกสูงที่สุดของไทย ทุกคืนจะมีการแสดงแบบฮาวาย โดยเฉพาะระบำฮูล่าส่ายเอว สุดยอด ใช้ชื่อว่า Hawaiian Roof Garden และเปิดไนท์คลับที่ชั้น 24 เพื่อรองรับนักเที่ยวชื่อ Chokchai Club เป็นสถานที่เต้นรำที่ดังมาก เพราะอยู่สูงที่สุดทำให้เห็นวิวทิวทัศน์ของกรุงเทพยามค่ำคืน พวกคนมีกะตังค์เข้าไปใช้บริการมากมาย ที่โชคชัยคลับมีพวกวงดนตรีดัง ๆ หลายวงมาแสดง Royal Sprite ก็เคยประจำที่นี้ แต่หลังจากเกิดวิกฤตการเงินปี 2524 ทำให้กิจการสะดุด จึงประกาศขายตึกโชคชัยเพื่อชำระหนี้ เชื่อไหมประกาศขายอยู่ร่วมสิบปี ไม่มีคนซื้อ เพราะทุกคนเจอมนสุมทั้งนั้นใหญ่บ้างเล็กบ้าง ผลสุดท้ายขายให้กับ ผู้ที่มีฉายาว่า ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า เป็นแขกชื่อ สุระ จันทร์ศรีชวาลา ผู้เทคโอเวอร์ธนาคารแหลมทองมาสด ๆ ร้อน ๆ และได้ย้ายสำนักงานใหญ่ธนาคารแหลมทองมาไว้ที่ชั้นหนึ่งของตึกนี้

เรื่องของตึกโชคชัย เมื่อก่อนมีโชว์รูมวถยนตร์เปิดดำเนินการที่ชั้น ๆ หนังเจมส์บอนด์ตอน The Man With The Golden Gun มาถ่ายทำในประเทศเทย ฉากขับรถไล่ล่ากันบนถนนเริ่มจากตึกนี้ พระเอกขับรถพุ่งชนกระจกโชว์รูมไปไล่จับผู้ร้าย ตอนนั้นข้าง ๆตึกมีโรงหนังชั้นหนึ่งมาเปิดชื่อโรงหนังไดเร็คเตอร์ ที่นี้แหละที่วงดัง Sherbet (Highway) มาเปิด concert 15 รอบตรงนี้ ภายหลังเปลี่ยนกิจการเป็นร้านเหล้ารขนาดใหญ่ชื่อ RPM ดังอยู่พักแล้วหายไป บอกต่ออีกนิด ข้าง ๆ ตึกโชคชัยเข้าซอย 24 ไปพอเลยปั้มน้ำมันมีที่จอดรถ แล้วเดินข้ามถนนมา ก๋วยเตี๋ยวหมูอร่อยมาก ดังมานาน แต่อย่าไปตอนเที้ยงนะ คนแน่นมาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 14:06

   อย่างที่เคยเล่าว่าสมัยโน้น  (ก่อนยุคมีตึกโชคชัยสิบกว่าปี)   ความเจริญของชานเมืองกรุงเทพหยุดอยู่แค่สะพานพระโขนง   ซอยที่ไกลปืนเที่ยงที่สุดคือซอยเอกมัย  ซอยที่ใกล้กว่านั้นอย่างซอยไปดีมาดีและซอยทองหล่อก็ยังมีทุ่งนาให้เห็นค่อนซอย  ถ้าไม่ได้อยู่แถวปากซอยแล้วเปลี่ยวเอามากๆ  ค่ำลงก็น่ากลัวแม่นาคพระโขนงจะมาเยือนเป็นที่สุด     จึงไม่มีใครอยากไปอยู่          
   ตอนพ่อตั้งใจจะย้ายบ้านไปอยู่ชานเมือง  มีที่ดินบอกขายแถวซอยที่ว่านี้ แม่ยังคัดค้านบอกว่าไกลเกินไป ถ้าจะปลูกบ้านอยู่ ก็มาทำงานไม่ทัน     แล้วก็ยังไกลความเจริญมากด้วย ไฟฟ้าน้ำประปาไม่สะดวกทั้งสองอย่าง
   ซอยไปดีมาดี และซอยทองหล่อ ราคาที่ดินพอๆกัน   แต่ซอยกลางในสมัยโน้นไม่มีใครอยากไปอยู่ เพราะยุคหนึ่งชื่อเสียงไม่ค่อยดีนัก  นัยว่าเป็นแหล่งที่อยู่ของเมียน้อยที่นักการเมืองแอบไปปลูกบ้านซุกซ่อนไว้    และอีกกระแสบอกว่ามีสำนักอย่างว่าไปเปิดที่นั่นด้วย     ที่ดินเลยราคาตก   จริงเท็จอย่างไรไม่ทราบเหมือนกันค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 14:10

^
ต้องไปถามป.อินทรปาลิต พี่ผมพาขับรถเข้าไปสำรวจซอยกลางตามพลนิกรกิมหงวน ลึกเข้าไปเจอแต่สลัม ไม่มีอย่างที่คุณป.กล่าวถึงเลย

ตึกโชคชัยกำลังก่อสร้าง ตึกนี้ทำให้เหล็กรูปพรรณหลายขนาดขาดตลาดในกรุงเทพไปหลายเดือน

จำได้ว่าเมื่อกรุงเทพเกิดแผ่นดินไหวในปี๒๕๑๘  คนที่ทำงานบนตึกโชคชัยวิ่งแข่งกันหนีตายลงบันไดมายืนอยู่กลางถนนสุขุมวิท บาดเจ็บกันไปหลายคน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 14:11

เมื่อก่อนสุขุมวิทไม่มีตึกสูงเลย    จู่เมื่อมีตึกโชคชัยเกิดขึ้น ก็เลยกลายเป็นเสาสูงชะลูดอยู่แห่งเดียวบนถนน  มองเห็นได้ไกลมากเพราะไม่มีอะไรบดบัง    จำได้ว่ามองจากบ้านที่ร่วมฤดี ยังมองเห็นเลย
อเมริกาแพ้สงครามเวียตนามน่าจะประมาณพ.ศ. 2518 ค่ะ  ปี 2514  ทหารยังคึกคักอยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 14:13

^
ต้องไปถามป.อินทรปาลิต

อืมม์ ใช่  คุณ ป. พูดถึงสำนักเจ๊อะไรคนหนึ่งที่สามเกลอไปอุดหนุน   อยู่ที่ซอยกลาง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 14:14

เมื่อก่อนสุขุมวิทไม่มีตึกสูงเลย    จู่เมื่อมีตึกโชคชัยเกิดขึ้น ก็เลยกลายเป็นเสาสูงชะลูดอยู่แห่งเดียวบนถนน  มองเห็นได้ไกลมากเพราะไม่มีอะไรบดบัง    จำได้ว่ามองจากบ้านที่ร่วมฤดี ยังมองเห็นเลย
อเมริกาแพ้สงครามเวียตนามน่าจะประมาณพ.ศ. 2518 ค่ะ  ปี 2514  ทหารยังคึกคักอยู่

บนตึกโชคชัยนั้น มีนาฬิกาไฟฟ้าตั้งอยู่ บอกวันที่และอุณหภูมิให้คนที่ถนนได้เห็นกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 14:19

อ้างถึง
อืมม์ ใช่  คุณ ป. พูดถึงสำนักเจ๊อะไรคนหนึ่งที่สามเกลอไปอุดหนุน   อยู่ที่ซอยกลาง

เจ๊หนอมครับ ต่อมาเจ๊หนอมเลยเป็นฉายาของจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีไป ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 14:21

ภาพนี้จากเนต บอกว่าเป็นถนนสุขุมวิท ดูแล้วก็คงสัก ๔๐-๔๕ ปีก่อนได้ ยังจำได้ว่าลูกกรงปลูกต้นไม้ของ กทม. เป็นโครงเหล็ก เก่า ๆ หน่อยก็โยกเล่นได้ ถนนนั้นมีขอบปูนแบ่งถนน จัดระบบการรถแบบ Two way คือสวนกันไปมาได้ ภายหลังเขาจัดระบบใหม่แบบ One Way จนถึงทุกวันนี้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง